ค้นหาข้อมูลจาก Google

การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูโดยใช้กระบวนการ ชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ โรงเรียนดอกคำใต้วิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศกึษาพะเยา

กระดานสนทนา เผยแพร่ผลงานวิชาการหมวดหมู่: เผยแพร่ผลงานวิชาการการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูโดยใช้กระบวนการ ชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ โรงเรียนดอกคำใต้วิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศกึษาพะเยา
oil asked 1 ปี ago

ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูโดยใช้กระบวนการ ชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ โรงเรียนดอกคำใต้วิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศกึษาพะเยา
ผู้วิจัย : นายปิยะ ใจชุ่ม ผู้อำนวยการ วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนดอกคำใต้วิทยาคม ปีการศึกษา : 2564

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูโดยใช้กระบวนการ ชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ โรงเรียนดอกคำใต้วิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา พะเยา การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) แบบผสมผสาน (Mixed-Methods) ของการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Approach) และเชิงคุณภาพ (Qualitative Approach) โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณเป็นการวิจัยหลัก มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการ การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการ เรียนรู้เชิงวิชาชีพ และแนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ เชิงวิชาชีพของครูโรงเรียนดอกคำใต้วิทยาคม 2) สร้างและตรวจสอบรูปแบบการส่งเสริมการจัดการ เรียนรู้ของครโูดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรยีนรู้เชิงวิชาชีพ โรงเรียนดอกคำใต้วิทยาคม สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพะเยา 3) ทดลองใช้รูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูโดยใช้ กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ โรงเรียนดอกคำใต้วิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาพะเยา 4) ประเมินรูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูโดยใช้กระบวนการชมุชน แห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ โรงเรียนดอกคำใต้วิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพะเยา และ 5) ขยายผลการใช้รูปแบบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการ เรียนรู้เชิงวิชาชีพ โรงเรียนดอกคำใต้วิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพะเยา ประชากร ได้แก่ ครูโรงเรียนดอกคำใต้วิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพะเยา จำนวน 56 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามจำนวน 7 ฉบับและแบบสัมภาษณ์ จำนวน 1 ฉบับ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

Back to top button