การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่องการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน รายวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

กระดานสนทนา เผยแพร่ผลงานวิชาการหมวดหมู่: เผยแพร่ผลงานวิชาการการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่องการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน รายวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่องการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน รายวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่องการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน  รายวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่องการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน  รายวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่องการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน รายวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 4) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่องการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน รายวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ดังต่อไปนี้ 4.1 ) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนจากการใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่องการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน รายวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 4.2) เปรียบเทียบความสามารถการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนจากใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่องการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน  รายวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 5) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่องการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน  รายวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/5 โรงเรียนบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 34 คน ได้มาโดยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) และใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม โรงเรียนใช้วิธีการจัดห้องเรียนแบบคละความสามารถของนักเรียน นักเรียนแต่ละห้องมีผลการเรียนไม่แตกต่างกัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสนทนากลุ่ม แบบวิเคราะห์เอกสาร เครื่องมือประกอบการใช้รูปแบบการเรียนการสอน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบทดสอบวัดความสามาการในการคิดแก้ปัญหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (x-bar) ร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t – test for dependent, one sample)
ผลการวิจัยพบว่า

  1. รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่องการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน รายวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.54/81.10
  2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่องการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน รายวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  3. ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่องการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน รายวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่องการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน รายวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (x-bar) โดยรวมเท่ากับ 4.60 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.64

คำสำคัญ: ห้องเรียนกลับด้าน, การเรียนรู้เชิงรุก, การคิดแก้ปัญหา
 
 

Powered by GliaStudio
Back to top button