ค้นหาข้อมูลจาก Google

การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และการเรียนรู้แบบร่วมมือ ประกอบชุดกิจกรรมการเขียนสะกดคำ บูรณาการภาษาถิ่นเมืองฉอด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

กระดานสนทนา เผยแพร่ผลงานวิชาการหมวดหมู่: เผยแพร่ผลงานวิชาการการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และการเรียนรู้แบบร่วมมือ ประกอบชุดกิจกรรมการเขียนสะกดคำ บูรณาการภาษาถิ่นเมืองฉอด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

 ชื่อเรื่อง       การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และการเรียนรู้แบบร่วมมือ ประกอบชุดกิจกรรมการเขียนสะกดคำ                                        บูรณาการภาษาถิ่นเมืองฉอด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ชื่อผู้วิจัย      ทัศนีย์ พรมกลิ้ง
สังกัด          โรงเรียนเทศบาลวัดมณีไพรสณฑ์ สังกัดเทศบาลนครแม่สอด จังหวัดตาก
ปีการศึกษา   2565
                                                                      บทคัดย่อ
 
 การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และการเรียนรู้ แบบร่วมมือ ประกอบชุดกิจกรรมการเขียนสะกดคำ บูรณาการภาษาถิ่นเมืองฉอด สำหรับนักเรียน              ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และการเรียนรู้แบบร่วมมือ ประกอบชุดกิจกรรมการเขียนสะกดคำ บูรณาการภาษาถิ่นเมืองฉอด 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และการเรียนรู้แบบร่วมมือ ประกอบชุดกิจกรรมการเขียนสะกดคำ บูรณาการภาษาถิ่น   เมืองฉอด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และการเรียนรู้แบบร่วมมือ ประกอบชุดกิจกรรมการเขียนสะกดคำ บูรณาการภาษาถิ่นเมืองฉอด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ  4) ประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และการเรียนรู้แบบร่วมมือ ประกอบชุดกิจกรรมการเขียนสะกดคำ บูรณาการภาษาถิ่นเมืองฉอด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวัดมณีไพรสณฑ์ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลนครแม่สอด จังหวัดตาก จำนวน 1 ห้องเรียน ที่กำลังศึกษาอยู่ใน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวนนักเรียนทั้งหมด 34 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และแบบสนทนากลุ่ม 2) รูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และการเรียนรู้แบบร่วมมือ       3) ชุดกิจกรรมการเขียนสะกดคำ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และ 6) แบบสำรวจความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ค่าทีและวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แล้วนำเสนอแบบพรรณนาความ
ผลการศึกษาพบว่า

  1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และการเรียนรู้แบบร่วมมือ ประกอบชุดกิจกรรมการเขียนสะกดคำ บูรณาการ ภาษาถิ่นเมืองฉอด ผลการวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551              และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลวัดมณีไพรสณฑ์ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลนครแม่สอด จังหวัดตาก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ที่จัดให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาเรื่อง การเขียนสะกดคำ   วิชาภาษาไทย เวลา 21 ชั่วโมง (รวมแผนการจัดการเรียนรู้ปฐมนิเทศ) ประกอบด้วยเนื้อหา 1) มาตราแม่ ก กา 2) มาตราแม่กง 3) มาตราแม่กม 4) มาตราแม่เกย 5) มาตราแม่เกอว 6) มาตราแม่กก 7) มาตราแม่กบ 8) มาตราแม่กน และ 9) มาตราแม่กด สำหรับองค์ประกอบของรูปแบบการเรียนรู้ ที่สำคัญ มีดังนี้ ชื่อรูปแบบการเรียนรู้ คำนำ คำชี้แจง สารบัญ วัตถุประสงค์การเรียนรู้ แบบทดสอบก่อนเรียน กิจกรรมการเรียนรู้ และแบบทดสอบหลังเรียน และการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาไทย ขั้นตอนต่อไปนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นนำ (T : Train to Lead in) ขั้นที่ 2 ขั้นกิจกรรม (A : Activity) ขั้นที่ 3 ขั้นศึกษากลุ่มย่อย (S : Study in Group)   ขั้นที่ 4 ขั้นฝึกฝน (A : Attention and Game) ขั้นที่ 5 ขั้นสรุป (N : Notion and Conclusion)  ขั้นที่ 6 ขั้นการทดสอบย่อย (E : Exercise Individual) และขั้นที่ 7 ขั้นประเมินผลและยกย่องผลสำเร็จ (E : Evaluation and Award)
  2. ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และการเรียนรู้แบบร่วมมือ ประกอบชุดกิจกรรมการเขียนสะกดคำ บูรณาการภาษาถิ่นเมืองฉอด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 พบว่า ผลการทดสอบระหว่างเรียน (E1) มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 83.37 และผลการทดสอบหลังเรียน (E2) มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 82.10 แสดงว่า ประสิทธิภาพ 83.37/82.10 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 80/80
  3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และการเรียนรู้แบบร่วมมือ ประกอบชุดกิจกรรมการเขียนสะกดคำ บูรณาการภาษาถิ่นเมืองฉอด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 34 คน ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และการเรียนรู้แบบร่วมมือ ประกอบชุดกิจกรรมการเขียนสะกดคำ บูรณาการภาษาถิ่นเมืองฉอด สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 นักเรียนมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
  4. ผลการประเมินและปรับปรุงรูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และการเรียนรู้แบบร่วมมือ ประกอบชุดกิจกรรมการเขียนสะกดคำ บูรณาการภาษาถิ่นเมืองฉอด สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีขั้นตอนดังนี้

             4.1 ผลการประเมินความสามารถในการคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาไทย ก่อนและหลังใช้รูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และการเรียนรู้แบบร่วมมือ ประกอบชุดกิจกรรม การเขียนสะกดคำ บูรณาการภาษาถิ่นเมืองฉอด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่า ความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังใช้รูปแบบการเรียนรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี
             4.2 ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และการเรียนรู้แบบร่วมมือ ประกอบชุดกิจกรรมการเขียนสะกดคำ บูรณาการภาษาถิ่น   เมืองฉอด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่า ความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี               เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า นักเรียนเห็นด้วยในระดับดีในทุกด้าน เรียงตามลำดับ คือ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านการวัดและประเมินผล ด้านประโยชน์ที่ได้รับและด้านบรรยากาศในการเรียนรู้และให้นักเรียนเขียนแสดงความพึงพอใจเกี่ยวกับการใช้รูปแบบการเรียนรู้ หลังสิ้นสุดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า ความพึงพอใจนักเรียนชอบรูปแบบการเรียนรู้ที่มีเนื้อหาไม่ยากจนเกินไป สามารถทำกิจกรรมได้ถูกต้องได้มากขึ้น เข้าใจง่าย เหมาะสมกับระดับความสามารถของนักเรียน บรรยากาศในชั้นเรียนสนุกสนาน
 

Back to top button