Jannah Theme License is not validated, Go to the theme options page to validate the license, You need a single license for each domain name.

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถ

กระดานสนทนา เผยแพร่ผลงานวิชาการหมวดหมู่: เผยแพร่ผลงานวิชาการการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถ
การศึกษาไทย ทีมงาน asked 1 ปี ago

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถ

ในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง KALASIN MOTTO สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

ผู้วิจัย นางสงกรานต์  พรมภาพ

หน่วยงาน โรงเรียนเมืองสมเด็จ  องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์

ปีที่ทำการวิจัย ปีการศึกษา  2565

บทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่าน   อย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง KALASIN MOTTO สำหรับนักเรียน                            ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ      โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง KALASIN MOTTO สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง KALASIN MOTTO สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ            เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง KALASIN MOTTO สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการเรียน     การสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎี   คอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง KALASIN MOTTO สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนเมืองสมเด็จ ตำบล   ลำห้วยหลัว อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถาม 2) รูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎี          คอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง KALASIN MOTTO สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) แผนการจัดการเรียนรู้ 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ และ 5) แบบสอบถามความ   พึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระ

ผลการวิจัยพบว่า

1. ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง KALASIN MOTTO สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ดังนี้

1.1 ผลการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลจุดหมายของการจัดการศึกษาตามนโยบาย จุดหมายการจัดการศึกษาจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542 แผนการศึกษาแห่งชาติ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ..2560) สรุปได้ดังนี้

การจัดการศึกษามุ่งปฏิรูปการเรียนรู้โดยยึดหลักผู้เรียนเป็นศูนย์กลางยึดหลักการเรียนรู้ด้วยตนเองและหลักการเรียนรู้ตลอดชีวิตภาษาต่างประเทศมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง    ในชีวิตประจำวัน เนื่องจากเป็นเครื่องมือสำคัญในการติดต่อสื่อสาร การศึกษา การแสวงหาความรู้ การประกอบอาชีพ การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมและวิสัยทัศน์ของชุมชนโลก และตระหนักถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมและมุมมองของสังคมโลก นำมาซึ่งมิตรไมตรีและความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ช่วยพัฒนาผู้เรียนให้มีความเข้าใจตนเองและผู้อื่นดีขึ้น เรียนรู้และเข้าใจความแตกต่างของภาษาและวัฒนธรรม  ขนบธรรมเนียมประเพณี การคิด สังคม เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง    มีเจตคติที่ดีต่อการใช้ภาษาต่างประเทศ และใช้ภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสารได้ รวมทั้งเข้าถึงองค์ความรู้ต่าง ๆ ได้ง่ายและกว้างขึ้น และมีวิสัยทัศน์ในการดำเนินชีวิต ภาษาต่างประเทศจึงมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ดังนั้น จึงจำเป็นต้องสร้างพื้นฐานภาษาต่างประเทศให้ผู้เรียนเกิดทักษะเพื่อที่จะได้นำไปใช้   ในการเรียนในขั้นต่อ ๆ ไป

1.2 ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันด้านความต้องการรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎี                  คอนสตรัคติวิสต์ สรุปได้ดังนี้

1.2.1 ด้านรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถใน การอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4    พบว่า ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคนมีความเห็นสอดคล้องกัน คือ การสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎี                         คอนสตรัคติวิสต์ เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้และเรียนรู้     ด้วยตนเอง มีการใช้สื่อที่น่าสนใจและหลากหลาย กิจกรรมสนุกสนาน ตื่นเต้น ท้าทาย และได้ฝึกฝน   การอ่านอย่างมีวิจารณญาณจากแบบเสริมทักษะการอ่าน ผู้เรียนเกิดความสามัคคี ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีความเสียสละ รู้จักช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์           ตามหลักสูตร

1.2.2 ด้านเนื้อหาในการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคนมีความเห็นสอดคล้องกันว่า ให้เลือกเนื้อหา    ที่ใกล้ตัวของนักเรียน และน่าสนใจ ไม่ง่ายหรือยากจนเกินไป ซึ่งจากการวิเคราะห์พบว่า เรื่องที่เหมาะสมกับรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ  โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ควรใช้เนื้อหา เรื่อง KALASIN  MOTTO  ซึ่งเป็นเนื้อหาที่ใกล้ตัวของนักเรียนและสามารถนำมาใช้ในการส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณได้เป็นอย่างดี

1.2.3 ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎี                          คอนสตรัคติวิสต์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคนมีความเห็น      สอดคล้องกันคือการนำเสนอเนื้อหาเป็นระบบตามลำดับขั้นมีการเสริมแรงจัดบรรยากาศการเรียนการสอนให้เหมาะสมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสามารถใช้ได้ทั้งในและนอกห้องเรียน

1.2.4 ด้านสื่อการเรียนการสอนรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ สำหรับนักเรียน       ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคนมีความเห็นสอดคล้องกัน คือ การให้นักเรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเองโดยการศึกษาจากแบบฝึกทักษะ แบบฝึกหัด และใบกิจกรรมเป็นรายบุคคล และการเสริมแรงทางบวกทำให้นักเรียนเกิดความรักในวิชาภาษาอังกฤษ อันจะส่งผลให้นักเรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเองเร็วกว่าปกติ

1.2.5 ด้านเวลาที่ใช้ในการเรียนการสอนรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ     เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคนมีความเห็นสอดคล้องกัน คือ จัดการเรียน  การสอนควรจัดเป็นรายชั่วโมงตามขั้นตอนของรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ สำหรับนักเรียน       ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่กำหนดไว้

1.2.6 ด้านการวัดและประเมินผลรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ สำหรับนักเรียน       ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคนมีความเห็นสอดคล้องกันว่าควรมีการประเมินผล       ที่หลากหลาย เช่น การทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ                    แบบฝึกทักษะใบกิจกรรมและใบงานเป็นต้น

1.2.7 ด้านความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แล้วนำเสนอแบบพรรณนาความ พบว่า ผู้ให้สัมภาษณ์ได้เสนอแนะ        ไปในทางเดียวกัน เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ       เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์จะได้ผลดีผู้เรียนต้องได้ฝึกปฏิบัติจริงให้มากที่สุดและครูผู้สอนต้องคอยแนะนำและแก้ไขข้อบกพร่องอย่างใกล้ชิด

2. ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง KALASIN MOTTO สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มี 7 องค์ประกอบดังนี้ 1) แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์  3) ขั้นการสอน มี 5 ขั้น ได้แก่ (1) ขั้นตรวจสอบความเข้าใจในการอ่าน (Reading Comprehension : R) (2) ขั้นบูรณาการแนวคิดใหม่ (Integrating : I) (3) ขั้นการสอนการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ (Teaching : T) (4) ขั้นการทบทวน (Reviewing : R) (5) ขั้นประเมินผล (Assessing : A) 4) สาระความรู้ 5) ระบบสังคม 6) หลักการตอบสนอง และ 7) สิ่งสนับสนุน รูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง KALASIN MOTTO สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 78.81/77.56 เป็นไปตามเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้

3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถ    ในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง KALASIN MOTTO สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา     ปีที่ 4 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง KALASIN MOTTO สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

4. ผลการประเมินรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถ      ในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง KALASIN MOTTO สำหรับนักเรียน        ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 มีความพึงพอใจในการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎี  คอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง KALASIN MOTTO สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.74, S.D. = 0.45)

Powered by GliaStudio
ชุดข้าราชการ ชุดข้าราชการหญิง ชุดกากี ชุดข้าราชการ shopee
Back to top button