การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชั่นตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
ชื่อเรื่อง การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชั่นตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหา เรื่อง หลักการและวิธีการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ผู้วิจัย นางอัญรินทร์ คุ่มเคี่ยม
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อออกแบบและพัฒนาเว็บแอปพลิเคชั่นตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหา เรื่อง หลักการและวิธีการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของเว็บแอปพลิเคชั่นตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหา เรื่อง หลักการและวิธีการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษาการสร้างความรู้ของนักเรียนที่เรียนด้วย เว็บแอปพลิเคชั่นตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหา เรื่อง หลักการและวิธีการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี 4) เพื่อศึกษากระบวนการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนที่เรียนด้วยเว็บแอปพลิเคชั่นตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหา เรื่อง หลักการและวิธีการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี 5) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยเว็บแอปพลิเคชั่นตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหา เรื่อง หลักการและวิธีการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี 6) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยเว็บแอปพลิเคชั่นตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหา เรื่อง หลักการและวิธีการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 12 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 458 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1 ห้องเรียน ได้แก่ ห้อง ม.2/11 จำนวน 39 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แบบบันทึกการสังเคราะห์กรอบแนวคิดการออกแบบเว็บแอปพลิเคชั่นตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหา เรื่อง หลักการและวิธีการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี 2) แบบประเมินเว็บแอปพลิเคชั่นตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหา เรื่อง หลักการและวิธีการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี 3) เว็บแอปพลิเคชั่นตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหา เรื่อง หลักการและวิธีการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี จำนวน 1 หน่วย ได้แก่ หน่วยที่ 1 หลักการและวิธีการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ 4) แบบสัมภาษณ์กระบวนการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนเป็นแบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 6) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อเว็บแอปพลิเคชั่นตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหา จำนวน 15 ข้อ 7) แบบสัมภาษณ์การสร้างความรู้ของนักเรียนที่เรียนด้วยเว็บแอปพลิเคชั่นตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติ วิสต์ ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหา เรื่อง หลักการและวิธีการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี 8) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการออกแบบและพัฒนาเว็บแอปพลิเคชั่นตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่อง หลักการและวิธีการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี พบว่ามีองค์ประกอบที่สำคัญคือ 1) สถานการณ์ปัญหาน่ารู้ 2) แหล่งการเรียนรู้ 3) ฐานความช่วยเหลือ 4) ศูนย์ร่วมมือกันเรียนรู้ 5) ห้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ 6. ศูนย์ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหา และจากการประเมินพบว่าทุกองค์ประกอบช่วยส่งเสริมการสร้างความรู้และทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
2. ประสิทธิภาพของเว็บแอปพลิเคชั่นตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่อง หลักการและวิธีการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพ 82.33/82.56 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
3. การสร้างความรู้ของผู้เรียน พบว่า ผู้เรียนมีการสร้างความรู้เมื่อผู้เรียนถูกกระตุ้นด้วยปัญหาที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญา หรือที่เรียกว่า การเสียสมดุลทางปัญญาและผู้เรียนจะพยายามปรับโครงสร้างทางปัญญาให้เข้าสู่สภาวะสมดุลในสองวิธีการคือ การดูดซึมและการปรับเปลี่ยน นอกจากนี้ผู้เรียนได้สร้างความรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม โดยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน รวมทั้งครูผู้สอน
4. กระบวนการคิดแก้ปัญหาของผู้เรียน โดยการวิเคราะห์โปรโตคอลจากผลการสัมภาษณ์ พบว่า การแก้ปัญหาของผู้เรียน เป็น 6 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ผู้เรียนระบุช่องว่างของปัญหา ขั้นที่ 2 การระบุและอธิบายปัญหาที่แท้จริงว่าคืออะไรและเกิดจากอะไร ขั้นที่ 3 การสร้างแนวทางที่เป็นไปได้ ขั้นที่ 4 การประเมินความเป็นได้ของการนำทางเลือกไปปฏิบัติ ขั้นที่ 5 นำแนวทางการแก้ปัญหาไปใช้ และ ขั้นที่ 6 ปรับแนวทางการแก้ปัญหา
5. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยเว็บแอปพลิเคชั่นตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหา เรื่อง หลักการและวิธีการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
6. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเว็บแอปพลิเคชั่นตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหา เรื่อง หลักการและวิธีการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี พบว่า ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.96 ค่าเฉลี่ยขอค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.73