การศึกษาเรียนรู้เรื่องราวของชุมชนผ่านวิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับวงจรคุณภาพ PDCA ย้อนรอยเรื่องเล่าชุมชนบ้านเขาฝาก : Little Archaeologist Bankaofark School

กระดานสนทนา เผยแพร่ผลงานวิชาการหมวดหมู่: เผยแพร่ผลงานวิชาการการศึกษาเรียนรู้เรื่องราวของชุมชนผ่านวิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับวงจรคุณภาพ PDCA ย้อนรอยเรื่องเล่าชุมชนบ้านเขาฝาก : Little Archaeologist Bankaofark School
ภูเบศวร์ asked 6 เดือน ago

สอดคล้อง 14 นโยบาย 5 จุดเน้น ข้อที่ (ระบุเพียง 1 ข้อเท่านั้น)
🗹  2. จัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม และประชาธิปไตย
 

  1. ความเป็นมาและความสำคัญของผลงาน หรือนวัตกรรมที่นำเสนอ

1.1 ความเป็นมาและสภาพปัญหา
การศึกษานั้น เป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุด ดังคำกล่าวที่ว่า “รากฐานของตึกคือ อิฐรากฐานของชีวิตคือ การศึกษา” ในการพัฒนาสังคมให้คนซึ่งเป็นสมาชิกของสังคม เป็นคนมีคุณภาพ คุณธรรม กล่าวคือ การศึกษาช่วยสร้างจิตสำนึกในการเป็นมนุษย์ มีจิตวิญญาณของผู้มีอารยะ ธรรมทางปัญญาและความงดงามทางจิตใจ การศึกษาสร้างให้คนมีความรู้ในการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ มีความอดทนในการต่อสู้กับอุปสรรคของชีวิต การศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนทุกวัย มีคำกล่าวที่ว่า “ความสำเร็จไม่ได้ขึ้นอยู่กับ อายุ แต่ขึ้นอยู่กับความคิด” ทั้งนี้การศึกษาของไทย ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงมาหลายยุคหลายสมัยเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพของบริบทสังคมในช่วงนั้นๆ
สภาพปัจจุบันพบว่า การจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์นั้น ครูส่วนใหญ่จะใช้วิธีสอน        แบบบรรยายอย่างเดียว ไม่เห็นความสำคัญของการใช้สื่อ และนักเรียนเห็นความสำคัญของการเรียนรู้ เรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์น้อยมาก เพราะคิดว่าเป็นเรื่องที่ไม่สำคัญ ไม่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต น่าเบื่อหน่าย และต้องท่องจำทำให้นักเรียนไม่เกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้ ไม่สนใจเรียน ทำให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์น้อย ไม่สามารถลำดับเหตุการณ์และเชื่อมโยงสถานการณ์หรือทามไลน์ทางประวัติศาสตร์ได้
 
ส่งผลให้มีผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชาประวัติศาสตร์ค่อนข้างต่ำ ซึ่งครูผู้สอนเล็งเห็นความสำคัญของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน เพราะวิชาประวัติศาสตร์เป็นวิชาที่สำคัญต่อการสร้างคน ให้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ เนื่องจากมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับสมาชิกในสังคมและการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข สามารถรักษาอารยธรรมชาติให้อยู่คู่กับสังคมมนุษย์ต่อไป จากความสำคัญดังกล่าวจะเห็นได้ว่า วิชาประวัติศาสตร์    เป็นวิชาที่มีคุณค่าที่ดี มีหลักธรรม คุณธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ และเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจแก้ไขปัญหาในปัจจุบันได้ดังนั้นเพื่อให้ การจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์บรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตรที่กำหนดไว้ ต้องอาศัยผู้สอน เป็นกำลังกำลังสำคัญผู้สอนต้องเปลี่ยนการสอนจากวิธีบรรยายมาเป็นการสอน ด้วยเหตุและผล มุ่งส่งเสริมให้นักเรียน เรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต และใช้เวลาอย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งมีความยืดหยุ่นสนองความต้องการของนักเรียน ชุมชน สังคมและประเทศชาติ นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ ทุกเวลา ทุกสถานที่ และเรียนรู้ได้จากสื่อสังคมออนไลน์และแหล่งการเรียนรู้ทุกประเภท รวมทั้งจากเครือข่ายการเรียนรู้ ต่างๆที่มีอยู่ในท้องถิ่น ชุมชนและแหล่งอื่นๆ เน้นสื่อที่นักเรียนและผู้สอนใช้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลวิเคราะห์ปัญหาในการเรียนรู้แล้วนำมาแก้ปัญหาหรือพัฒนา ซึ่งจะส่งผลต่อผู้เรียนให้มีพัฒนาการ การเรียนรู้ที่ดีขึ้น ทันต่อสภาวะโลกปัจจุบันที่มี     การเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้านอย่างรวดเร็ว
โรงเรียนบ้านเขาฝาก ซึ่งเป็นสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่        ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ อย่างยิ่ง ดังคำกล่าวของ ดร.วินัย พงศ์ศรีเพียร ว่า “ประวัติศาสตร์ วิชาสร้างนักคิดและ ปัญญาชน” จึงมีการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ด้วยวิธีการที่หลากหลาย มุ่งให้ผู้เรียนได้ศึกษาเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีตบนพื้นฐานของการวิพากษ์วิเคราะห์หลักฐานเอกสารต่างๆ โดยใช้วิธีการสืบค้นอย่างเป็นระบบที่เรียกว่าวิธีการทางประวัติศาสตร์      เพื่อให้ผู้เรียนซึ่งก็คือเด็กและเยาวชนของชาติ “ศึกษาอดีตเพื่อรู้ปัจจุบัน เข้าใจปัจจุบันเพื่อทำให้อนาคตดีขึ้น รวมถึงตระหนักและเห็นคุณค่าในความเป็นไทย เข้าใจวัฒนธรรมของตนและสังคมอื่นๆ มีน้ำใจ เสียสละ สามัคคี เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน เกิดความตระหนักที่จะร่วมกันปกป้องรักษาชาติ และความเป็นไทยสืบต่อไป”
สำหรับผลงานนวัตกรรม/วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) ที่นำเสนอในครั้งนี้ ในหัวข้อเรื่อง การศึกษาเรียนรู้เรื่องราวของชุมชนผ่านวิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับวงจรคุณภาพ PDCA ย้อนรอยเรื่องเล่าชุมชนบ้านเขาฝาก  : Little Archaeologist Bankaofark School ซึ่งนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียน        ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนบ้านเขาฝาก อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่
 
 
1.2 แนวทางการแก้ไขปัญหาและพัฒนา
จากสภาพปัญหาที่พบ คือ ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาประวัติศาสตร์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ขาดความเข้าใจประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชุมชนบ้านเขาฝาก ข้าพเจ้าและนักเรียนได้ร่วมกันคิดวิธีแนวทางการแก้ไขปัญหา นั้นก็คือ หาข้อมูลโดยร่วมมือศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชุมชนบ้านเขาฝาก ตามวิธีการและขั้นตอนการศึกษาทางประวัติศาสตร์ จึงได้หัวข้อในการศึกษา คือ การศึกษาเรียนรู้เรื่องราวของชุมชนผ่านวิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับวงจรคุณภาพ PDCA ย้อนรอยเรื่องเล่าชุมชนบ้านเขาฝาก  : Little Archaeologist Bankaofark School
เมื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนรายวิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เสร็จสิ้นแล้วนั้น ข้าพเจ้าได้ขยายวงกว้างเพื่อพัฒนานักเรียนในทุกระดับชั้นในโรงเรียนบ้านเขาฝาก เพื่อให้นักเรียนทราบถึง ประวัติความเป็นมาของชุมชนของตนเอง
 

  1. วัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน
  2. 1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เข้าใจเรื่องการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ซึ่งใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ 5 ขั้นตอน
  3. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้ และมีทักษะในการใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์อย่างเป็นระบบ
  4. เพื่อให้นักเรียนเห็นคุณค่าในความเป็นชาติไทย และมีคุณธรรมจริยธรรม และรักความเป็นไทย
  5. เพื่อให้นักเรียนเป็นผู้นำในการทำกิจกรรมของชุมชน เกิดความรัก ปกป้อง อนุรักษ์ท้องถิ่น และนำไปสู่การพัฒนาท้องถิ่น
  6. กระบวนการผลิตงานหรือขั้นตอนการดำเนินงาน

 
 
 
 
 
 
 
                                                                                  

 

 

ภาพที่  1  :  ภาพ infographic เรื่อง กระบวนการผลิตงานหรือขั้นตอนการดำเนินงาน
ที่มา : นายภูเบศวร์ อนรรฆธนะกุล ผู้จัดทำผ่าน CANVA.COM

 

 
 
3.1 การออกแบบผลงานหรือนวัตกรรม
ภาพที่  2  :  ภาพ infographic เรื่อง ประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านเขาฝาก
ที่มา : นายภูเบศวร์ อนรรฆธนะกุล ผู้จัดทำผ่าน CANVA.COM
 
การออกแบบผลงานนั้นข้าพเจ้าเลือกที่จะใช้ภาพ infographic เรื่อง ประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านเขาฝาก ที่ประกอบด้วย ที่ตั้ง ที่มาของชื่อหมู่บ้าน และประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน รวมถึงมีภาพการ์ตูนที่มีความใกล้เคียงกับเนื้อหาทางประวัติศาสตร์ เพื่อให้นักเรียนหรือผู้อ่านเกิดความสนใจมากยิ่งขึ้น
ภาพที่  3  :  ภาพใบงาน เรื่อง ประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านเขาฝาก
ที่มา : นายภูเบศวร์ อนรรฆธนะกุล ผู้จัดทำ
 
 
 
นวัตกรรมที่นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน
 
ขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์
เป็นกระบวนการในการแสวงหาข้อเท็จจริง จากเรื่องราวหรือเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ซึ่งได้จากการค้นคว้าหาข้อมูลจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เพื่อนำมาวิเคราะห์และอธิบายเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้น ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

  1. กำหนดหัวเรื่องที่จะศึกษา

เป็นขั้นตอนแรกของวิธีการทางประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นเรื่องที่นักประวัติศาสตร์หรือผู้สนใจทางประวัติศาสตร์มีความสนใจอยากรู้ สงสัย จึงตั้งประเด็นหรือหัวข้อที่ต้องการศึกษาขึ้นมา จากการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน เมื่อครูผู้สอนถามถึงประวัติศาสตร์ชุมชน          พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในประวัติความเป็นมาของชุมชน ครูผู้สอนและนักเรียนจึงเลือกหัวข้อในการศึกษา คือ การศึกษาเรียนรู้เรื่องราวของชุมชนผ่านวิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับวงจรคุณภาพ PDCA ย้อนรอยเรื่องเล่าชุมชนบ้านเขาฝาก  : Little Archaeologist Bankaofark School

  1. การรวบรวมหลักฐาน

ขั้นรวบรวมหลักฐานต่างๆ ทั้งหลักฐานชั้นต้นและหลักฐานชั้นรอง  คือ เอกสารหรือหนังสือเกี่ยวกับเรื่องที่อยากรู้หรือสนใจในการรวบรวมหลักฐาน  ควรเริ่มด้วยการศึกษาหลักฐานชั้นรองโดยตรงก่อน เพื่อให้เข้าใจและมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการศึกษา  และรวบรวมความคิดของผู้ที่ศึกษาเรื่องดังกล่าวมาก่อน แล้วจึงไปค้นคว้าจากหลักฐานชั้นต้น ซึ่งจะทำให้ได้รายละเอียดมากขึ้นและอาจมีแนวคิดเพิ่มเติมขึ้นจากผู้ศึกษาไว้แต่เดิม
หลังจากที่เลือกหัวข้อเรื่อง ประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านเขาฝากแล้วนั้น ก็ได้ให้นักเรียนไปสอบถามจากผู้มีอายุในบ้านของตนเองก่อนแล้วจึงนำมาผนวก และครูผู้สอนก็ได้หาข้อมูลจากแหล่งสืบค้นอื่นๆ ทั้งหลักฐานชั้นต้น และหลักฐานชั้นรอง

  1. การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของหลักฐาน

เป็นการประเมินความถูกต้องและความสำคัญของหลักฐาน เพราะหลักฐานบางอย่างอาจเป็นของปลอม หรือเลียนแบบของเก่า หรือเขียนโดยบุคคลที่ไม่ได้รู้เห็นเหตุการณ์โดยตรง แล้วมาบันทึกไว้เสมือนได้รู้เห็นเอง หรือแม้จะรู้เห็นเหตุการณ์โดยตรง แต่อาจมีความลำเอียงเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่วางตัวเป็นกลาง
การวิเคราะห์หลักฐานแบ่งเป็น  2  วิธี  ดังนี้
                     1. การประเมินภายนอก เป็นการประเมินหลักฐานจากสภาพที่ปรากฏภายนอกว่าเป็นของแท้ ถูกต้องตามยุคสมัยหรือไม่ เช่น กระดาษที่บันทึกเป็นของเก่าจริงหรือไม่ สมัยนั้นมีกระดาษแบบนี้ใช้แล้วหรือยัง วัสดุที่ใช้เขียนเป็นของร่วมสมัยหรือไม่

  1. การประเมินภายในเป็นการประเมินหลักฐานว่าถูกต้องทั้งหมดหรือไม่ เช่น การกล่าวถึงตัวบุคคล สถานที่ เหตุการณ์ว่าถูกต้อง มีจริงในยุคสมัยของหลักฐานนั้นหรือไม่ หรือแม้แต่สำนวนภาษาว่าในสมัยนั้นใช้กันหรือยัง

เมื่อนักเรียนและครูผู้สอน ได้หลักฐานแล้ว ก็นำมาอภิปราย หาความถูกต้อง ความเป็นมาของชุมชนบ้านเขาฝาก สิ่งใดที่มีการบอกในลักษณะคล้ายๆกัน ก็สามารถเป็นข้อเท็จจริง เพื่อนำมาวิเคราะห์ขั้นต่อไปได้

  1. การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการจัดหมวดหมู่ข้อมูล

เป็นขั้นตอนต่อจากที่ได้รวบรวมหลักฐาน และวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือนั้นๆแล้ว ข้อมูล คือเรื่องราวต่างๆ ทางประวัติศาสตร์ที่ปรากฏในหลักฐานที่รวบรวมและวิเคราะห์แล้วจากหลักฐานที่เชื่อถือได้ จากนั้นจึงนำข้อมูลมาวิเคราะห์ คือ แยกประเภท โดยเรียงเหตุการณ์ ตามลำดับเวลาก่อนหลัง เพราะความสำคัญของข้อมูล แล้วทำการสังเคราะห์ คือจัดเหตุการณ์ เรื่องเดียวกัน และเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันไว้ด้วยกัน และศึกษาความต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ ตลอดจนปัจจัยต่างๆ ที่มีความสำคัญต่อเหตุการณ์
เมื่อนักเรียนและครูผู้สอน ได้หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็น หนังสือ คำบอกเล่า ตำนานของชุมชนแล้ว ก็จะนำมาชวนคุย ร่วมกันวิเคราะห์ จัดลำดับของหมวดหมู่ข้อมูล

  1. การเรียบเรียงหรือการนำเสนอ

เป็นการเรียบเรียงข้อมูลที่ได้ค้นคว้า วิเคราะห์ และสังเคราะห์มาแล้ว เพื่อนำเสนอข้อมูลในลักษณะที่เป็นการตอบหรืออธิบายความอยากรู้ ข้อสงสัย ตลอดจนความรู้ใหม่ ความคิดใหม่ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้านั้น ในรูปแบบการเขียนรายงานอย่างมีเหตุผล
หลังจากมีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการจัดหมวดหมู่ข้อมูลประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชุมชนบ้านเขาฝากแล้ว ก็จะนำเสนอข้อมูลในรูปแบบภาพ infographic เรื่อง ประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านเขาฝาก เพื่อให้ข้อมูลมีความน่าสนใจ ทุกวัยทุกช่วงอายุสามารถอ่านได้ และเข้าใจง่าย
 
PDCA วงจรคุณภาพ PDCA มาเป็นแนวทางในการดำเนินงาน ดังนี้
ภาพที่ 4  : วงจรคุณภาพ PDCA
ที่มา : (https://supplychainguru.co.th วันที่สืบค้น 29 กรกฎาคม 2567)
 

  1. 1. ขั้นวางแผน Plan เป็นการออกแบบรูปแบบการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นชุมชนบ้านเขาฝาก
  2. 2. ขั้นลงมือทำ Do โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของนักเรียนและครูผู้สอนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
  3. ขั้นตรวจสอบ Check ตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับสาร ผ่านวิธีการทางประวัติศาสตร์
  4. ขั้นปรับปรุง Act พัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 
3.2 การดำเนินงานตามกิจกรรม
– ขั้นวางแผน Plan  (วิธีการทางประวัติศาสตร์ ขั้นที่ 1 กำหนดหัวเรื่องที่จะศึกษา)

  1. นักเรียนและครูผู้สอน ศึกษาข้อมูลตามตัวชี้วัดในรายวิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในหัวข้อ ประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ วิธีการทางประวัติศาสตร์ 5 ขั้นตอน เพื่อวางแผนในการดำเนินการ
  2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนบ้านเขาฝาก จำนวน 25 คน ร่วมกันเสนอ แหล่งท่องเที่ยวใกล้ชุมชน แหล่งเรียนรู้ สถานที่สำคัญ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประเพณี และบุคคลสำคัญของท้องถิ่น ซึ่งครูผู้สอนเป็นโค้ช คอยชี้แนะแนวทาง และนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น

– ขั้นลงมือทำ Do  (วิธีการทางประวัติศาสตร์ ขั้นที่ 2 การรวบรวมหลักฐาน)

  1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนบ้านเขาฝาก จำนวน 25 คน เดินทางสำรวจสถานที่สำคัญใกล้โรงเรียน ได้แก่ มัสยิดอักมารุดดีน (บ้านเขาขวาก) ซึ่งเป็นศาสนสถานที่สำคัญของชุมชนบ้านเขาฝากในทุกๆ วันศุกร์จะมีคนจำนวนมากในชุมชนมาละหมาด การออกสำรวจในครั้งนี้ ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้ถึงสภาพชุมชน วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ภูมิปัญญา วัฒนธรรม และบุคคลในชุมชน

– ขั้นตรวจสอบ Check (วิธีการทางประวัติศาสตร์ ขั้นที่ 3 การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของหลักฐาน)

  1. หลังจากการสำรวจสถานที่ นักเรียนได้กลับมาร่วมกันอภิปรายถึงสิ่งที่นักเรียนสังเกต ผ่านแหล่งเรียนรู้ มัสยิดอักมารุดดีน (บ้านเขาขวาก) และร่วมกันตั้งประเด็นการศึกษา เกี่ยวกับ เรื่องราวประวัติศาสตร์ชุมชน

(วิธีการทางประวัติศาสตร์ ขั้นที่ 4 การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการจัดหมวดหมู่ข้อมูล)

  1. นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับ ผ่านวิธีการทางประวัติศาสตร์ 5 ขั้นตอน

– ขั้นปรับปรุง Act (วิธีการทางประวัติศาสตร์ ขั้นที่ 5 การเรียบเรียงหรือการนำเสนอ)

  1. หลังจากที่ร่วมกันนำเสนอประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชุมชนบ้านเขาฝากแล้ว ก็ปรับปรุงพัฒนาให้ดีมากขึ้นเรื่อย ๆ ในรูปแบบถามข้อมูลเพิ่มจากญาตินักเรียนในชุมชน หากได้ข้อมูลเพิ่มเติมก็จะเก็บบันทึกไว้เป็นหลักฐานชั้นรอง และนำมาตีความวิเคราะห์สังเคราะห์ในครั้งต่อไป ทำให้ประวัติศาสตร์ของชุมชนนั้น มีทามไลน์ (Timeline) ที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

 
 
3.3 ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน

 
 
 
 

 
 
 

 
 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 ภาพที่ 5  : ภาพการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน               ภาพที่ 6  : ภาพการแต่งกายในท้องถิ่น
ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน ในการศึกษาเรียนรู้เรื่องราวของชุมชนผ่านวิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับวงจรคุณภาพ PDCA ย้อนรอยเรื่องเล่าชุมชนบ้านเขาฝาก  : Little Archaeologist Bankaofark School นั้น เป็นการสร้างความรู้ด้วยตนเอง และได้รับข้อมูลประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชุมชนบ้านเขาฝาก ผ่านกระบวนการวิธีการทางประวัติศาสตร์ 5 ขั้นตอน ทำให้นักเรียนมีทักษะในการใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์อย่างเป็นระบบ สร้างความภูมิใจให้กับนักเรียน เห็นคุณค่าในความเป็นชาติไทย และมีคุณธรรมจริยธรรม และรักความเป็นไทย อันจะก่อให้เกิดการเสริมสร้างภาวะผู้นำ ในการทำกิจกรรมของชุมชน เกิดความรัก ปกป้อง อนุรักษ์ท้องถิ่น และนำไปสู่การพัฒนาท้องถิ่นต่อไป
3.4 การใช้ทรัพยากร
ข้าพเจ้าประยุกต์ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสม ซึ่งสามารถแยกประเภททรัพยากรที่ข้าพเจ้าได้ใช้ ประกอบด้วย

  1. ทรัพยากรสถานที่ที่มีอยู่ในท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็น ห้องสมุดโรงเรียนบ้านเขาฝาก มัสยิดอักมารุดดีน (บ้านเขาขวาก) และตลาดสดบ้านเขาฝาก ซึ่งเป็นสถานที่ทีคนในชุมชนมีปฏิสัมพันธ์
  2. ทรัพยากรบุคคล ได้แก่ บุคคลที่สามารถถ่ายทอดเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ คำบอกเล่า ตำนานเรื่องเล่าได้ ซึ่งได้แก่ ผู้นำชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน หน่วยงานราชการองค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง และบุคลากรทางการศึกษาที่เป็นบุคคลในพื้นที่ หรือผู้ที่มีข้อมูลทางประวัติศาสตร์

 
 
 
 
4.ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ
4.1 ผลที่เกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์
ในการศึกษาเรียนรู้เรื่องราวของชุมชนผ่านวิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับวงจรคุณภาพ PDCA ย้อนรอยเรื่องเล่าชุมชนบ้านเขาฝาก  : Little Archaeologist Bankaofark School ซึ่งสามารถสรุปผลตามวัตถุประสงค์ ได้ดังนี้

  1. นักเรียนมีความรู้เข้าใจเรื่องการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ซึ่งใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์

5 ขั้นตอน

  1. นักเรียนได้เรียนรู้ และมีทักษะในการใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์อย่างเป็นระบบ
  2. นักเรียนเห็นคุณค่าในความเป็นชาติไทย และมีคุณธรรมจริยธรรม และรักความเป็นไทย
  3. นักเรียนเป็นผู้นำในการทำกิจกรรมของชุมชน เกิดความรัก ปกป้อง อนุรักษ์ท้องถิ่น และนำไปสู่

การพัฒนาท้องถิ่น
4.2 ผลสัมฤทธิ์ของงาน
จากการดำเนินงาน ในหัวข้อเรื่อง การศึกษาเรียนรู้เรื่องราวของชุมชนผ่านวิธีการทางประวัติศาสตร์ ย้อนเรื่องเล่าชุมชนบ้านเขาฝาก : Little Archaeologist Bankaofark School รายวิชาประวัติศาสตร์         ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (ตัวชี้วัด ส 4.1 ป.3/2) เป็นการศึกษาเรื่องราวประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของชุมชนแล้วนั้น ทำให้นักเรียนเกิดความรู้เข้าใจเรื่องการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ซึ่งใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ 5 ขั้นตอน รวมถึงนักเรียนได้เรียนรู้ และมีทักษะในการใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์อย่างเป็นระบบ อีกทั้งผู้เรียนเห็นคุณค่าในความเป็นชาติไทย และมีคุณธรรมจริยธรรม และรักความเป็นไทย              และนักเรียนเป็นผู้นำในการทำกิจกรรมของชุมชน เกิดความรัก ปกป้อง อนุรักษ์ท้องถิ่น และนำไปสู่การพัฒนาท้องถิ่น
4.3 ประโยชน์ที่ได้รับ

  1. ครูผู้สอนสามารถนำไปปรับปรุงวิธีการจัดการเรียนรู้ให้ดีมากยิ่งขึ้น และสามารถนำไปบูรณาการกับรายวิชาอื่นๆ ได้
  2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนบ้านเขาฝาก จำนวน 25 คน มีความรู้เข้าใจเรื่องการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ซึ่งใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ 5 ขั้นตอน
  3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนบ้านเขาฝาก จำนวน 25 คน ได้เรียนรู้ และมีทักษะในการใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์อย่างเป็นระบบ
  4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนบ้านเขาฝาก จำนวน 25 คน เห็นคุณค่าในความเป็นชาติไทย และมีคุณธรรมจริยธรรม และรักความเป็นไทย
  5. เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้นำในการทำกิจกรรมของชุมชน เกิดความรัก ปกป้อง อนุรักษ์ท้องถิ่น และนำไปสู่การพัฒนาท้องถิ่น

 

  1. ปัจจัยความสำเร็จ

5.1 สิ่งที่ช่วยให้งานประสบความสำเร็จ
จากการดำเนินงาน ในหัวข้อเรื่อง การศึกษาเรียนรู้เรื่องราวของชุมชนผ่านวิธีการทางประวัติศาสตร์ ย้อนเรื่องเล่าชุมชนบ้านเขาฝาก : Little Archaeologist Bankaofark School รายวิชาประวัติศาสตร์นั้น มีสิ่งที่ช่วยให้งานประสบความสำเร็จ ดังนี้

  1. ได้รับข้อมูลจากผู้นำชุมชน ชาวบ้าน ชุมชนบ้านเขาฝาก มาเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้
  2. ชาวบ้านชุมชนบ้านเขาฝาก ต่างให้ความต้อนรับ และพูดถึงภูมิหลังของชุมชน จนทำให้ได้ข้อมูลนำมาตีความ สังเคราะห์ข้อมูล ทั้งผู้นำชุมชน ชาวบ้านชุมชนบ้านเขาฝาก ปราชญ์ชาวบ้าน
  3. ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเขาฝาก คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านเขาฝาก คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้ความร่วมมือและสนับสนุนทุกด้าน

 

  1. การเผยแพร่

เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ ดังนี้
 

Powered by GliaStudio
Back to top button