การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยวิธีการสอบย่อยทุกสัปดาห์กับวิธีทดสอบเมื่อจบหน่วยการเรียน
งานวิจัยในชั้นเรียน
เรื่อง การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยวิธีการสอบย่อยทุกสัปดาห์กับวิธีทดสอบเมื่อจบหน่วยการเรียน
นายธนเดช ศรีจันทร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ปีการศึกษา ๒๕๖๖
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๕ จังหวัดพังงา อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
ชื่อเรื่อง การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ด้วยวิธีการสอบย่อยทุกสัปดาห์กับ วิธีทดสอบเมื่อจบหน่วยการเรียน
ชื่อผู้วิจัย นายธนเดช ศรีจันทร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
สอนวิชา ประวัติศาสตร์ รหัสวิชา ส๓๑๑๐๔ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๖
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
การพัฒนานักเรียนนั้น ต้องพัฒนาให้ครบทุกด้าน คือ ทั้งด้านอารมณ์ สังคมและสติปัญญา จากการศึกษาข้อมูลจากการสอบในภาคเรียนที่ผ่านมาพบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีผลการเรียนในวิชาประวัติศาสตร์ ศึกษาอยู่ในระดับต่ำ จัดว่าเป็นปัญหาสำคัญ จำเป็นต้องแก้ไขโดยเร่งด่วน เพื่อให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ดีขึ้น
สาเหตุของปัญหาการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 นอกจากสาเหตุในเรื่องเนื้อหาวิชาและความรู้พื้นฐานแล้ว อาจมีสาเหตุอื่นอีก เช่น วิธีการสอนของครู การวัดและประเมินผล ความบกพร่องทางสติปัญญา และการฝึกฝนทบทวนบทเรียน ซึ่งจะทำให้นักเรียนมีความรู้และแม่นยำในเนื้อหาวิชามากขึ้น วิธีการหนึ่งที่จะทำให้นักเรียนได้ฝึกฝนและทบทวนบทเรียนบ่อย ๆ คือ การทดสอบบ่อย ๆ หรือการทดสอบย่อย เพื่อให้นักเรียนได้เตรียมตัว ตื่นตัวตลอดเวลาโดยการทบทวนบทเรียนก่อนสอน และการทดสอบย่อยทำให้นักเรียนได้พัฒนาและปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของตนเองตลอดเวลา นอกจากนี้แล้ว ยุพิน พิพิธกุล ( 2519 : 27 ) ได้กล่าวถึงความสำคัญของการทดสอบย่อยไว้ว่า การทดสอบย่อยจะช่วยกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการแข่งขันและเรียนด้วยความตั้งใจอยู่เสมอ และ สำเริง บุญเรืองรัตน์ ( 2512 : 43 ) ได้กล่าวถึงการทดสอบย่อย ซึ่งสรุปได้ว่า การทดสอบหลาย ๆ ครั้งจะทำให้ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้นกว่าการที่ไม่ได้รับการทดสอบย่อย หรือทดสอบรวมเพียงครั้งเดียว
จากแนวคิดดังกล่าวข้างต้นพอสรุปได้ว่า การทดสอบย่อยจะทำให้นักเรียนเตรียมพร้อมในการเรียนอยู่เสมอ และยังช่วยให้นักเรียนได้สำรวจแก้ไขข้อบกพร่องในการเรียนของตนเองอีกด้วย นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างสัมพันธ์ต่อเนื่องในการพัฒนาการเรียนส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นด้วย ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาประวัติศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
- เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาประวัติศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มที่มีการทดสอบย่อยทุกสัปดาห์และกลุ่มที่มีการทดสอบเมื่อจบหน่วยการเรียน
- เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มที่มีการทดสอบย่อยทุกสัปดาห์และกลุ่มที่มีการทดสอบเมื่อจบหน่วยการเรียน
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
สวัสดิ์ ปทุมราช ( 2518 : 25 ) กล่าวว่า นอกจากใช้การทดสอบย่อยเพื่อประโยชน์ของผู้เรียนแล้ว ผู้สอนอาจนำผลการทดสอบมาใช้แก้ไขปัญหาวิธีการสอนทำให้ผู้เรียนเข้าใจดีขึ้น หรือนำผลการสอบในหน่วยย่อย ของนักเรียนชุดนี้เปรียบเทียบกับนักเรียนชุดก่อน เพื่อดูว่า เมื่อได้เปลี่ยนวิธีการสอนบางอย่างแล้ว ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนควรจะต้องดีกว่าเดิมเป็นจริงเพียงใด
การทดสอบย่อยทำให้นักเรียนต้องเตรียมตัวอยู่เสมอในการที่จะเรียนรู้สำรวจข้อบกพร่องในการเรียน และได้มีโอกาสแก้ไขข้อบกพร่องของตนเอง ดังนั้นการจัดให้มีการทดสอบย่อยทุกสัปดาห์จึงจัดว่าเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ต่อเนื่องในด้านการเรียนรู้และการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการทดสอบย่อยอยู่เสมอ มีค่าสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการทดสอบย่อยน้อยครั้งกว่า ผู้วิจัยจึงตั้งสมมุติฐานในการวิจัยครั้งนี้ว่า ผลการทดสอบย่อยทุกสัปดาห์จะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาสูงกว่าการทดสอบเมื่อจบหน่วยการเรียน
วิธีดำเนินการวิจัย
ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง ประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ประชากรที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 จำนวน 15 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 จำนวน 18 คน โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๕ ปีการศึกษา 2565 ซึ่งเป็นนักเรียนที่เรียนวิชาประวัติศาสตร์ เหมือนกัน จากนั้นจะทำการสุ่มอย่างง่ายให้ห้องหนึ่ง ( ม.4/1 ) เป็นกลุ่มทดลอง และอีกห้องหนึ่ง ( ม.4/2 ) เป็นกลุ่มควบคุม
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย/นวัตกรรม
- แบบสอบย่อย สำหรับวัดผลการเรียนระหว่างเรียนซึ่งมีอยู่จำนวน 33 ชุด สำหรับกลุ่มที่วัดผลการเรียนทุกสัปดาห์( ม.4/1 ) และ 33 ชุด สำหรับกลุ่มที่วัดผลการเรียนเมื่อจบหน่วยการเรียน( ม.4/2 )
- แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใช้สำหรับวัดผลการเรียนรู้ก่อนและหลังเรียน มีลักษณะเป็นแบบข้อสอบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก มีคำตอบที่ถูกต้องเพียง 1 ตัวเลือกในแต่ละข้อ
การวิเคราะห์ข้อมูล/สถิติที่ใช้ในการวิจัย………………………………………………………………………………………………
ขั้นตอนการวิจัย…………………………………………………………………………………………………………
ผลการวิจัย
—————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————
อภิปรายผล
—————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————
ข้อเสนอแนะ
—————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————
บรรณานุกรม
—————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————