การเสริมสร้างความปลอดภัยที่เป็นเลิศ (The Best Safety Practice) โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี โดยใช้ SUANCHON Model
- บทสรุป
การพัฒนาและส่งเสริมความปลอดภัยในสถานศึกษา โดยใช้ SUANCHON Model มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1) เพื่อส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยให้สถานศึกษาเป็นพื้นที่ที่ไม่มีความเสี่ยงจากอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ หรือสถานการณ์ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อบุคลากรและนักเรียน
2) เพื่อป้องกันความรุนแรงในทุกรูปแบบลดปัญหาการกลั่นแกล้ง (Bullying) ความรุนแรงทางกาย วาจา และจิตใจ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
3) เพื่อสร้างวินัยและความตระหนักรู้เรื่องความปลอดภัยให้ผู้เรียนและบุคลากรมีจิตสำนึกด้านความปลอดภัยและปฏิบัติตามกฎระเบียบเพื่อป้องกันเหตุที่ไม่พึงประสงค์
4) เพื่อส่งเสริมสุขภาพกายและจิตใจสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพที่ดี ส่งเสริมความเคารพและการดูแลซึ่งกันและกัน
5) เพื่อป้องกันปัจจัยเสี่ยงลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุ สารเสพติด โรคติดต่อ และภัยธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นในสถานศึกษา
6) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมให้ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีบทบาทในการสร้างสถานศึกษาที่ปลอดภัย
7) เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือเหตุฉุกเฉิน จึงจัดทำแผนและฝึกซ้อมเพื่อเตรียมพร้อมต่อเหตุการณ์ฉุกเฉิน เช่น อัคคีภัย แผ่นดินไหว หรือภัยคุกคามอื่น ๆ
เป้าหมายเชิงปริมาณ
1) ครูและบุคลากรทางการศึกษา ร้อยละ 100
2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1–6 ร้อยละ 100
เป้าหมายเชิงคุณภาพ
1) ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความตระหนักในการเฝ้าระวังภัยในสถานศึกษา และการให้ข้อมูลต่าง ๆ ของโรงเรียน
2) โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี มีแนวทางปฏิบัติการขับเคลื่อนการเฝ้าระวังภัย และการให้ข้อมูลต่าง ๆ และมีระบบระบบการเฝ้าระวังภัยในสถานศึกษา และการให้ข้อมูลข่าวสารที่เข้มแข็งและมีความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขสถานการณ์ปัญหาของนักเรียน
3) นักเรียนทุกคนได้รับการปกป้องและความคุ้มครองความปลอดภัยทั้งภัยที่เกิดจากภัยการใช้ ความรุนแรงของมนุษย์ (Violence) ภัยที่เกิดจากอุบัติเหตุ (Accident) ภัยที่เกิดจากการถูก ละเมิดสิทธิ์ (Right) ภัยที่เกิดจากผลกระทบ ทางสุขภาวะทางกายและจิตใจ (Unhealthiness) ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง และสามารถอยู่ในสังคมอย่างปลอดภัยและมีความสุข
เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาและส่งเสริมความปลอดภัยในสถานศึกษา
1) คู่มือการพัฒนาและส่งเสริมความปลอดภัยในสถานศึกษา โดยใช้ SUANCHON Model
2) แบบประเมินการปฏิบัติงานการพัฒนาและส่งเสริมความปลอดภัยในสถานศึกษา โดยใช้ SUANCHON Model 3) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อการพัฒนาและส่งเสริมความ ปลอดภัยในสถานศึกษา โดยใช้ SUANCHON Model กลุ่มเป้าหมายในการส่งเสริมและพัฒนา คือ นักเรียนโรงเรียน สวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ปีการศึกษา 2566 โดยมีผลสรุปการดำเนินงาน ดังนี้
1) ผลการพัฒนาและส่งเสริมสถานศึกษาปลอดภัย โดยใช้รูปแบบ SUANCHON Model พบว่า ภาพรวมผลการดำเนินการเสริมสร้างความปลอดภัยที่เป็นเลิศมีค่าเฉลี่ยรวม 4.625 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.497 ซึ่งอยู่ในระดับปฏิบัติการ มาก โดยด้านความปลอดภัย (S : Safety) ด้านการดูแล (C : Care) และด้านความช่วยเหลือ
(H : Help) มีค่าเฉลี่ย 4.8 ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยสูงสุด และด้านเครือข่ายความร่วมมือ (N : Network) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.2 ซึ่งมีค่าน้อยที่สุด สะท้อนให้เห็นการปฏิบัติการที่เป็นเลิศและจุดที่ต้องพัฒนาเพิ่มเติม
- ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรม
2.1 ความเป็นมาและสภาพขของปัญหา
การศึกษามีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ในฐานะที่เป็นกระบวนการหนึ่งที่มีบทบาทโดยตรงต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการและทิศทางของประเทศ การศึกษาจึงหมายถึงการพัฒนาบุคคลให้มีความเจริญงอกงามทุกด้าน ทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคมการสร้างความปลอดภัยให้แก่นักเรียนจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะความปลอดภัยเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียน การพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าประสงค์ขึ้นอยู่กับความสุขและการมีชีวิตที่ปลอดภัยทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา สามารถป้องกันหรือได้รับ การป้องกันตนเองจากปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ มีความรู้ ความเข้าใจ จิตสำนึก และเจตคติที่ดี และมีทักษะในการป้องกันภัย สามารถหรือได้รับการแก้ไขปัญหา ช่วยเหลือ เยียวยา ฟื้นฟู และดำเนินการตาม ขั้นตอนของกฎหมาย ดังนั้น จึงเป็นภารกิจสำคัญที่กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่จะต้องมีแนวนโยบายสถานศึกษาปลอดภัยให้เกิดขึ้น (คู่มือการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษา, 2567 : 7)
จากสภาพปัญหาและเหตุการณ์ในปัจจุบัน เด็กและเยาวชนไทย ได้รับผลกระทบมาจากการเปลี่ยนแปลงของโลก ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และเทคโนโลยี ซึ่งส่งผลกระทบต่อดำรงชีวิตและความปลอดภัยของเด็กได้หลากหลายรูปแบบ ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมและเกิดความรุนแรงเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ มีการทะเลาะวิวาท ติดเกม มั่วสุมยาเสพติด ปัญหาทางด้านชู้สาว การตั้งครรภ์ก่อน
วัยอันควร ค่านิยมในการบริโภค ทำให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ รวมไปถึงการประสบอุติเหตุจากการใช้ยานพาหนะ
และการฆ่าตัวตาย ภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ อาทิ อาชญากรรม และความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ ภัยพิบัติจากธรรมชาติภัยจากโรคอุบัติใหม่ และภัยจากไซเบอร์ เป็นต้น แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ.2560 – 2579) จึงได้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลง ทางการศึกษาที่เกิดจากความก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยีของโลกยุคศตวรรษที่ 21 เป็นพลวัต ที่ก่อให้เกิดความท้าทายในด้านการเปลี่ยนแปลงของบริบทเศรษฐกิจและสังคมโลก อันเนื่องจากการปฏิวัติ ดิจิทัล (Digital Revolution) ประเทศเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ในอนาคตอันใกล้ การติดกับดักประเทศ ที่มีรายได้ปานกลาง ทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม วัฒนธรรม และพฤติกรรมของประชากรที่ปรับเปลี่ยนไป ตามกระแสโลกาภิวัตน์ เป็นผลให้เกิดการเร่งแก้ไขปัญหา ทั้งยังเกิดภัยคุกคามต่อความมั่นคงรูปแบบใหม่ ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนและประเทศชาติมีความซับซ้อนและรุนแรงมากขึ้น ซึ่งภัยในแต่ละด้านล้วน มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ประกอบกับนโยบาย Quick Win 7 วาระเร่งด่วน ข้อที่ 1 ความปลอดภัย ของผู้เรียน กระทรวงศึกษาธิการมองเห็นภัยที่เกิดแก่นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ที่เกิดขึ้นซ้ำ และส่งผลกระทบต่อสภาพร่างกายและจิตใจในหลายปีที่ผ่านมา เช่น ภัยจากการคุมคามทางเพศ ภัยจากการกลั่นแกล้งรังแก (Bully) รวมถึงภัยที่เกิดจากโรคอุบัติใหม่ ได้แก่ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) เป็นผลให้เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้และสวัสดิภาพชีวิตของนักเรียน นักศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นโยบายและจุดเน้นการจัดการศึกษาเพื่อความปลอดภัย “เสริมสร้างความปลอดภัยที่เป็นเลิศ (The Best Safety Practice) มุ่งเน้นความปลอดภัยในสถานศึกษา ส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาที่มี คุณภาพอย่างเท่าเทียมและบริหารจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นพัฒนาระบบและกลไกในการดูแล ความปลอดภัยให้แก่ผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา และสถานศึกษา จากภัยพิบัติและภัยคุกคามทุกรูปแบบ รวมถึงการจัดสภาพแวดลอมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดี สามารถปรับตัวต่อโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ ส่งเสริมความปลอดภัยสร้างความมั่นใจใหสังคม เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยแก่นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้การป้องกัน ดูแล ช่วยเหลือหรือเยียวยา และแก้ไขปัญหามีความเป็นเอกภาพ มีข้อมูลสารสนเทศที่เป็นระบบ สามารถแก้ไขปัญหาและบริหารจัดการความเสี่ยงได้อย่างยั่งยืนจากสถานการณ์ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ได้ส่งผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนในสถานศึกษาซึ่งสถานศึกษาบางแห่งพบปัญหามาก แต่บางแห่งก็พบปัญหาเพียงเล็กน้อย ดังนั้น โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง เป็นสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ได้เล็งเห็นความสำคัญในการจัดระบบความปลอดภัยที่ส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพของผู้เรียน และการมีชีวิตที่ได้รับการปกป้องคุ้มครองให้มีความปลอดภัย และเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงได้มีการประเมินความเสี่ยงใน สถานศึกษา ทั้งด้านภัยที่เกิดจากการใช้ความรุนแรงของมนุษย์ (Violence) ภัยที่เกิดจากอุบัติเหตุ (Accident) ภัยที่เกิดจากการถูกละเมิดสิทธิ์ (Right) และภัยที่เกิดจากผลกระทบทางสุขภาวะทางกายและจิตใจ (Unhealthiness) เพื่อเป็นการส่งเสริมให้สถานศึกษาสามารถดูแลช่วยเหลือผู้เรียนได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการจึงได้วางมาตรการความปลอดภัยในสถานศึกษา เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหา ดังกล่าวอย่างทุกมิติรอบด้านโดยการประสานความร่วมมือกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงกลาโหม กระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อร่วมหารือเกี่ยวกับการ จัดการความปลอดภัยในสถานศึกษาแบบบูรณาการ โดยการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่าง ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันซึ่งสถานศึกษาปลอดภัย เป็นหนึ่งในวาระเร่งด่วนของกระทรวงศึกษาธิการ พร้อม ทั้งจัดตั้ง safety center เพื่อดูแลความปลอดภัยในโรงเรียน สำหรับระบบ MOE Safety Center เป็นระบบมาตรฐานความปลอดภัยในสถานศึกษาโดยใช้หลัก Digital Based Management เป็นรูปแบบ วิธีการ หรือกระบวนการในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษา ให้เกิดการ เรียนรู้อย่างมีคุณภาพ มีความสุข และได้รับการปกป้อง คุ้มครองความปลอดภัยทั้งด้านร่างกายและจิตใจ รวมถึง การเสริมสร้างทักษะให้ผู้เรียนมีความสามารถในการดูแลตนเองจากภัยอันตรายต่าง ๆ ท่ามกลางสภาพแวดล้อม ของสังคม นักเรียน ครูและบุคลากร ทางการศึกษา หรือประชาชนทั่วไป สามารถเข้าถึงระบบ MOE Safety Center เมื่อมีความรู้สึกไม่ปลอดภัยและมีความประสงค์จะร้องทุกข์ ร้องเรียน หรือเตือนให้ทราบว่าสถานศึกษา แห่งหนึ่งกําลังเกิดภัยอย่างหนึ่งอย่างใดใน 4 กลุ่มภัย ได้แก่ ภัยที่เกิดจากการใช้ความรุนแรงของมนุษย์ ภัยที่เกิด จากอุบัติเหตุ ภัยที่เกิดจากการถูกละเมิดสิทธิ์ และภัยที่เกิดจากผลกระทบต่อสุขภาวะทางกายและจิตใจ
จากการนำข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี และผลจากการแจ้งข้อมูลผ่านระบบ MOE Safety Center เกี่ยวกับความปลอดภัยในสถานศึกษา ปีการศึกษา 2565 และ ปีการศึกษา 2566 ได้รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลและเสนอเป็นภัย 4 ภัย ดังนี้
ปีการศึกษา 2565
1) ภัยที่เกิดจากการใช้ความรุนแรงของมนุษย์ (Violence) จำนวน 0 ราย
2) ภัยที่เกิดจากอุบัติเหตุ (Accident) จำนวน 35 ราย
3) ภัยที่เกิดจากการถูกละเมิดสิทธิ (Right) จำนวน 0 ราย
4) ภัยที่เกิด จากผลกระทบต่อสุขภาวะทางกายและจิตใจ (Unhealthiness) จำนวน 87 ราย เป็นโรคระบาดมนุษย์ (โรคติด เชื้อไวรัสโคโรน่า 2019)
ปีการศึกษา 2566
1) ภัยที่เกิดจากการใช้ความรุนแรงของมนุษย์ (Violence) จำนวน 0 ราย
2) ภัยที่เกิดจากอุบัติเหตุ (Accident) จำนวน 46 ราย และเสียชีวิต 1 ราย
3) ภัยที่เกิดจากการถูกละเมิดสิทธิ (Right) จำนวน 0 ราย
4) ภัยที่เกิดจากผลกระทบต่อสุขภาวะทางกายและจิตใจ (Unhealthiness) จำนวน 36 ราย เป็นโรคระบาดมนุษย์ (โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019)
จากข้อมูลสารสนเทศข้างต้น โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี จึงได้นำนโยบายสถานศึกษาปลอดภัยมา ดำเนินการขับเคลื่อนอย่างเต็มรูปแบบภายใต้แนวคิดนวัตกรรม “การพัฒนาและส่งเสริมสถานศึกษาปลอดภัย โดยใช้ SUANCHON Model ภายใต้การนำของนายชาตรี เจริญสุข ผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี
2.2 แนวทางการแก้ปัญหาและการพัฒนา
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ได้ให้ความสำคัญกับการสร้างความปลอดภัยให้แก่เด็กนักเรียนเป็นสิ่งสำคัญ เพราะความปลอดภัยเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน การเรียนรู้ การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการมีชีวิตที่ปลอดภัยทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา สามารถปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม รู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น รู้จักป้องกันตนเองในสภาวะคับขัน และจัดการกับชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง จึงได้ดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษา ตามมาตรการความปลอดภัยสถานศึกษา ได้นำรูปแบบแนวคิดนวัตกรรม “การพัฒนาและส่งเสริมสถานศึกษาปลอดภัย โดยใช้รูปแบบ
SUANCHON Model” มาเป็นแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาโรงเรียนเป็นโรงเรียนที่มีความปลอดภัย นำแนวคิดดังกล่าว โดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA ประกอบด้วย
P – Plan การวางแผน
D – Do การปฏิบัติ
C – Check การตรวจสอบ
A – Act กำรปรับปรุง พัฒนา
รูปแบบการพัฒนางานบริหารงานสถานศึกษาปลอดภัย โดยใช้ SUANCHON Model ด้วยวงจรคุณภาพ (PDCA) ที่ประกอบด้วย
1) ด้านความปลอดภัย (S : Safety)
2) ด้านความเข้าใจ (U : Understanding)
3) ด้านความตระหนักรู้ (A : Awareness)
4) ด้านการแจ้งเตือน (N : Notice)
5) ด้านการดูแล (C : Care)
6) ด้านความช่วยเหลือ (H : Help)
7) ด้านการจัดการ (O : Organization)
8) ด้านเครือข่ายความร่วมมือ (N : Network)
- จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
3.1 จุดประสงค์ของการดำเนินงาน
3.1.1 เพื่อส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยให้สถานศึกษาเป็นพื้นที่ที่ไม่มีความเสี่ยงจากอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ หรือสถานการณ์ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อบุคลากรและนักเรียน
3.1.2 เพื่อป้องกันความรุนแรงในทุกรูปแบบลดปัญหาการกลั่นแกล้ง (Bullying) ความรุนแรงทางกาย วาจา และจิตใจ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
3.1.3 เพื่อสร้างวินัยและความตระหนักรู้เรื่องความปลอดภัยให้ผู้เรียนและบุคลากรมีจิตสำนึกด้านความปลอดภัย และปฏิบัติตามกฎระเบียบเพื่อป้องกันเหตุที่ไม่พึงประสงค์
3.1.4 เพื่อส่งเสริมสุขภาพกายและจิตใจสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพที่ดี ส่งเสริมความเคารพและการดูแลซึ่งกันและกัน
3.1.5 เพื่อป้องกันปัจจัยเสี่ยงลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุ สารเสพติด โรคติดต่อ และภัยธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นในสถานศึกษา
3.1.6 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมให้ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีบทบาทในการสร้างสถานศึกษาที่ปลอดภัย
3.1.7 เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือเหตุฉุกเฉินจัดทำแผนและฝึกซ้อมเพื่อเตรียมพร้อมต่อเหตุการณ์ฉุกเฉิน เช่น อัคคีภัย แผ่นดินไหว หรือภัยคุกคามอื่น ๆ
3.2 เป้าหมายของการดำเนินงาน
3.2.1 เป้าหมายเชิงปริมาณ
3.2.1.1 ครูและบุคลากรทางการศึกษา ร้อยละ 100
3.2.1.2 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1–6 ร้อยละ 100
3.2.2 เป้าหมายเชิงคุณภาพ
3.2.2.1 ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความตระหนักในการเฝ้าระวังภัยในสถานศึกษา และการให้ ข้อมูลต่าง ๆ ของโรงเรียน
3.2.2.2 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี มีแนวทางปฏิบัติการขับเคลื่อนการเฝ้าระวังภัย และการให้ข้อมูลต่าง ๆ และมีระบบระบบการเฝ้าระวังภัยในสถานศึกษา และการให้ข้อมูลข่าวสาร ที่เข้มแข็งและมีความพร้อม ในการป้องกัน และแก้ไขสถานการณ์ปัญหาของนักเรียน
3.2.2.3 นักเรียนทุกคนได้รับการปกป้องและความคุ้มครองความปลอดภัยทั้งภัยที่เกิดจากภัยการใช้ ความรุนแรงของมนุษย์ (Violence) ภัยที่เกิดจากอุบัติเหตุ (Accident) ภัยที่เกิดจากการถูก ละเมิดสิทธิ์ (Right) ภัยที่เกิดจากผลกระทบทางสุขภาวะทางกาย และจิตใจ (Unhealthiness) ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง และสามารถอยู่ ในสังคมอย่างปลอดภัยและมีความสุข
- กระบวนการผลิตผลงาน หรือขั้นตอนการดำเนินงาน
4.1 การออกแบบผลงาน/นวัตกรรม
การดำเนินงานพัฒนารูปแบบการบริหารงานสถานศึกษาปลอดภัย โดยใช้ SUANCHON Model โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี โดยนำแนวคิดการบริหารงานด้วยวงจรคุณภาพ PDCA ประกอบด้วย ขั้นวางแผน (Plan) การประเมินความเสี่ยง การจัดทำแผน การกำหนดเป้าหมาย 3 ป (ป้องกัน ปลูกฝัง ปราบปราม) ขั้นปฏิบัติ (Do) การดำเนินงานตามมาตรการความปลอดภัยตามมาตรการความปลอดภัย 4 กลุ่มภัย ดังนี้ 1) ภัยที่เกิดจาก การใช้ความรุนแรงของมนุษย์ (Violence) 2) ภัยที่เกิดจากอุบัติเหตุ (Accident) 3) ภัยที่เกิดจากการถูกละเมิด สิทธิ์(Right) 4) ภัยที่เกิดจาก ผลกระทบทางสุขภาวะทางกายและจิตใจ (Unhealthiness) การสร้างความรู้และ การป้องกัน ปลูกฝัง ปราบปราม ตามขอบข่ายความปลอดภัยในสถานศึกษา ขั้นตรวจสอบ (Check) ติดตาม กำกับ นิเทศ งานความปลอดภัยและขั้นพัฒนาและการปรับปรุง (Act) การสะท้อนผลการประเมินผลปรับปรุง พัฒนางาน ความปลอดภัยสามารถแสดงลำดับขั้นตอนกระบวนการดำเนินงานดังนี้
1) ด้านความปลอดภัย (S : Safety)
ขั้นการวางแผน (Plan)
- กำหนดนโยบาย แต่งตั้งกรรมการผู้รับผิดชอบในการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย
- ประชุมคณะกรรมการเพื่อชี้แจงการวางแผนพัฒนาสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยเอื้อต่อการเรียนรู้
ขั้นการดำเนินงาน (DO)
- การแต่งตั้งผู้รับผิดชอบตามโครงการ
- ศึกษาสภาพปัญหาสภาพแวดล้อมของสถานศึกษาด้านที่ไม่ปลอดภัย
- กำหนดแนวทางการปรับปรุงสภาพแวดล้อมสถานศึกษาให้ปลอดภัย
- สร้าง ปรับปรุง ซ่อมแซม พัฒนาสภาพแวดล้อมของสถานศึกษาให้ปลอดภัย
ขั้นการติดตาม ตรวจสอบ (Check)
- ประเมินตรวจสอบความก้าวหน้าในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมของสถานศึกษาให้ปลอดภัย
- การวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคจากการดำเนินการ
ขั้นประเมินผลและปรับปรุง (Action)
- กำหนดแนวทางในการปรับปรุงการดำเนินงานการพัฒนาสภาพแวดล้อมในครั้งต่อไป
- นำผลการดำเนินงานไปพัฒนาการดำเนินงานโครงการต่าง ๆ ในสถานศึกษา
2) ด้านความเข้าใจ (U : Understanding)
ขั้นการวางแผน (Plan)
- กำหนดนโยบายการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับความปลอดภัยในสถานศึกษา
- ประชุมคณะกรรมการเพื่อสรรหาผู้รับผิดชอบงานในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายและวางแผนบทบาทหน้าที่การดำเนินงานที่ส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับความปลอดภัยในสถานศึกษา
ขั้นการดำเนินงาน (DO)
- ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลภัยที่เกิดขึ้นในสถานศึกษาที่จะสามารถดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ
ให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับความปลอดภัยในสถานศึกษาและมีการประชาสัมพันธ์ความปลอดภัยให้กับนักเรียนทราบอย่างต่อเนื่อง
- ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับหน่วยงานภายในและภายนอก
- ดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของงานในหน้าที่ได้อย่างเป็นระบบให้บรรลุเป้าหมาย
ขั้นการติดตาม ตรวจสอบ (Check)
- ติดตามผลการดำเนินงาน ในกิจกรรมต่าง ๆ ที่ร่วมกับหน่วยภายในและภายนอกสถานศึกษา
- วิเคราะห์ผลสำเร็จ ปัญหา และอุปสรรค เพื่อนำไปสู่การแก้ไขและพัฒนางาน
ขั้นประเมินผลและปรับปรุง (Action)
- ประะเมินผลและสรุปผลการดำเนินงาน
- รายงานผลพัฒนาและปรับปรุงงานอย่างเป็นระบบ
3) ด้านความตระหนักรู้ (A : Awareness)
ขั้นการวางแผน (Plan)
- กำหนดนโยบายการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดความตระหนักรู้ในเรื่องของความปลอดภัยในสถานศึกษา
- ประชุมคณะกรรมการเพื่อสรรหาผู้รับผิดชอบงานในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายและวางแผนบทบาทหน้าที่การดำเนินงานที่ส่งเสริมให้เกิดความตระหนักรู้ในเรื่องของความปลอดภัยในสถานศึกษา
ขั้นการดำเนินงาน (DO)
- ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลภัยที่เกิดขึ้นในสถานศึกษาที่จะสามารถดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ
ให้เกิดที่ความตระหนักรู้ในเรื่องของความปลอดภัยในสถานศึกษา
- ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับหน่วยงานภายในและภายนอก
- ดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของงานในหน้าที่ได้อย่างเป็นระบบให้บรรลุเป้าหมาย
ขั้นการติดตาม ตรวจสอบ (Check)
- ติดตามผลการดำเนินงาน ในกิจกรรมต่าง ๆ ที่ร่วมกับหน่วยภายในและภายนอกสถานศึกษา
- วิเคราะห์ผลสำเร็จ ปัญหา และอุปสรรค เพื่อนำไปสู่การแก้ไขและพัฒนางาน
ขั้นประเมินผลและปรับปรุง (Action)
- ประะเมินผลและสรุปผลการดำเนินงาน
- รายงานผลพัฒนาและปรับปรุงงานอย่างเป็นระบบ
4) ด้านการแจ้งเตือน (N : Notice)
ขั้นการวางแผน (Plan)
- กำหนดนโยบาย แต่งตั้งกรรมการผู้รับผิดชอบในการด้านการแจ้งเตือนสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย
- ประชุมคณะกรรมการเพื่อชี้แจงด้านการแจ้งเตือนสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยที่เอื้อต่อการเรียนรู้
ขั้นการดำเนินงาน (DO)
- การแต่งตั้งผู้รับผิดชอบตามโครงการ
- ศึกษาสภาพปัญหาสภาพแวดล้อมของสถานศึกษาด้านที่ไม่ปลอดภัย
- กำหนดแนวทางการปรับปรุงสภาพแวดล้อมสถานศึกษาให้ปลอดภัย
- จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์การแจ้งเตือนสภาพแวดล้อมของสถานศึกษาให้ปลอดภัย
ขั้นการติดตาม ตรวจสอบ (Check)
- ประเมินตรวจสอบความก้าวหน้าในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมของสถานศึกษาให้ปลอดภัย
- การวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคจากการดำเนินการ
ขั้นประเมินผลและปรับปรุง (Action)
- กำหนดแนวทางในการปรับปรุงการดำเนินงานการพัฒนาสภาพแวดล้อมในครั้งต่อไป
- นำผลการดำเนินงานไปพัฒนาการดำเนินงานโครงการต่าง ๆ ในสถานศึกษา
5) ด้านการดูแล (C : Care)
ขั้นการวางแผน (Plan)
- กำหนดนโยบายการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดการดูแลความปลอดภัยในสถานศึกษา
- ประชุมคณะกรรมการเพื่อสรรหาผู้รับผิดชอบงานในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายและวางแผนบทบาทหน้าที่การดำเนินงานที่ส่งเสริมให้เกิดการดูแลความปลอดภัยในสถานศึกษา
ขั้นการดำเนินงาน (DO)
- ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลภัยที่เกิดขึ้นในสถานศึกษาที่จะสามารถดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ
ให้เกิดการดูแลความปลอดภัยในสถานศึกษา
- ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับหน่วยงานภายในและภายนอก
- ดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของงานในหน้าที่ได้อย่างเป็นระบบให้บรรลุเป้าหมาย
ขั้นการติดตาม ตรวจสอบ (Check)
- ติดตามผลการดำเนินงาน ในกิจกรรมต่าง ๆ ที่ร่วมกับหน่วยภายในและภายนอกสถานศึกษา
- วิเคราะห์ผลสำเร็จ ปัญหา และอุปสรรค เพื่อนำไปสู่การแก้ไขและพัฒนางาน
ขั้นประเมินผลและปรับปรุง (Action)
- ประะเมินผลและสรุปผลการดำเนินงาน
- รายงานผลพัฒนาและปรับปรุงงานอย่างเป็นระบบ
6) ด้านความช่วยเหลือ (H : Help)
ขั้นการวางแผน (Plan)
- กำหนดนโยบายการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดความช่วยเหลือในเรื่องความปลอดภัยในสถานศึกษา
- ประชุมคณะกรรมการเพื่อสรรหาผู้รับผิดชอบงานในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายและวางแผนบทบาทหน้าที่การดำเนินงานที่ส่งเสริมให้เกิดความช่วยเหลือในเรื่องความปลอดภัยในสถานศึกษา
ขั้นการดำเนินงาน (DO)
- ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลภัยที่เกิดขึ้นในสถานศึกษาที่จะสามารถดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ
ให้เกิดการดูแลความปลอดภัยในสถานศึกษา
- ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับหน่วยงานภายในและภายนอก
- ดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของงานในหน้าที่ได้อย่างเป็นระบบให้บรรลุเป้าหมาย
ขั้นการติดตาม ตรวจสอบ (Check)
- ติดตามผลการดำเนินงาน ในกิจกรรมต่าง ๆ ที่ร่วมกับหน่วยภายในและภายนอกสถานศึกษา
- วิเคราะห์ผลสำเร็จ ปัญหา และอุปสรรค เพื่อนำไปสู่การแก้ไขและพัฒนางาน
ขั้นประเมินผลและปรับปรุง (Action)
- ประะเมินผลและสรุปผลการดำเนินงาน
- รายงานผลพัฒนาและปรับปรุงงานอย่างเป็นระบบ
7) ด้านการจัดการ (O : Organization)
ขั้นการวางแผน (Plan)
- กำหนดนโยบาย แต่งตั้งกรรมการผู้รับผิดชอบด้านการจัดการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย
- ประชุมคณะกรรมการเพื่อชี้แจงการวางแผนการจัดการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย
ขั้นการดำเนินงาน (DO)
- ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลภัยที่เกิดขึ้นในสถานศึกษาที่จะสามารถดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ
ให้เกิดการจัดการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย
- ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับหน่วยงานภายในและภายนอก
- ดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของงานในหน้าที่ได้อย่างเป็นระบบให้บรรลุเป้าหมาย
ขั้นการติดตาม ตรวจสอบ (Check)
- ติดตามผลการดำเนินงาน ในกิจกรรมต่าง ๆ ที่ร่วมกับหน่วยภายในและภายนอกสถานศึกษา
- วิเคราะห์ผลสำเร็จ ปัญหา และอุปสรรค เพื่อนำไปสู่การแก้ไขและพัฒนางาน
ขั้นประเมินผลและปรับปรุง (Action)
- ประะเมินผลและสรุปผลการดำเนินงาน
- รายงานผลพัฒนาและปรับปรุงงานอย่างเป็นระบบ
8) ด้านเครือข่ายความร่วมมือ (N : Network)
ขั้นการวางแผน (Plan)
- ประชุมวางแผน ร่วมกับภาคีเครือข่ายเพื่อดำเนินการกิจกรรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในสถานศึกษา
- แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการกิจกรรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในสถานศึกษาร่วมกับ
ภาคีเครือข่าย
ขั้นการดำเนินงาน (DO)
- ทำบันทึกข้อตกลง MOU ร่วมกันในการดำเนินกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัย
- ดำเนินกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัย ในรูปแบบต่าง ๆ ร่วมกับภาคีเครือข่าย
ขั้นการติดตาม ตรวจสอบ (Check)
- มีการติดตามการดำเนินกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา
ขั้นประเมินผลและปรับปรุง (Action)
- ประเมิน ติดตาม ผลการดำเนินกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา
- เสนอแนวทาง แก้ปัญหาการทำงานหรือปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกับภาคีเครือข่าย
4.2 การดำเนินงานตามกิจกรรม
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ได้ดำเนินงานตามกิจกรรมที่ออกแบบไว้ทุกขั้นตอนและมีการปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ดังนี้
1) ด้านความปลอดภัย (S : Safety)
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ได้มีการจัดการประชุมเพื่อวิเคราะห์ปัญหา และวางแผนการพัฒนางานด้านการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยทั้งทางด้านอาคารสถานที่และด้านบุคลากร ดังนี้
1.1 ความปลอดภัยทางกายภาพ (Physical Safety) การป้องกันอุบัติเหตุในพื้นที่โรงเรียน เช่น การติดตั้งรั้วที่มั่นคง การตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ภายในโรงเรียน และการดูแลสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยการจัดพื้นที่อาคารเรียนให้เหมาะสม เช่น ทางหนีไฟ ป้ายบอกทางฉุกเฉิน และถังดับเพลิงที่พร้อมใช้งาน
1.2 ความปลอดภัยทางสุขภาพ (Health Safety) มีการรักษาความสะอาดในโรงเรียน เช่น ห้องน้ำ โรงอาหาร และห้องเรียน การให้ความรู้เกี่ยวกับสุขอนามัยแก่นักเรียน เช่น การล้างมือ การป้องกันการแพร่กระจายของโรค การเตรียมอุปกรณ์ปฐมพยาบาลและเจ้าหน้าที่ที่สามารถช่วยเหลือได้ทันที
1.3 ความปลอดภัยจากเหตุการณ์ฉุกเฉิน (Emergency Safety) การซ้อมรับมือเหตุฉุกเฉิน เช่น การหนีไฟ แผ่นดินไหว หรือการป้องกันภัยพิบัติ การจัดทำแผนเผชิญเหตุร่วมกับครูและนักเรียน เพื่อให้ทุกคนรู้หน้าที่ของตนเอง
1.4 ความปลอดภัยทางจิตใจ (Emotional Safety)การสร้างบรรยากาศในโรงเรียนที่ปลอดภัยจากการกลั่นแกล้ง (Bullying) การให้คำปรึกษานักเรียนในเรื่องที่เกี่ยวกับความเครียด ความกดดัน หรือปัญหาส่วนตัว การอบรมให้ครูและนักเรียนรู้จักการเคารพซึ่งกันและกัน
1.5 ความปลอดภัยจากภัยคุกคามภายนอก (Security from External Threats) การจัดระบบรักษาความปลอดภัย เช่น เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย กล้องวงจรปิด และการจำกัดการเข้าถึงโรงเรียนจากบุคคลภายนอก
2) ด้านความเข้าใจ (U : Understanding)
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ได้มีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความเข้าใจในด้านปลอดภัยในสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมความเข้าใจและการสื่อสารที่ดีระหว่างทุกฝ่ายในโรงเรียนเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
3) ด้านความตระหนักรู้ (A : Awareness)
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ได้มีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้ ในด้านปลอดภัยในสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมให้นักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงต่าง ๆ พร้อมทั้งตื่นตัวอยู่เสมอเพื่อป้องกันเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้น
4) ด้านการแจ้งเตือน (N : Notice)
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ได้มีการจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์การแจ้งเตือนเกี่ยวกับความปลอดภัยในสถานศึกษา เพื่อการแจ้งเตือนที่มีประสิทธิภาพ ให้ครู นักเรียน บุคลากร และผู้ปกครองรับรู้ถึงสถานการณ์ที่อาจเป็นอันตรายหรือกำลังจะเกิดขึ้น และสามารถดำเนินการป้องกันหรือแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว
5) ด้านการดูแล (C : Care)
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ได้มีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการดูแลในด้านปลอดภัยในสถานศึกษาเพื่อเอาใจใส่และการดูแลทุกมิติของนักเรียน ครู และบุคลากร เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม
6) ด้านความช่วยเหลือ (H : Help)
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ได้มีการวางแผนความช่วยเหลือด้านความปลอดภัยในสถานศึกษาเพื่อเตรียมพร้อมให้ความช่วยเหลือในทุกสถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือในเหตุฉุกเฉิน การสนับสนุนทางกายภาพหรือจิตใจ และการสร้างระบบการช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้ทุกคนในโรงเรียนรู้สึกมั่นใจและปลอดภัย
7) ด้านการจัดการ (O : Organization)
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ได้มีการจัดการด้านความปลอดภัยในสถานศึกษาเพื่อวางแผน จัดระเบียบ และดำเนินการอย่างมีระบบเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยให้แก่นักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียน
8) ด้านเครือข่ายความร่วมมือ (N : Network)
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี มีการวางแผนประชุมร่วมกับภาคีเครือข่ายโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี เช่น คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เครือข่ายผู้ปกครอง องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อวิน
สถานีตำรวจภูธรบ่อวิน และหน่วยงานเอกชน เป็นต้น เพื่อร่วมกันวิเคราะห์สภาพปัญหาและหาแนวทางแก้ไข
4.3 ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี มีกิจกรรมการปฏิบัติที่ปรากฏชัดเจน เป็นลำดับขั้นตอนโดยใช้วงจร
คุณภาพ PDCA ในการดำเนินงาน การพัฒนาและส่งเสริมสถานศึกษาปลอดภัยโดยใช้รูปแบบ SUANCHON Model ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง มีวิธีการสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่ส่งผลต่อเป้าหมายและการพัฒนาอย่างมีคุณภาพ สามารถเป็นแบบอย่างสถานศึกษาอื่นได้ โดยมีคณะศึกษาดูงานจากโรงเรียนต่าง ๆ เข้ามาศึกษางานอย่างมากมาย
4.4 การใช้ทรัพยากร
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี มีการประยุกต์ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสมและคุ้มค่าสอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา เพื่อการพัฒนาและส่งเสริมสถานศึกษาปลอดภัย ได้รับการส่งเสริม สนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลและองค์กรเอกชนอย่างต่อเนื่อง
- ผลการดำเนินการ ผลสัมฤทธิ์ และประโยชน์ที่ได้รับ
5.1 ผลการดำเนินการตามจุดประสงค์
จากดำเนินการเสริมสร้างความปลอดภัยที่เป็นเลิศซึ่งสอดคล้องกับ SUANCHON model สามารถสรุปได้ดังนี้
5.1.1 ด้านความปลอดภัย (S : Safety)
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี มี
1) ความปลอดภัยทางกายภาพ (Physical Safety) การป้องกันอุบัติเหตุในพื้นที่โรงเรียน เช่น การติดตั้งรั้วที่มั่นคง การตรวจสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในโรงเรียน และการดูแลสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยการจัดพื้นที่อาคารเรียนให้เหมาะสม เช่น ทางหนีไฟ ป้ายบอกทางฉุกเฉิน และถังดับเพลิงที่พร้อมใช้งาน
2) ความปลอดภัยทางสุขภาพ (Health Safety) มีการรักษาความสะอาดในโรงเรียน เช่น ห้องน้ำ โรงอาหาร และห้องเรียน การให้ความรู้เกี่ยวกับสุขอนามัยแก่นักเรียน เช่น การล้างมือ การป้องกันการแพร่กระจายของโรค การเตรียมอุปกรณ์ปฐมพยาบาลและเจ้าหน้าที่ที่สามารถช่วยเหลือได้ทันที
3) ความปลอดภัยจากเหตุการณ์ฉุกเฉิน (Emergency Safety) การซ้อมรับมือเหตุฉุกเฉิน เช่น การหนีไฟ แผ่นดินไหว หรือการป้องกันภัยพิบัติ การจัดทำแผนเผชิญเหตุร่วมกับครูและนักเรียน เพื่อให้ทุกคนรู้หน้าที่ของตนเอง
4) ความปลอดภัยทางจิตใจ (Emotional Safety) การสร้างบรรยากาศในโรงเรียนที่ปลอดภัยจากการกลั่นแกล้ง (Bullying) การให้คำปรึกษานักเรียนในเรื่องที่เกี่ยวกับความเครียด ความกดดัน หรือปัญหาส่วนตัว การอบรมให้ครูและนักเรียนรู้จักการเคารพซึ่งกันและกัน
5) ความปลอดภัยจากภัยคุกคามภายนอก (Security from External Threats) การจัดระบบรักษาความปลอดภัย เช่น เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย กล้องวงจรปิด และการจำกัดการเข้าถึงโรงเรียนจากบุคคลภายนอก
5.1.2 ด้านความเข้าใจ (U : Understanding)
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ได้มีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความเข้าใจในด้านปลอดภัยในสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมความเข้าใจและการสื่อสารที่ดีระหว่างทุกฝ่ายในโรงเรียนเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
5.1.3 ด้านความตระหนักรู้ (A : Awareness)
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ได้มีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้ ในด้านปลอดภัยในสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมให้นักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงต่าง ๆ พร้อมทั้งตื่นตัวอยู่เสมอเพื่อป้องกันเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้น
5.1.4 ด้านการแจ้งเตือน (N : Notice)
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ได้มีการจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์การแจ้งเตือนเกี่ยวกับความปลอดภัยในสถานศึกษา เพื่อการแจ้งเตือนที่มีประสิทธิภาพ ให้ครู นักเรียน บุคลากร และผู้ปกครองรับรู้ถึงสถานการณ์ที่อาจเป็นอันตรายหรือกำลังจะเกิดขึ้น และสามารถดำเนินการป้องกันหรือแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว
5.1.5 ด้านการดูแล (C : Care)
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ได้มีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการดูแลในด้านปลอดภัยในสถานศึกษาเพื่อเอาใจใส่และการดูแลทุกมิติของนักเรียน ครู และบุคลากร เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม
5.1.6 ด้านความช่วยเหลือ (H : Help)
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ได้มีการวางแผนความช่วยเหลือด้านความปลอดภัยในสถานศึกษาเพื่อเตรียมพร้อมให้ความช่วยเหลือในทุกสถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือในเหตุฉุกเฉิน การสนับสนุนทางกายภาพหรือจิตใจ และการสร้างระบบการช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้ทุกคนในโรงเรียนรู้สึกมั่นใจและปลอดภัย
5.1.7 ด้านการจัดการ (O : Organization)
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ได้มีการจัดการด้านความปลอดภัยในสถานศึกษาเพื่อวางแผน จัดระเบียบ และดำเนินการอย่างมีระบบเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยให้แก่นักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียน
5.1.8 ด้านเครือข่ายความร่วมมือ (N : Network)
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี มีการวางแผนประชุมร่วมกับภาคีเครือข่ายโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี เช่น คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เครือข่ายผู้ปกครอง องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อวิน สถานีตำรวจภูธรบ่อวิน และหน่วยงานเอกชน เป็นต้น เพื่อร่วมกันวิเคราะห์สภาพปัญหาและหาแนวทางแก้ไข
5.2 ผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินงาน
จากดำเนินการเสริมสร้างความปลอดภัยที่เป็นเลิศซึ่งสอดคล้องกับ SUANCHON model สามารถวัดและประเมินเป็นผลสัมฤทธิ์ ดังนี้
ตารางที่ 5.2 ผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินดำเนินการเสริมสร้างความปลอดภัยที่เป็นเลิศ กับ SUANCHON model
ด้านที่
รายการปฏิบัติ
ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ระดับปฏิบัติการ
1
ด้านความปลอดภัย (S : Safety)
4.8
0.447
มาก
2
ด้านความเข้าใจ (U : Understanding)
4.6
0.548
มาก
3
ด้านความตระหนักรู้ (A : Awareness)
4.6
0.547
มาก
4
ด้านการแจ้งเตือน (N : Notice)
4.6
0.547
มาก
5
ด้านการดูแล (C : Care)
4.8
0.447
มาก
6
ด้านความช่วยเหลือ (H : Help)
4.8
0.447
มาก
7
ด้านการจัดการ (O : Organization)
4.6
0.547
มาก
8
ด้านเครือข่ายความร่วมมือ (N : Network)
4.2
0.447
มาก
เฉลี่ยรวม
4.625
0.497
มาก
จากตารางที่ 5.2 ผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินดำเนินการเสริมสร้างความปลอดภัยที่เป็นเลิศ กับ SUANCHON model พบว่า การดำเนินการเสริมสร้างความปลอดภัยที่เป็นเลิศมีค่าเฉลี่ยรวม 4.625 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.497 ซึ่งอยู่ในระดับปฏิบัติการ มาก โดยที่ด้านความปลอดภัย (S : Safety) ด้านการดูแล (C : Care) และด้านความช่วยเหลือ (H : Help) มีค่าเฉลี่ย 4.8 ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยสูงสุด และด้านเครือข่ายความร่วมมือ (N : Network) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.2 ซึ่งมีค่าน้อยที่สุด สะท้อนให้เห็นการปฏิบัติการที่เป็นเลิศและจุดที่ต้องพัฒนาเพิ่มเติมต่อไป
5.3 ประโยชน์ที่จะได้รับ
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ดำเนินการเสริมสร้างความปลอดภัยที่เป็นเลิศซึ่งสอดคล้องกับ SUANCHON model ซึ่งก่อให้เกิดความปลอดภัยภายในสถานศึกษา ดังนี้
(1) ลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุและภัยคุกคาม
การมีมาตรการความปลอดภัยที่ดีช่วยลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุ เช่น การลื่นล้ม หรือการบาดเจ็บจากอุปกรณ์ในโรงเรียน รวมถึงป้องกันภัยจากบุคคลภายนอกหรือเหตุการณ์รุนแรงที่อาจเกิดขึ้น
(2) ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
เมื่อผู้เรียนรู้สึกปลอดภัย จะสามารถมีสมาธิและมุ่งเน้นไปที่การเรียนได้มากขึ้น โดยไม่มีความกังวลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย
(3) สร้างความไว้วางใจและความมั่นใจ
นักเรียน ผู้ปกครอง และครูจะมีความมั่นใจในสถานศึกษา ซึ่งจะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและความไว้วางใจระหว่างทุกฝ่าย
(4) ลดปัญหาพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
การส่งเสริมความปลอดภัยควบคู่ไปกับการสร้างวินัยที่ดีช่วยลดปัญหาพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การรังแก (bullying) การทะเลาะวิวาท หรือการใช้สารเสพติด
- ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ
การเสริมสร้างความปลอดภัยของโรงเรียนเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ให้ประสบความสำเร็จต้องพึ่งพาหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน การปฏิบัติ และการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้การดำเนินงานนี้สำเร็จมีดังนี้:
- การสนับสนุนจากผู้บริหารและนโยบายที่ชัดเจน
ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีความมุ่งมั่นและกำหนดนโยบายด้านความปลอดภัยที่เป็นรูปธรรม รวมถึงจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณที่เพียงพอเพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน - การมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย
การทำให้ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนรอบข้างมีส่วนร่วมในการออกแบบและปฏิบัติมาตรการความปลอดภัยจะช่วยสร้างความตระหนักและความร่วมมืออย่างยั่งยืน - การฝึกอบรมและการให้ความรู้
การให้ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยแก่ครู นักเรียน และบุคลากร เช่น การป้องกันอัคคีภัย วิธีปฐมพยาบาล หรือการรับมือเหตุการณ์ฉุกเฉิน ช่วยเพิ่มความพร้อมในการจัดการสถานการณ์ - การตรวจสอบและประเมินความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง
การตรวจสอบสภาพแวดล้อมและอุปกรณ์ในโรงเรียน เช่น โครงสร้างอาคาร สนามเด็กเล่น และระบบไฟฟ้า รวมถึงการประเมินความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ ช่วยลดโอกาสเกิดอันตราย - การสื่อสารและแจ้งเตือนที่มีประสิทธิภาพ
การสร้างช่องทางการสื่อสารที่รวดเร็วและชัดเจน เช่น ระบบแจ้งเตือนภัย การประชาสัมพันธ์ หรือการจัดทำคู่มือความปลอดภัย จะช่วยให้นักเรียนและบุคลากรรับทราบข้อมูลสำคัญและปฏิบัติตัวได้อย่างเหมาะสมในสถานการณ์ต่าง ๆ
เมื่อทั้ง 5 ปัจจัยนี้เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ การเสริมสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษาจึงสามารถบรรลุผลสำเร็จและสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้อย่างยั่งยืน
- บทเรียนที่ได้รับ (Lesson Learned) และข้อเสนอแนะ
ผลจากการศึกษาพัฒนารูปแบบการบริหารงานสถานศึกษาปลอดภัย โดยใช้ SUANCHON Model พบว่า ด้านเครือข่ายความร่วมมือ (N : Network) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.2 ซึ่งมีค่าน้อยที่สุด จากข้อเสนอแนะผู้ให้ข้อมูลเพิ่มเติม พบว่า ต้องการให้เครือข่ายผู้ปกครอง หน่วยงานเอกชน บุคคลภายนอก เกิดความตระหนัก และตื่นตัวในการสร้างความ ปลอดภัยในสถานศึกษา เช่น ภัยที่เกิดจากการใช้ความรุนแรงของมนุษย์(Violence) ด้านการทะเลาะวิวาทและภัย ที่เกิดจาก ผลกระทบต่อสุขภาวะทางกายและจิตใจ (Unhealthiness) ด้านยาเสพติด ในปีการศึกษา 2566 พบว่า นักเรียนนักเรียนยังเกิดความเสี่ยงภัยอยู่อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการระวังภัย และสร้างความตระหนักให้แก่ นักเรียนในการป้องกันภัยอย่างยั่งยืน ควรมีพัฒนารูปแบบกิจกรรมในรูปแบบของการร่วมมือร่วมใจกับเครือข่ายผู้ปกครอง หน่วยงานเอกชน ในการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมความปลอดภัยในสถานศึกษา มากขึ้น
- การเผยแพร่/รางวัลที่ได้รับ
8.1 การเผยแพร่
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี มีการพัฒนาและส่งเสริมความปลอดภัยในสถานศึกษาโดยใช้ SUANCHON Model จนเกิดประสบความสำเร็จ เป็นที่ประจักษ์โดยมีการเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ ดังนี้
1) เอกสารแผ่นพับ คู่มือนักเรียน
2) สื่อออนไลน์ต่างๆ เช่น เฟซบุ๊กโรงเรียน เว็บไซต์โรงเรียน OBEC Line กลุ่มไลน์ผู้ปกครอง และ
กลุ่มไลน์เครือข่ายผู้ปกครอง ยูทูปเพลงสถานศึกษาปลอดภัย เป็นต้น
3) ป้ายประชาสัมพันธ์บนจอ LED ป้ายประชาสัมพันธ์ด้านหน้าโรงเรียน และในโรงเรียน
4) การประชุมผู้ปกครอง
5) การศึกษาดูงานทั้งภายในและภายนอกประเทศ
8.2 รางวัลที่ได้รับ
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี มีการพัฒนาและส่งเสริมความปลอดภัยในสถานศึกษาโดยใช้ SUANCHON Model จนเกิดประสบความสำเร็จ เป็นที่ประจักษ์ ส่งผลให้นักเรียน ครู และสถานศึกษา ได้รับรางวัล ดังนี้
ด้านนักเรียน
1) นักเรียนได้รับรางวัล ชนะเลิศ ระดับเหรียญทองจากการเข้าร่วมแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับชาติ ครั้งที่ 71 ทั้งหมด 13 รายการ
2) นักเรียนได้รับรางวัล รองชนะเลิศ อันดับ 1 ระดับเหรียญทองจากการเข้าร่วมแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับชาติ ครั้งที่ 71 ทั้งหมด 13 รายการ
3) นักเรียนได้รับรางวัล รองชนะเลิศ อันดับ 3 ระดับเหรียญทองจากการเข้าร่วมแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับชาติ ครั้งที่ 71 ทั้งหมด 13 รายการ
4) นักเรียนได้รับรางวัลเหรียญเงิน รายการ “มหกรรมสนามเด็กเล่นหุ่นยนต์และการแข่งขันหุ่นยนต์ยุวชน” ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ประจำปี 2566 ระหว่างวันที่ 17-18 มิถุนายน 2566 ณ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
5) ทีมนักเรียนได้รับถ้วยรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 3 รายการ บีมวิบาก-จำกัดเซนเซอร์
6) นักเรียนได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 การแข่งขันวงดนตรีสากลต้านภัยยาเสพติด ณ วัดราษฎร์นิยมธรรม
7) นักเรียนได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ประเภททีม รายการแข่งขันกอล์ฟ กีฬาแห่งชาติครั้งที่ 48 รอบคัดเลือกตัวแทนภาค 1 ตัวเเทนจังหวัดชลบุรีเข้าร่วมการเเข่งขัน
8) นักเรียนได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 การประกวดการแสดงทางวิทยาศาสตร์ (Science Show) ระดับภูมิภาค นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาสระแก้ว
9) นักเรียนได้รับรางวัลการแข่งขันกีฬา กรีฑา นักเรียนนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566 จังหวัดชลบุรี ทั้งหมด 12 รายการ มีรางวัลเหรียญทอง 2 รายการ เหรียญเงิน 1 รายการ และเหรียญทองแดง 10 รายการ
10) นักเรียนได้รับรางวัลการแข่งขันมหกรรมแข่งขันหุ่นยนต์สำหรับคนทุกระดับรายการ WRG Thailand championship 2023 ชิงแชมป์ประเทศไทย โดยมีผู้เข้าร่วมการแข่งขันจากประเทศไทย ฟิลิปปินส์และไต้หวัน ทั้งหมด 7 รายการ มีรางวัลเหรียญทอง 1 รายการ เหรียญเงิน 2 รายการ เหรียญทองแดง 1 รายการ และเหรียญbronze black 3 รายการ
11) นักเรียนได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 การแข่งขันตอบปัญหาภาษาญี่ปุ่น JP j challenge ในงานมหกรรม NIPPON HAKU BANGKOK ณ สยามพารากอน
12) นักเรียนได้รับรางวัลรอง ชนะเลิศ งานประกวด Pattaya Music Contest 2024 ในนามวง Flower – E และได้เป็นตัวแทนขึ้นแสดงดนตรีในงาน Pattaya Music Festival 2024
13) นักเรียนได้รับรางวัลจากการเข้าร่วมโครงการประกวดบรรเลงดนตรีไทย ระดับชาติ “บรรเลงภิรมย์ชลกันยา ครั้งที่ 3 ได้รับรางวัลทั้งหมด 6 รายการ รางวัลเหรียญทอง 2 รายการ เหรียญเงิน 2 รายการ และเหรียญทองแดง 2 รายการ
14) นักเรียนได้รับรางวัลการแข่งขันคณิตคิดเร็ว ระดับนานาชาติ ณ ประเทศมาเลเซีย ได้รับรางวัลทั้งหมด 4 รายการ เป็นรางวัล ชนะเลิศ 2 รายการ และเหรียญทอง 2 รายการ
15) นักเรียนได้รับรางวัล ชนะเลิศ การแข่งขันหุ่นยนต์รายการ WRG World Robot Games Championship 2023 Taipei ณ ประเทศไต้หวัน
16) นักเรียนได้รับรางวัลการแข่งขันกีฬานักเรียน นักศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 43 รอบคัดเลือกตัวแทนเขตการแข่งขันที่ 2 ทั้งหมด 4 รายการ เป็นรางวัลชนะเลิศ 2 รายการ และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 2 รายการ
17) นักเรียนได้รับรางวัล ชนะเลิศ การแข่งขันหุ่นยนต์รายการ Maker Robotic Challenge Charity 2023 ณ ศูนย์การค้าเดอะฮับรังสิต
18) นักเรียนได้รับรางวัลเหรียญทองแดง การประกวดรวมวง (Ensemble Category) ประเภทเครื่องลม (Wind Ensemble) รุ่น Senior Division
19) นักเรียนได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 4 การแข่งขันหุ่นยนต์รายการ Maker Robotics Challenge 2024 And Robot challenge Thailand International Open นักเรียนทีมหุ่นยนต์โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรีได้รับสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันรายการ World Robot Challenge 2024 ณ ประเทศเกาหลีใต้ จีน และประเทศโรมาเนีย จำนวน 2 คน การแข่งขันหุ่นยนต์รายการ Linetracing (รุ่น Enhance Senior)
20) นักเรียนได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 4 การแข่งขันหุ่นยนต์รายการ Maker Robotics Challenge 2024 And Robot challenge Thailand International Open นักเรียนทีมหุ่นยนต์โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรีได้รับสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันรายการ World Robot Challenge 2024 ณ ประเทศเกาหลีใต้ จีน และประเทศโรมาเนีย จำนวน 2 คน การแข่งขันหุ่นยนต์รายการ Linetracing (รุ่น Senior)
21) นักเรียนได้รางวัลชนะเลิศ และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 การแข่งขันยิงปืนสั้นมาตรฐาน ประเภทบุคคล VIP ชิงถ้วยเเม่ทัพภาคที่ 1 พลโท ชิษณุพงศ์ รอดศิริ
22) นักเรียนได้รับรางวัลชนะเลิศ ประเภทต่อสู้ รุ่นอายุ 11-12 ปีหญิง น้ำหนัก 42-46 กก. ระดับopen รุ่น G การเเข่งขันเทควันโดชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี
23) นักเรียนได้รับรางวัลคงามสามารถระดับเหรียญทอง ด้วยคะแนน 83.125 คะแนน ประเภท Concert Marching Art รุ่น Division 1 (ไม่เกินชั้นมัธยมศึกษาปีที่6) การประกวดวงโยธวาทิตแห่งประเทศไทย รายการ BCT PRACHINBURI 2024
24) นักเรียนได้รับรางวัลถ้วยเกียรติยศ รองชนะเลิศอันดับ 2 ผลการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับอาเซียน ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รายการ CPU 2nd ASEAN Grand Prix Youth Robotics&Esport Competition 2024 ณ มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา จังหวัดนครสวรรค์ รายการ Sumo Robot 1 kg.
25) นักเรียนได้รับรางวัลในการแข่งขัน กีฬานักเรียนนักศึกษา จังหวัดชลบุรี 2567 ทั้งหมด 23 รายการ
เหรียญทอง 5 รายการ เหรียญเงิน 11 รายการ และเหรียญทองแดง 7 รายการ
26) นักเรียนได้รับรางวัล ในการแข่งขันกีฬานักเรียนนักศึกษาจังหวัดชลบุรี ประจำปี พ.ศ. 2567 CHONBURI PAO SCHOOL GAMES 24 กีฬาเทควันโด ทั้งหมด 2 รายการ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 1 รายการ และรับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 1 รายการ
27) นักเรียนได้รับรางวัล การแข่งขันหุ่นยนต์รายการWRG Thailand Championship 2024 รายการ Line Formula Senior” ทั้งหมด 3 รายการ รองชนะเลิศอันดับ 1 Silver Medals เหรียญเงิน 1 รายการ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 Bronze medals เหรียญทองแดง 1 รายการ และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 เหรียญ Bronze Black Medals เหรียญทองแดง 1 รายการ
28) นักเรียนได้รับรางวัลระดับเหรียญทอง การประกวดวงโยธวาทิต รายการ Bangkok Music Marching Day 2024 จ.สมุทรปราการ
29) นักเรียนได้รับรางวัลการแข่งขันกีฬาชิงชนะเลิศแห่งจังหวัดชลบุรี ประจำปี 2567 ณ เพื่อคัดเลือกเป็นตัวแทนจังหวัดชลบุรีเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 40 “ฉลามเยาวชนเกมส์” ทั้งหมด 11 รายการ เหรียญทอง 2 รายการ เหรียญเงิน 2 รายการ และเหรียญทองแดง 7 รายการ
30) นักเรียนได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 ตอบปัญหาวิทยาศาสตร์ ระดับ ม.ต้น การแข่งขันวันวิชาการ ACS ACADEMIC DAYS 2024 : Celebrating 80 Years of Academic Excellence and Outstanding Performance ปีการศึกษา 2567
31) นักเรียนได้รับรางวัลรางวัลชนะเลิศ ประกวดมารยาทไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย การแข่งขันวันวิชาการ ACS ACADEMIC DAYS 2024 : Celebrating 80 Years of Academic Excellence and Outstanding Performance ปีการศึกษา 2567
32) นักเรียนได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 แฟนพันธุ์แท้ประเทศไทย การแข่งขันวันวิชาการ ACS ACADEMIC DAYS 2024 : Celebrating 80 Years of Academic Excellence and Outstanding Performance ปีการศึกษา 2567
33) นักเรียนได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 การแข่งขันตอบปัญหาภาษาญี่ปุ่น ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย การแข่งขันวันวิชาการ ACS ACADEMIC DAYS 2024 : Celebrating 80 Years of Academic Excellence and Outstanding Performance ปีการศึกษา 2567
34) นักเรียนได้รับรางวัลเหรียญทองแดง โครงงานคณิตศาสตร์ ประเภทสร้างทฤษฎีหรือคำอธิบายทางคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ผลการแข่งขันโครงงานคณิตศาสตร์ ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในโครงการการแข่งขันคณิตศาสตร์วิชาการ ครั้งที่ 9 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
35) นักเรียนได้รับรางวัลเหรียญทองแดง โครงงานคณิตศาสตร์ ประเภทสร้างทฤษฎีหรือคำอธิบายทางคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ผลการแข่งขันโครงงานคณิตศาสตร์ ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในโครงการการแข่งขันคณิตศาสตร์วิชาการ ครั้งที่ 9 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
36) นักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกเข้าอบรมในโครงการ ค่ายโอลิมปิกวิชาการ สอวน. ค่าย 1 จำนวน 4 คน
37) นักเรียนได้รับรางวัลรองชนะเลิศ ชลบุรีฟุตซอล ยุธ ลีค 2024 รุ่นอายุไม่เกิน 17 ปี
38) นักเรียนได้รับรางวัลการแข่งขันคณิตศาสตร์คิดเร็ว ทั้งหมด 5 รายการ รางวัลชนะเลิศ 1 รายการ
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 2 รายการ และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 2 รายการ
39) นักเรียนได้รับรางวัล รายการแข่งขันว่ายน้ำแหลมฉบังแชมเปี้ยนชิพ ทั้งหมด 6 รายการ เหรียญเงิน 3 รายการ และเหรียญทองแดง 3 รายการ
40) นักเรียนได้รับรางวัล ในรายการ International Music & Marching Arts Virtual Contest 2024 ทั้งสิ้น 2 รายการ ได้แก่ ประเภท Mixed Ensemble ชื่อวง SKC Insulin Ensemble รุ่น Senior High School Division ระดับไม่เกินชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ผลการประกวดได้รับ Silver Medal และประเภท Color Guard Ensemble ชื่อวง The SKC Knight รุ่น Senior High School Division ระดับไม่เกินชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ผลการประกวดได้รับ Gold Medal
41) นักเรียนได้รับรางวัลการประกวดการแข่งขันวงดนตรีชิงถ้วยพระราชทานฯ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี 2567 ทั้งหมด 9 รายการ ได้รับระดับความสามารถเหรียญเงิน 5 รายการ ได้รับระดับความสามารถเหรียญทองแดง 4 รายการ
ด้านผู้บริหารและครู
1) นายธีรภัทร์ ดงยางวัน รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานกิจการนักเรียน โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ได้รับรางวัล รองผู้อำนวยการสถานศึกษาผู้ปฏิบัติหน้าที่ดีเด่นประจำปี 2565
2) นางสาววิราภรณ์ ทีหอคำ รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานวิชาการ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ได้รับรางวัล รองผู้อำนวยการสถานศึกษาผู้ปฏิบัติหน้าที่ดีเด่นประจำปี 2565
3) นางสาวยุภาพร สุขสาม รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคลการเงินเเละสินทรัพย์ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ได้รับรางวัล ทรงคุณค่า สพฐ. (OBEC AWARDS)เหรียญทอง ชนะเลิศ ประเภทรองผู้อำนวยการสถานศึกษายอดเยี่ยม ด้านบริหารจัดการ ประจำปีการศึกษา 2565
4) นางสาวนริศรา ราญรอน ได้รับรางวัลผู้มีผลงานกิจกรรมถอดบทเรียน (Best Practice) โรงเรียนสุจริต ระดับ ดีเยี่ยม ภายใต้โครงการเสริมสร้างคุณธรรม และจริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566
5) นายเสกสรร สนธิระ ได้รับรางวัล ครูผู้ฝึกสอนกีฬากล์อฟดีเด่น
6) นางมีณนภาพรรณ ฐีฏภัทรมนตรี และนางสาวฐานิตา ศิลารักษ์ ได้รับรางวัล ครูผู้ฝึกสอนการแข่งขันคณิตคิดเร็ว ระดับนานาชาติ ณ ประเทศมาเลเซีย
7) นายธนภัทร สมานจิต ได้รับรางวัล ครูผู้ฝึกสอนการแข่งขันหุ่นยนต์รายการ WRG World Robot Games Championship 2023 Taipei ณ ประเทศไต้หวัน
8) นางสาวนริศรา ราญรอน นางสาวลลิตตา อรรถสมบัติ นางสาวประยง บุญพา นางสาวสุนิสา สุขหมั่น นางสาวสุดารัตน์ ดีเลิศ นายพิชยุตม์ สมุทรเขต นางสาวนพมาศ เมืองซอง นางสาวอารีรักษ์ วงศ์ศรียา นายศุภกิตติ์ จันทร์จอม นางณัฐินี เกียรติพิริยะ นางสาวจุฬาลักษณ์ ติคำรัมย์ นางสาววรรณิภา แก้วแสงใส และนายธีรวัฒน์ ด้วงกรี ได้รับรางวัล ครูดีเด่น วันครูประจำปี 2567
9) นางสาวกุลธิดา สมบูรณ์ยิ่ง นายยศพล สวัสดี นางสาวจำปี ภูมิกระโทก นางสาวโสพิน ไกรเพชร ได้รับรางวัล ครูดีในดวงใจ ระดับสถานศึกษา
10) นายวัชรชัย อินคำ ได้รับรางวัลเหรียญเงิน โครงการการส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงระบบในยุคดิจิทัลผสานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่ความเป็นเลิศของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยองปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
11) นายคชาภา นามวงษ์ ได้รับรางวัลเหรียญทอง โครงการการส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงระบบในยุคดิจิทัลผสานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่ความเป็นเลิศของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยองปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
12) นางสาวสุชานาถ ศิริชู ได้รับรางวัลเหรียญทอง โครงการการส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงระบบในยุคดิจิทัลผสานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่ความเป็นเลิศของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยองปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
13) นายชาญณรงค์ พวงเพชร ได้รับรางวัลเหรียญทอง โครงการการส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงระบบในยุคดิจิทัลผสานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่ความเป็นเลิศของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยองปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
14) นางสาวกุสุมา สุนทรวิภาค ได้รับรางวัลเหรียญทอง โครงการการส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงระบบในยุคดิจิทัลผสานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่ความเป็นเลิศของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยองปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
15) นางชมพู่ ศรีวิไชย ได้รับรางวัลเหรียญทอง โครงการการส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงระบบในยุคดิจิทัลผสานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่ความเป็นเลิศของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยองปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
16) นางสาวณัฏฐวี สิงหเมธา ได้รับรางวัลเหรียญทอง ดีเด่น อันดับ 2 โครงการการส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงระบบในยุคดิจิทัลผสานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่ความเป็นเลิศของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยองปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
17) นายนัฐวุฒิ อรุณรัตน์ ได้รับรางวัลเหรียญทองหัวหน้าวิจัย ระดับโรงเรียน โครงการการส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงระบบในยุคดิจิทัลผสานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สู่ความเป็นเลิศของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยองปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
18) นางอเนชา พิลาวัลย์ ได้รับรางวัล ข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี 2566
19) นางสาวยุพาภร สุขสาม และนายชินวัฒน์ สำราญรมย์ ได้รับรางวัลระดับ “ดีเยี่ยม”ในการประกวด Best Practice โรงเรียนสุจริต สพฐ.
20) นายธีรภัทร ทิศวงค์ ได้รับผลการตัดสิน ดีเยี่ยม ในการส่งผลงานเข้าร่วมการคัดเลือกผลงานที่มีผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) โครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนการรู้ด้วยสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเภท ครูผู้ใช้สื่อเทคโนโลยี ระบบ OBEC Content Center
21) นายศรัณย์ วรรณทอง ได้รับผลการตัดสิน ดีเยี่ยม ในการส่งผลงานเข้าร่วมการคัดเลือกผลงานที่มีผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) โครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนการรู้ด้วยสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเภท ครูผู้ใช้สื่อเทคโนโลยี ระบบ OBEC Content Center
22) นายอนุศักดิ์ แสงอุบล ได้รับผลการตัดสิน ดีเยี่ยม ในการส่งผลงานเข้าร่วมการคัดเลือกผลงานที่มีผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) โครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนการรู้ด้วยสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเภท ครูผู้ใช้สื่อเทคโนโลยี ระบบ OBEC Content Center
23) นางสาวนิราพร พละไกร ได้รับผลการตัดสิน ดีเยี่ยม ผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) โครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนการรู้ด้วยสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเภท ครูผู้สร้างสื่อเทคโนโลยี ระบบ OBEC Content Center
24) นายพิพัฒน์พงษ์ นาทศรีทา ได้รับผลการตัดสิน ดีเยี่ยม ผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) โครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนการรู้ด้วยสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเภท ครูผู้สร้างสื่อเทคโนโลยี ระบบ OBEC Content Center
25) นางสาวพุธิตา ตันทา ได้รับผลการตัดสิน ดีเยี่ยม ผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) โครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนการรู้ด้วยสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเภท ครูผู้สร้างสื่อเทคโนโลยี ระบบ OBEC Content Center
26) นางสาวนันทิยา ศักดาณรงค์ ได้รับผลการตัดสิน ดีเยี่ยม ผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) โครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนการรู้ด้วยสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเภท ครูผู้สร้างสื่อเทคโนโลยี ระบบ OBEC Content Center
27) นายธนาธิป เลิศสงคราม ได้รับผลการตัดสิน ดีมาก ผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) โครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนการรู้ด้วยสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเภท ครูผู้สร้างสื่อเทคโนโลยี ระบบ OBEC Content Center
28) นางสาวสุหรรษา ปิ่นงาม ได้รับผลการตัดสิน ดีมาก ผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) โครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนการรู้ด้วยสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเภท ครูผู้สร้างสื่อเทคโนโลยี ระบบ OBEC Content Center
29) นางสาวสุภาภรณ์ นนท์สิทธิ์ ได้รับผลการตัดสิน ดีมาก ผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) โครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนการรู้ด้วยสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเภท ครูผู้สร้างสื่อเทคโนโลยี ระบบ OBEC Content Center
30) นางสาวจตุพร อาจวาที ได้รับผลการตัดสิน ดีมาก ผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) โครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนการรู้ด้วยสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเภท ครูผู้สร้างสื่อเทคโนโลยี ระบบ OBEC Content Center
31) นางสาวเพ็ญพิชญา จันทร์กระจ่าง ได้รับผลการตัดสิน ดีมาก ผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) โครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนการรู้ด้วยสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเภท ครูผู้สร้างสื่อเทคโนโลยี ระบบ OBEC Content Center
32) นางสาวธิดารัตน์ ไชยเรือง ได้รับผลการตัดสิน ดีมาก ผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) โครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนการรู้ด้วยสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเภท ครูผู้สร้างสื่อเทคโนโลยี ระบบ OBEC Content Center
33) นางสาวกนกกาญจน์ ภูมิตรชัย ได้รับผลการตัดสิน ดีมาก ผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) โครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนการรู้ด้วยสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเภท ครูผู้สร้างสื่อเทคโนโลยี ระบบ OBEC Content Center
34) นายศักดา สู่เสน ได้รับผลการตัดสิน ดี ผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) โครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนการรู้ด้วยสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเภท ครูผู้สร้างสื่อเทคโนโลยี ระบบ OBEC Content Center
35) นางสาวปฏินญา มีสวัสดิ์ ได้รับผลการตัดสิน ดี ผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) โครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนการรู้ด้วยสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเภท ครูผู้สร้างสื่อเทคโนโลยี ระบบ OBEC Content Center
36) นายจิรายุทธ แดนกาไสย ได้รับผลการตัดสิน ดี ผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) โครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนการรู้ด้วยสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเภท ครูผู้สร้างสื่อเทคโนโลยี ระบบ OBEC Content Center
37) นายอริญชัย กุลวงค์ ได้รับผลการตัดสิน ดี ผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) โครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนการรู้ด้วยสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเภท ครูผู้สร้างสื่อเทคโนโลยี ระบบ OBEC Content Center
38) นายเทียนชัย แก้วใส ร่วมส่ง ผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) โครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนการรู้ด้วยสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเภท ครูผู้สร้างสื่อเทคโนโลยี ระบบ OBEC Content Center
39) นางสาวศุภาภัทร พ่วงพรหม ร่วมส่ง ผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) โครงการขับเคลื่อนการจัดการเรียนการรู้ด้วยสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเภท ครูผู้สร้างสื่อเทคโนโลยี ระบบ OBEC Content Center
40) นางสาวยุพาภร สุขสาม ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 เหรียญทอง ตัวแทนภาคเข้าร่วมประกวดระดับประเทศ รองผู้อำนวยการสภานศึกษายอดเยี่ยม ระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ด้านการบริหารจัดการ รางวัลทรงคุณค่า OBEC AWARD S ครั้งที่ 12
41) นางสาวนิราพร พละไกร และนางสาวพุธิตา ตันทา ได้รับรางวัลรางวัลเหรียญทองแดง ครูที่ปรึกษาโครงงานคณิตศาสตร์ ประเภทสร้างทฤษฎีหรือคำอธิบายทางคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในโครงการเเข่งขันคณิตศาสตร์วิชาการ ครั้งที่ 9
ด้านสถานศึกษา
1) ได้รับรางวัลระดับดีมาก เรื่องระบบดูเเลช่วยเหลือนักเรียน และคัดเลือกครูต้นเเบบการจัดการเรียนรู้บูรณาการทักษะชีวิต ประจำปี 2566 ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
2) ได้ผ่านการประเมินการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับ ScQA ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนมาตรฐานสากล รางวัลคุณภาพระดับโรงเรียน ScQA ปี 2565
3) โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ผ่านเกณฑ์การประเมินเป็นสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข รักษามาตรฐานระดับเพชร ปีที่ 1 ปีการศึกษา 2565
4) ได้รับรางวัล เหรียญทอง การประกวดนิทรรศการโครงการเสริมสร้างระบบความปลอดภัยในสถานศึกษาอย่างรอบด้านภายใต้ “สถานศึกษาปลอดภัย” MOE SAFTY CENTER ประจำปีงบประมาณ 2566
5) ได้รับรางวัลชนะเลิศ The Best Science Project Award การประกวดการนำเสนอนวัตกรรมที่เกิดจากการประมวลความรู้ในการทัศนศึกษา
6) การประกาศผลการรองรับความโดดเด่นของสถานศึกษา (OBEC Special) ด้านทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ได้รับรางวัลระดับ 3 ดาว
7) การประกาศผลการรองรับความโดดเด่นของสถานศึกษา (OBEC Special) ด้านสุนทรียศาสตร์ สาขานาฏศิลป์ ได้รับรางวัลระดับ 3 ดาว
8) การประกาศผลการรองรับความโดดเด่นของสถานศึกษา (OBEC Special) ด้านภาษา สาขาภาษาไทย ได้รับรางวัลระดับ 3 ดาว
9) การประกาศผลการรองรับความโดดเด่นของสถานศึกษา (OBEC Special) ด้านภาษา สาขาภาษาญี่ปุ่น ได้รับรางวัลระดับ 3 ดาว
10) การประกาศผลการรองรับความโดดเด่นของสถานศึกษา (OBEC Special) ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รับรางวัลระดับ 3 ดาว
11) ได้รับเครื่องหมาย “คุณภาพพิเศษแห่ง สพฐ. (OBEC Special )”ในกลุ่มนำร่องระดับ 3 ดาว ปีการศึกษา 2566-2568 ความโดดเด่นด้านสาขาภาษาไทย ได้รับรางวัลระดับ 3 ดาว
12) ได้รับเครื่องหมาย “คุณภาพพิเศษแห่ง สพฐ. (OBEC Special )”ในกลุ่มนำร่องระดับ 3 ดาว ปีการศึกษา 2566-2568 ความโดดเด่นด้านสาขาภาษาญี่ปุ่น
13) ได้รับรางวัลเหรียญทอง ดีเด่น อันดับ 2 โครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุขประจำปีการศึกษา 2566 ระดับจังหวัด โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ผ่านการรักษามาตรฐานระดับเพชร ปีที่ 2
14) ได้รับโล่รางวัล สถานศึกษาดีเด่นด้านการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วม ประจำปีพุทธศักราช 2566
15) ได้รับรางวัลระดับดีมาก เรื่องระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประจำปี 2567 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
16) รับรางวัลคุณภาพระดับ ดีเยี่ยม 5 ดาว ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้รายวิชาเพิ่มเติมในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก EEC
17) ตัวเเทน สพม.ชบ.รย ดร.สมพิศ เผ่าจินดา รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานวิชาการ และนายณัฐวุฒิ อรุณรัตน์ ได้นำเสนอและถวายผลงานจากงานวิจัยแก่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ2567
18) ได้รับรางวัลระดับดีเยี่ยม การคัดเลือกผลงานวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best practice ) ด้านการนิเทศภายในสถานศึกษา ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
19) สถานศึกษาที่มีจำนวนนักเรียนได้คะเเนนการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน O-NET ปีการศึกษา 2566 รายวิชาภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตั้งเเต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป มากกว่าครึ่งของนักเรียนที่เข้าสอบ
20) ได้รับรางวัลเหรียญทอง การประกวดการดำเนินงานโรงเรียนด้านการอนุรักษ์พลังงาน และสิ่งแวดล้อมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประเภทโรงเรียนปลอดขยะ
21) ได้รับรางวัลระดับดีมาก สถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ด้านระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประจำปีการศึกษา 2567 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
22) คุณครูชินวัฒร์ สำราญรมย์ ได้รับรางวัล รองชนะเลิศอันดับ 2 ระดับดีเยี่ยม การประกวดผลงาน / นวัตกรรม / การปฏิบัติที่เป็นเลิศ Best practice โครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมภิบาลในสถานศึกษา “โรงเรียนสุจริต” ประจำปีการศึกษา 2567
23) นางสาวยุพาภร สุขสาม รองผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ได้รับรางวัล ระดับดีเยี่ยม
การประกวดผลงาน / นวัตกรรม / การปฏิบัติที่เป็นเลิศ Best practice โครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมภิบาลในสถานศึกษา “โรงเรียนสุจริต” ประจำปีการศึกษา 2567