การใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การศึกษาชีววิทยา วิชาชีววิทยา โดยการจัดการเรียนรู้แบ Active Learning

กระดานสนทนา เผยแพร่ผลงานวิชาการหมวดหมู่: เผยแพร่ผลงานวิชาการการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การศึกษาชีววิทยา วิชาชีววิทยา โดยการจัดการเรียนรู้แบ Active Learning

ความเป็นมาและสาเหตุของปัญหา
          หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานได้มีการกำหนดให้สถานศึกษาจัดสาระการเรียนรู้ให้ครบทั้ง 8 กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์เป็นหนึ่งในกลุ่มสาระที่สถานศึกษาต้องจัดการเรียนการสอน เนื่องจากวิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญและเกี่ยวข้องกับทุกคน เช่น การใช้ชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ เทคโนโลยี เครื่องมือเครื่องใช้ที่มนุษย์ใช้เพื่ออำนวยความสะดวก ล้วนเป็นผลของการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ผสมผสานความคิดสร้างสรรค์ และศาสตร์อื่นๆ วิทยาศาสตร์  จึงช่วยให้มนุษย์ได้พัฒนาทักษะการคิด ทักษะในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลายและมีประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ ดังนั้นมนุษย์จึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้รู้วิทยาศาสตร์เพื่อให้เกิดความรู้       ความเข้าใจในธรรมชาติ เทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น สามารถนำความรู้ไปใช้อย่างมีเหตุผล สร้างสรรค์ และมีคุณธรรม อีกทั้งความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์มีบทบาทต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ โดยจะเห็นได้ว่าประเทศที่เจริญแล้วมีการพัฒนาความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่องโดยมีบทเริ่มต้นของการพัฒนานี้มาจากการศึกษา (กุณฑรี เพ็ชรทวีพรเดช, 2550)
          การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาบุคคลให้เกิดความรู้ความสามารถ ช่วยพัฒนาประเทศให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในทิศทางที่พึงประสงค์ ปัจจุบันประเทศไทยนับว่ามีปัญหาเกี่ยวกับการจัดการศึกษาวิทยาศาสตร์            โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์มีแนวโน้มต่ำลง และกระบวนการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นระดับใด ครูผู้สอนยังคงให้ความสำคัญกับเนื้อหามากกว่ากระบวนการให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ ซึ่งกระบวนการของการเรียนการสอนส่วนใหญ่จะเรียนโดยวิธีการบรรยาย เน้นเนื้อหา (พิทักษ์ รักษ์พลเดช,2550) เนื่องจากนักเรียนไม่เกิดกระบวนการเรียนรู้และการสรุปองค์ความรู้จากปัญหาที่กล่าวมา
          ข้าพเจ้าจึงมีความสนใจศึกษาการจัดการเรียนรู้โดยวิธี Active Learning ที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ นักเรียนมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ เช่น การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การระดมสมอง การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และกรณีศึกษา  จะช่วยพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน
          จากการศึกษาจุดเด่นของวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ดังกล่าว ข้าพเจ้าจึงมีความสนใจสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ Active Learning เรื่อง การศึกษาชีววิทยา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างอย่างมีส่วนร่วม ได้ลงมือปฏิบัติจริง เกิดองค์ความรู้ เพื่อให้เกิดการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 ให้มีผลที่สูงขึ้นต่อไป
แนวทางการแก้ปัญหา   
          นวัตกรรม/เทคนิค
     ในการวิจัยในครั้งนี้ ใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การศึกษาชีววิทยา วิชาชีววิทยา โดยการจัดการเรียนรู้แบบ
Active Learning ซึ่งชุดกิจกรรม ประกอบด้วย กิจกรรมการเรียนรู้ 4 เล่ม ดังนี้
          เล่มที่ 1  เรื่อง  สิ่งมีชีวิตคืออะไร
          เล่มที่ 2  เรื่อง  ชีววิทยาคืออะไร 
          เล่มที่ 3  เรื่อง  การศึกษาชีววิทยา                                                   
          เล่มที่ 4  เรื่อง  STEM ศึกษา
 
          ประโยชน์ที่คิดว่าจะได้รับ :
                – ต่อผู้เรียน : มีผลสัมฤทธิ์การเรียนในรายวิชาชีววิทยาที่สูงขึ้น
                – ต่อครู : สามารถนำชุดกิจกรรมการเรียนรู้ และวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ไปปรับใช้ในการเรียนการสอนเนื้อหาอื่นๆ ในชั้นเรียนได้
                – ต่อสถานศึกษา : สามารถนำการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ไปใช้ในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของกลุ่มสาระต่างๆ
 
 
วัตถุประสงค์การวิจัย
          เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 จากการใช้            ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การศึกษาชีววิทยา วิชาชีววิทยา โดยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning
วิธีการดำเนินการวิจัย
          ประชากร กลุ่มตัวอย่าง
          กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 2 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ โรงเรียนเวียงเจดีย์วิทยา จำนวน 43 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบเจาะจง โดยเนื้อหาที่ใช้ในการทำวิจัยเป็นเนื้อหาในรายวิชาชีววิทยาเพิ่มเติม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2560 เรื่อง การศึกษาชีววิทยา ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ใช้เวลาในการทำวิจัย  9 คาบ คาบละ 50 นาที ดำเนินการทดสอบก่อนเรียน จัดกิจกรรมการเรียนการสอน และทดสอบหลังเรียน ในชั่วโมงเรียนวิชาชีววิทยาของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง
 
          เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัย

  • ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การศึกษาชีววิทยา ซึ่งประกอบด้วย กิจกรรมการเรียนรู้ 4 เล่ม ดังนี้

เล่มที่ 1  เรื่อง  สิ่งมีชีวิตคืออะไร
เล่มที่ 2  เรื่อง  ชีววิทยาคืออะไร 
เล่มที่ 3  เรื่อง  การศึกษาชีววิทยา                                     
เล่มที่ 4  เรื่อง  STEM ศึกษา

  • แผนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เรื่อง การศึกษาชีววิทยา
  • แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา

 
ผลการวิจัย
          ตอนที่ 1 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การศึกษาชีววิทยา วิชาชีววิทยา โดยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning
 

ตารางที่ 1 

เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการใช้    ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การศึกษาชีววิทยา วิชาชีววิทยา โดยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 43 คน

 

การทดสอบ

คะแนนเต็ม

  

S.D.

t

ก่อนเรียน

40

19.54

1.54

29.71**

หลังเรียน

40

32.60

2.06

         df = 34 , t.05 = 1.6871 , t.01 = 2.4314 
         **มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
          จากตารางที่ 1 พบว่า คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน (  = 19.54 , S.D. = 1.54)  คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน (  = 32.60 , S.D. = 2.06), ค่า tคำนวณ = 29.71, ค่า tตาราง = 2.4314 ดังนั้น          ค่า tคำนวณ สูงกว่า ค่า tตาราง แสดงว่านักเรียนที่เรียนโดยการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การศึกษาชีววิทยา วิชาชีววิทยา โดยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
          ตอนที่ 2 ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 43 คน หลังเรียนโดยการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การศึกษาชีววิทยา วิชาชีววิทยา        โดยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning
 

ตารางที่ 2

ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 ภาคเรียนที่ 1                         ปีการศึกษา 2566 จำนวน 43 คน หลังเรียนโดยการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การศึกษาชีววิทยา วิชาชีววิทยา โดยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning

 

ข้อคำถาม

 

S.D.

ระดับความมี        จิตสาธารณะ

1. คำชี้แจงมีความชัดเจน และนำไปสู่การปฏิบัติได้

4.06

0.67

มาก

2. ตัวอักษรของชุดกิจกรรมชัดเจน  สวยงาม อ่านง่าย มีความเหมาะสม

4.00

0.63

มาก

3. ภาพประกอบเหมาะสมชัดเจน ส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจ

4.23

0.54

มาก

4. สื่อ อุปกรณ์ มีเพียงพอต่อการปฏิบัติกิจกรรม

4.06

0.79

มาก

5. เวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรมเหมาะสม

4.57

0.55

มากที่สุด

6. ครูแจ้งผลการปฏิบัติกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ

4.20

0.58

มาก

7. นักเรียนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น

4.60

0.49

มากที่สุด

8. กิจกรรมส่งเสริมการทำงานเป็นกลุ่ม  เปิดโอกาสให้นักเรียนทำงานร่วมกัน

4.09

0.50

มาก

9. นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีมีความสนุกสนานในการปฏิบัติกิจกรรม

4.54

0.50

มากที่สุด

10. นักเรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

4.14

0.54

มาก

ค่าเฉลี่ย

4.41

0.71

มาก

 
          จากตารางที่ 2 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การศึกษาชีววิทยา วิชาชีววิทยา โดยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning อยู่ในระดับมาก ( = 4.41 , S.D. = 0.71) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า นักเรียนพึงพอใจมากที่สุดอันดับแรก ได้แก่ เวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรมเหมาะสม ( = 4.60 , S.D. = 0.49) รองลงมาได้แก่ นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีมีความสนุกสนานในการปฏิบัติกิจกรรม ( = 4.57 , S.D. = 0.55) และนักเรียนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ( = 4.54 , S.D. = 0.50)
          สรุปผลการวิจัย

  1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การศึกษาชีววิทยา โดยการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การศึกษาชีววิทยา วิชาชีววิทยา โดยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning หลังเรียน ( = 32.60 , S.D. = 2.06) สูงกว่าก่อนเรียน         (  = 19.54 , S.D. = 1.54) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01   
  2. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อโดยการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การศึกษาชีววิทยา วิชาชีววิทยา โดยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning อยู่ในระดับมาก ( = 4.41 , S.D. = 0.71)
Powered by GliaStudio
Back to top button