ชื่อเรื่องวิจัย การประเมินโครงการส่งเสริมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา สังกัดเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ชื่อวิจัย การประเมินโครงการส่งเสริมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา สังกัดเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ชื่อผู้วิจัย ธวัช สิงห์โต
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
มีวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการเพื่อ 1) ประเมินสภาพแวดล้อม เป็นการประเมินผลความต้องการจำเป็น ความเป็นไปได้ วัตถุประสงค์ ความพร้อมและทรัพยากร 2) ประเมินปัจจัยนำเข้า เป็นการประเมินผลความเหมาะสม พอเพียงของบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ ระยะเวลา สถานที่ งบประมาณ 3) ประเมินกระบวนการ เป็นการประเมินผลขั้นตอนดำเนินการ ในการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมนักเรียน การป้องกันและช่วยเหลือ และการส่งต่อนักเรียน 4) ประเมินผลผลิต เป็นการประเมินผลคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สำหรับนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน รวมจำนวน 140 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน คือ แบบสอบถามการประเมินโครงการส่งเสริมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา สังกัดเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการประเมิน พบว่า
1. การประเมินสภาพแวดล้อมของโครงการ พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก หลักการของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีความเหมาะสม การดำเนินงานโครงการมีการวางแผนกันอย่างชัดเจน และโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีความพร้อมในการดำเนินงาน และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือในการดำเนินงานโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
2. การประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ พบว่า โดยภาพรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก มีการสนับสนุนของฝ่ายบริหารในโรงเรียน ผู้ปกครองให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และงบประมาณ ในการดำเนินงานโครงการมีเพียงพอ
3. การประเมินกระบวนการของโครงการ พบว่า โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การป้องกันและช่วยเหลือ รองลงมา คือ การคัดกรองนักเรียน และการส่งต่อนักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน ผลดังนี้
3.1 การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล พบว่า โดยภาพรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก การสังเกตและบันทึกพฤติกรรมของนักเรียนในด้านการเรียนอย่างสม่ำเสมอ ประชุมพบผู้ปกครองสอบถามพฤติกรรมและ แลกเปลี่ยนข้อมูลของนักเรียน และ สอบถามข้อมูลด้านอาชีพและรายได้ของบิดา มารดา หรือผู้ปกครองนักเรียน
3.2 การคัดกรองนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก มีการใช้ระเบียนสะสมเป็นแหล่งข้อมูลในการคัดกรอง ครูที่ปรึกษามีความรู้ความสามารถในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ และทุกฝ่ายยอมรับเกณฑ์ในการพิจารณาคัดกรองที่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง
3.3 การส่งเสริมนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก โรงเรียนมีการสนับสนุน ชมเชย ยกย่องนักเรียนที่ประกอบคุณงามความดี เชิญผู้ปกครองนักเรียนมาร่วมประชุมทุกภาคเรียน และนักเรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดรูปแบบของกิจกรรม ตามความสนใจ
3.4 การป้องกันและช่วยเหลือ พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก โรงเรียนมีการสร้างขวัญกำลังใจให้แก่นักเรียน ครูให้คำแนะนำในเรื่องการปรับตัวและการวางตัวในสังคม และจัดกิจกรรมในห้องเรียน เช่น ฝึกการพูด การฟัง
3.5 การส่งต่อนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก ดำเนินการแก้ปัญหาในเบื้องต้นด้วยตนเองก่อน หาก ไม่สามารถแก้ปัญหาได้จึงดำเนินการส่งต่อนักเรียน ประสานงานกับครูที่จะช่วยเหลือนักเรียนเพื่อให้ ทราบล่วงหน้า และจัดทำสรุปและรายงานผลการช่วยเหลือเป็นระบบ
4. การประเมินผลผลิตของโครงการ การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน พบว่า ความคิดเห็นของครู และผู้ปกครอง ประเมิน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ทั้ง ครู คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน มีความคิดเห็นตรงกันว่า นักเรียนไม่เสพสิ่งเสพติด รวมทั้ง ไม่แสวงหาผลประโยชน์จากสิ่งเสพติด นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมของโรงเรียน และนักเรียนมีความพร้อมในการใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียน นักเรียนรู้ความสนใจ ความถนัด ความสามารถ ของตนเอง และนักเรียนมีพัฒนาการด้านน้ำหนัก ส่วนสูง ตามเกณฑ์มาตรฐานของเด็กไทย และนักเรียนมีความมั่นคงทางอารมณ์ตามพัฒนาการ