นวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ชื่อผลงาน “การใช้รูปแบบการบริหาร SUKJAI model น้อมนำพระบรมราโชบาย จากความรู้สู่อาชีพ”

กระดานสนทนา เผยแพร่ผลงานวิชาการหมวดหมู่: เผยแพร่ผลงานวิชาการนวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ชื่อผลงาน “การใช้รูปแบบการบริหาร SUKJAI model น้อมนำพระบรมราโชบาย จากความรู้สู่อาชีพ”
สุวคนธ์ สุขใจ asked 5 เดือน ago

ที่มาและความสำคัญ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร            กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐) ได้ทรงพระราชทานพระบรมราโชบาย ด้านการศึกษา เพื่อมุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน ให้ผู้เกี่ยวข้องได้น้อมนำไปปฏิบัติให้บังเกิดผล ซึ่งประกอบด้วยแนวพระบรมราโชบาย 4 ด้าน คือ 1) การมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง 2) การมีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง – มีคุณธรรม 3) การมีงานทำ – มีอาชีพ และ 4) การเป็นพลเมืองดี    ซึ่งสอดคล้อง กับความมุ่งหมายและหลักการของการจัดการศึกษาที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ว่าการจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรมมีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข ทั้งนี้กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดนโยบายให้หน่วยงานทางการศึกษาได้นำไปเป็นหลักในการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติให้ประสบผลสำเร็จ อีกทั้งกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดนโยบายการบริหารจัดการศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ตระหนักถึงความสำคัญของยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ซาติ ประเด็นการพัฒนาการเรียนรู้ที่ตอบสนอง ต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ ๒๑ จึงได้กำหนดนโยบายที่สอดคล้องกับพระบรมราโซบาย ด้านการศึกษา ในหลวงรัซกาลที่ ๑๐ ในการสร้างคนดีให้แก่บ้านเมืองโดยจัดให้มีรูปแบบ วิธีการ หรือกระบวนการในการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ มีความสุข และได้รับการปกป้องคุ้มครองความปลอดภัยทั้งด้านร่างกายและจิตใจ รวมถึงการสร้างทักษะให้ผู้เรียนมีความสามารถในการดูแลตนเองจากภัยอันตรายต่าง ๆ ท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางสังคม รู้จักแยกแยะสิ่งผิด-ชอบ/ชั่ว-ดี (เป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในการเลือกปฏิบัติในสิ่งที่ควรกระทำและไม่ควรกระทำได้อย่างถูกต้อง และมีความคิดสร้างสรรค์ สมารถตัดสินใจในการกระทำที่ถูกต้องเหมาะสม) ปฏิบัติแต่สิ่งที่ชอบ สิ่งที่ดีงาม (การปฏิบัติตนดำเนินชีวิตตามหลักคุณธรรมพื้นฐาน ๘ ประการ ได้แก่ ขยัน ประหยัด วินัย สุภาพ สะอาด มีน้ำใจ มีจิตสาธารณะและบำเพ็ญประโยชน์ที่เกิดประโยชน์ต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม) รู้จักปฏิเสธสิ่งที่ผิด สิ่งที่ชั่ว(การมีความรู้ความเข้าใจและไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติดและอบายมุข การละเมิดสิทธิผู้อื่น พฤติกรรมชู้สาว และการทะเลาะวิวาท) ช่วยกันสร้างคนดีให้แก่บ้านเมือง(การมีความตระหนัก และมีพฤติกรรมเป็นจิตอาสาและจิตสาธารณะในการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมและ    ยกย่อง เชิดชู ความยินดีกับผู้ที่เป็นแบบอย่างที่ดีด้วยความจริงใจ) รวมทั้งการพัฒนาทักษะทางอาชีพ โดยส่งเสริมการจัดการศึกษา ที่เน้นพัฒนาทักษะอาชีพของผู้เรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างอาชีพและรายได้ที่เหมาะสม พัฒนาคนไทย ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม           มีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข และปลูกฝังความพอเพียง มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริตยึดประโยชน์ส่วนรวม                 นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ มีกรอบทิศทางในการจัดการศึกษาให้คนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงโอกาสและ   ความเสมอภาคในการศึกษาที่มีคุณภาพ พัฒนาประเทศพัฒนากำลังคนให้มีสมรรถนะในการทำงานสอดคล้องกับความต้องการของตลาดงาน  และการพัฒนาให้นักเรียนทุกกลุ่มทุกช่วงวัยได้รับการศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานมีทักษะที่จำเป็นของโลกในอนาคต สามารถแก้ปัญหา ปรับตัว และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิผล มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งเป็นพลเมืองที่รู้สิทธิและหน้าที่มีความรับผิดชอบ และมีจิตสาธารณะ โดยมีกลุ่มเป้าหมายตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในกลุ่มเด็กทั่วไป เด็กด้อยโอกาส เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ เด็กที่มีความสามารถพิเศษ เด็กที่มีความพร้อมสูง และเด็กที่มีเป้าหมายพิเศษ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนทุกกลุ่มทุกพื้นที่และทุกระดับการศึกษา สามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพในรูปแบบที่เหมาะสม ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพเท่าเทียมกัน มีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ สนับสนุนการสร้างโอกาสคุณภาพ และความเป็นธรรมในสังคม เป็นการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ต้องจัดให้เกิดความเสมอภาคทุกพื้นที่ แต่ระบบการศึกษานั้น กลับมีความเหลื่อมล้ำของกลุ่มนักเรียนอยู่ในตัว โดยกลุ่มนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มผู้ด้อยโอกาส กลุ่มที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร การลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาจึงต้องคำนึงถึงการสร้างโอกาสทางการศึกษา รวมไปถึงสถานศึกษาในทุกกลุ่มทุกพื้นที่                 โรงเรียนดอยเวียงผาพิทยาตั้งในพื้นที่ลักษณะพิเศษที่มีข้อจำกัดทางด้านภูมิศาสตร์ตลอดจนสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่มีความซับซ้อน  เป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่สูงทุรกันดาร การเดินทางลำบาก ผู้เรียนเป็นชาวไทยภูเขาคิดเป็นร้อยละ 100 มีชนเผ่าอาข่า ลาหู่  ปากะญอ  ไทลื้อและกะเหรี่ยง  จึงทำให้มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและภาษา ใช้ภาษาท้องถิ่นในการติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน  ผู้ปกครองส่วนมากมีฐานะยากจน  และประกอบอาชีพเกษตรกร โรงเรียนดอยเวียงผาพิทยา จึงได้วิเคราะห์สภาพปัญหา และความต้องการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่งพบว่าชุมชน ผู้ปกครอง นักเรียน มีความต้องการให้มีการพัฒนาทักษะอาชีพเป็นหลัก  เพื่อที่จะค้นพบตนเองและสร้างอาชีพได้เร็วที่สุดและช่วยครอบครัวสร้างได้              ทางโรงเรียนดอยเวียงผาพิทยาจึงได้พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการนวัตกรรม การปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ภายใต้ชื่อผลงาน “ การใช้รูปแบบการบริหาร SUKJAI model น้อมนำพระบรมราโชบาย จากความรู้สู่อาชีพ ”  เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา สร้างอาชีพ สร้างคนเก่ง คนดี มีคุณภาพ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะทางอาชีพ ส่งเสริมการจัดการศึกษาที่เน้นพัฒนาทักษะอาชีพของผู้เรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างอาชีพและรายได้ที่เหมาะสมผ่านกิจกรรมที่มุ่งส่งเสริมการพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียน โดยให้ผู้เรียนได้ค้นพบความถนัดของตนเองในการประกอบอาชีพผ่านการคัดกรอง ด้วยแบบวัดความถนัดมาตรฐาน ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้และทักษะด้วยการปฏิบัติจริง ผ่านการทดลองประกอบอาชีพตามความถนัด โดยมุ่งไปที่กลุ่มอาชีพตามบริบทของพื้นที่ ส่งเสริมการพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของผู้ประกอบสัมมาชีพ ที่ประสบความสำเร็จ   2. จุดประสงค์และเป้าหมายของผลงาน ๒.๑ จุดประสงค์ 1) เพื่อขับเคลื่อนการดาเนินการน้อมนาพระบรมราโชบาย ด้านการศึกษา ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ ด้านการมีงานทำ มีอาชีพ ผ่านนวัตกรรมการบริหาร 2) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เรียนมีจิตสำนึก รักสถาบันพระมหากษัตริย์ อันเป็นศูนย์รวมใจของประเทศ ได้ฝึกจิตอาสา ตระหนัก รู้ และเข้าใจซึมซับคุณค่าความดี             3) เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นผู้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีกระบวนการคิดที่ดี มีทัศนคติที่ดีต่อชาติ บ้านเมือง ครอบครัว และผู้อื่น   ๒.2 เป้าหมาย             2.2.1 เป้าหมายเชิงปริมาณ             1) นักเรียนโรงเรียนดอยเวียงผาพิทยา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 98 คน   ได้เข้าร่วมการพัฒนาทักษะอาชีพที่สอดคล้องกับบริบทและความต้องการ ตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ 10 ด้านการมีงานทำ มีอาชีพ             2) นักเรียนโรงเรียนดอยเวียงผาพิทยา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3        ร้อยละ 60 ค้นพบความถนัด และอาชีพที่ตนเองต้องการ 2.2.2 เป้าหมายเชิงคุณภาพ ๑) โรงเรียนดอยเวียงผาพิทยาจัดกิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมทักษะอาชีพให้กับนักเรียนอย่างหลากหลายรูปแบบ ๒) นักเรียนโรงเรียนดอยเวียงผาพิทยาที่เข้าร่วมกิจกรรม มีทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ   ๓. กระบวนการผลิตผลงานหรือขั้นตอนการดำเนินงาน             สถานศึกษาได้มีนวัตกรรมการบริหารที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง เพื่อเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนงานตาม พระบรมราโชบายด้านการศึกษาและนโยบาย คือ “การใช้รูปแบบการบริหาร SUKJAI model น้อมนำพระบรมราโชบาย จากความรู้สู่อาชีพ” โดยมีขั้นตอนดังนี้ 3.1) INPUT(ปัจจัยนำเข้า) มีปัจจัยนำเข้าที่สำคัญ 4 ประการ ที่เรียกว่า 4 M’s เป็นตัวขับเคลื่อนงาน MAN ในกระบวนการบริหารโรงเรียนเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาได้เข้ามามีส่วนคิด ตัดสินใจ ร่วมวางแผน ร่วมทำงาน และตกลงใจร่วมกันในการบริหารโรงเรียนให้บรรลุเป้าหมาย ดังนี้ (1) ฝ่ายกำหนดนโยบาย ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา คณะครู โดยมีส่วนร่วมและบทบาทในการกำหนดนโยบาย และทิศทางของสถานศึกษา (2) ฝ่ายปฏิบัติการ ประกอบด้วย หัวหน้ากลุ่มงาน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ครู และบุคลากรในโรงเรียน บริหารโดยครูมีส่วนร่วม เป็นการเปิดโอกาสให้ครูได้ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมประเมินผล และร่วมพัฒนาผลงานเพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้น โดยให้ครูมีส่วนร่วมในรูปองค์คณะบุคคลเช่น การจัดให้มีครูเป็นคณะทำงานคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ (3) บุคคลภายนอก ประกอบด้วย ผู้ปกครอง ชุมชนรอบโรงเรียน องค์กร หน่วยงานราชการ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง การบริหารโดยผู้ปกครองมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในการประชุมผู้ปกครอง การเป็นวิทยากรพิเศษในห้องเรียนของบุตรหลาน ตลอดจนการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่โรงเรียนจัดขึ้น การบริหารโดยชุมชนรอบโรงเรียน มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมภายในโรงเรียน องค์กรมีส่วนร่วมสนับสนุนงบประมาณในการจัดกิจกรรมภายในโรงเรียน การบริหารโดยหน่วยงานราชการ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมและมีบทบาทในการให้คำปรึกษา นิเทศด้านการบริหารแก่ ผู้บริหาร และด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแก่ครูผู้สอน MONEY งบประมาณที่ใช้ในการบริหาร โรงเรียนดอยเวียงผาพิทยา ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากเงินอุดหนุนรายหัวเด็ก ซึ่งไม่เพียงพอต่อการบริหาร ดังนั้นจึงเกิดความร่วมมือร่วมใจจากคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองชุมชนและศิษย์เก่าในการระดมทุนทรัพย์เพื่อใช้พัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้มีความเจริญก้าวหน้า MATERIAL จัดสื่อ วัสดุอุปกรณ์ เทคโนโลยี รวมถึงสื่อในท้องถิ่น สื่อจากธรรมชาติที่จำเป็นต่อการจัดการศึกษา ซึ่งมีการจัดซื้อ จัดหาให้มีความเหมาะสม หลากหลาย และเพียงพอกับความต้องการของนักเรียน MANAGEMENT นำหลักการบริหารจัดการ ด้านการวางแผน การจัดองค์การ การจัดคน การสั่งการ การประสานความร่วมมือ การรายงาน และงบประมาณ มาควบคุมและกำกับดูแลการดำเนินงานภายในของโรงเรียน โดยยึดแนวทางการบริหารจัดการที่ดี หรือหลักธรรมาภิบาล และยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3.2 Process กระบวนการ สถานศึกษาดำเนินงานตาม รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยใช้ SUKJAI MODEL ตามแนวการดำเนินงาน PDCA ดังนี้ ขั้นการวางแผน P : Planning เป็นขั้นที่กำหนดกรอบรายละเอียดของการดำเนินการพัฒนา คุณภาพการจัดการศึกษา ผ่านการศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ สำหรับการวางแนวทางเพื่อพัฒนาด้วยการพิจารณา คัดเลือกแนวทางที่มีความเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษามากที่สุดในการแก้ไข ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และพัฒนา คุณภาพโดยจะช่วยส่งเสริมให้การคาดการณ์สิ่งที่จะเป็นผลสำเร็จในอนาคตมีความชัดเจนมากที่สุด ขั้นการปฏิบัติงานตามแผน D : Doing เป็นขั้นการนำแนวทางที่ผ่านการวางแผนไว้ อย่างชัดเจนมาสู่การปฏิบัติตามกิจกรรมซึ่งกำหนดไว้ในแนวทางดังกล่าว เพื่อสร้างความสำเร็จให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ ทั้งการแก้ไข ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และพัฒนาคุณภาพจนเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ขั้นการตรวจสอบประเมินผล C : Checking เป็นขั้นการเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลสารสนเทศจากการดำเนินการแก้ไข ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และพัฒนาคุณภาพสำหรับ นำมาวิเคราะห์ แปลผล และเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์และเงื่อนไขของความสำเร็จ จากการดำเนินการว่าบรรลุ ผลสำเร็จหรือไม่ อย่างไร ขั้นการปรับปรุงและพัฒนา A : Action เป็นขั้นการนำผลการประเมินมาพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ และตัดสินในการพิจารณาแนวทางสำหรับการแก้ไข ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และพัฒนาคุณภาพไปประยุกต์ใช้ เพื่อสร้างกระบวนการสนับสนุนความก้าวหน้าอย่างเป็นระบบและมีความต่อเนื่อง โดยการบริหารงานและการทำงานของสถานศึกษาต้องใช้หลักการทำงานตาม SUKJAI MODEL ดังนี้ S – Sufficiency Economy Philosophy : หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับประยุกต์เป็นหลักความพอเพียงในการทำงานและป้องกันการทุจริตอย่างยั่งยืน เศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน เป็นแนวทางให้ผู้บริหาร ครูผู้สอน สามารถประยุกต์ใช้กับการเรียน การสอน เป็นแนวการทำกิจกรรมเสริมในโรงเรียน กิจกรรมชุมชนแบบมีส่วนร่วม การพึ่งตนเองเป็นหลัก ที่เน้น ความสมดุลทั้ง 3 คุณลักษณะ คือ พอประมาณ มีเหตุมีผล และมีภูมิคุ้มกัน เป็นกระบวนการสร้างคนให้กับสังคม ที่เป็นคนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้มีวิธีคิด วิธีการควบคุมตนเองในการตัดสินใจดำเนินชีวิต หรือ ตัดสินใจในกำหนดตนเอง ให้มีจิตใจเข้มแข็ง อดทนต่อสิ่งยั่วยุมีจิตสำนึกที่ดี ใจกว้างมีเหตุผล มีจิตสาธารณะ คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก โดยสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นในตัวครูและนักเรียน U- unity : ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันขององค์กร เรามักจะพบว่า องค์กรที่ประสบความสำเร็จคือองค์กรที่มีความเป็นทีมเวิร์กสูง สมาชิกในทีมแต่ละส่วนสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีเอกภาพ ซึ่งความเป็นทีมเวิร์กนี้ถือได้ว่าเป็นกลไกสำคัญอย่างหนึ่งในการขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวหน้า การบริหารทีมเป็นสิ่งจำเป็นมากต่อการมีทีมที่เป็นเอกภาพและมีประสิทธิภาพสูง K- The King\’s policy in educational development : พระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชการที่ 10  พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตอบรับขึ้นทรงราชย์สันตติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๑๐ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๙ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิตและได้มีพระราชดำรัสตอบรับการขึ้นทรงราชย์ ความว่า “เพื่อสนองพระราชปณิธาน และเพื่อประโยชน์ของประชาชนชาวไทยทั้งปวง” กอปรกับพระราชปณิธานด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร คือ การสร้างคนดี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงทรงมีพระราโชบายเพื่อสืบสานพระราชปณิธานแห่งองค์พระบรมชนกนาถในการสร้างคนดีให้แก่บ้านเมือง โดยทรงมุ่งเน้นให้การศึกษาต้องเสริมสร้างพื้นฐานแก่นักเรียนทั้ง ๔ ด้าน ประกอบด้วย (๑) การมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง (๒) การมีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรม (๓) การมีงานทำ มีอาชีพ และ (๔) การเป็นพลเมืองดี ทางโรงเรียนดอยเวียงผาพิทยาจึงได้น้อมนำบรมราโชบายสู่การปฏิบัติและการบริหารงานต่างๆของสถานศึกษา    มุ่งให้ผู้เรียนมีพื้นฐานครบทั้ง 4 ด้าน J-Justion and morality and ethics : ความยุติธรรมและและคุณธรรมจริยธรรม การดูแลปกครอง การบริหารงานและสถานศึกษา โดยใช้หลักธรรมะเป็นเครื่องช่วยในด้านการบริหารจัดการสถานศึกษาที่ดี เพราะทุกองค์กรมีแนวคิดหลักประชาธิปไตยอยู่เบื้องหลังการดำเนินงาน สนับสนุนให้คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา มีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษา ทำให้เกิดการบริหารที่มีความโปร่งใส มีความรับผิดชอบ และบริหารโดยอยู่บนฐานของ การปฏิบัติตามกฎหมาย รวมถึงการดำเนินงานด้วยความคุ้มค่า มีประสิทธิภาพในการบริหารและเกิดประสิทธิผลที่ดี A- Active Learning : การจัดการเรียนรู้เชิงรุก การส่งเสริมและพัฒนาครูในการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ตามแนวคิดการสร้างสรรค์ทางปัญญา (Constructivism) ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาวิชา เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ หรือสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นในตนเอง ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงผ่านสื่อหรือกิจกรรมการเรียนรู้ ที่มีครูผู้สอนเป็นผู้แนะนำกระตุ้น หรืออำนวยความสะดวก ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ขึ้น โดยกระบวนการคิดขั้นสูง กล่าวคือ ผู้เรียนมีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการประเมินค่าจากสิ่งที่ได้รับจากกิจกรรมการเรียนรู้ ทำให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีความหมายและนำไปใช้ในสถานการณ์อื่นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะจำเป็นใน ศตวรรษที่21 I-Innovation : นวัตกรรมการศึกษาและการเรียนรู้ การพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดประสิทธิผลแก่ผู้เรียนมากที่สุดโดยเฉพาะการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนั้นผู้สอนจำเป็นต้องวิเคราะห์บริบทของการเรียนรู้ อาทิ จุดประสงค์การเรียนรู้ เพื่อหาสาระ ลักษณะ และศักยภาพผู้เรียน วิธีการเรียนรู้ของ ผู้เรียนแต่ละคน ศักยภาพและความถนัดของตัวผู้สอนเอง ตลอดจนสภาพแวดล้อมต่างๆ ก่อนเพื่อนำมาออกแบบ การสอนและวางแผนการสอน ดังนั้น ผู้สอนมีความจำเป็น จะต้องเปลี่ยนแปลงปรับปรุง รวมทั้งการคิดวิธีการใหม่ สิ่งใหม่ในการจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา 3.3 OUT PUT(ผลผลิต) ผู้เรียนคุณภาพ : มีสมรรถนะจำเป็นใบศตวรรษที่21 ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะที่พึงประสงค์ ทักษะอาชีพและชีวิตที่ดีมีความสุข ครูคุณภาพ : การจัดการเรียนรู้ : Active learning คุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ พัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ และสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ PLC โรงเรียนคุณภาพ: โรงเรียนสะอาด มีสุขาดี สิ่งแวดล้อมร่มรื่น มีห้องเรียนและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีสื่อ และเทคโนโลยี ทันสมั้ย เหมาะสม มีนวัตกรรม และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน มีความปลอดภัยในทุกด้าน   ๔. ผลการดำเนินงาน/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ 4.1 เชิงปริมาณ ตัวชี้วัดความสำเร็จ ค่าเป้าหมาย ผลงานดำเนินงาน สำเร็จ/ไม่สำเร็จ 1) นักเรียนโรงเรียนดอยเวียงผาพิทยา         ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 98 คน   ได้เข้าร่วมการพัฒนาทักษะอาชีพที่สอดคล้องกับบริบทและความต้องการ ตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ 10 ด้านการมีงานทำ มีอาชีพ ร้อยละ 90 ร้อยละ 95.oo สำเร็จ 2) นักเรียนโรงเรียนดอยเวียงผาพิทยา        ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษา-   ปีที่ 1-3  ร้อยละ 60 ค้นพบความถนัด และอาชีพที่ตนเองต้องการ ร้อยละ 60 ร้อยละ 87.33 สำเร็จ 4.2 เชิงคุณภาพ การดำเนินการตามนโนบายและจุดเน้นโรงเรียน ถูกขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม(Innovation) การบริหารงาน SUKJAI Model ซึ่งมีการวางแผน(Plan)อย่าง รอบคอบ รัดกลุม และเป็นระบบ การทำงาน(DO) เป็นทีมที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน(unity) ขององค์กร สอดแทรกหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงร่วมถึงพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชการที่ 10 และการจัดการเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning) การกำกับติดตาม(Check)ผ่านกระบวนการPLC ความยุติธรรม คุณธรรมและจริยธรรมขององค์กร(Justion and morality and ethics) การประเมินผล(Act) เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไข เพื่อพัฒนาและต่อยอด ส่งผลให้โรงเรียนมีหลักสูตรทักษะอาชีพร่วมถึงการทำMOUกับวิทยาลัยเทคนิคเวียงป่าเป้าในการฝึกอาชีพที่หลากหลายเหมาะสมตามศักยภาพ  นักเรียนมีทักษะในการดำเนินชีวิต สามารถพึ่งตนเองได้ ทำให้นักเรียนสามารถสร้างรายได้ในตนเองและครอบครัว ทำให้เกิดการเรียนรู้ในทุกรูปแบบที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ผู้ปกครองและชุมชน 4.3 ประโยชน์ที่ได้รับ             ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ผู้เรียนมีความสุขกับการเรียนรู้ที่หลากหลาย ผู้เรียนมีความสุขกับการนำความรู้ มาสร้างรายได้ ผู้เรียนภูมิใจที่เวทีในการแสดงผลงานและความสามารถ ผู้เรียนมีเป้าหมายและการวางแผนอาชีพในอนาคต             ผลที่เกิดกับครู ครูมีความสุขเนื่องจากการจัดการเรียนรู้ของครูบรรลุวัตถุประสงค์ได้ดี ครูมีความสุขและมีแรงจูงใจการในจัดการเรียนรู้ ครูมีสื่อการเรียนรู้และนวัตกรรมที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้             ผลที่เกิดกับสถานศึกษา สถานศึกษามีทีมงานที่เข็มแข็ง ผู้เรียนมีทัศนคติเชิงบวกกับสถานศึกษา สถานศึกษามีหลักสูตรทักษะอาชีพ มีจุดยืนและจุดเด่นของสถานศึกษา             ผลที่เกิดกับชุมชน ชุมชนมีความสุขที่มีบทบาทในการร่วมจัดการศึกษา ชุมชนมีความสุขที่ได้เผยแพร่ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม ผู้เรียนสร้างอาชีพและรายได้ให้ครอบครัว ส่งผลต่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ชุมชนมีอัตราว่างงานน้อยลง   ๕. ปัจจัยความสำเร็จ             5.1 ด้านการบริหารจัดการ ผู้บริหาร ครู และบุคลากรให้ความสำคัญและตระหนักในการสร้างจิตสำนึก ให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ 10 และส่งเสริมให้โรงเรียนดอยเวียงผาพิทยา ได้เข้าร่วม โครงการโรงเรียนคุณธรรม โครงการฝึกทักษะอาชีพ อย่างต่อเนื่องจนได้รับรางวัลดังนี้ รางวัลจากคณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ว่ามีผลการประเมินองค์ ระดับคุณธรรม ได้รับรางวัลผลงานที่มีแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ(Best pratice) ชื่อผลงาน “โครงการทักษะอาชีพ” ระดับดีเยี่ยม ในการน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาสู่การปฏิบัติ ปีงบประมาณ 2566             5.2 ด้านชุมชน และองค์กรฝ่ายนอก มีลักษณะเอื้อต่อการพัฒนาและการดำเนินโครงการ ทั้งด้านการสร้างความตระหนัก ความมุ่งมั่นในการดำเนินงาน และการยินดีในผลสำเร็จร่วมกันของทุกฝ่าย จนเกิดระบบการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้งการสร้าง การมีส่วนร่วมจากหน่วยงานต่างๆ ให้เข้ามาร่วมมือกับทางโรงเรียนในการจัดกิจกรรมต่างๆ จนบรรลุวัตถุประสงค์ โดยเฉพาะวิทยาลัยเทคนิคเวียงป่าเป้าที่ให้การส่งเสริมสนับสนุนทั้งทางด้านทรัพยากรบุคคลมาเป็นวิทยากรในการจัดการเรียนรู้  ทั้งได้มาร่วมออกแบบหลักสูตรสถานศึกษา ร่วมจัดการเรียนรู้อย่างต่อทุกสัปดาห์ และเป็นแหล่งการเรียนรู้ให้กับนักเรียน จนได้มีการทำMOUร่วมกันระหว่างโรงเรียนดอยเวียงผาพิทยาและวิทยาลัยเทคนิคเวียงป่าเป้า  องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงและปราญช์ชาวบ้านในชุมชนแม่ปูนล่างที่จัดโครงการทักษะอาชีพให้กับโรงเรียนต่อเนื่องในทุกปีงบประมาณ     ๖. บทเรียนที่ได้รับ ( Lesson Learned)             การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และทักษะอาชีพ ต้องมีกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา และบุคลากร ต้องมีความเข้าใจและยอมรับในบทบาทหน้าที่ของการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และทักษะอาชีพ ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญ สนับสนุนและเป็นแบบอย่างที่ดี การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และทักษะอาชีพ จะต้องดำเนินไปด้วยวิธีที่สร้างสรรค์ เรียบง่าย ไม่เพิ่มภาระงาน ค่อยเป็นค่อยไปในลักษณะการซึมซับเพื่อให้ฝังลึกในจิตใจ ทั้งนี้ความผลสำเร็จในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และทักษะอาชีพ ที่แท้จริงไม่ใช่เพียงแค่การบรรลุเป้าหมายตามที่คาดหวังไว้ แต่ต้องดำเนินไปอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่องและยั่งยืน   ๗. การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ             7.1 การเผยแพร่ เผยแพร่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เช่น facebook , line ทั้งของโรงเรียน ของผู้บริหาร และบุคลากร การเผยแพร่การขยายผลต่อยอดสู่ความยั่งยืน ไปยังเว็ปไซด์ http://www.การศึกษาไทย.com การเผยแพร่การขยายผลต่อยอดสู่ความยั่งยืน ไปยังกลุ่มPCLแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบ่งปัน สื่อ นวัตกรรมในกลุ่ม facebook ที่มีสมาชิกร่วม 3.9 แสนคน “แบ่งปันสื่อการสอน By Kru Jay” การเผยแพร่การขยายผลต่อยอดสู่ความยั่งยืนในรูปแบบของVDO ไปยัง https://kruthaidev.com             7.2 การได้รับการยอมรับ เป็นแหล่งศึกษาดูงานของสถานศึกษาอื่น ๆ ทั้งภายในและภายนอกสังกัด ได้รับรางวัลจากคณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ว่ามีผลการประเมินองค์ ระดับคุณธรรม ได้รับรางวัลผลงานที่มีแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ(Best pratice) ชื่อผลงาน “โครงการทักษะอาชีพ” ระดับดีเยี่ยม ในการน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาสู่การปฏิบัติ ปีงบประมาณ 2566     ๘. การขยายผลต่อยอดสู่ความยั่งยืน             โรงเรียนดอยเวียงผาพิทยา มีการพัฒนาส่งเสริมทักษะอาชีพ อย่างมีระบบ และผู้บริหาร ครู นักเรียน เครือข่ายผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา และชุมชน เข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมในการพัฒนา มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประชุม สัมมนา ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อเพิ่มแนวทางหรือวิธีการในการพัฒนาทักษะอาชีพ ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น นอกจากนี้โรงเรียนดอยเวียงผาพิทยาได้จัดทำ MOU กับวิทยาลัยเทคนิคเวียงป่าเป้า และเปิดโอกาสให้โรงเรียน หรือหน่วยงานต่างๆ ได้เข้ามาศึกษาแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาการดำเนินงาน ให้มีประสิทธิภาพต่อไป   9. ข้อเสนอแนะในการนำผลงาน/นวัตกรรมไปใช้ มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ / ถอดบทเรียน ร่วมกันระหว่าง ผู้บริหาร คณะครู และนักเรียน เพื่อหาแนวทางปรับปรุง แก้ไข และพัฒนาต่อยอดในปีถัดไป ผู้บริหาร คณะครู ร่วมปฏิบัติการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อสะท้อนผลการดำเนินงานที่ผ่านมา และร่วมหาแนวทางในการพัฒนาต่อยอดเพื่อความยั่งยืน สร้างเครือข่ายร่วมพัฒนาทักษะอาชีพให้กับผู้เรียน ในรูปแบบบันทึกข้อตกลงร่วมกัน (MOU) ทั้ง เครือข่ายที่ต้องการขยายผลสู่การปฏิบัติ และเครือข่ายร่วมพัฒนาต่อยอด เพื่อความมั่นคงด้านอาชีพ และการมีงานทำของผู้เรียนอย่างยั่งยืน มีการขยายผลไปสู่ครอบครัว ชุมชน และท้องถิ่น โดยมีการประเมินผลร่วมกันระหว่าง โรงเรียน บ้าน และชุมชน

Powered by GliaStudio
Back to top button