นวัตกรรมด้านการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
เอกสารรายงานผล นวัตกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภายใต้นโยบายการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาเพื่อสร้าง “องค์กรคุณภาพสู่อนาคตที่ยั่งยืน” ของในชื่อผลงาน “นวัตกรรม 3R Activity Based Learning เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย เรื่อง คำควบกล้ำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านโพธิ์ห้วย” จัดทำขึ้นเพื่อสรุปผลการดำเนินงาน พร้อมทั้งสรุปภาพความสำเร็จของการดำเนินงาน รวมทั้งปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ เพื่อนำไปพัฒนาการดำเนินงานต่อไป
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารรายงานผลการปฏิบัติงาน นวัตกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ในชื่อผลงาน “นวัตกรรม 3R Activity Based Learning เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย เรื่อง คำควบกล้ำ ฉบับนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และขอขอบพระคุณคณะทำงานทุกท่านที่เสียสละเวลาในการจัดทำเอกสารฉบับนี้จนสำเร็จลุล่วงด้วยดีไว้ ณ โอกาสนี้
สมจิต ยี่รัมย์
- ความสำคัญของนวัตกรรม
การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนในรายวิชาภาษาไทยมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาผู้เรียนให้สามารถอ่านออกเขียนได้เป็นอันดับแรกเพราะการอ่านออกเขียนได้เป็นเครื่องมือสำคัญ ที่ส่งผลต่อคุณภาพในการเรียนรู้ของนักเรียน ปัจจุบันพบว่ามีนักเรียนระดับประถมศึกษาจำนวนไม่น้อย ที่มีปัญหาด้านการอ่าน การเขียน ภาษาไทย มีทั้งอ่านไม่คล่อง เขียนไม่คล่อง หรือถึงขั้นอ่านไม่ได้ เขียนไม่ได้ก็มีจำนวนไม่น้อย การจัดกระบวนการเรียนการสอนของครูจึงต้องเน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกให้รู้จักอ่าน เขียน คิด ฝึกทำ และลงมือปฏิบัติ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ.2545 หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา มาตรา 22 กำหนดไว้ว่า “การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ” (กระทรวงศึกษาธิการ,2545) และตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 กำหนดหลักการ ข้อ 3 ซึ่งกำหนดไว้ว่า“ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาและเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตโดย ถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด สามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ” (กระทรวงศึกษาธิการ, 2545)
จุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานประจำปีงบประมาณพ.ศ. 256๗ ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ เดือนธันวาคม พ.ศ.2565 ข้อที่ ๒ การยกระดับคุณภาพการศึกษา ข้อ ๒.๒ จัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพหุปัญญาให้กับผู้เรียน โดยเน้นการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ในรูปแบบ Active Learning, STEM Education, Coding ฯลฯ และกระบวนการส่งต่อในระดับที่สูงขึ้น https://moe360.blog/2023/01/04/policy-and-focus-moe-fiscal-year-2024/
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงประกาศนโยบายการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 – 2568 โดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนทุกช่วงวัยได้รับการพัฒนาในทุกมิติ ทั้งในด้านโอกาส ความเท่าเทียม ความเสมอภาค คุณภาพและสมรรถนะที่สำคัญจำเป็น ตามบริบทของประเทศและสังคมโลก โดยเน้นให้ผู้เรียน “เรียนดี มีความสุข” ใช้หลักการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาจากทุกภาคส่วน ดังที่กล่าวไว้ว่า “จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน” เพื่อเป็นแนวทางให้ทุกหน่วยงานในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการนำไปใช้ในการขับเคลื่อนนโยบาย ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ https://moe360.blog/2023/12/06/p55122/
จากโมเดลการบริหารงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 การขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาเพื่อสร้าง “องค์กรคุณภาพสู่อนาคตที่ยั่งยืน”ตามกระบวนการพัฒนางาน SMART Model ซึ่งมีกระบวนการดำเนินงาน 5 ขั้นตอนดังนี้ S : SWOT การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม M : Management วางแผนบริหารจัดการ A : Act ปฏิบัติตามแผน R: Reflect การสะท้อนผลการปฏิบัติ T: Transfer นำสู่การเปลี่ยนแปลง
ปัจจุบันข้าพเจ้าสอนวิชาภาษาไทย ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ได้สังเกตพฤติกรรมการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง “คำควบกล้ำ” พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนยังไม่น่าพึงพอใจ เนื่องจากผู้เรียนส่วนใหญ่มาจากครอบครัวและภูมิลำเนาที่ไม่เน้นการใช้คำควบกล้ำ อีกทั้งชุมชนที่ตั้งอยู่พูดภาษาถิ่นโดยพูดภาษาไทยไม่ชัดเจนย่อมส่งผลให้นักเรียนเกิดปัญหาในการอ่านเขียนคำควบกล้ำ สับสนในการออกเสียง ทางแก้อยู่ที่ครูจะต้องปรับปรุงการสอนทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย ทำของน่าเบื่อหน่ายให้น่าสนุก จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาให้แก่นักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการอ่านออกเสียงคําควบกลํ้าได้ดีขึ้น ดังที่ กรรณิการ์ พวงเกษม (2535 : 37) ได้เสนอแนวคิดว่า เด็กวัยประถมศึกษานั้นครูเป็นผู้ที่มีบทบาทอย่างยิ่งในการจัดสิ่งแวดล้อมหรือกิจกรรมต่างๆ เพื่อเร้าความสนใจของนักเรียน ให้มาสนใจการอ่านการเขียนมากขึ้น การฝึกทักษะการอ่านการเขียนต้องอาศัยการฝึกฝนอยู่เสมอ จึงจะสามารถอ่านได้ถูกต้องและเกิดความชำนาญ โดยอ้างถึงกฎแห่งการเรียนรู้ของ Thorndike เกี่ยวกับกฎแห่งการฝึกหัดว่า การกระทำซ้ำๆ ในพฤติกรรม อย่างใดอย่างหนึ่งจะทำให้พฤติกรรมนั้นสมบูรณ์ยิ่งขึ้น แต่ถ้าไม่ได้ฝึกอย่างสม่ำเสมอ พฤติกรรมนั้นก็จะเลือนรางไป กฎแห่งความพร้อม คือนักเรียนต้องมีความพร้อมในการเรียนจะทำให้เกิดความพอใจ และ กฎแห่งผล คือ การฝึก ต้องมีเนื้อหาน่าสนใจ ความยากง่ายเหมาะสมกับวัยและ สติปัญญา มีสิ่งกระตุ้นให้ผู้เรียนพอใจ การประเมินผล กระทำอย่างรวดเร็วหลังจากผู้เรียนทำเสร็จ
จากปัญหาและความสำคัญของการเรียนรู้ที่กล่าวมาข้างต้น ข้าพเจ้าในฐานะที่เป็นครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ตระหนักถึงความสำคัญของการอ่านออกเสียงคําควบกลํ้า จึงสนใจที่จะพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงคําควบกลํ้าเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และเกิดทักษะกระบวนการความสามารถในการอ่านและเขียนภาษาไทยที่ยั่งยืนพร้อมกับการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนให้สูงขึ้น ข้าพเจ้าจึงออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ในชื่อนวัตกรรม “3R Activity Based Learning ” เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย เรื่อง คำควบกล้ำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านโพธิ์ห้วย” ซึ่งนวัตกรรม 3R Activity Based Learning เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ และทำความเข้าใจในเนื้อหาบทเรียนโดยแต่ละกิจกรรมจะสอดแทรกเนื้อหาตามจุดประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะและกระบวนการตามจุดประสงค์การเรียนรู้โดยจัดการเรียนการสอนตามหลักการสอนแบบ ๓R ซึ่งเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐาน การจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐาน (Activity Based Learning; ABL) หมายถึง รูปแบบการเรียนรู้ที่ มุ่งเน้นส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ และมีบทบาทในการเรียนรู้ โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน โดยมุ่งเน้น ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ และทำความเข้าใจในเนื้อหาบทเรียน ผ่านกิจกรรมที่ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองผ่าน การเล่นเกม การร้องเพลง บทบาทสมมุติ และสถานการณ์จำลอง คุณครูทำหน้าที่เป็นผู้ออกแบบกิจกรรมโดย การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เหมาะสม และมีการวางแผนการใช้สื่อที่ดีเพื่อให้ผู้เรียนเรียนอย่างมีความสุข มี การพัฒนาการฟัง การพูดภาษาไทยไปด้วยความมั่นใจ หลักการสอนแบบ 3R คือ Repetition คือ การสอนซ้ำไปซ้ำมาและใช้เวลาสอนมากกว่าปกติโดยใช้วิธีการสอนหลายๆวิธีในเนื้อหาเดิมดังนั้นครูผู้สอนจึงต้องเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการสอนไม่ให้เด็กเบื่อและสามารถเข้าใจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น Relaxation คือ การสอนแบบไม่ตึงเครียดนักไม่สอนแต่เนื้อหาวิชาอย่างเดียวควรเปลี่ยนกิจกรรมจากการสอนวิชาการเป็นการเล่นเกม ร้องเพลงดนตรีหรือเล่านิทานบ้าง Roution คือ สอนให้เป็นกิจวัตรประจำวันคือเป็นกิจกรรมที่จะต้องทำเป็นประจำสม่ำเสมอในแต่ละวัน