ปลูกพลังบวกสร้างจิตสำนึกเพิ่มภูมิคุ้มกันปัจจัยเสี่ยง เหล้า บุหรี่ ผ่านการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้รูปแบบเกมการศึกษา Coding ของนักเรียนระดับชั้นอนุบาล
วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) ชื่อผลงาน : ปลูกพลังบวกสร้างจิตสำนึกเพิ่มภูมิคุ้มกันปัจจัยเสี่ยง เหล้า บุหรี่ ผ่านการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้รูปแบบเกมการศึกษา Coding ของนักเรียนระดับชั้นอนุบาล
แบบการนำเสนอผลงานสถานศึกษาที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices)
ด้านการจัดประสบการณ์การจัดการศึกษาปฐมวัย
1.ชื่อผลงาน : ปลูกพลังบวกสร้างจิตสำนึกเพิ่มภูมิคุ้มกันปัจจัยเสี่ยง เหล้า บุหรี่ ผ่านการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้รูปแบบเกมการศึกษา Coding ของนักเรียนระดับชั้นอนุบาล
ด้าน การจัดประสบการณ์การจัดการศึกษาปฐมวัย(ด้านครูผู้สอน)
2.ชื่อผู้นำเสนอผลงาน : นางสาว ธารารัตน์ จันจม
ตำแหน่ง ครูผู้สอน โรงเรียน บ้านแม่ใจ (แม่ใจเพาะวิทยาการ)
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 ตำบล บ้านต๋อม อำเภอ แม่พะเยา
จังหวัด พะเยา รหัสไปรษณีย์ 56000
โทรศัพท์ ๐๙๓ – ๒๒๔๕๙๓๖
E-mail : golfze109 @ Hotmail .com
3.ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรมที่นำเสนอ
ครูในระดับปฐมวัยจึงต้องคำนึงถึงการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่จะต้องเน้นเด็กเป็นสำคัญให้เด็กได้มีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัยทั้ง 4 ด้าน ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา และเด็กทุกคนมีสิทธิ์ที่จะได้รับการอบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริมพัฒนาการตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิ์ของเด็ก ตลอดจนได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างเหมาะสม(กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๖๐: 4) เป็นการสนับสนุนให้เด็กได้รับรู้ และเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัวผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม บุคคลและสื่อต่างๆด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อปลูกผังสร้างจิตสำนึกภูมิคุ้มกันปัจจัยเสี่ยงสำหรับเด็กปฐมวัยให้แข็งแรงสดใส ห่างไกลเหล้า บุหรี่ ในปัจจุบันโลกมีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วส่งผลกระทบโดยตรงกับเด็กอย่างมากเราจะต้องเตรียมเด็กให้มีความพร้อมต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงนี้ เด็กปฐมวัยมีความสำคัญชองรากฐานความมั่นคงต่อชาติครูผู้ปกครองควรตระหนักและให้ความสำคัญเป็นอย่างมากที่จะสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับเด็กด้วยการสร้างพลังบวก สร้างจิตสำนึกที่ดีมีความเชื้อมั่นในตนเองรู้จักคิดวิเคราะห์เหตุและผลด้วยตนเองที่เหมาะสมกับวัยมีต้นทุนทักษะชีวิตในการดำรงชีวิตในยุคที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ้งในปัจจุบันสื่อส่งผลเป้นอย่างมากต่อความคิด และต่อการแสดงพฤติกรรมของเด็กดั่งนั้นเด็กในช่วงปฐมวัยจึงต้องมีภูมิคุ้มกันที่ดี โดยอย่างยิ่งในขณะนี้ปัญหาเรื่องการใช้สารแสพติดกำลังระบาดเป็นวงกว้างอายุผู้แสพลดน้องลงอย่างหน้าตกใจหลายครั้งที่ได้ข่าวว่าเด็กวัยอนุบาลเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับ เหล้า บุหรี่ ที่เกิดจากสภาพแวดล้อมในครอบครัว สังคมรอบตัวของเด็ก โดยเฉพาะอย่างสถาบันครอบครัว โรงเรียนครูผู้สอนและผู้ปกครองจึงเป็นส่วนสำคัญที่จะปลูกพลังบวกสร้างจิตสำนึกสร้างภูมิคุ้มกันปัจจัยเสี่ยงสำหรับเด็กปฐมวัยให้ห่างไกล เหล้า บุหรี่การจัดกิจกรรม ขั้นตอนการเสริมประสบการณ์จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการเรียนรู้ของเด็กขั้นตอนในการดำเนินการสอนให้สำเร็จด้วยวิธีการต่างๆ
จากสภาพปัญหานักเรียนชั้นอนุบาล โรงเรียนบ้านแม่ใจ พบปัญหาพฤติกรรมในเด็กบางคนที่เกิดอาการง่วงนอนในเวลาเรียน การพูดคำหยาบ การสนทนาระหว่างการเล่นบทบาทสมมุติที่ส่อการเลียนแบบผู้ปกครองครูการพบเห็นผู้ใหญ่ขณะดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร่วมถึงการทำท่าทางเลียนแบบการสูบบุหรี่ และการเห็นวัยรุ่นที่ใช้บุหรี่ในการสูบจึงเป็นกังวลและเป็นห่วงเด็ก ๆ ว่าอาจจะเข้าไปข้องเกี่ยวกับเหล้าและบุหรี่จนส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็กครูผู้สอนเป็นกังวนอย่างมาก ครูจึงมีความต้องการที่จะปลูกฝังจิตสำนึกและสร้างภูมิคุ้มกันปัจจัยเสียง เหล้า บุหรี่ ตลอดจนสารเสพติดทุกชนิด
ครูจึงศึกษาค้นคว้าวิธีการจัดกิจกรรมที่จะเสริมประสบการณ์ของเด็กที่จะเกิดการพัฒนาปลูกฝังพลังบวกสร้างจิตสำนึกเพิ่มภูมิคุ้มกันปัจจัยเสี่ยง เหล้า บุหรี่ โดยการผ่านการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้รูปแบบเกมการศึกษา Coding ของนักเรียนระดับชั้นอนุบาลผ่านการบูรณาการณ์ร่วมกับกิจกรรมปลูกพลังบวกเพื่อสร้างจิตสำนึกภูมิคุ้มกันปัจจัยเสี่ยงเหล้า บุหรี่ สำหรับเด็กปฐมวัยเพื่อเป็นรากฐานให้เด็กปฐมวัยมีภูมิคุ้มกันที่ดี ด้วยพลังบวกจากความรัก ความอบอุ่น สร้างจิตสำนึกที่ดี มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีทักษะชีวิตเป้นต้นทุน สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุขและปลอดภัยจากปัจจัยเสี่ยงทั้งหลาย
เทคนิคในการใช้เกมการศึกษา Coding การพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ทักษะที่สำคัญทักษะหนึ่ง คือ การคิดเชิงคำนวณ (Computational thinking: CT) ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ทั้งที่ใช้หรือไม่ใช้คอมพิวเตอร์และใช้หรือไม่ใช้การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การคิดเชิงคำนวณเป็นสิ่งที่ทำให้เด็กคิดด้วยการกำหนดปัญหา และทำให้แก้ปัญหาแสดงออกมาเป็นรูปแบบที่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Wing, 2010 อ้างถึงใน อารีวรรณ ไชยกาญจน์, ปิยะนันท์ หิรัณย์ชโลทร และอรพรรณ บุตรกตัญญู, 2565, น. 124) โดยเด็กปฐมวัยเป็นบุคคลที่สำคัญและคุ้มค่าในการลงทุนพัฒนามากที่สุด เพื่อให้เด็กเติบโตขึ้นมาอย่างสมบูรณ์ เผชิญกับปัญหาในโลกยุคใหม่ที่คาดเดาไม่ได้ ซึ่งการฝึกคิดแบบ Unplugged Coding เพื่อให้เด็กมีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้วิทยาการคอมพิวเตอร์ในระดับอนุบาลไว้ 3 ประการ คือ (1) แก้ปัญหาอย่างง่ายได้ (2) แสดงลำดับขั้นตอนการทำงานโดยใช้ภาพ และ/หรือสัญลักษณ์ และ (3) เขียนโค้ดอย่างง่ายโดยใช้สื่อแบบไม่ใช้คอมพิวเตอร์ผ่านการเล่นโดยกำหนดการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็กอนุบาลเรียนรู้ทักษะและแนวคิดที่เป็นพื้นฐานที่สำคัญผ่านกิจกรรมการลงมือกระทำ (Active Learning) การเล่น (Play) และกิจกรรมบูรณาการภาษา วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์โดยเฉพาะการปูพื้นฐานแนวคิดและทักษะเกี่ยวกับ แบบรูป การแก้ปัญหา การใช้ตัวแทน และการเรียงลำดับของสิ่งต่าง ๆ
โดยการส่งเสริมการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณ (Computing Science) ในระดับอนุบาล ไม่ใช่การเขียนคำสั่งคอมพิวเตอร์ แต่เป็นเรื่องการสร้างกระบวนการคิดให้กับเด็กอนุบาล ถือเป็นทักษะที่ต้องเร่งสร้างให้กับคนรุ่นใหม่ รวมไปถึงคนรุ่นเก่าก็ต้องใช้ทักษะนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งกระบวนการคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญที่เด็กทุกคนตั้งแต่ระดับอนุบาลควรได้รับการปลูกฝัง เพื่อเป็นรากฐานของการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่จะนำประเทศไปสู่การพัฒนาตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ต่อไป(ที่มา https://www.kruachieve.com)
Coding คือทักษะในการคิดและแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ หากปัญหาเป็นมวลพลังงานหนึ่งก้อน ด้วยทักษะดังกล่าวนี้ จะเป็นการที่พยายามแยกส่วนประกอบและถอดปัญหาออกเป็นชิ้นส่วนย่อยๆ เพื่อให้เห็นสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา แน่นอนว่าการที่มีทักษะ Coding ติดตัวนี้ยังมีประโยชน์ในด้านอื่นๆ อีกมาก ไม่ว่าจะเป็นทักษะในการวางแผน ทักษะในการเข้าใจเรื่องตรรกะ หรือแม้แต่การต่อยอดอย่างการเขียนโปรแกรม ที่หากมีทักษะนี้ในปัจจุบันก็สามารถใช้เป็นหนึ่งในทักษะแห่งอนาคตได้ด้วย
เกมฝึก Coding นั้นไม่ได้จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการเล่นกิจกรรมแต่อย่างใด เพราะการฝึกโค้ดดิ้ง นั้นมุ่งเน้นกิจกรรมที่ทำให้เด็กได้ฝึกแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ การใช้ทักษะความคิดสร้างสรรค์หรือการคิดเชิงคำนวณ เพื่อให้เด็กๆ ได้เห็นภาพและเข้าใจแนวคิดของการ Coding มากยิ่งขึ้น
Coding สำหรับเด็กอนุบาล
ในวัยอนุบาล เด็ก ๆ จะเรียน Coding ในรูปแบบ Unplugged Coding เป็นการเรียนรู้แบบไม่ใช้คอมพิวเตอร์ แต่เรียนรู้ผ่านการเล่น เรียนรู้จากการใช้ชีวิตประจำวัน ผ่านสื่อที่เหมาะกับเด็กวัยอนุบาล เช่น กิจกรรมสนุก ๆ เกม นิทาน บัตรภาพ หรือบทเพลง กระบวนแบบ Unplugged Coding เป็นการสอนให้ลูกรู้จักแก้ปัญหาจากโจทย์ง่าย ๆ ที่ตั้งไว้ เช่น จะพาหนูน้อยหมวกแดงเดินทางไปเส้นทางไหนที่ไม่ผ่านสวนดอกไม้และหมาป่า เด็ก ๆ จะได้ฝึกการคิดแก้ปัญหา การวางแผนอย่างเป็นระบบ ผ่านการเขียนชุดคำสั่งเป็นโค้ด รหัส หรือสัญลักษณ์ง่าย ๆ เช่น ลูกศร หรือการใช้สีแทนค่าแทนคำตอบ โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถสร้างโจทย์ง่าย ๆ ได้เพื่อให้เด็กได้ลงมือทำด้วยตนเองและเกิดเป็นกระบวนการเรียนรู้
Coding สำคัญกับเด็ก ๆ อย่างไร
- รู้จักวางแผนอย่างเป็นลำดับขั้นตอน
- รู้จักการคิดแบบยืดหยุ่น
- ได้พัฒนาการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลและเป็นระบบ
- ได้ฝึกการคิดแก้ปัญหา
ในอนาคต เทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทและเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตของเด็ก ๆ มากขึ้น ดังนั้นการที่เด็ก ๆ ได้เริ่มต้นเรียนรู้และรู้เท่าทันเทคโนโลยีตั้งแต่เด็กย่อมเป็นสิ่งที่ดี มาชวนลูก ๆ เล่นสนุกไปกับ Unplugged Coding กันนะคะ และในบทความถัดไป เรามาดูกันว่ามีกิจกรรม Unplugged Coding อะไรบ้างที่คุณพ่อคุณแม่สามารถทำกับลูกได้(ที่มา https://www.planforkids.com/)
ซึ่งตัวของผู้จัดทำได้แลเห็นเลือกเกม Coging ในรูปแบบเกมชุดคำสั่ง เกมนี้เป็นการปูรากฐานเกี่ยวกับเรื่องการสร้างอัลกอริทึมให้กับเด็กได้แบบที่ไม่รู้ตัว โดยกติกาในการเล่นจะมีตารางขนาดใหญ่หนึ่งตาราง ซึ่งในแต่ละตารางจะมีบัตรคำสั่งอยู่ หากเด็ก ๆ หยิบได้คำสั่งอะไรก็จะต้องทำภารกิจตามหน้าบัตรให้สำเร็จ แนวคิดที่ผู้เล่นจะได้รับคือแนวคิดพื้นฐานของวิทยาการคำนวณ อย่างการแยกส่วนประกอบของปัญหา หรือที่เรียกว่า Decomposition นอกจากนี้ยังเป็นการเรียนรู้ระบบของอัลกอริทึมด้วยไปในตัวอีกด้วย
4.จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินการ
- จุดประสงค์
- เพื่อให้เด็กได้ปลูกพลังบวกสร้างจิตสำนึกภูมิคุ้มกันปัจจัยเสี่ยงสำหรับเด็กปฐมวัย
- เพื่อให้เด็กได้รู้จักโทษของการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- เพื่อให้เด็กได้รู้จักโทษของการสูบบุหรี่
- เพื่อให้เด็กได้รู้จักวิธีการป้องกันตนเองเมื่อมีคนชักชวนให้ดื่มเหล้าและสูบบุหรี่
- เพื่อสานความสัมพันธ์ ระหว่างโรงเรียนนักเรียนและผู้ปกครอง
- เพื่อให้เด็กได้มีทักษะการคิดวิเคราะห์ การวางแผนแก้ปัญหาด้วยตนเองผ่านเกมการศึกษา Coding
- เป้าหมายของการดำเนินการ
- เป้าหมายเชิงปริมาณ
2.1.1 นักเรียนระดับชั้นอนุบาล จำนวน 9 คน
2.1.2 นักเรียนร้อยละ 80 เกิดทักษะทักษะการคิดวิเคราะห์ การวางแผนแก้ปัญหาด้วยตนเองผ่านเกมการศึกษา Coding
2.2 เป้าหมายเชิงคุณภาพ
ผู้เรียนเกิดทักษะกระบวนการคิด การสังเกต เปรียบเทียบ เด็กเกิดความมั่นใจในตนเองและความกล้าแสดงออกเมื่อต้องร่วมทำกิจกรรมกับบุคคลอื่นโดยการปลูกพลังบวกสร้างจิตสำนึกเพิ่มภูมิคุ้มกันปัจจัยเสี่ยง เหล้า บุหรี่ ผ่านการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้รูปแบบเกมการศึกษา Coding ของนักเรียนระดับชั้นอนุบาล
5.ขั้นตอนการดำเนินงาน (กระบวนการผลิตผลงาน รูปแบบวิธีการในการพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ)
- ขั้นตอนการเตรียมการ
- ครูศึกษาสภาพปัญหาของผู้เรียนในกระบวนการคิด การสังเกต เปรียบเทียบ
- ครูศึกษาสภาพปัญหาของผู้เรียนในการะบวนการคิด การสื่อสารเล่าเรื่องราวจากประสบการณ์เดิมต่อปัจจัยเสี่ยงที่มีต่อ เหล้า บุหรี่
- ครูศึกษาคู่มือครู ชุดกิจกรรม ปลูกพลังบวกเพื่อสร้างจิตสำนึกภูมิคุ้มกันปัจจัยเสี่ยงเหล้า บุหรี่สำหรับเด็กปฐมวัย
- ครูสังเกตการแสดงความคิดเห็นและความเข้าใจถึงเหตุและผลของการทำกิจกรรม
- ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหลักการ แนวคิด และความสำคัญการปลูกพลังบวกสร้างจิตสำนึกเพิ่มภูมิคุ้มกันปัจจัยเสี่ยง เหล้า บุหรี่
- ศึกษาเอกสารผ่านการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา Coding ของนักเรียนระดับชั้นอนุบาล
- กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการจัดประสบการณ์ในการจัดประสบการณ์ที่จะส่งเสริมพัฒนาปลูกพลังบวกสร้างจิตสำนึกเพิ่มภูมิคุ้มกันปัจจัยเสี่ยง เหล้า บุหรี่ ผ่านการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้รูปแบบเกมการศึกษา Coding ของนักเรียนระดับชั้นอนุบาลโรงเรียนบ้านแม่ใจ(แม่ใจเพาะวิทยาการ)จำนวน 9 คน
- ขั้นตอนการดำเนินงาน
- ครูศึกษาการจัดทำกิจกรรมในคู่มือชุดกิจกรรมห่างไกลเหล้า และ บุหรี่
- ครูจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมวางแผนการผลิตสื่อที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
- ครูอำนวยความสะดวกโดยการเตรียมสื่อในการทำกิจกรรมตามคู่มือ
- ครูจัดทำเกมการศึกษา Coding ครูอธิบายขั้นตอนการเล่นให้เด็กเข้าใจ
- ครูให้เด็ก ๆ เล่นเกม ครูคอยสนทนาชี้แนะเด็กระหว่างการเล่น
- ครูคอยสังเกตวิธีการเล่นและการสนทนาของเด็กระหว่างการเล่น
- ครูจัดกิจกรรมเกมการศึกษาครูกระตุ้นให้เด็กทุกคนช่วยกันคิดหาคำตอบวิธีการปฏิเสธเมื่อเจอคนชวยดื่มเครื่องเดิมที่มีแอลกอฮอล์และชักชวนให้สูบบุหรี่
- ขั้นตอนการสรุป
- ครูประเมินผลการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ปลูกพลังบวกสร้างจิตสำนึกเพิ่มภูมิคุ้มกันปัจจัยเสี่ยง เหล้า บุหรี่ ผ่านการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้รูปแบบเกมการศึกษา Coding ของนักเรียนระดับชั้นอนุบาลจากการสังเกต การทำกิจกรรมของเด็กโดยสังเกตเป็นรายบุคคล ตรวจสอบข้อบกพร่องในการจัดกิจกรรม เพื่อนำไปแก้ไข ปรับปรุง พัฒนาต่อยอดในกิจกรรมต่อไป
- ผลการดำเนินการ/ ผลสัมฤทธิ์ / ประโยชน์ที่ได้รับ
ผลการดำเนินการ
นักเรียนระดับชั้นอนุบาล 2 และ อนุบาล 3 จำนวน 9 คน ร้อยละ 80 เกิดทักษะเกิดทักษะการคิดวิเคราะห์ การวางแผนแก้ปัญหาด้วยตนเองมีจิตสำนึกภูมิคุ้มกันปัจจัยเสี่ยง เหล้า บุหรี่ ผ่านการจัดประสบการณ์เกมการศึกษา Coding
ผลสัมฤทธิ์
การใช้เกมการศึกษา Coding เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดผลังบวกเกิดจิตสำนึกและมีภูมิคุ้มกันปัจจัยเสี่ยงต่อ เหล้า บุหรี่ รู้จักโทษของการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และโทษของการสูบบุหรี่รู้จักวิธีการป้องกันตนเองเมื่อมีคนชักชวนให้ดื่มเหล้าและสูบบุหรี่ เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างโรงเรียนนักเรียนและผู้ปกครองเด็กปฐมวัย แข็งแรงสดใส ห่างไกลเหล้า บุหรี่ เกิดทักษะกระบวนการคิด การตีความเปรียบเทียบความเหมือนความแตกต่างจากการสังเกต การสรุป การใช้ภาษาที่แสดงความคิดเห็นกล้าที่จะแสดงออกในการสื่อสารดีขึ้นเด็กเกิดความตื่นเต้นและสนใจมีสมาธิในการทำกิจกรรม สามารถเชื่อมโยงข้อมูลความรู้เข้าด้วยกัน ดีขึ้นหลังจากการจัดเสริมประสบการณ์ โดยใช้ การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เกมการศึกษา Coding
ประโยชน์ที่ได้รับ
- เด็กมีพลังบวกสร้างจิตสำนึกมีภูมิคุ้มกันที่ดีต่อปัจจัยเสี่ยงสำหรับเด็กปฐมวัย
- เด็กรู้จักโทษของการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- เด็กรู้จักโทษของการสูบบุหรี่
- เด็กรู้จักวิธีการป้องกันตนเองเมื่อมีคนชักชวนให้ดื่มเหล้าและสูบบุหรี่
- โรงเรียน นักเรียน และผู้ปกครอง มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อการทำกิจกรรมรวมกัน
- เด็กมีทักษะการคิดวิเคราะห์ การวางแผนแก้ปัญหาด้วยตนเองผ่านเกมการศึกษา Coding
- ปัจจัยความสำเร็จ
– จากการจัดกิจกรรมปลูกพลังบวกเพื่อสร้างจิตสำนึกภูมิคุ้มกันปัจจัยเสี่ยงสำหรับเด็กปฐมวัยแข็งแรงสดใส ห่างไกลเหล้า บุหรี่ เด็กมีความสนใจในเรื่องของการป้องกันตนเองจาก เหล้าและบุหรี่ และ เด็กรู้จักโทษของเหล้าและบุหรี่เพิ่มขึ้น
– ด้านผู้บริหารสถานศึกษา คณะครู บุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านแม่ใจ ให้การส่งเสริมการจัด กิจกรรมและ มีการนิเทศ กำกับ ติดตามการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
– ด้านเด็กมีความสนใจในการทำกิจกรรม เด็กให้ความร่วมมือกับกิจกรรมเสริมประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาทักษะการคิดของเด็กปฐมวัย ผ่านการจัดกิจกรรมปลูกพลังบวกสร้างจิตสำนึกเพิ่มภูมิคุ้มกันปัจจัยเสี่ยง เหล้า บุหรี่ ผ่านการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้รูปแบบเกมการศึกษา Coding
– ด้านครูผู้จัดกิจกรรม มีความตั้งใจในการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์อย่างมุ่งมั่นนำไปสู่การพัฒนา ทักษะด้านทักษะกระบวนการคิด การตีความถึงภัยและโทษของการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และ การสูบบุหรี่ การป้องกันตนเองจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ตลอดตนสร้างความภูมิคุ้มกันให้กับตนเอง
– ด้านผู้ปกครองแลเห็นความสำคัญของการจัดกิจกรรม ที่ส่งผลดีต่อการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กผ่านการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้รูปแบบเกมการศึกษา Coding และสนับสนุนให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรม
- บทเรียนที่ได้รับ (Lesson Learned)
– การเลือกใช้กิจกรรมเกมการศึกษา Coding นั้นครูผู้สอนจะต้องให้ความสำคัญต่อการเลือกเป็นอย่างมากตัวของเกมจะต้องมีความเหมาะสมกับเนื้อหาที่ต้องสื่อสารให้เด็กเข้าใจ เกมการศึกษาจึงเป็นเกมที่เหมาะกับเด็กเด็กจะมีความสนใจตั้งใจในการเล่นมากกว่าการนั่งฟังอย่างเดียว ที่จะนำมาเสริมทักษะการคิด การแก้ปัญหาด้วยตนเองได้ตามความเหมาะสมของเด็กแต่ละช่วงวัย
– ครูผู้จัดกิจกรรมจะต้องจัดหาสื่อการเรียนรู้ที่จะดึงดูดความสนใจในการทำกิจกรรม ครูผู้สอนจำเป็นต้องคอยกระตุ้นเด็กอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการคิดตามเนื้อหาที่ทำ ซึ้งจะนำไปสู่จุดประสงค์ในการที่จะพัฒนาทักษะทางการเรียนรู้ของเด็กให้ได้ผลดีที่สุด
– ควรมีการนำเกม Coding เข้ามาสอดแทรกการเรียนการสอนตามแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
– ควรศึกษาผลการใช้รูปแบบของเกมกับตัวแปรอื่นๆ เช่น ความคิดรอบยอด การแสดงข้อเท็จจริง / ความคิดเห็น การเชื่อมโยงของสาเหตุสิ่งที่เกิดขึ้นกับปัญหาที่พบ การจัดเรียงลำดับของชุดคำสั่ง การจัดกลุ่ม การจำแนกประเภท การคิดเชิงเหตุผล การคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น
การเผยแพร่ / การได้รับการยอมรับ / รางวัลที่ได้รับ
– เผยแพร่เป็นเอกสารประชาสัมพันธ์ ให้กับผู้ปกครอง คณะครูในโรงเรียน
– เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ กลุ่ม Line และ เพจโรงเรียนบ้านแม่ใจ