ผลการใช้โปรแกรมกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายที่มีต่อพฤติกรรมการเดินโยกตัวของผู้เรียนออทิสติก ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดแพร่

กระดานสนทนา เผยแพร่ผลงานวิชาการหมวดหมู่: เผยแพร่ผลงานวิชาการผลการใช้โปรแกรมกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายที่มีต่อพฤติกรรมการเดินโยกตัวของผู้เรียนออทิสติก ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดแพร่
apinya asked 10 เดือน ago

ผลการใช้โปรแกรมกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายที่มีต่อพฤติกรรมการเดินโยกตัวของผู้เรียนออทิสติก

  1. สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้

เด็กออทิสติก ควรจะได้รับความช่วยเหลือ การออกกำลังกายและเล่นกีฬาที่เหมาะสมกับบุคคลเหล่านี้จะสามารถช่วยให้เขาสามารถช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้นและเพิ่มโอกาสในการใช้ชีวิตประจำวันเพราะถ้าหากแม้ว่าบุคคลกลุ่มนี้มีสมรรถภาพทางกายที่อ่อนแอหรืออยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติของคนทั่วไปจะทำให้มีข้อจำกัดต่อการดำเนินชีวิต ในขณะเดียวกันกิจกรรมการเคลื่อนไหวของร่างกาย ซึ่งสามารถนำไปออกแบบและวางแผนการออกกำลังกายให้เหมาะในแต่ละบุคคลต่อไป จากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะพัฒนากิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายแล้วนำไปใช้กับผู้เรียนออทิสติกที่มีพฤติกรรมซ้ำ ๆ คาดว่ามีส่วนกระตุ้นพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสมบูรณ์ทางกายที่จะส่งผลในการพัฒนาด้านอื่น ๆ ของเด็กออทิสติกด้วย ผู้วิจัยต้องการศึกษาเรื่องผลการใช้กิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อลดพฤติกรรมซ้ำ ๆ ของผู้เรียนออทิสติก  เพื่อนำไปพัฒนาและช่วยกระตุ้นพัฒนาการต่าง ๆ ของเด็กให้สมวัย ลดภาวะการพึ่งพิงและสามารถปรับตัวให้เข้าสังคมรอบข้างได้อย่างมีความสุข

  1. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

ผู้จัดทำข้อตกลงกำหนดวิธีการดำเนินงานให้บรรลุผล โดยมีวิธีการดังต่อไปนี้
2.1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและจัดเตรียมความพร้อม ดังนี้
1) คัดกรองนักเรียน
2) ประเมินความสามารถพื้นฐานพัฒนาการด้านร่างกาย
3) วิเคราะห์นักเรียนเป็นรายบุคคล เพื่อจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
(Individualized Education Program : IEP)
4) วิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษาสําหรับเด็กที่มีความต้องการจําเป็นพิเศษ ช่วงอายุ       7 – 18 ปี ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจําจังหวัดแพร่ พุทธศักราช 2564 (ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2566) จัดทำหน่วยการเรียนรู้ ออกแบบการจัดการเรียนรู้และจัดทำแผนการสอนเฉพาะบุคคล (Individual Implementation Plan : IIP) เรียนรู้และจัดทำแผนการสอนเฉพาะบุคคล (Individual Implementation Plan : IIP)
5) ศึกษา แนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับการอ่าน และการสร้างชุดกิจกรรม เพื่อนำมาสร้างโปรแกรมกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายและจัดกิจกรรมการเรียนรู้
6) เตรียมเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาผู้เรียน
2.2  กำหนดเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาประเด็นปัญหา ดังนี้
    1) แบบบันทึกพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่งของเด็กออทิสติก
    2) แบบสำรวจตัวเสริมแรง
    3) กิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกาย
2.3 การสร้างและพัฒนาเครื่องมือ
   1) การสร้างและหาคุณภาพของโปรแกรมกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายมีขั้นตอนดังนี้
   2) ศึกษาเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวร่างกาย
    3) สร้างโปรแกรมกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
   4) นำโปรแกรมกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายที่สร้างขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญการศึกษาพิเศษและด้านการปรับพฤติกรรม จำนวน 3 ท่าน ตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างความมุ่งหมาย กิจกรรม เนื้อหา และวิธีดำเนินการ
  5) นำโปรแกรมกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายมาแก้ไขปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ เพื่อความเหมาะสมของเนื้อหา วิธีดำเนินการ และระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง
  6)  นำโปรแกรมกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วมาใช้ในการวิจัย

  1. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

          3.1 เชิงปริมาณ
                    ผู้เรียนออทิสติก ห้องเรียนทานตะวัน ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดแพร่ จำนวน 1 คน มีพฤติกรรมการเดินโยกตัวลดลง คิดเป็นร้อยละเป็น 80
3.2 เชิงคุณภาพ
          ได้นวัตกรรมที่ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนเพื่อลดพฤติกรรมการเดินโยกตัวของผู้เรียนออทิสติก

Powered by GliaStudio
Back to top button