พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบปฏิบัติการทดลอง (Hand-on Mind-on)
บทคัดย่อ
หัวข้อวิจัย พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบปฏิบัติการทดลอง (Hand-on Mind-on) ด้วยชุดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ตามแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้จากการปฏิบัติ Activitie Learning by doing โดยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3
ผู้วิจัย นางสาวมันตา มีศรีสวัสดิ์
ปีที่วิจัย 2565
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบปฏิบัติการทดลอง ด้วยชุดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ โดยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยการจัดกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ ตามทฤษฎีการเรียนรู้จากการปฏิบัติ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบปฏิบัติการทดลอง ด้วยชุดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ โดยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ก่อนและหลัง การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ แบบปฏิบัติการทดลอง ด้วยชุดกิจกรรมเสริมประสบการณ์วิทยาศาสตร์ ดำเนินการวิจัยออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ 1.ระยะที่ 1 ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัญหา (R1) ระยะที่ 2 การสร้างออกแบบบและพัฒนานวัตกรรม (D1) ระยะที่ 3 ทดสอบ/สร้างและพัฒนาเครื่องมือ นำนวัตกรรมไปใช้ (R2) ระยะที่ 4 ทดสอบประสิทธิผล และประเมินการใช้นวัตกรรม และปรับปรุง R2 3) เพื่อหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบปฏิบัติการทดลอง เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยในครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 16 คน โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดทุ่งสวน) สังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองกำแพงเพชร อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ได้มาโดยวิธีการวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย กิจกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน แผนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ และแบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน คือ การทดสอบค่า t
ผลการวิจัยพบว่า
1. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ หลังจากทดลองพบว่า ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ทักษะด้านสังเกต ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 84.02 ทักษะการจำแนกประเภทได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 93.75 ทักษะการวัด ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 100 ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 70.13 ทักษะการสื่อความหมายได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 71.19
2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่เรียนด้วยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 หลังการทดสอบสูงกว่าก่อนการทดสอบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01