รายงานการนิเทศแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของครูชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่
ชื่อผลงาน รายงานการนิเทศแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของครูชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่
ผู้ศึกษา กรวิกา ฉินนานนท์
หน่วยงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่
ปีที่รายงาน 2564
บทคัดย่อ
รายงานการนิเทศแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการนิเทศแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และเพื่อศึกษาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่ ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นโดยใช้โรงเรียนในทุกสหวิทยาเขตเป็นหน่วยการสุ่ม จำนวน 44 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย คู่มือการนิเทศแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น แบบบันทึกการนิเทศแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก่อนและหลังการอบรม แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก แบบบันทึกการชี้แนะสะท้อนคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และแบบวัดเจตคติที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ค่าเฉลี่ย () และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติทดสอบที (t-test dependent) และสถิตินอนพาราเมตริก(Nonparametric statistics) คือ The Wilcoxon Matched Pairs Signed – Ranks Test
ผลการศึกษา พบว่า
- ผลการนิเทศแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ตามขั้นตอนการนิเทศ 5 ขั้น ดังนี้
ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์และวางแผน (Situation Analysis and Planning-S) เพื่อเป็นแนวทางวิเคราะห์หาปัญหาการจัดการเรียนรู้ จัดตั้งกลุ่มสมาชิกชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสะท้อนคิดด้านการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่จะนำไปสู่ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ วางแผนกำหนดระยะเวลาในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก การนิเทศติดตามแบบบูรณาการ และกำหนดการเผยแพร่ขยายผล
ขั้นที่ 2 การเสริมสร้างความรู้ (Informing-I) ครูชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสามารถออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ร่วมกันฝึกปฏิบัติเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และวิพากย์การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และกำหนดระยะเวลาการประเมินการตรวจสอบแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แล้วนำไปปรับปรุงแก้ไข
ขั้นที่ 3 การปฏิบัติการนิเทศ (Action-A) ครูชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สามารถเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอยู่ในระดับคุณภาพดี และการปฏิบัติการนิเทศชี้แนะสะท้อนคิดโดยการสังเกตการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ต่อเนื่อง 2 วงรอบ โดยในวงรอบที่ 1 ครูชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก อยู่ในระดับดี ในวงรอบที่ 2 มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก อยู่ในระดับดีเยี่ยม
ขั้นที่ 4 การประเมินผลการนิเทศ (Evaluation-E) ครูชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
ขั้นที่ 5 การเผยแพร่ ขยายผล (Diffusing-D) จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Symposium) ในระดับเขตพื้นที่การศึกษา และการเผยแพร่ บทเรียนร่วมกัน (Lesson Study) ที่ประสบผลสำเร็จ ผ่านทางเว็บไซต์ของโรงเรียน หรือแหล่งอื่น ๆ
- ผลการศึกษาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
2.1 ผลการเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น หลังการอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการเรียนรู้เชิงรุก กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
2.2 ผลการศึกษาความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของครูชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีผลการศึกษา ดังนี้
2.2.1 ความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อยู่ในระดับคุณภาพดี
2.2.2 ความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของครูชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยการนิเทศชี้แนะสะท้อนคิดด้วยการสังเกตการจัดการเรียนรู้ เชิงรุกของครูชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ต่อเนื่อง 2 วงรอบ โดยในวงรอบที่ 1 ครูชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีความสามารถในการจัด การเรียนรู้เชิงรุก กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อยู่ในระดับดี ในวงรอบที่ 2 ครูชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อยู่ในระดับดีเยี่ยม เมื่อเปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของครูชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยการนิเทศชี้แนะสะท้อนคิด 2 วงรอบ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
2.2.3 ครูชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีเจตคติต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก กลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อยู่ในระดับดี