ประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดคลองจินดา
การประเมินโครงการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดคลองจินดา ปีการศึกษา 2564 โดยประยุกต์ใช้แนวคิดการประเมินโครงการของโพรวัส (Provus : The Discrepancy Model) ซึ่งทำการประเมิน 4 ด้าน คือ การบรรยายโครงการ (Program Definition) การเตรียมพร้อม (Program Installation) การดำเนินงานตามแผน (Program Process) และผลผลิตที่เกิดจากโครงการ (Program Product) ประชากรที่ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ครู จำนวน 9 คน นักเรียนชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 80 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 80 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คนของโรงเรียนวัดคลองจินดา ปีการศึกษา 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามสำหรับครู แบบสอบถามสำหรับนักเรียน แบบสอบถามสำหรับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและแบบสอบถามสำหรับผู้ปกครอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินพบว่า การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนวัดคลองจินดา ปีการศึกษา 2564 1. ด้านการบรรยายโครงการ (Program Definition) ในภาพรวมอยู่ในระดับมากและมีความสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานของโครงการ เมื่อพิจารณาองค์ประกอบ พบว่า ความต้องการความจำเป็นของโครงการ และความเป็นไปได้ของโครงการอยู่ในระดับมาก ในขณะที่วัตถุประสงค์ของโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการเตรียมพร้อม (Program Installation) ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานของโครงการ ด้านการดำเนินงานตามแผน (Program Process) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และมีความสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานของโครงการ เมื่อพิจารณาองค์ประกอบ พบว่า กิจกรรมการดำเนินงานของโครงการ อยู่ในระดับมาก ส่วนช่วงเวลาการดำเนินงานของโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ด้านผลผลิตที่เกิดจากโครงการ (Program Product) ผลการประเมินในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และมีความสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานของโครงการ