รายงานการประเมินโครงการนิเทศการเรียนการสอนของโรงเรียนเทศบาล๕ เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อเรื่องรายงานการประเมินโครงการนิเทศการเรียนการสอนของโรงเรียนเทศบาล๕ เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อผู้ประเมิน นางสาวรุจิเรศ ชุมนาคราชตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา
วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ
โรงเรียนเทศบาล ๕ เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี
สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ปีที่รายงาน 2566
บทสรุปของผู้บริหาร
การประเมินโครงการนิเทศการเรียนการสอนของโรงเรียนเทศบาล ๕ เทศบาลนคร สุราษฎร์ธานี อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อประเมิน ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ของโครงการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย บุคลากรของโรงเรียนเทศบาล ๕ เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี จำนวน 102 คน ซึ่งเป็นประชากร กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรของโรงเรียนเทศบาล ๕ เทศบาลนคร สุราษฎร์ธานี อำเภอเมือง สุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 102 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา 1 คน รองผู้อำนวยการศึกษา จำนวน 3 คน (ไม่รวมผู้ประเมิน) และครูผู้สอน จำนวน 98 คน ได้มาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ คือ แบบประเมินโครงการด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติคือค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินและการวิเคราะห์เนื้อหา |
ผลการประเมินโครงการ
ผลการประเมินโครงการนิเทศการเรียนการสอนของโรงเรียนเทศบาล ๕ เทศบาลนคร สุราษฎร์ธานีอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานีจังหวัดสุราษฎร์ธานีโดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุดผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ดังนี้
1. ด้านบริบทของโครงการ โดยรวมมีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (μ = 4.49, σ = 0.23) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ โดยประเด็นที่มีผลการประเมินสูงสุด คือ ด้านวัตถุประสงค์ของโครงการ รองลงมา คือ ด้านโครงสร้างของโครงการ ด้านการนิเทศภายนอก และด้านโครงสร้างการนิเทศภายใน ตามลำดับ
2. ด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ โดยรวมมีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.54, σ = 0.19) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ โดยประเด็นที่มีผลการประเมินสูงสุด คือ ด้านสื่อและวัสดุอุปกรณ์ รองลงมา คือ ด้านงบประมาณ ด้านการวางแผน ด้านบุคลากร) และด้านอาคารสถานที่ตามลำดับ
3. ด้านกระบวนการของโครงการ โดยรวมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.59, σ = 0.23) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ โดยกิจกรรมที่มีระดับการปฏิบัติสูงสุด คือ ด้านกระบวนการและกิจกรรมการนิเทศ ด้านการบริหารกระบวนการนิเทศและด้านการประเมินผลการนิเทศภายใน ตามลำดับ
4. ด้านผลผลิตของโครงการ โดยรวมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.57, σ = 0.18) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้โดยประเด็นที่มีระดับการปฏิบัติสูงสุดคือด้านผลผลิตที่มีต่อนักเรียนรองลงมาคือด้านผลผลิตที่มีต่อผู้บริหารและด้านผลผลิตที่มีต่อครูผู้สอนตามลำดับ
สำหรับความพึงพอใจต่อโครงการนิเทศการเรียนการสอนของโรงเรียนเทศบาล ๕ เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.52, σ = 0.21) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้