รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนปลอดขยะสู่ความยั่งยืน โรงเรียนเทศบาลหัวดง(ป.ฟักอังกูร)
บทคัดย่อ
ชื่องานวิจัย : รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนปลอดขยะสู่ความยั่งยืน โรงเรียนเทศบาลหัวดง (ป.ฟักอังกูร)
ชื่อผู้วิจัย : รัชดาภรณ์ พรมจุ้ย
ปีการศึกษา : 2566
การประเมินโครงการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการโรงเรียนปลอดขยะสู่ ความยั่งยืนโรงเรียนเทศบาลหัวดง (ป.ฟักอังกูร) ในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืน และด้านการถ่ายทอดส่งต่อ และเพื่อ ศึกษาแนวทางการจัดกิจกรรมโรงเรียนปลอดขยะสู่ความยั่งยืน โรงเรียนเทศบาลหัวดง (ป.ฟักอังกูร) โดยใช้รูปแบบการประเมินประยุกต์ CIPPIEST Model ซึ่งมีองค์ประกอบ 8 ด้าน คือด้านบริบท ด้าน ปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืนและ ด้านการถ่ายทอดส่งต่อของโครงการ ประชากรคือครูและบุคลากรทางการศึกษา กรรมการ สถานศึกษา ผู้ปกครอง และนักเรียน โรงเรียนเทศบาลหัวดง (ป.ฟักอังกูร) ปีการศึกษา 2566 จำนวน 704 คน กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Selection) จำนวน 234 คน ประกอบด้วย ครูและบุคลากรทางการศึกษา 31 คน กรรมการสถานศึกษา 13 คน ผู้ปกครองนักเรียน 30 คน และนักเรียน 160 คน โดยใช้วิธีการประเมินเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ สำหรับการประเมินเชิงปริมาณใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบมาตรา ส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ของลิเคอร์ท (Likert) และ แบบตรวจสอบรายการ (Check List) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการหาค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ( X ) และค่าความ เบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ส่วนการประเมินเชิงคุณภาพใช้วิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group) วิเคราะห์ข้อมูล โดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการประเมินตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 โดยใช้แบบสอบถาม พบว่า การดำเนินโครงการ โรงเรียนปลอดขยะสู่ความยั่งยืนโรงเรียนเทศบาลหัวดง (ป.ฟักอังกูร) ในปีการศึกษา 2566 โดย ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งผลการประเมินเป็นรายด้าน ดังนี้
1. ด้านสภาพบริบท (Context) พบว่า โครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายของ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สอดคล้องกับสภาพความต้องการของผู้ปกครอง/ชุมชน และมีความเหมาะสม กับสภาพสังคมและสถานการณ์ปัจจุบัน อยู่ในระดับมากที่สุด
2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) พบว่า ปัจจัยการดำเนินโครงการตามหลักการใช้ทรัพยากร ในการบริหาร (4 M’s) โดยภาพรวมมีความพร้อมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีด้านการบริหารจัดการ (Management) ด้านปัจจัยด้านบุคลากร (Man) และด้านวัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่ (Material) มี ความพร้อมในระดับมากที่สุด ส่วนด้านงบประมาณ (Money) มีความพร้อมอยู่ในระดับมาก
3. ด้านกระบวนการ (Process) พบว่า กระบวนการดำเนินงานตามหลักการบริหาร เชิงระบบ (PDCA) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยขั้นตอนที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือการ วางแผน (Plan) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ การปรับปรุงพัฒนา (Act) และการติดตาม ตรวจสอบ (Check) ตามลำดับ ส่วนขั้นตอนที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือการปฏิบัติ (Do) อยู่ในระดับมาก
4. ด้านผลผลิต (Product) พบว่าผลการดำเนินโครงการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีผลการดำเนินงานเฉลี่ยสูงสุดคือด้านผลสำเร็จและความยั่งยืนของโรงเรียน อยู่ในระดับ มากที่สุด รองลงมาคือด้านนโยบาย การสนับสนุนและแผนการดำเนินงาน ด้านการจัดการขยะมูลฝอย และสิ่งแวดล้อมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ และด้านการจัดการขยะในโรงเรียนใช้หลัก 3Rs ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีผลการดำเนินงานเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านกระบวนการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมจัดการขยะ อยู่ในระดับมาก
5. ด้านผลกระทบ (Impact) พบว่าในภาพรวมมีผลกระทบเชิงบวกอยู่ในระดับมาก โดย ที่มีผลกระทบเชิงบวกต่อนักเรียน และต่อโรงเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด และมีผลกระทบเชิงบวก ต่อ ผู้ปกครองและต่อชุมชน ในระดับมาก
6. ด้านประสิทธิผล (Effectiveness) พบว่าในภาพรวมมีประสิทธิผลอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีประสิทธิผลเฉลี่ยสูงสุดคือประสิทธิผลด้านนโยบาย การสนับสนุน และแผนการดำเนินงาน อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือประสิทธิผลด้านกระบวนการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจและการมี ส่วนร่วมจัดการขยะ และประสิทธิผลด้านการจัดการขยะภายในโรงเรียนโดยใช้หลัก 3Rs
7. ด้านความยั่งยืน (Sustainability) พบว่ามีความยั่งยืนอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเฉพาะ โรงเรียนมีแผนการดำเนินงานโครงการโรงเรียนปลอดขยะในระยะยาว การจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ทุกปี และการดำเนินโครงการโรงเรียนปลอดขยะมีแนวทางปฏิบัติอย่างเป็นระบบ
8. ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability) พบว่า มีการถ่ายทอดส่งต่ออยู่ในระดับ มาก โดยที่โรงเรียนมีการขยายผลโครงการโรงเรียนปลอดขยะไปยังผู้ปกครองและชุมชน โรงเรียนมี การสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานอื่นๆในการจัดการขยะ
สำหรับผลการประเมินตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 โดยการสนทนากลุ่ม (Focus Group) พบว่า แนวทางการจัดกิจกรรมโรงเรียนปลอดขยะสู่ความยั่งยืน โรงเรียนเทศบาลหัวดง (ป.ฟักอังกูร) ผู้ทรงคุณวุฒิและนักเรียนมีความเห็นสอดคล้องกับผลการประเมินเชิงปริมาณทุกด้าน โดยมีจุดเน้น เรื่องการนำหลักการทรงงานของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาเป็นแนวคิดหลักในการดำเนินงานคือแนวคิด “ระเบิดจากภายใน” “บ่มเพาะ ปลูกฝัง” และ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” พร้อมทั้งการตั้งศูนย์การเรียนรู้ ศาสตร์พระราชา ศูนย์การเรียนรู้โรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) เน้นการจัดการขยะใน โรงเรียนโดยใช้หลัก 3Rs ด้วยนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation) ขยายผลความสำเร็จ เชื่อมโยงชุมชนและสังคมสู่ความยั่งยืน