รายงานการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ PIDRE กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนห้วยยอด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่
ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ PIDRE กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนห้วยยอด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ตรัง กระบี่
ผู้รายงาน นายจิตรตรัย ชูหอยทอง
การรายงานครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เชิงรุก (Active Learning) โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ PIDRE กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนห้วยยอด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ PIDRE กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนห้วยยอด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นครู กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนห้วยยอด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่ จำนวน 20 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และนักเรียนโรงเรียนห้วยยอด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่ จำนวน 2,296 คน ที่เรียนรายวิชาของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 25 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
- ครูได้รับพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ PIDRE กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนห้วยยอด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่ จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 100
- ความพึงพอใจในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ PIDRE กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนห้วยยอด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการประเมินผลการนิเทศ (Evaluating : E) ด้านการปฏิบัติงาน (Doing -D) ด้านการให้ความรู้ (Informing-I) ด้านการวางแผน การนิเทศ (P-Planning) ด้านการส่งเสริม และสนับสนุนด้านขวัญ และกำลังใจ (Reinforcing-R) ข้อเสนอแนะ การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ PIDRE กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนห้วยยอด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่ ผู้นิเทศให้ความรู้และให้คำแนะนำกับผู้รับการนิเทศเป็นอย่างดี และควรให้มีการนิเทศการจัดการเรียนรู้ทุกภาคเรียนของปีการศึกษานั้นๆ
- นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ระดับ 3 ขึ้นไป สูงขึ้น ร้อยละ 27.84
- นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2566 วิชาภาษาอังกฤษสูงกว่าระดับประเทศ