รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านและเขียนสะกดคำภาษาไทย ในชีวิตประจำวัน โดยใช้เทคนิคการสอนแบบ STAD ร่วมกับแผนผังความคิด (Mind Mapping) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการอ่านและเขียนสะกดคำภาษาไทยในชีวิตประจำวัน โดยใช้เทคนิคการสอนแบบ STAD ร่วมกับแผนผังความคิด (Mind Mapping) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยกำหนดเกณฑ์มาตรฐานไว้ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนาความสามารถอ่านและเขียนสะกดคำภาษาไทยในชีวิตประจำวัน โดยใช้เทคนิคการสอนแบบ STAD ร่วมกับแผนผังความคิด (Mind Mapping) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 3) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการอ่านและเขียนสะกดคำภาษาไทยในชีวิตประจำวัน โดยใช้เทคนิคการสอนแบบ STAD ร่วมกับแผนผังความคิด (Mind Mapping) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการอ่านและเขียนสะกดคำภาษาไทย ในชีวิตประจำวัน โดยใช้เทคนิคการสอนแบบ STAD ร่วมกับแผนผังความคิด (Mind Mapping) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านชะอำ (ชะอำวิทยาคาร) เทศบาลเมืองชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental design) ผู้ศึกษาดำเนินการทดลองตามรูปแบบการทดลองแบบกลุ่มเดียว วัดซ้ำสองครั้ง (One group Pretest-Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการอ่านและเขียนสะกดคำภาษาไทยในชีวิตประจำวัน โดยใช้เทคนิคการสอนแบบ STAD ร่วมกับแผนผังความคิด (Mind Mapping) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 6 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 18 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดความสามารถทางการอ่านและเขียนสะกดคำภาษาไทยในชีวิตประจำวัน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ ชุดกิจกรรมการอ่านและเขียนสะกดคำภาษาไทยในชีวิตประจำวัน โดยใช้เทคนิคการสอนแบบ STAD ร่วมกับแผนผังความคิด (Mind Mapping) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 10 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณหาค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระ และค่าดัชนีประสิทธิผล
ผลการศึกษาพบว่า
1. ชุดกิจกรรมการอ่านและเขียนสะกดคำภาษาไทย ในชีวิตประจำวัน โดยใช้เทคนิคการสอนแบบ STAD ร่วมกับแผนผังความคิด (Mind Mapping) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 90.42/89.79 โดยสูงกว่าเกณฑ์ค่าประสิทธิภาพที่กำหนดไว้ คือ 80/80 แสดงว่าชุดกิจกรรมการอ่านและเขียนสะกดคำภาษาไทย ในชีวิตประจำวัน โดยใช้เทคนิคการสอนแบบ STAD ร่วมกับแผนผังความคิด (Mind Mapping) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2. ความสามารถอ่านและเขียนสะกดคำภาษาไทย ในชีวิตประจำวัน ก่อนใช้และหลังใช้ชุดกิจกรรมการอ่านและเขียนสะกดคำภาษาไทย ในชีวิตประจำวัน โดยใช้เทคนิคการสอนแบบ STAD ร่วมกับแผนผังความคิด (Mind Mapping) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 13.75 และมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 35.92 ผลการทดสอบพบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. ค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการอ่านและเขียนสะกดคำภาษาไทย ในชีวิตประจำวัน โดยใช้เทคนิคการสอนแบบ STAD ร่วมกับแผนผังความคิด (Mind Mapping) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า มีชุดกิจกรรมการอ่านและเขียนสะกดคำภาษาไทย ในชีวิตประจำวัน โดยใช้เทคนิคการสอนแบบ STAD ร่วมกับแผนผังความคิด (Mind Mapping) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 6 เล่ม มีประสิทธิภาพในการพัฒนาความรู้ของผู้เรียนเพิ่มขึ้น 0.84 หรือคิดเป็นร้อยละ 84.00
- นักเรียนมีความพึงพอใจของนักเรียนหลังเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมการอ่านและเขียนสะกดคำภาษาไทยในชีวิตประจำวัน โดยใช้เทคนิคการสอนแบบ STAD ร่วมกับแผนผังความคิด (Mind Mapping) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
ผู้ศึกษา นางสาววรรณี ชังบัว
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ