Jannah Theme License is not validated, Go to the theme options page to validate the license, You need a single license for each domain name.

รายงานผลการใช้คู่มือนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิด เพื่อพัฒนาครูในการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคป (High Scope) เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2

กระดานสนทนา เผยแพร่ผลงานวิชาการหมวดหมู่: เผยแพร่ผลงานวิชาการรายงานผลการใช้คู่มือนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิด เพื่อพัฒนาครูในการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคป (High Scope) เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2
Thitima asked 1 ปี ago

ชื่อเรื่อง          รายงานผลการใช้คู่มือนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิด เพื่อพัฒนาครูในการจัดประสบการณ์
                   ตามแนวคิดไฮสโคป (High Scope) เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย 
                    สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส  เขต 2
ผู้วิจัย             ธิติมา  เรืองสกุล  ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ
                    สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส  เขต 2
ปีที่วิจัย           2563
บทคัดย่อ
 
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของคู่มือนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิด เพื่อพัฒนาครูในการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคป (High Scope) เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ตามเกณฑ์ 80/80  2) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ ความเข้าใจของครูปฐมวัย ก่อนและหลังการนิเทศโดยใช้คู่มือนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิด  เพื่อพัฒนาครูในการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคป (High Scope)  เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย 3)  เพื่อศึกษาความสามารถของครูปฐมวัยที่ได้รับการนิเทศโดยใช้คู่มือนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิด เพื่อพัฒนาครูในการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคป (High Scope) เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย               4)  เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูปฐมวัยที่มีต่อการนิเทศโดยใช้คู่มือนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิด เพื่อพัฒนาครูในการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคป (High Scope) เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย และ 5) เพื่อศึกษาผลการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคป (High Scope) เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นครูผู้สอนระดับปฐมวัยของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส                 เขต 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 28 โรงเรียน ซึ่งเป็นโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยตามแนวคิดไฮสโคป (High Scope)  และเป็นโรงเรียนในการดูแลรับผิดชอบด้านการนิเทศของผู้วิจัย จำนวน 60 คน ได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และเด็กปฐมวัยของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 ปีการศึกษา 2563  ที่อยู่ในห้องเรียนของครูปฐมวัยที่จัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคป (High Scope)  เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย  จำนวน 2,106 คน ได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) คู่มือนิเทศชี้แนะสะท้อนคิด เรื่อง การจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคป (High Scope) เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย 2) แบบทดสอบความรู้ ความเข้าใจ เรื่อง การจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคป (High Scope) เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย 3) แบบประเมินความสามารถในการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคป (High Scope) เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ และ          5) แบบประเมินผลพัฒนาการเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแตกต่างโดยใช้สถิติ t – test (Dependent)
ผลการวิจัย พบว่า

  1. คู่มือนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิด  เพื่อพัฒนาครูในการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด

ไฮสโคป (High Scope) เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 84.79/84.17                 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80

  1. ครูปฐมวัยที่ได้รับการนิเทศโดยใช้คู่มือนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิด มีความรู้ ความเข้าใจ

การจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคป (High Scope) เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย หลังการใช้คู่มือนิเทศสูงกว่าก่อนการใช้คู่มือนิเทศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05

  1. ครูปฐมวัยที่ได้รับการนิเทศโดยใช้คู่มือนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิด มีความสามารถในการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคป (High Scope) เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.52, S.D. =0.53)  เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ การจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียน ด้านการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคป (High Scope) 3 ขั้นตอน (วางแผน-ปฏิบัติ-ทบทวน) และด้านการวัดและประเมินผลตามแนวคิดไฮสโคป (High Scope) ตามลำดับ
  2. ครูปฐมวัย มีความพึงพอใจต่อการนิเทศโดยใช้คู่มือนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิด  เพื่อพัฒนา

ครูในการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคป (High Scope) เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย                 อยู่ในระดับพึงพอใจมาก (= 4.49, S.D. =0.51)

  1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคป (High Scope) เพื่อส่งเสริม

พัฒนาการเด็กปฐมวัย จากครูปฐมวัยที่เข้ารับการนิเทศ มีผลการประเมินพัฒนาการโดยรวมทุกด้าน อยู่ในระดับดี  เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านร่างกาย ร้อยละ 88.36 ด้านสังคม ร้อยละ 86.67 ด้านอารมณ์ ร้อยละ 84.87 และด้านสติปัญญา ร้อยละ 75.69              

Powered by GliaStudio
ชุดข้าราชการ ชุดข้าราชการหญิง ชุดกากี ชุดข้าราชการ shopee
Back to top button