รายงานผลการใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ชื่อเรื่อง รายงานผลการใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD
เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย เกษราภรณ์ สอนนนฐี
ปีที่วิจัย 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและ พลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพ 80/80 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค กลุ่มสาระ การเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนสุเหร่าทับช้างคลองบน สำนักงานเขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร เป็นประชากรทั้งหมด 37 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบฝึกทักษะ เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีค่าความยากง่าย (p) ตั้งแต่ 0.37 – 0.77 ค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.22 – 0.67 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.76 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.40 – 0.69 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.83 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
- แบบฝึกทักษะร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 86.74/84.50 ซึ่งถือว่าสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน คิดเป็นร้อยละการพัฒนา 46.56
- ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.59 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.49