วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง
เอกสารรายงานวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
—————————————-
- ชื่อผลงาน : วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้
เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้
รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง
- ชื่อผู้พัฒนาผลงาน : นางสาวศศิธร ช่วยสงค์ ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา
โรงเรียนวัดดอนมะปราง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3
- ประเภทของผลงานผู้บริหารสถานศึกษา
วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้
เชิงรุก (Active Learning)
- ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรม
4.1 ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรม
การศึกษา เป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาประเทศและได้รับการคาดหวังให้ทำหน้าที่ต่าง ๆ ที่เป็นเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นส่วนช่วยในการขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและความเจริญรุ่งเรืองของประเทศ แต่ในสภาวการณ์ปัจจุบัน ทั่วโลกกำลังเผชิญกับ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม การเมือง เศรษฐกิจและเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วหรือกำลังพัฒนา ส่งผลให้วิถีชีวิตของคนที่แตกต่างกัน มีความแตกต่างกันมากขึ้น ผู้คนจำนวนมากหลากหลายเชื้อชาติ ย้ายข้ามประเทศ ข้ามภาษาและข้ามวัฒนธรรม มาอาศัยอยู่รวมกันและทำงานร่วมกันก่อให้เกิดเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม โลกการทำงาน ปรับเปลี่ยนจากการทำงานที่ใช้บุคคลที่มีองค์ความรู้เดียวกัน ทักษะเดียวกัน และทำงานในสายงานเดียวกัน จำเป็นต้องปรับตัวให้ทันต่อ การเปลี่ยนแปลง โดยต้องจัดการศึกษาให้ทันกับสถานการณ์โลกที่เต็มไปด้วยความรู้และข้อมูลที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนเตรียมความพร้อมประชากรวัยเรียนให้มีทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ซึ่งต้องให้ได้ทั้งสาระวิชาและได้ทั้งทักษะ 3 ด้าน คือ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี ทักษะชีวิตและอาชีพเพื่อความ สำเร็จทั้งด้านการทำงานและการดำเนินชีวิต สอดคล้องกับพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ว่าด้วยการศึกษาต้องมุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียนทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) การมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง 2) การมีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรม 3) การมีงานทำ มีอาชีพ และ 4) การเป็นพลเมืองดี (สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,2563 : ก)
โรงเรียนขนาดเล็ก นับเป็นปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นในการจัดการศึกษาในปัจจุบัน กล่าวคือโรงเรียนขนาดเล็กเป็นโรงเรียนที่มีนักเรียนตั้งแต่ 120 คนลงมาและปัจจุบันมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนโรงเรียนในกลุ่มนี้มากขึ้น ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบมีความตระหนักในสภาพปัญหาดังกล่าว จึงแสวงหาแนวทางที่จะจัดการกับปัญหานี้ โดยมีการหาวิธีการบริหารจัดการเพื่อการแก้ปัญหานี้มาโดยตลอด และเป็นปัญหาที่มีมาอย่างยาวนานกว่าครึ่งศตวรรษ ซึ่งเกิดจากค่านิยม ความเชื่อ รวมถึงสภาพของชุมชนเปลี่ยนแปลงไป จากการคมนาคมที่สะดวก ผู้ปกครองจึงส่งบุตรหลานเข้าไปเรียนในเมือง หรือโรงเรียนขนาดใหญ่ โดยมีความเชื่อว่า มีความสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพมากกว่า จากประสบการณ์ในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก การศึกษาเอกสาร ข้อมูลและงานวิจัยต่าง ๆ ผู้พัฒนานวัตกรรม พบว่า ปัญหาที่สำคัญที่สุดของโรงเรียนขนาดเล็ก ได้แก่ 1) การขาดแคลนงบประมาณ 2) ขาดแคลนครู ครูไม่ครบชั้น เนื่องจากไม่ได้รับการจัด สรรอัตรากำลังครู เพราะนักเรียนมีจำนวนน้อย 3) คุณภาพของนักเรียนค่อนข้างต่ำ เพราะยังขาดการพัฒนาอย่างรอบด้าน และขาดโอกาสในการพัฒนาด้านอื่น ๆ 4) โรงเรียนขาดผู้บริหาร ถึงแม้ว่าจะมีความเชื่อกันว่า คุณภาพของนักเรียนขึ้นอยู่กับคุณภาพของผู้บริหารที่จะส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ของครูให้บรรลุเป้าหมาย แต่ในข้อเท็จจริง ปัจจุบันโรงเรียนขนาดเล็กจำนวนมาก ยังไม่มีผู้บริหารสถานศึกษา จึงแต่งตั้งครูรักษาการในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อแก้ปัญหาเป็นการชั่วคราว ซึ่งมีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม คือ ครูมีจำนวนจำกัดอยู่แล้ว แต่ยังต้องไปปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหาร ทำให้การจัดการเรียนการสอนไม่เต็มประสิทธิภาพ และ 5) การขาดความน่าเชื่อถือจากผู้ปกครองและชุมชน เนื่องจากไม่มีครู หรือผู้บริหารที่เป็นผู้นำในการพัฒนา จึงทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาอีกมาก (สมบัติ ธำรงธัญวงศ์, 2557 : 2)
โรงเรียนวัดดอนมะปราง ตำบลท่าประจะ อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 เป็นโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ที่มีนักเรียนน้อยกว่า 120 คน เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปัจจุบันปีการศึกษา 2564 มีนักเรียนชั้นอนุบาลจำนวน 27 คน และระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1– 6 จำนวน 53 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 80 คน ผู้พัฒนานวัตกรรมได้รับการบรรจุในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนวัดดอนมะปราง เมื่อปีการศึกษา 2559 และได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรงเรียนขนาดเล็กที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง โดยพบว่า โรงเรียนขาดแคลนครูและบุคลากร ขาดแคลนทรัพยากรเพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษาให้มีคุณภาพ การระดมทรัพยากรเพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพผู้เรียนทำได้ค่อนข้างจำกัด เนื่องจากเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในชุมชนขนาดเล็กที่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับจำนวนประชากร รวมถึงข้อจำกัดทางด้านเศรษฐกิจและการประกอบอาชีพ รวมถึงความยากลำบาก ในการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ จึงส่งผลให้เกิดปัญหาที่สำคัญที่สุดของโรงเรียน คือ การพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียน ซึ่งจะต้องได้รับการแก้ไขอย่างต่อเนื่องเช่นกัน รวมถึงนักเรียนยังได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคิดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ยิ่งทำให้เกิดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss) อีกด้วย ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์คุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ในปีการศึกษา 2563 พบว่า มีคุณภาพการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนค่อนข้างต่ำ ซึ่งเป็นผลมาจากสภาพปัญหาในการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ขาดการบูรณาการและกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง ครูยังจัดการเรียนรู้ตามประสบการณ์เดิม โดยการบอกความรู้ ขาดการฝึกปฏิบัติและลงมือทำในการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง นอกจากนั้นในด้านการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนยังไม่บรรลุเป้าหมาย เนื่องจาก ยังขาดรูปแบบและแนวทางที่ชัดเจน จึงทำให้ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนยังไม่ประสบผลสำเร็จ โดยพิจารณาได้จากการวิเคราะห์ผลการทดสอบความสามารถในการอ่าน (Reading Test : RT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีผลการทดสอบความสามารถการอ่านออกเสียง คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 84.57 และมีความสามารถการอ่านรู้เรื่อง คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 82.00 รวมเฉลี่ยทั้ง 2 ด้าน มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 83.28 เท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 85 ขึ้นไป รวมถึงผลการประเมินความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีผลการทดสอบความสามารถด้านคิดคำนวณ คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 62.25 และผลการทดสอบด้านภาษา คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 66.37 รวมคะแนน 2 ด้าน คะแนนรวมเฉลี่ยร้อยละ 64.31 เท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 75 ขึ้นไป และนอกจากนั้น เมื่อพิจารณาผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (Ordinary National Educational Test : O – NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 คือ ภาษาไทย มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 55.66 คณิตศาสตร์ คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 31.11 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 40.74 และภาษาอังกฤษ คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 50.94 รวมคะแนนเฉลี่ย 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ มีคะแนนเฉลี่ยรวมร้อยละ 44.81 เท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ยรวมร้อยละ 50 ขึ้นไปเช่นกัน (โรงเรียนวัดดอนมะปราง, 2564 : 6)
4.2 แนวทางการแก้ปัญหา
ผู้พัฒนานวัตกรรม ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ผู้บริหารโรงเรียนวัดดอนมะปราง ซึ่งเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก จึงได้ศึกษารูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน พบว่า การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เป็นรูปแบบและวิธีการอย่างหนึ่งในการพัฒนาและแก้ปัญหาที่จะนำไปสู่เป้าหมายได้ จึงได้ดำเนินการสร้างนวัตกรรมการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง โดยกำหนดพยัญชนะตามอักษรย่อจากชื่อเต็มในภาษาอังกฤษของโรงเรียน Wat Don Ma Prang School เป็น WDMP Model ตามหลักการ แนวคิดสำคัญในการออกแบบผลงานหรือนวัตกรรม ที่สามารถอ้างถึงแนวคิด หลักการทฤษฎี รูปแบบ วิธีการที่เกี่ยวข้องที่นำมาใช้ในการออกแบบผลงานแนวคิดการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็กของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2560) การสร้างความรับผิดชอบต่อผลงาน การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการการสร้างวัฒนธรรมในการเรียนรู้ แนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของนรรัชต์ ฝันเชียร (2558) แนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2562) แนวคิดการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของสมบัติ นามบุรี (2562) และยังรวมถึงแนวคิดของไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม และพรรณทิพย์ เพชรมาก (2551) ที่กล่าวถึง การบริหารแบบมีส่วนร่วมอีกด้วยโดยนำมาจัดทำเป็นนวัตกรรมตามรูปแบบ WDMP Model ซึ่งเป็นอักษรย่อชื่อภาษาอังกฤษของโรงเรียนวัดดอนมะปราง (Wat Don Ma Prang School) และมีรายละเอียด ดังนี้
- Whole School Approach : WSA การกำหนดแนวทางการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ ประกอบด้วย
1.1 W 1 : Will be together หมายถึง การกำหนดวิสัยทัศน์ ค่านิยมและการสร้าง
ความมุ่งมั่นตั้งใจร่วมกัน
1.2 W 2 : Willingness to Learn หมายถึง ความตั้งใจที่จะเรียนรู้ การพัฒนาครู
และบุคลากร และการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
1.3 W 3 : Way forward หมายถึง การกำหนดเป้าหมายและเส้นทางความสำเร็จ
ไว้ข้างหน้า
1.4 W 3 : Whole School Transform หมายถึง การปรับวิธีการจัดการเรียนรู้
ของครูเพื่อพัฒนาผู้เรียนทั้งระบบตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
- Development and Improvement (D&I) การพัฒนาและปรับปรุงรูปแบบและวิธีการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ประกอบด้วย
2.1 D1 Director หมายถึง ผู้บริหารอำนวยการให้ครูและบุคลากร และผู้เกี่ยวข้องดำเนินการจัดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
2.2 D2 : Discipline หมายถึง การสร้างความมีระเบียบวินัย การรับรู้และปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ข้อบังคับร่วมกันในการดำเนินการจัดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ให้มีบรรลุเป้าหมาย
2.3 D3 : Development of Student หมายถึง การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือทำ ผ่านกระบวนการตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ จากกิจกรรมหลากหลายช่องทางการปฏิบัติ และรวมถึงระบบการสื่อสารเทคโนโลยี เช่น การจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (Distance Learning Television ; DLTV) และการจัดการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Distance Learning via Information Technology ; DLIT) และอื่น ๆ ซึงนำมาใช้ในการพัฒนาผู้เรียน
2.4 D4 : Development of Sustainable หมายถึง กระบวนการพัฒนาคุณภาพอย่างยั่งยืน ในการดำเนินการจัดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ให้คงอยู่และเป็นปกติของ การพัฒนาในองค์กร
- Mission and Goals (M&G) : พันธกิจและเป้าหมาย
3.1 M1 : Mission Target หมายถึง พันธกิจเป้าหมายที่เป็นพันธกิจหลักในการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง
3.2 M2 : Management Efficiency หมายถึง ในการดำเนินการจะต้องกำหนด ค่าประสิทธิภาพของการบริหารจัดการโดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง ให้ชัดเจน และรับรู้ร่วมกันในการปฏิบัติ
3.3 M3 : Morality and Competency หมายถึง การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของความเป็นครู ตลอดจนจรรยาบรรณวิชาชีพ ให้มีความเข้มแข็ง รวมถึงการพัฒนาสมรรถนะของครูและบุคลากรในการปฏิบัติงานด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ให้มีคุณภาพ
3.4 M4 : Mindset Improvement หมายถึง การปรับปรุงทัศนคติที่จะช่วยให้ครูและบุคลากร และผู้เรียนรู้จักเรียนรู้ความล้มเหลวหรือข้อผิดพลาดของตนเองได้ เป็นเรื่องสำคัญของการฝึกสร้างนิสัยที่ดีเปิดรับสิ่งใหม่ ๆ ให้เกิดกับผู้เรียน โดยการตั้งเป้าหมายแล้วมุ่งมั่นกับสิ่งนั้น และฝึกปฏิบัติการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมอยู่เสมอ
3.5 M5 : Measurable Goals หมายถึง การกำหนดค่าเป้าหมายของงานหรือกิจกรรมการพัฒนาผู้เรียนที่สามารถวัดได้ ประเมินค่าได้จริงจากการปฏิบัติการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง จากกิจกรรมการเรียนรู้และสื่อการจัดการเรียนรู้ที่นำมาใช้จริง
- Participative Management (PM) : การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม
4.1 P1 : Participative and Decision Making หมายถึง การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการคิด และตัดสินใจในการดำเนินกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของโรงเรียน ซึ่งจะช่วยให้เกิดความรับผิดชอบร่วมกันได้
4.2 P2 : Participative and Implementation หมายถึง การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน โดยการสนับสนุน การช่วยเหลือด้านทรัพยากร การบริหารการงาน และการประสานงานและการขอความช่วยเหลืออื่น ๆ เพื่อให้การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนบรรลุแหมายตามที่กำหนดไว้
4.3 P3 : Participative in Benefits หมายถึง การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ร่วมกัน จากการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่โรงเรียนดำเนินการ
4.4 P4 : Participative in Evaluation หมายถึง การมีส่วนร่วมในการประเมินผล การมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผลงาน การร่วมให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ การตัดสินผลการดำเนินการในการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่ได้ดำเนินการร่วมกัน
4.5 P5 : Participative and Pride หมายถึง การมีส่วนร่วมในสร้างความภาคภูมิใจร่วมกัน จากผลงานและความสำเร็จในการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่ได้ดำเนินการร่วมกัน
ผู้พัฒนานวัตกรรม มีความเชื่อว่า นวัตกรรมการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง ที่สร้างขึ้น จะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนได้อย่างยั่งยืนต่อไป
- วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน ดังนี้
5.1 วัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน
5.1.1 เพื่อสร้างและพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง
5.1.2 เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองเต็มตามศักยภาพ มีทักษะการเรียนรู้ และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
5.1.3 เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความพึงพอใจในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจาก การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ในโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง ให้เกิดความยั่งยืน
5.2 เป้าหมายของการดำเนินงาน
5.2.1 ด้านปริมาณ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 โรงเรียนวัดดอนมะปราง ปีการศึกษา 2564 จำนวน 53 คน ได้รับการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ ทั้งในด้านความรู้ ทักษะ คุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์
5.2.2 ด้านคุณภาพ
5.2.2.1 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 53 คน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกกลุ่มกลุ่มสาระการเรียนรู้ และรายวิชาเพิ่มเติมมีค่าเฉลี่ยไว้ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 75.00 ขึ้นไป
5.2.2.2 นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ อยู่ในระดับดีถึงดีเยี่ยมไม่น้อยกว่า ร้อยละ 90.00 ขึ้นไป
5.2.2.3 นักเรียนมีผลประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน อยู่ในระดับดีถึง ดีเยี่ยมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80.00 ขึ้นไป
5.2.2.4 ผลการประเมิน Reading Test : RT ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2564 มีค่าเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 80.00 ขึ้นไป
5.2.2.5 ผลการประเมิน National Test : NT ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 มีค่าเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 60.00 ขึ้นไป
5.2.2.6 ผลการประเมินความพึงพอใจของครูและบุคลากร คณะกรรมการสถาน ศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองที่มีต่อการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียน วัดดอนมะปราง อยู่ในระดับมากขึ้นไป
- กระบวนการหรือขั้นตอนการดำเนินงาน
วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง มีกระบวนการหรือขั้นตอนการดำเนินงานตามวงจรคุณภาพ PDCA ดังนี้
- ขั้นการวางแผน (Plan : P) ประกอบด้วย
ขั้นที่ 1 ศึกษาปัญหาและความต้องการพัฒนา
- จัดประชุมผู้เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนในการแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนวัดดอนมะปราง
- แต่งตั้งคณะทำงานและผู้รับผิดชอบในการแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนวัดดอนมะปราง
- คณะทำงานและผู้รับผิดชอบร่วมกันศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ผลการพัฒนาคุณภาพนักเรียน บริบทของโรงเรียน ชุมชนและความจำเป็นในการพัฒนาทั้งระบบ จากสารสนเทศ และข้อมูล ที่เกี่ยวข้อง
ขั้นที่ 2 วิเคราะห์ข้อมูล/สภาพปัญหา
กำหนดกิจกรรมวิเคราะห์ข้อมูล/สภาพปัญหา ดังนี้
- คณะทำงานและผู้รับผิดชอบ ร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลและสารสนเทศผลการจัด การเรียนรู้ ในปีการศึกษา 2563 และข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยการวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis)
- วิเคราะห์สภาพปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาคุณภาพการบริหารและการจัด การเรียนรู้ จากการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนวัดดอนมะปราง พิจารณาประเด็นความสำคัญและจำเป็นที่จะต้องได้รับการพัฒนา และการบูรณาการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างหลากหลาย โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้สูงขึ้นและเกิดความยั่งยืน
- จัดลำดับความสำคัญของปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริม การจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน โดยให้น้ำหนักเกี่ยวกับการบริหารจัดการและการส่งเสริมให้ครูและบุคลากร มีการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
ขั้นที่ 3 หาวิธีแก้ปัญหา/นวัตกรรมแก้ปัญหา
- ประสานงาน สร้างกระบวนการมีส่วนร่วม ประสานความร่วมมือในการดำเนินการแก้ปัญหา และแสวงหานวัตกรรมแก้ปัญหา
- จัดเตรียมงบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ และปัจจัยสนับสนุนในการดำเนินการแก้ปัญหาและการสร้างนวัตกรรมการแก้ปัญหา
- วางแผนการแก้ปัญหา/แสวงหาวิธีการ/นวัตกรรมที่ใช้ในการแก้ปัญหา
- ศึกษาหลักการแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ได้แก่ หลักการบริหารสถานศึกษา การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม การบูรณาการการจัดการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ การสร้างความพึงพอใจและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมถึง การสืบค้นข้อมูลทางวิชาการเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาจากเว็บไซต์ต่าง ๆ
- แสวงหาแนวทาง วิธีการหรือการสร้างทางเลือกในการพัฒนาการคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลาย
- เลือกและกำหนดแนวทางการพัฒนา และจัดทำนวัตกรรมวิธีการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง
ขั้นที่ 4 พัฒนานวัตกรรมแก้ปัญหา
- ออกแบบการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง
- กำหนดรายละเอียดของวิธีการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง ได้แก่
2.1 ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรม
2.2 วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
2.3 กระบวนการหรือขั้นตอนการดำเนินงาน
2.4 ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ
2.5 ปัจจัยความสำเร็จ
2.6 บทเรียนที่ได้รับ
2.7 การเผยแพร่ผลงาน/การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ
2.8 ภาคผนวกที่เป็นเอกสารที่เกี่ยวข้อง
- สร้างเครื่องมือที่ใช้กับนวัตกรรมวิธีการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง ได้แก่
3.1 แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทุกกลุ่มกลุ่มสาระการเรียนรู้ และรายวิชาเพิ่มเติมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ปีการศึกษา 2564
3.2 แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ปีการศึกษา 2564
3.3 ผู้เรียนมีผลประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนของผู้เรียน ปีการศึกษา 2564
3.4 แบบบันทึกผลการประเมิน Reading Test : RT ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 ปีการศึกษา 2564
3.5 แบบบันทึกผลการประเมิน National Test : NT ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564
3.6 แบบประเมินความพึงพอใจของครูและบุคลากร คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองที่มีต่อการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียน วัดดอนมะปราง
- นำเสนอเครื่องมือฉบับที่ 3.6 แบบประเมินความพึงพอใจของครูและบุคลากร คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง ที่มีต่อการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง ให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ตรวจสอบคุณภาพโดยการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of item objective congruence : IOC) ของข้อคำถามกับเนื้อหาในการตรวจสอบ
- ทดลองใช้และหาคุณภาพของเครื่องมือ ฉบับที่ 3.6 แบบประเมินความพึงพอใจ ของครูและบุคลากร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองที่มีต่อการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา (a–Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach) (บุญชม ศรีสะอาด, 2556 : 99 – 100) ก่อนนำไปใช้ในการแก้ปัญหาจริง
- ขั้นดำเนินการตามแผน (Do : D) ประกอบด้วย
ขั้นที่ 5 จัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนแบบูรณาการ
ดำเนินการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนแบบูรณาการตามวิธีการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง ดังนี้
- พัฒนาครูและบุคลากร เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ ดังนี้
1.1 ส่งเสริม พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัด การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง
1.2 การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันจากสภาพปัญหาและการระดมสมอง และการแสวงหาแนวทางการพัฒนาร่วมกัน
1.3 สร้างความตระหนักในบทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบในการจัด การเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง
1.4 สนับสนุนให้ครูและบุคลากรทุกคน จัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง
1.5 นิเทศ กำกับ ติดตามผลการจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
1.6 สร้างขวัญ กำลังใจในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
- การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม ดังนี้
2.1 สร้างความร่วมมือกับครูและบุคลากร ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง จากการวางแผน การดำเนินการ การนิเทศ กำกับติดตาม และการประเมินผลการดำเนินการ
2.2 ประสานความร่วมมือกับครูและบุคลากร ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถาน ศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
2.3 บูรณาการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้เข้มแข็ง คัดกรองนักเรียน และกำหนดแนวทางการพัฒนาตามศักยภาพของผู้เรียน
2.4 การสร้างความภาคภูมิใจร่วมกันในความสำเร็จ และร่วมรับผลประโยชน์ของ การดำเนินการ
- จัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนแบบบูรณาการ ดังนี้
3.1 จัดกิจกรรมคัดกรอง ตรวจสอบและเอ็กซ์เรย์การอ่าน การเขียนของนักเรียน ทุกคนโดยครูและบุคลากรและผู้ปกครองทุกคน
3.2 ครูและบุคลากรทุกคน วางแผนและพัฒนาการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง ตามพันธกิจหลักและค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้
3.3 ครูและบุคลากรทุกคน ออกแบบการจัดการเรียนรูเชิงรุก (Active Learning) สูการปฏิบัติ และมุ่งพัฒนาสูความยั่งยืน
3.4 ครูและบุคลากรทุกคนจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) แบบบูรณาการ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม จากกิจกรรม ดังต่อไปนี้
3.4.1 การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project – Based Learning)
3.4.2 การจัดการเรียนรูโดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity – Based Learning)
3.4.3 การจัดการเรียนรูเชิงประสบการณ (Experiential Learning)
3.4.4 การจัดการเรียนรูโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem – Based Learning)
3.4.5 การจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) และการจัดการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (DLIT)
3.4.6 จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและบันทึกการอ่าน
3.4.7 จัดกิจกรรมพลิกโฉมโรงเรียน นักเรียน ป.1 อ่านออกเขียนได้ทุกคน
3.4.8 จัดกิจกรรมทดสอบ Pre – RT ป.1 กิจกรรม Pre – NT ป.3 และกิจกรรม Pre O – NET ป.6
3.4.9 จัดส่งนักเรียนเข้าทดสอบ RT ป.1, NT ป.3 และ O – NET ป.6
3.4.10 จัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะทางวิชาการ และความสามารถอื่น ๆ
3.4.11 การเตรียมความพร้อมของนักเรียนเข้าร่วมประกวดและแข่งขันทักษะ ทางวิชาการ ตั้งระดับกลุ่มเครือข่าย ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับภาคใต้ และระดับประเทศ
3.4.12 การจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในลักษณะการสื่อสารสองทาง ซึ่งเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบถ่ายทอดสด (LIVE) ระหว่างครูและนักเรียน ทั้งนี้ นักเรียนจะต้องมีความพร้อมด้านอุปกรณ์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ เช่น Google Meet , Zoom Meeting, Line , Facebook
- ขั้นตรวจสอบผลการปฏิบัติ (Check : C) ประกอบด้วย
ขั้นที่ 6 การวัดและประเมินคุณภาพผู้เรียน
- ครูและบุคลากร ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกันกำหนดกรอบตัวชี้วัด เกณฑ์คุณภาพผลการจัดการเรียนรูเชิงรุก (Active Learning) ให้ครอบคลุมทั้ง ในด้านความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน
- ครูและบุคลากรทุกคน ดำเนินการสร้างแบบวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรูเชิงรุก (Active Learning) แล้วแจ้งให้นักเรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานทราบและตกลงร่วมกัน
- ครูและบุคลากรทุกคน ดำเนินการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรูเชิงรุก (Active Learning) โดยทำการตรวจสอบความก้าวหน้าของการจัดการเรียนรู้ที่ได้ปฏิบัติตามตัวชี้วัด ที่กำหนดไว้
- จัดเก็บข้อมูล สารสนเทศการวัดและประเมินผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เพื่อนำ ไปใช้ประโยชน์ต่อไป
- ขั้นปรับปรุงและแก้ไข (Act : A) ประกอบด้วย
ขั้นที่ 7 สรุปผล ตรวจสอบ สะท้อนความคิดและรายงานผล
- ครูและบุคลากร ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกันสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลการจัดการเรียนรูเชิงรุก (Active Learning) ให้ครอบคลุม ทั้งในด้านความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน
- ครูและบุคลากร ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน วิเคราะห์ผลการประเมินเพื่อปรับปรุงแก้ไข
- ครูและบุคลากร ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สะท้อน ความคิดเห็นต่อผลการดำเนินการจัดการเรียนรูเชิงรุก (Active Learning) พร้อมเสนอแนะแนวทาง การปรับปรุงเพื่อการพัฒนา
- จัดกิจกรรมการทบทวนผลหลังการปฏิบัติงาน (After Action Review : AAR) การจัด การเรียนรูเชิงรุก (Active Learning) เพื่อทบทวนวิธีการทำงานทั้งด้านความสำเร็จและปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อร่วมกันสะท้อนและทบทวนกระบวนการต่าง ๆ นำบทเรียนที่ได้จากความสำเร็จและปัญหาที่เกิดขึ้น มาจัดทำและพัฒนากระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น โดยมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานร่วมกัน
- จัดทำเอกสารสรุปและรายงานผล
- เผยแพร่ผลงานและเสนอต่อผู้ปกครอง ชุมชนและผู้เกี่ยวข้อง
การประเมินวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง เป็นการประเมินขั้นสุดท้าย เพื่อตรวจสอบว่าการดำเนินการใช้นวัตกรรมวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศที่สร้างขึ้น สามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาคุณภาพผู้เรียนได้จริงหรือไม่ อย่างไร ถ้ายังไม่สามารถแก้ปัญหาคุณภาพผู้เรียนได้จริง ให้ดำเนินการนิเทศและพัฒนาตามขั้นตอนใหม่อีกรอบ แต่ถ้าประเมินแล้วสามารถผ่านเกณฑ์ที่กำหนดคือ ผู้เรียนมีคุณภาพตามเป้าหมาย รวมถึงผล การประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ จะนำไปสู่การสรุปรายงานผลเพื่อการเผยแพร่ต่อไปโดยผู้พัฒนานวัตกรรม สามารถนำไปเขียน Flow Chart วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง