เผยแพร่นวัตกรรมการเรียนการสอน ครูรจนา
บันทึกข้อความ
ส่วนราชการ โรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ
ที่ ชย51006.009/ม.ก.ว………. วันที่ 7 มกราคม 2567
เรื่อง รายงานการสร้างสื่อนวัตกรรมการเรียนการสอน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566
เรียน ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยา
ตามที่ข้าพเจ้า นางรจนา แสงสุธา ตำแหน่ง ครู ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานสอน ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 และเมื่อขณะจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่องวงจรไฟฟ้าและการต่อวงจรไฟฟ้า พบว่านักเรียนยังขาดความเข้าใจและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ช้า จากความตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าวที่ครูผู้สอนต้องการให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง และเรียนรู้จากกิจกรรมที่ได้ทำจริงจะส่งผลให้ผู้เรียนสามารถจดจำสิ่งที่เรียนรู้และจะช่วยพัฒนาทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนให้สูงขึ้นได้อย่างคงทนมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงได้ทำการวิจัยการพัฒนากิจกรรม การเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ 6 เรื่อง วงจรไฟฟ้าและการต่อวงจรไฟฟ้า ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กิจกรรม เป็นฐานขึ้น เพื่อจัดทำเป็นสื่อนวัตกรรมการเรียนการสอน โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
- เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ 6 เรื่อง วงจรไฟฟ้าและการต่อวงจรไฟฟ้า ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน
- เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ 6 เรื่อง วงจรไฟฟ้า และการต่อวงจรไฟฟ้า ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย
- แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง วงจรไฟฟ้าและการต่อวงจรไฟฟ้า รายวิชาวิทยาศาสตร์ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
- แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (ก่อนและหลังเรียน) เรื่อง วงจรไฟฟ้าและการต่อวงจรไฟฟ้า รายวิชาวิทยาศาสตร์ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
- แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ 6 เรื่อง วงจรไฟฟ้าและการต่อวงจรไฟฟ้า ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน
ทั้งนี้จะรายงานผลการใช้นวัตกรรมในรูปแบบของวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนในลำดับต่อไป
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ
(นางรจนา แสงสุธา)
ตำแหน่ง ครู
ความเห็นของหัวหน้าฝ่ายวิชาการ ความเห็นของรองผู้อำนวยการสถานศึกษา
…………………………………………………..…………………………… ………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………. ………………………………………………………………………………………
ลงชื่อ ลงชื่อ
(นางอุไรวรรณ ปัญญาศิลป์) (นางนวลนิตย์ ถาวงษ์กลาง)
หัวหน้าฝ่ายวิชาการ รองผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยา
ความเห็นของผู้อำนวยการสถานศึกษา
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
ลงชื่อ
(นายอนุชา ขวาไทย)
ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยา
รายงานการสร้างสื่อนวัตกรรมการเรียนการสอน
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566
- ชื่อนวัตกรรมการเรียนการสอน
พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ 6 เรื่อง วงจรไฟฟ้าและการต่อวงจรไฟฟ้าของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน
- ชื่อผู้สร้าง/พัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน
นางรจนา แสงสุธา ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี โรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยา Email : [email protected]
- แนวทางการคิดค้นนวัตกรรมการเรียนการสอน
R แนวทางที่ 1 แสวงหานวัตกรรมการเรียนการสอนจากแหล่งต่างๆ ที่เคยมีผู้สร้างหรือทำไว้แล้ว แล้วนำมาปรับปรุงหรือพัฒนาใหม่
£ แนวทางที่ 2 การสร้างนวัตกรรมการเรียนการสอนขึ้นใหม่
- ประเภทของนวัตกรรมการเรียนการสอน
£ สื่อการเรียนการสอน
R เทคนิควิธีสอน
- ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาที่ต้องสร้าง/พัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน
วิทยาศาสตร์ เป็นการสร้างองค์ความรู้ที่ได้มาจากการศึกษาปรากฏการณ์ธรรมชาติ ซึ่งสามารถแสดง หรือพิสูจน์ได้ว่าถูกต้องและมีการอาศัยประจักษ์พยานเพื่อสนับสนุนความจริงในขณะนั้น โดยใช้กระบวนการ แสวงหาความรู้ ทางวิทยาศาสตร์ แล้วจัดความรู้นั้นเข้าเป็นระเบียบ เป็นหมวดหมู่ โดยเป็นความรู้ที่สะสมมา แต่อดีต ปัจจุบัน และอนาคต อย่างไม่รู้จักจบสิ้น ในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เน้นให้ผู้เรียน มีปฏิสัมพันธ์ กับการเรียนรู้ตามศักยภาพของผู้เรียน โดยผ่านกิจกรรมที่ผู้เรียนจะต้องฟัง พูด อ่าน เขียน คิด ถาม คำถาม สืบค้น อภิปราย ออกแบบและลงมือปฏิบัติจริงร่วมกัน
จากสภาพปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ 6 พบว่านักเรียนยังขาดความเข้าใจ และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ในเรื่องวงจรไฟฟ้าและการต่อวงจรไฟฟ้า ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ช้า จากความตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าวที่ครูผู้สอนต้องการให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง และเรียนรู้จากกิจกรรม ที่ได้ทำจริงจะส่งผลให้ผู้เรียนสามารถจดจำสิ่งที่เรียนรู้และจะช่วยพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของผู้เรียนให้สูงขึ้นได้อย่างคงทนมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงได้ทำการวิจัยการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้รายวิชา วิทยาศาสตร์ 6 เรื่อง วงจรไฟฟ้าและการต่อวงจรไฟฟ้า ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน ขึ้น
- วัตถุประสงค์ของการสร้าง/พัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน
- เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ 6 เรื่อง วงจรไฟฟ้าและการต่อวงจรไฟฟ้า ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน
2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ 6 เรื่อง วงจรไฟฟ้า และการต่อวงจรไฟฟ้าของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน
- ขอบเขตของการสร้าง/พัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน
7.1 ขอบเขตด้านประชากร
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 19 คน
7.2 ขอบเขตด้านเนื้อหา/ตัวแปร
เนื้อหารายวิชาที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาวิทยาศาสตร์ 6 รหัสวิชา ว23102 เรื่อง วงจรไฟฟ้าและการต่อวงจรไฟฟ้า ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ปรับปรุงพุทธศักราช 2560)
- หลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่ใช้ในการสร้าง/พัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน
พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ 6 เรื่อง วงจรไฟฟ้าและการต่อวงจรไฟฟ้าของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน ครูผู้สอนได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลหลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่ใช้ดังต่อไปนี้
8.1. ความหมายของกิจกรรม
กิจกรรมเป็นสิ่งที่มีคุณค่าสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ซึ่งโดยมากจะแทรกอยู่ใน รูปของความสนุกสนาน ได้มีผู้ให้ความหมายไว้หลายท่าน ดังนี้
จรินทร์ ธานีรัตน์ (อ้างใน วราภรณ์ ภูละคร, 2533: 12) ได้ให้ความหมายของคำว่ากิจกรรมดังนี้ กิจกรรม หมายถึง สภาพการเรียนรู้ใดๆ ที่ได้กระทำด้วยความเต็มใจทั้งทางสมองและทางกาย เพื่อเป็นการสนองความต้องการของผู้กระทำให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมาย เช่น การค้นคว้าการอภิปราย การแก้ปัญหา หรือการที่เด็กได้ใช้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและสมองประกอบก็นับเป็นกิจกรรมแล้ว
สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์ (2544: 1) ให้ความหมายกิจกรรมว่าการปฏิบัติด้วยตนเอง คือ เป็นชุดของการปฏิบัติการต่างๆ ที่มี การเตรียมการหรือวางแผนไว้เรียบร้อยแล้วผู้ปฏิบัติบังเกิดผลตามที่คาดหวังไว้
โรม วงศ์ประเสริฐ (2545: 9) กล่าวว่ากิจใดๆ ที่ผู้ดำเนินการจัดการขึ้นมาอย่างมีจุดมุ่งหมาย โดยมุ่งหมาย หวังเพื่อใช้ กระบวนการของกิจกรรมพัฒนาผู้เข้ากิจกรรมต่อไปโดยที่กิจกรรมอาจจะจัดในร่มหรือกลางแจ้งก็ได้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของ แต่ละกิจกรรมที่เลือกนำมาใช้
จากความคิดดังกล่าวสรุปได้ว่า กิจกรรม หมายถึง สภาพการณ์หรือการกระทำที่ครูจัดขึ้นเพื่อให้นักเรียนสามารถ เข้าใจบทเรียนได้ง่ายกว่า การสอนแบบธรรมดา ได้รับทั้งความรู้ความสนุกสนานและผู้เรียนต้องกระทำด้วยความเต็มใจ และเป็น สิ่งที่ผู้ดำเนินการจัดเตรียมให้ผู้เข้าร่วมลงมือปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลตามที่ตั้งวัตถุประสงค์ไว้
8.2 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้คำถามมีขั้นตอนสำคัญดังต่อไปนี้
1. ขั้นวางแผนการใช้คำถาม ผู้สอนควรจะมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าว่าจะใช้คำถามเพื่อวัตถุประสงค์ใด รูปแบบหรือประการใดที่จะสอดคล้องกับเนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์ของบทเรียน
2. ขั้นเตรียมคำถาม ผู้สอนควรจะเตรียมคำถามที่จะใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยการสร้างคำถามอย่างมีหลักเกณฑ์
3. ขั้นการใช้คำถาม ผู้สอนสามารถจะใช้คำถามในทุกขั้นตอนของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และอาจจะสร้างคำถามใหม่ที่นอกเหนือจากคำถามที่เตรียมไว้ก็ได้ ทั้งนี้ต้องเหมาะสมกับเนื้อหาสาระและสถานการณ์นั้น ๆ
4. ขั้นสรุปและประเมินผล
4.1 การสรุปบทเรียนผู้สอนอาจจะใช้คำถามเพื่อการสรุปบทเรียนก็ได้
4.2 การประเมินผล ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันประเมินผลการเรียนรู้ โดยใช้วิธีการประเมินผล ตามสภาพจริง
8.3 ประโยชน์ของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1. ผู้เรียนกับผู้สอนสื่อความหมายกันได้ดี
2. ช่วยให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. สร้างแรงจูงใจและกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน
4. ช่วยเน้นและทบทวนประเด็นสำคัญของสาระการเรียนรู้ที่เรียน
5. ช่วยในการประเมินผลการเรียนการสอน ให้เข้าใจความสนใจที่แท้จริงของผู้เรียน และวินิจฉัยจุดแข็งจุดอ่อนของผู้เรียนได้
- ช่วยสร้างลักษณะนิสัยการชอบคิดให้กับผู้เรียน ตลอดจนนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียนตลอดชีวิต
8.4 การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน
การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน หมายถึง การจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้น ส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วม ในการเรียนรู้โดยเรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่ได้รับการจัดสภาพแวดล้อมไว้ อย่างเหมาะสม ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียน ได้ลงมือปฏิบัติ จากการสำรวจ ทดลอง และการ สร้างสรรค์ผลงานร่วมกับผู้อื่น จนผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ มีความสุขและความเพลิดเพลินใน สิ่งที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ โดยขั้นตอนการจัด การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานมี 5 ขั้น ดังนี้
- ขั้นนำ ครูชี้แจงวัตถุประสงค์ของการเรียนและทบทวนบทเรียนเพื่อนำนักเรียนเข้าสู่เนื้อหาที่ต้องการ ให้นักเรียนได้เรียนรู้ อีกทั้งยังสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมของ นักเรียน และให้นักเรียน เข้ากลุ่มตามที่จัดไว้
- ขั้นศึกษาและอภิปราย ครูนำเสนอบทเรียนที่มีความท้าทายและน่าสนใจ เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียน ได้ศึกษาบทเรียน เสนอความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนในกลุ่ม และนำมาอภิปรายร่วมกัน เพื่อการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
- ขั้นกิจกรรม ครูเริ่มดำเนินกิจกรรมโดยให้นักเรียนทุกคนในแต่ละกลุ่มได้ลงมือปฏิบัติ โดยจัดการแข่งขัน ขึ้นในแต่ละกิจกรรมเพื่อช่วยสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ ความตื่นตัวทางการเรียนและสร้างแรงจูงใจ อีกทั้งเพื่อให้นักเรียนได้ใช้กระบวนการแก้ปัญหาในการทำกิจกรรม โดยมีครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการดำเนินกิจกรรม
- ขั้นสะท้อนผลจากกิจกรรม ครูให้นักเรียนได้นำเสนอแนวคิดและคำตอบที่ได้จากการทำกิจกรรม นักเรียนทุก กลุ่มร่วมกันอภิปรายคำตอบของเพื่อนกลุ่มอื่นๆ และร่วมกันตรวจสอบความถูกต้อง สะท้อนความคิดและองค์ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรม
- ขั้นประเมินผล ครูประเมินผลการเรียนรู้จากสิ่งที่นักเรียนได้เรียนและทำกิจกรรมมาทั้งหมดโดย เพื่อให้ครูได้ทราบถึงพัฒนาการของนักเรียนและนำไปปรับปรุงในการจัดการเรียนต่อไป
- 9. กรอบแนวคิดในการสร้าง/พัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ 6 เรื่อง วงจรไฟฟ้าและการต่อวงจรไฟฟ้าของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน มีกรอบแนวคิดในการสร้าง/พัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน ดังนี้
ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ 6 โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน
1. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
2. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ 6 เรื่อง วงจรไฟฟ้าและการต่อวงจรไฟฟ้า ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน
- วิธีดำเนินการสร้าง/พัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน
10.1 การค้นหาปัญหา และความต้องการที่ต้องการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน คือ ขาดความเข้าใจ และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ในเรื่องวงจรไฟฟ้าและการต่อวงจรไฟฟ้า รายวิชาวิทยาศาสตร์ 6
10.2 ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน
10.3 ร่วมกันระดมความคิดจากครูผู้สอนสาขาวิชาฟิสิกส์ ที่ตั้งเป็นกลุ่มชุมชนแห่ง การเรียนรู้ (PLC) ในการวิเคราะห์และสังเคราะห์การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ 6 เรื่อง วงจรไฟฟ้าและการต่อวงจรไฟฟ้า ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน
10.4 สร้างสื่อ และรูปแบบการจัดกิจกรรม
10.5 นำไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 จำนวน 19 คน โดยดำเนินการรวบรวมคะแนน จากแบบทดสอบก่อนเรียน การออกแบบและการปฏิบัติกิจกรรม และคะแนนจากแบบทดสอบหลังเรียน
10.6 กลุ่มตัวอย่างทำแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ 6 เรื่อง วงจรไฟฟ้าและการต่อวงจรไฟฟ้า ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน
- 7 วิเคราะห์ สรุป และอภิปรายผลและเขียนรายงานสรุปผลการวิจัยในชั้นเรียน
11. การวิเคราะห์ข้อมูล
11.1 หาค่าเฉลี่ยของคะแนนทดสอบก่อนและหลังเรียน ( ) โดยคำนวณจากสูตร ดังนี้
(บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. 2543)
สูตร =
เมื่อ แทน คะแนนเฉลี่ย
แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด
แทน จำนวนข้อมูล
11.2 หาค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ของคะแนนทดสอบก่อนและหลังเรียน ใช้สูตร ดังนี้ (บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. 2543)
สูตร S.D. =
เมื่อ S.D. แทน ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด
แทน ผลรวมของกำลังสองของคะแนนทั้งหมด
แทน จำนวนข้อมูล
11.3 วิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจ โดยใช้สถิติการหาค่าร้อยละ (Percentage) โดยใช้สูตรดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด. 2556)
p =
เมื่อ p แทน ร้อยละ
แทน ความถี่ต้องการแปลงให้เป็นร้อยละ
N แทน จำนวนความถี่ทั้งหมด
- ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
12.1 นักเรียนเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สามารถพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทำงานเป็นกลุ่ม สามารถสร้างสรรค์ชิ้นงาน และสื่อสารกับผู้อื่นได้ดีขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
12.2 นักเรียนเห็นคุณค่าและความสำคัญ รวมทั้งเกิดเจตคติที่ต่อของการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์มากขึ้น