การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ active learning

กระดานสนทนา เผยแพร่ผลงานวิชาการหมวดหมู่: เผยแพร่ผลงานวิชาการการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ active learning
phon asked 5 เดือน ago

หัวข้อการศึกษา           การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ active learning โดยใช้ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้ศึกษา                    นางจันทร์พร  ทังเฮียง ตำแหน่ง ครู  วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ  โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านชะอำ (ชะอำวิทยาคาร) สังกัดเทศบาลเมืองชะอำ  อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
ปีการศึกษา   2565
บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านชะอำ (ชะอำวิทยาคาร)  2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ active learning โดยใช้ทฤษฎีการสร้าง องค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3   3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ active learning โดยใช้ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3   และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ active learning โดยใช้ทฤษฎีการสร้าง องค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านชะอำ  (ชะอำวิทยาคาร)  สังกัดเทศบาลเมืองชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียน  33  คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ตัวแปรอิสระ (Independent Variables) ได้แก่ รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ active learning โดยใช้ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3   ตัวแปรตาม (Dependent Variables) ได้แก่ ความสามารถทางทักษะการเขียนในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3   ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ active learning โดยใช้ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ใช้ระยะในการทดลองสอนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รวมทั้งสิ้น 20 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถการเขียนในชีวิตประจำวันกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 30 ข้อ สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระ ค่าดัชนีประสิทธิผล และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)ผลการศึกษาพบว่า ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย นักเรียน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านชะอำ  (ชะอำวิทยาคาร) สาเหตุของปัญหาการอ่านคิดวิเคราะห์ และเขียนภาษาไทย จากการสนทนากลุ่ม พบว่า มีสาเหตุมาจาก 4 ประการคือประการแรก ด้านบรรยากาศการเรียนรู้  คือ ขาดการสร้างบรรยากาศในกระบวนการเรียนการสอนในการส่งเสริมให้นักเรียนสนใจใฝ่เรียนรู้ในการเขียนภาษาไทย ประการที่สอง ด้านสื่อการเรียนการสอน  พบว่า ขาดเทคนิคการสื่อสารในการจัดกิจกรรมที่ทำให้นักเรียนสนุกสนานกับการเรียนรู้วิชาภาษาไทย ประการที่สาม ด้านการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ พบว่ามีรูปแบบการเรียนการสอนแบบเดิม ไม่มีการใช้เทคนิคการสร้างกิจกรรมใหม่ๆ เข้ามาใช้ในการเรียนการสอน  และประการสุดท้าย พบว่า  นักเรียนขาดความสนใจในการเรียนรู้ภาษาไทย เบื่อหน่ายกับการเรียนรู้วิชาภาษาไทย  ทำให้เกิดความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การสอนวิชาภาษาไทย และจากการสัมภาษณ์ครูสอนวิชาภาษาไทย พบว่า ครูมีความจำเป็นและมีความต้องการด้านการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยในทักษะการคิด เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้วิชาภาษาไทยที่เน้นให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองเป็นสำคัญ และต้องการมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ มีการเรียนรู้จากสื่อที่หลากหลาย จากความต้องการดังกล่าวจึงทำให้เกิดรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ active learning โดยใช้ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3    ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ active learning โดยใช้ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3                    2.1 ได้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ active learning โดยใช้ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนในชีวิตประจำวัน มีองค์ประกอบของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระการเรียนรู้ และขั้นตอนการจัดกิจกรรม 6 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นนำ ขั้นที่ 2 แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ขั้นที่ 3 สร้างความรู้ร่วมกัน ขั้นที่ 4 นำเสนอความรู้ ขั้นที่ 5 ลงมือปฏิบัติ และขั้นที่ 6 สรุปองค์ความรู้และประเมิน โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ active learning โดยใช้ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  และได้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้  จำนวน 6 ชุดได้แก่ ชุดที่ 1  เขียนข้อความตามสถานการณ์  ชุดที่  2  เขียนประวัติส่วนตัว ชุดที่  3 เขียนย่อความ  ชุดที่  4  เขียนจดหมายกิจธุระ ชุดที่ 5   เขียนบทโฆษณา  และชุดที่  6  เขียนรายงาน                    2.2 ผลการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ active learning โดยใช้ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ให้มีประสิทธิภาพ 80/80 พบว่า ผลการทดลองแบบรายบุคคล  มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 88.06/87.50 ผลการทดลองแบบกลุ่มเล็ก มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 86.44/90.00 และผลการทดลองแบบภาคสนาม มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 83.35/86.08  ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ active learning โดยใช้ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนในชีวิตประจำวัน                    3.1 ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ active learning โดยใช้ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3   จากการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 86.93/87.95  เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้  3.2 ดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ active learning โดยใช้ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3   มีค่าเท่ากับ 0.80  แสดงให้เห็นว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  มีความก้าวหน้าเพิ่มขึ้น  0.80 หรือ คิดเป็นร้อยละ 80.00     ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ active learning โดยใช้ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4.1 คะแนนเฉลี่ยของผลพัฒนาทักษะการเขียนในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ก่อนเรียน มีคะแนนเท่ากับ 16.18  คะแนน และมีคะแนนหลังเรียนเท่ากับ 35.18 คะแนนเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนสอบทั้งสองครั้ง พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  4.2 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ active learning โดยใช้ทฤษฎีการสร้าง องค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

คลิกให้คะแนนโพสต์นี้!
[รวม: 0 เฉลี่ย: % เฉลี่ย%]

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่