เผยแพร่ผลงานวิชาการ การพัฒนาทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยตามแนวการสอนภาษาแบบองค์รวม อนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านผังสามัคคี
ปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสําคัญทางระบบการศึกษาเป็นอย่างมาก และการศึกษาคือเครื่องมือที่สําคัญในการพัฒนาคนและสังคม กล่าวคือ ระบบการจัดการศึกษาจึงต้องแสดงบทบาทให้สอดคล้องกับภาวะความเป็นจริงของสังคม ซึ่งในปัจจุบันสังคมโลกกําลังก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นยุคเทคโนโลยีสารสนเทศที่ผู้เรียนสามารถศึกษาหาความรู้ได้อย่างเพิ่มขึ้นและรวดเร็ว การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 การพัฒนาด้านการศึกษาจึงสําคัญอย่างยิ่งในการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ดังกล่าวในอนาคต ด้วยเหตุนี้ ครูจึงต้องมีความเตรียมพร้อมในการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมเพื่อเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียนมีทักษะการดํารงชีวิตในโลกศตวรรษที่ 21 ได้อย่างเหมาะสม โดยทักษะที่สําคัญที่สุดคือ ทักษะการเรียนรู้ (Learning Skills) ที่มุ่งเน้นความรู้ความสามารถ และทักษะจําเป็น ซึ่งเป็นผลจากการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนการสอนตลอดจนการเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ ที่จะเป็นปัจจัยที่สนับสนุนการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยนั้น เรื่องของภาษานับว่าเป็นหนึ่งในทักษะพื้นฐานที่เด็กจะต้องเรียนรู้ เพื่อใช้ในการสื่อสารและดำเนินชีวิตประจำวัน ดังนั้นการสอนภาษาสำหรับเด็กอนุบาลจึงเป็นเรื่องที่สำคัญและมีความท้าทายอย่างมาก เพราะในระดับปฐมวัยนั้นเป็นวัยเริ่มต้นแห่งการเรียนรู้ การส่งเสริมทักษะต่าง ๆ จำเป็นอย่างที่ต้องคำนึงถึงพัฒนาการและความพร้อมของเด็กเป็นสำคัญ เพื่อให้เด็กเติบโตและเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับวัย ซึ่งวิธีการสอนภาษาแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมคือ การสอนภาษาแบบองค์รวม (Whole Language Approach) การสอนภาษาแบบองค์รวม (Whole Language Approach) เป็นนวัตกรรมในการสอนภาษาที่นักการศึกษารวมกับนักภาษาศาสตร์คิดค้นขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการเรียนภาษาของเด็ก ซึ่งเกิดจากแนวคิดที่ว่าธรรมชาติของเด็กนั้น เกิดมาพร้อมกับความสามารถในเรียนรู้ทักษะทางภาษาได้ด้วยตัวเองจากประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมรอบตัว ผ่านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ซึ่งตรงข้ามกับแนวการสอนภาษาแบบเดิมที่เน้นการท่องจำ ซึ่งทำให้เด็กมีทักษะทางภาษาที่จำกัด นอกจากนี้การท่องจำและการเร่งอ่านเขียนในเด็กยังส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กในระยะยาวอีกด้วย ทำให้การสอนภาษาธรรมชาตินี้ จึงเป็นแนวทางที่สำคัญในการส่งเสริมทักษะทางภาษาให้กับเด็ก โดยไม่ไปขัดขวางพัฒนาการที่เหมาะสมของเด็ก ทำให้เด็กมีความสุขในการเรียนรู้ และมุ่งเน้นให้เด็กมีความเข้าใจในพัฒนาการทาง โดยจะต้องเกิดขึ้นจากศูนย์กลางความคิดและประสบการณ์ของเด็กเอง จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นทำให้ผู้วิจัยสนใจจัดประสบการณ์ตามแนวการสอนภาษาแบบองค์รวมที่มีผลต่อความสามารถทางภาษาของนักเรียนในระดับปฐมวัย โรงเรียนวัดท่าคล้อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2