เผยแพร่แผนการจัดการเรียนรู้ ครูรจนา
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง วงจรไฟฟ้าและการต่อวงจรไฟฟ้า
รายวิชาวิทยาศาสตร์ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566
เวลา 4 ชั่วโมง
โดย
นางรจนา แสงสุธา
ตำแหน่ง ครู
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยา
ตำบลบ้านแก้ง อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ
องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง วงจรไฟฟ้าและการต่อวงจรไฟฟ้า
รายวิชาวิทยาศาสตร์ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เวลา 4 ชั่วโมง
- มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
มาตรฐานการเรียนรู้
ว 2.3 เข้าใจความหมายของพลังงาน การเปลี่ยนแปลงและการถ่ายโอนพลังงาน ปฏิสัมพันธ์
ระหว่างสสารและพลังงาน พลังงานในชีวิตประจำวัน ธรรมชาติของคลื่น ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเสียง แสง และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด
ว 2.3 ม.3/4 วิเคราะห์ความต่างศักย์ไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้าเมื่อต่อตัวต้านทานหลายตัวแบบอนุกรมและแบบขนานจากหลักฐานเชิงประจักษ์
ว 2.3 ม.3/5 เขียนแผนภาพวงจรไฟฟ้าแสดงการต่อตัวต้านทานแบบอนุกรมและขนาน
- จุดประสงค์การเรียนรู้
2.1 วิเคราะห์ความต่างศักย์ไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้าเมื่อต่อตัวต้านทานหลายตัวแบบอนุกรมและแบบขนานได้ (K)
2.2 อธิบายการต่อวงจรไฟฟ้าในบ้านและอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ในบ้านได้ (K)
2.3 เขียนแผนภาพวงจรไฟฟ้าเมื่อต่อตัวต้านทานแบบอนุกรมและแบบขนานได้ (P)
2.4 ปฏิบัติกิจกรรมการต่อวงจรไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและเป็นลำดับขั้นตอน (P)
2.5 รับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายและมุ่งมั่นในการทำงาน (A)
- สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด
วงจรไฟฟ้าเป็นทางเดินของกระแสไฟฟ้าที่จะนำไปใช้งานในลักษณะต่าง ๆ กัน ซึ่งวงจรไฟฟ้าโดยทั่วไปประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ เช่น แหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้า สายไฟฟ้า และเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งส่วนสำคัญของวงจรไฟฟ้าคือ การต่อโหลดใช้งาน โหลดที่นำมาต่อใช้งานในวงจรไฟฟ้าสามารถต่อได้ 3 แบบ ได้แก่ วงจรไฟฟ้าแบบอนุกรม วงจรไฟฟ้าแบบขนาน และวงจรไฟฟ้าแบบผสม
- สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
4.1 ความสามารถในการสื่อสาร
4.2 ความสามารถในการคิด
4.3 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
- คุณลักษณะอันพึงประสงค์
5.1 มีวินัย
5.2 ใฝ่เรียนรู้
5.3 มุ่งมั่นในการทำงาน
- กิจกรรมการเรียนรู้
จัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน
ขั้นที่ 1 ขั้นนำ
- นักเรียนทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (ก่อนและหลังเรียน) เรื่อง วงจรไฟฟ้าและการต่อวงจรไฟฟ้า รายวิชาวิทยาศาสตร์ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 บันทึกผลการเรียนรู้ก่อนเรียนของนักเรียน
- ครูทบทวนความรู้เดิมของนักเรียนเกี่ยวกับกฎของโอห์ม โดยมีแนวคำถาม ดังนี้
- กฎของโอห์มมีใจความสำคัญอย่างไร
(แนวตอบ : สำหรับตัวนำไฟฟ้าที่อุณหภูมิคงตัว อัตราส่วนระหว่างความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างจุด 2
จุดกับกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านระหว่างจุดทั้งสองจะมีค่าคงตัวเช่นกัน)
- ความต้านทาน 1 โอห์ม คืออะไร
(แนวตอบ : ความต้านทานของตัวนำ ซึ่งเมื่อต่อปลายทั้งสองของตัวนำเข้ากับความต่างศักย์ 1 โวลต์
และมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านตัวนำนั้น 1 แอมแปร์)
- ครูเปิดภาพยนตร์สารคดีสั้น เรื่อง วงจรไฟฟ้า ให้นักเรียน จากนั้นครูตั้งประเด็นคำถามกระตุ้น
ความคิดนักเรียน โดยให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ ดังนี้
- องค์ประกอบของวงจรไฟฟ้าประกอบด้วยอะไรบ้าง
(แนวตอบ : แหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้า สายไฟฟ้า และเครื่องใช้ไฟฟ้า)
- หลอดไฟฟ้าที่ประดับตามต้นไม้ งานวัด อาคาร หรือบนท้องถนน เป็นการต่อวงจรไฟฟ้าแบบใด
(แนวตอบ : เป็นการต่อวงจรไฟฟ้าแบบขนาน)
- 4. ครูสนทนากับนักเรียนว่า “นักเรียนคิดว่าการต่อหลอดไฟฟ้าเข้ากับสายไฟฟ้าในบ้านมีวิธีการต่อได้
กี่แบบ อะไรบ้าง”
(แนวตอบ : มี 3 แบบ คือ วงจรไฟฟ้าแบบอนุกรม วงจรไฟฟ้าแบบขนาน และวงจรไฟฟ้าแบบผสม)
ขั้นที่ 2 ขั้นศึกษาและอภิปราย
- ครูใช้คำถามกระตุ้นความสนใจของนักเรียนเพื่อนำเข้าสู่การเรียนการสอนว่า “เครื่องใช้ไฟฟ้าจะทำงาน
ได้เมื่อวงจรไฟฟ้ามีลักษณะเป็นอย่างไร” โดยให้นักเรียนเขียนคำตอบของตนเองลงในสมุดประจำตัว
นักเรียน
- 2. ครูเตรียมแผงวงจรไฟฟ้าที่ต่อหลอดไฟฟ้าแบบอนุกรม แบบขนาน และแบบผสม มาให้นักเรียน
เปรียบเทียบความสว่างของหลอดไฟฟ้า แล้วให้วิเคราะห์ถึงผลการต่อหลอดไฟฟ้าทั้ง 3 แบบ
- นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน ตามความสมัครใจ จากนั้นให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาค้นคว้า
ข้อมูลเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้า และประเภทของวงจรไฟฟ้า จากหนังสือเรียนรายวิชา วิทยาศาสตร์ ม.3 เล่ม 4 หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น อินเทอร์เน็ต โดยให้สมาชิกภายในกลุ่มแบ่งหน้าที่กันศึกษาคนละ 1 เรื่อง ซึ่งหัวข้อมีดังนี้
- คนที่ 1 ศึกษาวงจรปิดและวงจรเปิด
- คนที่ 2 ศึกษาวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรม
- คนที่ 3 ศึกษาวงจรไฟฟ้าแบบขนาน
- คนที่ 4 ศึกษาวงจรไฟฟ้าแบบผสม
- สมาชิกภายในกลุ่มนำเรื่องที่ตนเองศึกษาค้นคว้ามาอธิบายให้เพื่อนในกลุ่มฟัง จากนั้นร่วมกันเขียนสรุป
ความรู้ที่ได้ลงในสมุดประจำตัวนักเรียน
ขั้นที่ 3 ขั้นกิจกรรม
- 1. นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 6 คน ตามความสมัครใจ จากนั้นครูแจ้งจุดประสงค์ของกิจกรรม/การทดลองการต่อวงจรไฟฟ้า ให้นักเรียนทราบเพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติกิจกรรมที่ถูกต้อง
- นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษากิจกรรม/การทดลอง การต่อวงจรไฟฟ้า จากหนังสือเรียนรายวิชา
พื้นฐานวิทยาศาสตร์ ม.3 เล่ม 2 หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยกำหนดให้สมาชิกแต่ละคนภายในกลุ่มมีบทบาทหน้าที่ของตนเอง ดังนี้
- สมาชิกคนที่ 1-2 ทำหน้าที่เตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลองการต่อวงจรไฟฟ้า
- สมาชิกคนที่ 3-4 ทำหน้าที่อ่านวิธีการทดลอง และนำมาอธิบายให้สมาชิกในกลุ่มฟัง
- สมาชิกคนที่ 5-6 ทำหน้าที่บันทึกผลการทดลอง
- สมาชิกภายในกลุ่มร่วมกันตั้งสมมติฐาน และปฏิบัติกิจกรรม/การทดลอง ตามขั้นตอนในหนังสือเรียน
รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ม.3 เล่ม 2 หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จากนั้นร่วมกันอภิปรายผลการทดลอง และตอบคำถามท้ายการทดลอง โดยมีกำหนดเป็นการแข่งขันในกิจกรรมโดยยึดหลักความถูกต้องตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ขั้นที่ 4 ขั้นสะท้อนผลจากกิจกรรม
- 1. นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลและคำถามท้ายการทดลอง การต่อวงจรไฟฟ้าหน้าชั้นเรียน
ในระหว่างที่นักเรียนนำเสนอ ครูคอยให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจที่ถูกต้อง
- นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลการทดลอง การต่อวงจรไฟฟ้า และเฉลยคำถามท้ายการทดลอง
- ครูตั้งประเด็นคำถามกระตุ้นความคิดนักเรียน โดยให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายแสดงความคิดเห็นเพื่อหา
คำตอบ ดังนี้
- วงจรไฟฟ้าแบบใดเหมาะสำหรับการต่อวงจรภายในบ้าน
(แนวตอบ : วงจรไฟฟ้าภายในบ้าน เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดจะต่อวงจรไฟฟ้าแบบขนาน เพื่อว่าใน
กรณีที่เครื่องใช้ไฟฟ้าเครื่องใดเสีย วงจรอื่น ๆ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าเครื่องอื่นก็ยังสามารถใช้งานได้
เพราะยังมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน)
- การต่อวงจรไฟฟ้าแบบใดที่ทำให้ความต้านทานรวมมีค่าเพิ่มขึ้น
(แนวตอบ : การต่อวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรม)
- การต่อวงจรไฟฟ้าแบบใดที่ทำให้ความต้านทานรวมมีค่าลดลง
(แนวตอบ : การต่อวงจรไฟฟ้าแบบขนาน)
- 4. ครูอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับการต่อวงจรไฟฟ้าการคำนวณวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรมและแบบขนาน า “ในวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรม ถ้ามีหลอด
- 5. นักเรียนแต่ละคนทำใบงาน เรื่อง วงจรไฟฟ้าและการต่อวงจรไฟฟ้า
- 6. นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 6 คน จากนั้นร่วมกันประดิษฐ์ชิ้นงานวงจรไฟฟ้าอย่างง่าย
- ครูให้คำปรึกษานักเรียนตลอดการทำกิจกรรม
ขั้นที่ 5 ตรวจสอบผล (Evaluate)
1. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับวงจรไฟฟ้าและการต่อวงจรไฟฟ้า
- นักเรียนทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (ก่อนและหลังเรียน) เรื่อง วงจรไฟฟ้าและการต่อวงจรไฟฟ้า รายวิชาวิทยาศาสตร์ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 บันทึกผลการเรียนรู้หลังเรียนของนักเรียน
- นักเรียนทำแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง วงจรไฟฟ้าและการต่อวงจรไฟฟ้า ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
- การวัดและประเมินผล
รายการวัด
วิธีการ
เครื่องมือ
เกณฑ์การประเมิน
9.1 การประเมินระหว่าง
การจัดกิจกรรม
1) วงจรไฟฟ้าและการต่อ
วงจรไฟฟ้า
– ตรวจใบงาน
– ตรวจชิ้นงานวงจรไฟฟ้าอย่างง่าย
– ใบงาน เรื่อง วงจรไฟฟ้าและการต่อวงจรไฟฟ้า
– ตรวจชิ้นงานวงจรไฟฟ้าอย่างง่าย
– ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
– ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
2) การปฏิบัติกิจกรรม
– ประเมินการปฏิบัติ
กิจกรรม
– แบบประเมินการ
ปฏิบัติกิจกรรม
– ระดับคุณภาพ 2
ผ่านเกณฑ์
3) พฤติกรรมการทำงาน
รายบุคคล
– สังเกตพฤติกรรม
การทำงานรายบุคคล
– แบบสังเกตพฤติกรรม
การทำงานรายบุคคล
– ระดับคุณภาพ 2
ผ่านเกณฑ์
4) พฤติกรรมการทำงาน
กลุ่ม
– สังเกตพฤติกรรม
การทำงานกลุ่ม
– แบบสังเกตพฤติกรรม
การทำงานกลุ่ม
– ระดับคุณภาพ 2
ผ่านเกณฑ์
5) การนำเสนอผลงาน
– ประเมินการนำเสนอ
ผลงาน
– แบบประเมิน
การนำเสนอผลงาน
– ระดับคุณภาพ 2
ผ่านเกณฑ์
6) คุณลักษณะอันพึง
ประสงค์
– สังเกตความมีวินัย
ใฝ่เรียนรู้ และมุ่งมั่น
ในการทำงาน
– แบบประเมิน
คุณลักษณะ
อันพึงประสงค์
– ระดับคุณภาพ 2
ผ่านเกณฑ์
- สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
10.1 สื่อการเรียนรู้
10.1.1 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ม.3 เล่ม 2 หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
10.1.2 วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลองการต่อวงจรไฟฟ้า
10.1.3 ใบงาน เรื่อง วงจรไฟฟ้าและการต่อวงจรไฟฟ้า
10.1.4 ภาพยนตร์สารคดีสั้น เรื่อง วงจรไฟฟ้า ที่มา https://www.twig-aksorn.com
/film/circuits-8346
10.2 แหล่งการเรียนรู้
10.2.1 ห้องเรียน
10.2.2 ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
10.2.3 อินเทอร์เน็ต
- 10. ความคิดเห็นของหัวหน้าฝ่ายวิชาการ ( ก่อนการนำแผนการสอนไปใช้ )
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ลงชื่อ……………………………………หัวหน้าฝ่ายวิชาการ
(นางอุไรวรรณ ปัญญาศิลป์)
- 11. ความคิดเห็นของรองผู้บริหารสถานศึกษา ( ก่อนการนำแผนการสอนไปใช้ )
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ลงชื่อ……………………………………รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
(นางนวลนิตย์ ถาวงษ์กลาง)
บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
แนวทางการแก้ไขปัญหา/อุปสรรค
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
ลงชื่อ…………………………………………..ครูผู้สอน
(นางรจนา แสงสุธา)
ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ลงชื่อ……………………………………ผู้อำนวยการสถานศึกษา
(นายอนุชา ขวาไทย)
……………./………………………./………………
ใบงาน เรื่อง วงจรไฟฟ้าและการต่อวงจรไฟฟ้า
รายวิชาวิทยาศาสตร์ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ชื่อ…………………………………………….นามสกุล……………………………………เลขที่………
คำชี้แจง : ตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
- 1. วงจรปิดและวงจรเปิดแตกต่างกันอย่างไร
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
- 2. เปรียบเทียบความแตกต่างของวงจรไฟฟ้าแต่ละแบบ
วงจรไฟฟ้าแบบอนุกรม
วงจรไฟฟ้าแบบขนาน
………………………………………………………………
………………………………………………………………
………………………………………………………………
………………………………………………………………
………………………………………………………………
………………………………………………………………
………………………………………………………………
………………………………………………………………
………………………………………………………………
………………………………………………………………
- 3. เปรียบเทียบความสว่างของหลอดไฟฟ้าในแต่ละวงจร
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
- 4. เมื่อนำหลอดไฟฟ้า 2 ดวง มาต่อวงจรไฟฟ้าแบบขนาน เพราะเหตุใดกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านหลอดไฟฟ้า
ทั้งสองจึงมีค่าเท่ากัน
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
- 5. ตัวต้านทาน 3 ตัว มีความต้านทานเท่ากับ 2 โอห์ม 4 โอห์ม และ 6 โอห์ม ตามลำดับ ต่อเข้าด้วยกัน ดังภาพ
จงหาความต้านทานรวมระหว่างจุด A กับจุด B
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
- 6. ตัวต้านทาน 4 ตัว มีความต้านทานเท่ากับ 5 โอห์ม 5 โอห์ม 2 โอห์ม และ 20 โอห์ม ตามลำดับ ต่อเข้า
ด้วยกัน ดังภาพ จงหาความต้านทานรวมระหว่างจุด A กับจุด B
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
- 7. ฟิวส์มีหน้าที่อะไร
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
- 8. แผงควบคุมไฟฟ้ามีอุปกรณ์อะไรบ้าง และทำหน้าที่อย่างไร
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
- 9. นักเรียนจะทราบได้อย่างไรว่าสายใดเป็นสาย L และสายใดเป็นสาย N
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
- 10. อธิบายสาเหตุของไฟฟ้าลัดวงจรมาอย่างน้อย 4-5 ข้อ
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ใบงาน เรื่อง วงจรไฟฟ้าและการต่อวงจรไฟฟ้า
รายวิชาวิทยาศาสตร์ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ชื่อ…………………………………………….นามสกุล……………………………………เลขที่………
คำชี้แจง : ตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
วงจรปิดเป็นวงจรที่กระแสไฟฟ้าไหลได้ครบวงจร ทำให้โหลดหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต่ออยู่ในวงจรนั้น ๆ ทำงาน ส่วนวงจรเปิดเป็นวงจรที่กระแสไฟฟ้าไม่สามารถไหลได้ครบวงจร ซึ่งเป็นผลทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต่ออยู่ในวงจรไม่สามารถจ่ายพลังงานออกมาได้ สาเหตุของวงจรเปิดอาจเกิดจากสายไฟฟ้าหลุด สายไฟฟ้าขาด สายไฟฟ้าหลวม สวิตช์ไม่ต่อวงจร หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุด
- 1. วงจรปิดและวงจรเปิดแตกต่างกันอย่างไร
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
- 2. เปรียบเทียบความแตกต่างของวงจรไฟฟ้าแต่ละแบบ
1. หลอดไฟฟ้ามีความสว่างน้อย
(ในจำนวนที่เท่ากันกับการต่อวงจรไฟฟ้า
แบบขนาน)
2. ถ้าหลอดไฟฟ้าดวงใดดวงหนึ่งเสีย
หลอดอื่นไม่สามารถทำงานได้
วงจรไฟฟ้าแบบอนุกรม
1. หลอดไฟฟ้ามีความสว่างมาก
2. ถ้าหลอดไฟฟ้าดวงใดดวงหนึ่งเสีย
หลอดอื่นยังทำงานได้ตามปกติ
วงจรไฟฟ้าแบบขนาน
………………………………………………………………
………………………………………………………………
………………………………………………………………
………………………………………………………………
………………………………………………………………
………………………………………………………………
………………………………………………………………
………………………………………………………………
………………………………………………………………
………………………………………………………………
หลอดไฟฟ้าในวงจรที่ต่อแบบอนุกรมจะสว่างน้อยกว่าหลอดไฟฟ้าในวงจรที่ต่อแบบขนาน
- 3. เปรียบเทียบความสว่างของหลอดไฟฟ้าในแต่ละวงจร
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
เมื่อต่อวงจรไฟฟ้าแบบขนาน กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านหลอดไฟฟ้าแต่ละหลอดจะขึ้นอยู่กับความต้านทานของหลอดไฟฟ้านั้น ๆ ดังนั้น ถ้ากระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านหลอดไฟฟ้าในวงจรมีค่าเท่ากัน แสดงว่าหลอดไฟฟ้าในวงจรต้องมีความต้านทานเท่ากัน
- 4. เมื่อนำหลอดไฟฟ้า 2 ดวง มาต่อวงจรไฟฟ้าแบบขนาน เพราะเหตุใดกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านหลอดไฟฟ้า
ทั้งสองจึงมีค่าเท่ากัน
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
- 5. ตัวต้านทาน 3 ตัว มีความต้านทานเท่ากับ 2 โอห์ม 4 โอห์ม และ 6 โอห์ม ตามลำดับ ต่อเข้าด้วยกัน ดังภาพ
จงหาความต้านทานรวมระหว่างจุด A กับจุด B
วิธีทำ คำนวณหาความต้านทานรวมของ R1 R2 และ R3 (R123)
จากสมการ R123 = R1 + R2 + R3
R123 = 2 + 4 + 6
R123 = 12
ดังนั้น ความต้านทานรวมระหว่างจุด A กับจุด B เท่ากับ 12 โอห์ม
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
- 6. ตัวต้านทาน 4 ตัว มีความต้านทานเท่ากับ 5 โอห์ม 5 โอห์ม 2 โอห์ม และ 20 โอห์ม ตามลำดับ ต่อเข้า
ด้วยกัน ดังภาพ จงหาความต้านทานรวมระหว่างจุด A กับจุด B
วิธีทำ คำนวณหาความต้านทานรวมของ R1 R2 และ R3 (R123)
จากสมการ R123 = R1 + R2 + R3
R123 = 5 + 5 + 2
R123 = 12
และคำนวณหาความต้านทานของตัวต้านทานทั้ง 4 ตัว (R)
จากสมการ
ดังนั้น ความต้านทานรวมระหว่างจุด A กับจุด B เท่ากับ 7.5 โอห์ม
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ฟิวส์เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ป้องกันอันตรายที่จะเกิดจากการใช้กระแสไฟฟ้า ถ้ามีการใช้กระแสไฟฟ้าเกินกำหนดกระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านฟิวส์ปริมาณมากทำให้เกิดความร้อนสูง จนกระทั่งฟิวส์หลอมละลายทำให้วงจรเปิด
- 7. ฟิวส์มีหน้าที่อะไร
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
แผงควบคุมไฟฟ้าเป็นแผงตัวตัดวงจร ประกอบด้วย ตัวตัดวงจรรวม และตัวตัดวงจรย่อย ซึ่งแผงตัวตัดวงจรมีหน้าที่เพื่อแยกและควบคุมการส่งพลังงานไฟฟ้าไปยังหลอดไฟฟ้า และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้กระแสไฟฟ้าสูง
- 8. แผงควบคุมไฟฟ้ามีอุปกรณ์อะไรบ้าง และทำหน้าที่อย่างไร
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ใช้ไขควงตรวจสอบไฟฟ้า โดยเอาปลายไขควงแตะสายส่งพลังงานไฟฟ้าเส้นหนึ่ง แล้วใช้นิ้วมือสัมผัสกับปลายด้านบนสุดของไขควง ถ้าสายไฟฟ้านั้นเป็นสาย L หลอดแอลอีดีจะเปล่งแสง แต่ถ้าสาย N จะไม่มีแสงจากหลอดแอลอีดี
- 9. นักเรียนจะทราบได้อย่างไรว่าสายไฟฟ้าใดเป็นสาย L และเป็นสาย N
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
สาเหตุของไฟฟ้าลัดวงจร มีดังนี้
1. สายไฟฟ้าชำรุดหรือเสื่อมสภาพ
2. ใช้ปลั๊กพ่วงที่ไม่ได้มาตรฐาน
3. เกิดแรงดันเกินในสายไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
4. การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือเดินสายไฟฟ้าไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน
- 10. อธิบายสาเหตุของไฟฟ้าลัดวงจรมาอย่างน้อย 4-5 ข้อ
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (ก่อนและหลังเรียน)
เรื่อง วงจรไฟฟ้าและการต่อวงจรไฟฟ้า รายวิชาวิทยาศาสตร์ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
- จากภาพหลอดไฟทั้ง 2 ดวง สว่างหรือไม่ เพราะอะไร
ก. ไม่สว่าง เพราะเป็นวงจรเปิด
ข. ไม่สว่าง เพราะเป็นวงจรปิด
ค. สว่าง เพราะเป็นวงจรเปิด
ง. สว่าง เพราะเป็นวงจรปิด
- จากภาพข้อ 1. เป็นการต่อหลอดไฟฟ้าแบบใด
ก. แบบผสม
ข. แบบขนาน
ค. แบบอนุกรม
ง. แบบวงจรสลับ
- ข้อใดกล่าวถึงการต่อหลอดไฟฟ้าแบบอนุกรมได้ถูกต้อง
ก. การต่อวงจรยุ่งยากกว่าการต่อแบบขนาน
ข. ต้องใช้อุปกรณ์ในการต่อมากกว่าแบบขนาน
ค. เลือกเปิดหลอดไฟฟ้าเฉพาะดวงที่ต้องการใช้ได้
ง. เมื่อหลอดไฟฟ้าดวงหนึ่งชำรุดหลอดไฟฟ้าดวงอื่นจะดับด้วย
- ข้อใดกล่าวถึงการต่อหลอดไฟฟ้าแบบขนานได้ถูกต้อง
ก. การต่อวงจรซับซ้อนกว่าแบบอนุกรม
ข. คือการต่อหลอดไฟฟ้าแบบเรียงต่อกัน
ค. เปิดหลอดไฟฟ้าทุกดวงในวงจรได้พร้อมกัน
ง. เมื่อถอดหลอดไฟฟ้าออก 1 ดวง หลอดไฟฟ้าดวงอื่นจะดับด้วย เพราะวงจรไฟฟ้าไม่ครบวงจร
- จากภาพหากถอดหลอดไฟฟ้าออก 1 ดวง หลอดไฟฟ้าดวงที่เหลือจะดับหรือไม่ เพราะอะไร
ก. ดับ เพราะเป็นวงจรปิด
ข. ดับ เพราะต่อแบบอนุกรม
ค. ไม่ดับ เพราะเป็นวงจรเปิดทั้งหมด
ง. ไม่ดับ เพราะต่อแบบขนาน
- การต่อวงจรไฟฟ้าแบบใดที่ทำให้ความต้านทานรวมมีค่าเพิ่มขึ้น
ก. ต่อแบบขนาน
ข. ต่อแบบอนุกรม
ค. ต่อแบบวงจรปิด
ง. ต่อแบบวงจรเปิด
- ถ้าเพิ่มความต่างศักย์ไฟฟ้าในวงจร และความต้านทานของลวดตัวนำในวจร กระแสไฟฟ้าใหม่ที่ไหลในวงจรจะมีค่าอย่างไร
ก. ลดลง
ข. เพิ่มขึ้น
ค. เท่าเดิม
ง. ถูกทุกข้อ
- หากนำผ้าเปียกขัดถูไม้บรรทัดพลาสติกหลายรอบ แล้วนำ ไม้บรรทัดพลาสติกไปจ่อใกล้เศษกระดาษจะเกิดผล อย่างไร
ก. เศษกระดาษปลิวออกห่างไม้บรรทัดพลาสติก
ข. ไม้บรรทัดพลาสติกดูดเศษกระดาษติดทั้งหมด
ค. ไม้บรรทัดพลาสติกดูดเศษกระดาษติดบางส่วน
ง. ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
- จากรูป A B และ C คืออะไร ตามลำดับ
ก. หลอดไฟฟ้า แบตเตอรี่ เซลล์ไฟฟ้า
ข. หลอดไฟฟ้า สายไฟฟ้า เซลล์ไฟฟ้า
ค. หลอดไฟฟ้า เซลล์ไฟฟ้า ถ่านไฟฉาย
ง. เครื่องใช้ไฟฟ้า เซลล์ไฟฟ้า มอเตอร์ไฟฟ้า
- จากภาพข้อ 9. เขียนเป็นแผนภาพวงจรไฟฟ้าอย่างง่าย ได้อย่างไร
ก.
ข.
ค.
ง.
เฉลย 1. ก 2. ข 3. ง 4. ก 5. ง 6. ข 7. ข 8. ง 9. ข 10. ค
คำชี้แจง : ให้ผู้สอนประเมินการปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียนตามรายการที่กำหนด แล้วขีด ü ลงในช่องที่ตรงกับระดับคะแนน
ลำดับที่
รายการประเมิน
ระดับคะแนน
4
3
2
1
1
การปฏิบัติการทำกิจกรรม
2
ความคล่องแคล่วในขณะปฏิบัติกิจกรรม
3
การบันทึก สรุปและนำเสนอผลการทำกิจกรรม
รวม
ลงชื่อ …………………………………………… ผู้ประเมิน
……………../………………/………………
เกณฑ์การประเมินการปฏิบัติกิจกรรม
ประเด็นที่ประเมิน
ระดับคะแนน
4
3
2
1
1. การปฏิบัติกิจกรรม
ทำกิจกรรมตามขั้นตอน และใช้อุปกรณ์ได้อย่างถูกต้อง
ทำกิจกรรมตามขั้นตอน และใช้อุปกรณ์ได้อย่างถูกต้อง แต่อาจต้องได้รับคำแนะนำบ้าง
ต้องให้ความช่วยเหลือบ้างในการทำกิจกรรม และการใช้อุปกรณ์
ต้องให้ความช่วยเหลืออย่างมากในการทำกิจกรรม และการใช้อุปกรณ์
2. ความคล่องแคล่วในขณะปฏิบัติกิจกรรม
มีความคล่องแคล่วในขณะทำกิจกรรมโดยไม่ต้องได้รับคำชี้แนะ และทำกิจกรรมเสร็จทันเวลา
มีความคล่องแคล่วในขณะทำกิจกรรมแต่ต้องได้รับคำแนะนำบ้าง และทำกิจกรรมเสร็จทันเวลา
ขาดความคล่องแคล่วในขณะทำกิจกรรมจึงทำกิจกรรมเสร็จไม่ทันเวลา
ทำกิจกรรมเสร็จไม่ทันเวลา และทำอุปกรณ์เสียหาย
3. การบันทึก สรุปและนำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรม
บันทึกและสรุปผลการทำกิจกรรมได้ถูกต้อง รัดกุม นำเสนอผลการทำกิจกรรมเป็นขั้นตอนชัดเจน
บันทึกและสรุปผลการทำกิจกรรมได้ถูกต้อง แต่การนำเสนอผลการทำกิจกรรมยังไม่เป็นขั้นตอน
ต้องให้คำแนะนำในการบันทึก สรุป และนำเสนอผลการทำกิจกรรม
ต้องให้ความช่วยเหลืออย่างมากในการบันทึก สรุป และนำเสนอผลการทำกิจกรรม
เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ
ช่วงคะแนน
ระดับคุณภาพ
10-12
ดีมาก
7-9
ดี
4-6
พอใช้
0-3
ปรับปรุง
คำชี้แจง : ให้ผู้สอนสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในระหว่างเรียนและนอกเวลาเรียน แล้วขีด üลงในช่องที่
ตรงกับระดับคะแนน
ลำดับที่
รายการประเมิน
ระดับคะแนน
3
2
1
1
ความถูกต้องของเนื้อหา
£
£
£
2
ความคิดสร้างสรรค์
£
£
£
3
วิธีการนำเสนอผลงาน
£
£
£
4
การนำไปใช้ประโยชน์
£
£
£
5
การตรงต่อเวลา
£
£
£
รวม
ลงชื่อ …………………………………………… ผู้ประเมิน
…………/……………../……………….
เกณฑ์การให้คะแนน
ผลงานหรือพฤติกรรมสอดคล้องกับรายการประเมินสมบูรณ์ชัดเจน ให้ 3 คะแนน
ผลงานหรือพฤติกรรมสอดคล้องกับรายการประเมินเป็นส่วนใหญ่ ให้ 2 คะแนน
ผลงานหรือพฤติกรรมสอดคล้องกับรายการประเมินบางส่วน ให้ 1 คะแนน
เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ
ช่วงคะแนน
ระดับคุณภาพ
14–15
ดีมาก
11–13
ดี
8–10
พอใช้
ต่ำกว่า 8
ปรับปรุง
คำชี้แจง : ให้ผู้สอนสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในระหว่างเรียนและนอกเวลาเรียน แล้วขีด üลงในช่องที่
ตรงกับระดับคะแนน
ลำดับที่
รายการประเมิน
ระดับคะแนน
3
2
1
1
การแสดงความคิดเห็น
£
£
£
2
การยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
£
£
£
3
การทำงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
£
£
£
4
ความมีน้ำใจ
£
£
£
5
การตรงต่อเวลา
£
£
£
รวม
ลงชื่อ …………………………………………… ผู้ประเมิน
…………/………………./…………….
เกณฑ์การให้คะแนน
ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมอย่างสม่ำเสมอ ให้ 3 คะแนน
ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมบ่อยครั้ง ให้ 2 คะแนน
ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมบางครั้ง ให้ 1 คะแนน
เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ
ช่วงคะแนน
ระดับคุณภาพ
14–15
ดีมาก
11–13
ดี
8–10
พอใช้
ต่ำกว่า 8
ปรับปรุง
คำชี้แจง : ให้ผู้สอนสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในระหว่างเรียนและนอกเวลาเรียน แล้วขีด üลงในช่องที่
ตรงกับระดับคะแนน
ลำดับที่
ชื่อ–สกุล
ของนักเรียน
การแสดง
ความคิดเห็น
การยอมรับฟังคนอื่น
การทำงาน
ตามที่ได้รับมอบหมาย
ความมีน้ำใจ
การมี
ส่วนร่วมในการปรับปรุง
ผลงานกลุ่ม
รวม
15
คะแนน
3
2
1
3
2
1
3
2
1
3
2
1
3
2
1
ลงชื่อ …………………………………………… ผู้ประเมิน
…………./………………./……………
เกณฑ์การให้คะแนน
ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมอย่างสม่ำเสมอ ให้ 3 คะแนน
ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมบ่อยครั้ง ให้ 2 คะแนน
ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมบางครั้ง ให้ 1 คะแนน
เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ
ช่วงคะแนน
ระดับคุณภาพ
14–15
ดีมาก
11–13
ดี
8–10
พอใช้
ต่ำกว่า 8
ปรับปรุง
คำชี้แจง : ให้ผู้สอนสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในระหว่างเรียนและนอกเวลาเรียน แล้วขีด üลงในช่องที่
ตรงกับระดับคะแนน
คุณลักษณะ
อันพึงประสงค์
รายการประเมิน
ระดับคะแนน
3
2
1
0
8. มีจิตสาธารณะ
8.1 รู้จักการให้เพื่อส่วนรวม และเพื่อผู้อื่น
8.2 แสดงออกถึงการมีน้ำใจหรือการให้ความช่วยเหลือผู้อื่น
8.3 เข้าช่วยเหลือในการสืบค้นข้อมูลหรือแนวทางการกิจกรรม
สรุป
9. มีจิตวิทยาศาสตร์
4.1 ความสนใจการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์
4.2 พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
4.3 ศรัทธาและเห็นคุณค่าและประโยชน์ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4.4 ตั้งใจหรือเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนวิทยาศาสตร์อย่างสนุกสนาน
4.5 เลือกใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการคิดและปฏิบัติ
4.6 ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างมีคุณธรรมโดยใคร่ครวญไตร่ตรองถึงผลดีและผลเสีย
สรุป
ลงชื่อ……………………………………………….ผู้ประเมิน
(……………………………………………..)
เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ
ช่วงคะแนน
ระดับคุณภาพ
22-27
ดีเยี่ยม
16-21
ดี
10-15
ผ่าน
ต่ำกว่า 10
ไม่ผ่าน
ระดับคุณภาพ
ดีเยี่ยม
ดี
ผ่าน
ไม่ผ่าน
คะแนน
3
2
1
0
เกณฑ์การผ่าน ตั้งแต่ระดับคุณภาพดี (2) ขึ้นไป
สรุป ð ผ่าน ð ไม่ผ่าน