เรื่อง การพัฒนาเกมการศึกษา ด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การนับค่าจำนวนของเด็ก ปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลแม่เมาะ ผู้ศึกษา นางวณิชชา ประมาณ ปีการศึกษา 2566 บทคัดย่อ การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาเกมการศึกษา ด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การนับค่าจำนวนของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลแม่เมาะ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์การนับค่าจำนวนของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการทำกิจกรรม และเพื่อให้ทราบถึงความพึงพอใจของเด็กที่มีต่อเกมการศึกษาด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การนับค่าจำนวนของเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นเด็กปฐมวัย อายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3/3 โรงเรียนเทศบาลแม่เมาะ สังกัด กองการศึกษา เทศบาลตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 31 คน โดยการจัดประสบการณ์ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การนับค่าจำนวน บูรณาการเข้ากับหน่วยการเรียนรู้ในกิจกรรมเกมการศึกษาให้เด็กทำกิจกรรมเกมการศึกษา จำนวน 10 หน่วย เป็นเวลา 10 สัปดาห์สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ 1) เกมการศึกษาด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การนับค่าจำนวนของเด็กปฐมวัย เป็นการนับค่าจำนวน 1-20 ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น จำนวน 30 เกม 2) แผนการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การนับค่าจำนวนของเด็กปฐมวัย จำนวน 30 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เกมการศึกษาด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การนับค่าจำนวนของเด็กปฐมวัย แบบปรนัย จำนวน 30 ข้อ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของเด็กที่ทำกิจกรรมโดยใช้เกมการศึกษาด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การนับค่าจำนวนของเด็กปฐมวัย จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ในครั้งนี้ ได้แก่ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ สถิติ t-test แบบ dependent ผลการศึกษาพบว่า 1. การหาประสิทธิภาพของเกมการศึกษา ด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การนับค่าจำนวนของเด็กปฐมวัย พบว่า ประสิทธิภาพของเกมการศึกษา ด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การนับค่าจำนวนของเด็กปฐมวัย มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.60/85.62 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2. ความสามารถด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การนับค่าจำนวนของเด็กปฐมวัย หลังการทำกิจกรรม สูงกว่าก่อนทำกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ศึกษาความพึงพอใจของเด็กที่มีต่อการทำกิจกรรมเกมการศึกษา ด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การนับค่าจำนวนของเด็กปฐมวัย พบว่า โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ยรวมทุกด้านเท่ากับ 2.98 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.15

กระดานสนทนา เผยแพร่ผลงานวิชาการหมวดหมู่: เผยแพร่ผลงานวิชาการเรื่อง การพัฒนาเกมการศึกษา ด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การนับค่าจำนวนของเด็ก ปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลแม่เมาะ ผู้ศึกษา นางวณิชชา ประมาณ ปีการศึกษา 2566 บทคัดย่อ การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาเกมการศึกษา ด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การนับค่าจำนวนของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลแม่เมาะ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์การนับค่าจำนวนของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการทำกิจกรรม และเพื่อให้ทราบถึงความพึงพอใจของเด็กที่มีต่อเกมการศึกษาด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การนับค่าจำนวนของเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นเด็กปฐมวัย อายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3/3 โรงเรียนเทศบาลแม่เมาะ สังกัด กองการศึกษา เทศบาลตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 31 คน โดยการจัดประสบการณ์ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การนับค่าจำนวน บูรณาการเข้ากับหน่วยการเรียนรู้ในกิจกรรมเกมการศึกษาให้เด็กทำกิจกรรมเกมการศึกษา จำนวน 10 หน่วย เป็นเวลา 10 สัปดาห์สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ 1) เกมการศึกษาด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การนับค่าจำนวนของเด็กปฐมวัย เป็นการนับค่าจำนวน 1-20 ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น จำนวน 30 เกม 2) แผนการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การนับค่าจำนวนของเด็กปฐมวัย จำนวน 30 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เกมการศึกษาด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การนับค่าจำนวนของเด็กปฐมวัย แบบปรนัย จำนวน 30 ข้อ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของเด็กที่ทำกิจกรรมโดยใช้เกมการศึกษาด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การนับค่าจำนวนของเด็กปฐมวัย จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ในครั้งนี้ ได้แก่ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ สถิติ t-test แบบ dependent ผลการศึกษาพบว่า 1. การหาประสิทธิภาพของเกมการศึกษา ด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การนับค่าจำนวนของเด็กปฐมวัย พบว่า ประสิทธิภาพของเกมการศึกษา ด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การนับค่าจำนวนของเด็กปฐมวัย มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.60/85.62 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2. ความสามารถด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การนับค่าจำนวนของเด็กปฐมวัย หลังการทำกิจกรรม สูงกว่าก่อนทำกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ศึกษาความพึงพอใจของเด็กที่มีต่อการทำกิจกรรมเกมการศึกษา ด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การนับค่าจำนวนของเด็กปฐมวัย พบว่า โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ยรวมทุกด้านเท่ากับ 2.98 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.15
Wanitcha asked 8 เดือน ago

เรื่อง                     การพัฒนาเกมการศึกษา ด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การนับค่าจำนวนของเด็ก
ปฐมวัย   ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลแม่เมาะ
ผู้ศึกษา                 นางวณิชชา   ประมาณ
ปีการศึกษา          2566
 
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาเกมการศึกษา ด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การนับค่าจำนวนของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลแม่เมาะ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์การนับค่าจำนวนของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการทำกิจกรรม  และเพื่อให้ทราบถึงความพึงพอใจของเด็กที่มีต่อเกมการศึกษาด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การนับค่าจำนวนของเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นเด็กปฐมวัย อายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3/3 โรงเรียนเทศบาลแม่เมาะ สังกัด กองการศึกษา เทศบาลตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน  31  คน โดยการจัดประสบการณ์ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การนับค่าจำนวน บูรณาการเข้ากับหน่วยการเรียนรู้ในกิจกรรมเกมการศึกษาให้เด็กทำกิจกรรมเกมการศึกษา จำนวน 10 หน่วย เป็นเวลา 10 สัปดาห์สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ 1) เกมการศึกษาด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การนับค่าจำนวนของเด็กปฐมวัย เป็นการนับค่าจำนวน 1-20 ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น จำนวน  30  เกม 2) แผนการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การนับค่าจำนวนของเด็กปฐมวัย จำนวน 30 แผน       3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เกมการศึกษาด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การนับค่าจำนวนของเด็กปฐมวัย แบบปรนัย  จำนวน  30 ข้อ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของเด็กที่ทำกิจกรรมโดยใช้เกมการศึกษาด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การนับค่าจำนวนของเด็กปฐมวัย จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ในครั้งนี้ ได้แก่ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ สถิติ t-test แบบ dependent
ผลการศึกษาพบว่า

  1. การหาประสิทธิภาพของเกมการศึกษา ด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การนับค่าจำนวนของเด็กปฐมวัย พบว่า ประสิทธิภาพของเกมการศึกษา ด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การนับค่าจำนวนของเด็กปฐมวัย มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.60/85.62 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
  2. ความสามารถด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การนับค่าจำนวนของเด็กปฐมวัย หลังการทำกิจกรรม สูงกว่าก่อนทำกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  3. ศึกษาความพึงพอใจของเด็กที่มีต่อการทำกิจกรรมเกมการศึกษา ด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การนับค่าจำนวนของเด็กปฐมวัย พบว่า โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ยรวมทุกด้านเท่ากับ 2.98 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.15

 

Powered by GliaStudio
Back to top button