แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ(Best Practice) ที่สอดคล้องกับการขับเคลื่อนนโยบายด้านการศึกษาสู่การปฏิบัติ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน "โรงเรียนแห่งความสุข โดยใช้ SUKJAI Model"
พระบรมราโชบายด้านการศึกษา พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่นักเรียน 4 ด้าน คือ 1) มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง 2) มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคงมีคุณธรรม 3) มีงานทำมีอาชีพ และ4) เป็นพลเมืองดีนอกจากนี้แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561 – 2580 ที่มีเป้าหมายในการพัฒนาคนในทุกมิติและ ในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี เก่ง และมีคุณภาพ มีพัฒนาการ สมรรถนะ และคุณลักษณะที่ดีสมวัย ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม เสริมสร้างจิตสาธารณะ และการเป็นพลเมืองที่ดีแก่นักเรียนปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 สร้างโอกาสและความเสมอภาค ในการเข้าถึงการศึกษาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างการเติบโตบนคุณภาพ ชีวิตที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม ตลอดจนเสริมสร้างความจงรักภักดีต่อสถาบันหลักของชาติ และต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ รวมไปถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566 – 2570 ที่มีเป้าหมายการพัฒนาโดยเฉพาะหมุดหมายที่ 12 ไทยมีกำลังคนสมรรถนะสูง มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตอบโจทย์การพัฒนาแห่งอนาคตแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2567 – 2570 สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานปี พ.ศ. 2567 กำหนดให้ผู้เรียนมีความรู้และสมรรถนะที่จำเป็น มีความสุขและมีเป้าหมายได้รับการพัฒนาอย่างมีคุณภาพเพื่อพัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพ
นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ มีกรอบทิศทางในการจัดการศึกษาให้คนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงโอกาสและ ความเสมอภาคในการศึกษาที่มีคุณภาพ พัฒนาประเทศพัฒนากำลังคนให้มีสมรรถนะในการทำงานสอดคล้องกับความต้องการของตลาดงาน และการพัฒนาให้นักเรียนทุกกลุ่มทุกช่วงวัยได้รับการศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานมีทักษะที่จำเป็นของโลกในอนาคต สามารถแก้ปัญหา
ปรับตัว และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิผล มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งเป็นพลเมืองที่รู้สิทธิและหน้าที่มีความรับผิดชอบ และมีจิตสาธารณะ โดยมีกลุ่มเป้าหมายตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในกลุ่มเด็กทั่วไป เด็กด้อยโอกาส เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ เด็กที่มีความสามารถพิเศษ เด็กที่มีความพร้อมสูง และเด็กที่มีเป้าหมายพิเศษ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนทุกกลุ่มทุกพื้นที่และทุกระดับการศึกษา สามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพในรูปแบบที่เหมาะสม ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพเท่าเทียมกัน มีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ สนับสนุนการสร้างโอกาสคุณภาพ และความเป็นธรรมในสังคม เป็นการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ต้องจัดให้เกิดความเสมอภาคทุกพื้นที่ แต่ระบบการศึกษานั้น กลับมีความเหลื่อมล้ำของกลุ่มนักเรียนอยู่ในตัว โดยกลุ่มนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มผู้ด้อยโอกาส กลุ่มที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร การลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาจึงต้องคำนึงถึงการสร้างโอกาสทางการศึกษาลงไปถึงสถานศึกษาในทุกกลุ่ม ทุกพื้นที่โดยเฉพาะ
โรงเรียนดอยเวียงผาพิทยาตั้งในพื้นที่ลักษณะพิเศษที่มีข้อจำกัดทางด้านภูมิศาสตร์ตลอดจนสภาพแวดล้อมต่าง ๆ
ที่มีความซับซ้อน เป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่สูงทุรกันดาร การเดินทางลำบาก ผู้เรียนเป็นชาวไทยภูเขาคิดเป็นร้อยละ 100
มีชนเผ่าอาข่า ลาหู่ ปากะญอ ไทลื้อและกะเหรี่ยง จึงทำให้มีความหลากหลายทางวัฒนาธรรมและภาษา ใช้ภาษาท้องถิ่น
ในการติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน ผู้ปกครองส่วนมากมีฐานะยากยน และประกอบอาชีพเกษตรกร โรงเรียนดอยเวียงผาพิทยา จึงได้วิเคราะห์สภาพปัญหา และความต้องการพัฒนาคุณภาพการศึกษา สรุปได้ดังนี้ 1. การพัฒนาทักษะวิชาการ
2. การพัฒนาทักษะชีวิต 3. การพัฒนาทักษะอาชีพ
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ประกาศนโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2567 -2568 จำนวน 10 ด้าน การดำเนินการตามนโนบายแลจุดเน้นโรงเรียนดอยเวียงผาพิทยาจึงได้มีการขับเคลื่อนที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และบริบทของโรงเรียนที่สำคัญ ได้แก่ ส่งเสริมการอ่าน เพื่อเป็นวิถีในการค้นหาความรู้และต่อยอดองค์ความรู้ที่สูงขึ้นโดยส่งเสริมการอ่านเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตและพัฒนาความสามารถด้านการอ่านตามแนวทางการประเมิน PISA การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับSoft power อย่างสร้างสรรค์ และการฝึกอาชีพที่หลากหลายเหมาะสมตามศักยภาพเพื่อให้มีทักษะ ในการดำเนินชีวิต สามารถพึ่งตนเองได้ ตามนโยบาย Learn to earn การสร้างรายได้ระหว่างเรียน การพัฒนาโรงเรียนคุณภาพ การพัฒนาสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนรวมถึงการดำเนินโครงการสุขาดีมีสุข มีนวัตกรรมในการขับเคลื่อนการบริหารงานสถานศึกษาเพื่อขับเคลื่อนให้โรงเรียนเป็นแห่งความสุขที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในทุกรูปแบบที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน