แผนการจัดการเรียนรู้ แบบ PBL หน่วยความปลอดภัยในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดไชยมงคล

กระดานสนทนา เผยแพร่ผลงานวิชาการหมวดหมู่: เผยแพร่ผลงานวิชาการแผนการจัดการเรียนรู้ แบบ PBL หน่วยความปลอดภัยในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดไชยมงคล

แผนการจัดการเรียนรู้ 3
รายวิชา เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ)
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
ชื่อหน่วย ความปลอดภัยในการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 การใช้งานสารสนเทศ
การเรียนการสอนแบบ PBL (Project Based Learning)
หัวข้อ ความปลอดภัยในการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
นางสาวชุลีพร ป้อมมงกุฎ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
เวลา 2 ชั่วโมง
เวลา 3 ชั่วโมง
โรงเรียนวัดไชยมงคล
1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
สาระที่ 4 เทคโนโลยี
มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอนและ
เป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ การทำงาน และการแก้ปัญหา
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทันและมีจริยธรรม
ตัวชี้วัด ป.6/4 สำรวจการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย เข้าใจสิทธิและหน้าที่ของตนเคารพ
ในสิทธิของผู้อื่น แจ้งผู้เกี่ยวข้องเมื่อพบข้อมูลหรือบุคคลที่ไม่เหมาะสม
2. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. ตั้งประเด็นคำถามที่น่าสนใจ (K)
2. สืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้และสารสนเทศได้ (P, A)
3. สรุปองค์ความรู้ได้ (K, P)
4. สื่อสารและนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพได้ (P)
3. สาระสำคัญ / ความคิดรวบยอด
การสำรวจการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต ในรูปแบบต่าง ๆ และแนวทางในการ
ป้องกันอันตรายจากการใช้งานอินเตอร์เน็ต ซึ ่งรวมถึงการกำหนดรหัสผ่าน และการกำหนดสิทธิ ์ในการใช้งาน
รวมทั้งอันตรายจากการติดตั้งซอฟแวร์ และแนวทางในการตรวจสอบและป้องกันมัลแวร์ นั้นจะสามารถสำรวจได้ก็
ต่อเมื ่อ ตั ้งประเด็นคำถาม สืบค้นรวบรวมข้อมูล ตีความประเมินหลักฐาน วิเคราะห์ สังเคราะห์จัดหมวดหมู่ข้อมูล
และการนำเสนอ
4. สาระการเรียนรู้
1. การทำโครงงาน ความรู้เรื่องการทำงาน
2. การเลือกเรื่องที่ศึกษา
3. การตั้งชื่อเรื่องของโครงงานการทำโครงงาน
4. การนำเสนอโครงงาน
4

5. ทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ในศตวรรษที่21 ( 3R 8C )
 Reading (อ่านออก)
 (W) Riting (เขียนได้)
 (A) Rithemetics (คิดเลขเป็น)
 ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ไขปัญหา
(Critical Thinking and Problem Solving)
 ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม (Creativity and Innovation)
 ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (Cross-cultural Understanding)
 ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ
(Collaboration, Teamwork and Leadership)
 ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ
(Communications, Information, and Media Literacy )
 ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing and ICT Literacy)
 ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้ (Career and Learning)
 ทักษะการเปลี่ยนแปลง (Change)
6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
 รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ซื่อสัตย์ สุจริต
 มีวินัย ใฝ่เรียนรู้
 อยู่อย่างพอเพียง  มุ่งมั่นในการทำงาน
รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ

7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมง 1
ขั้นนำ / ขั้นเตรียมการ (P-Preparation)
1. ครูนำนักเรียนสนทนา ความรู้เรื่อง อันตรายจากการใช้งานอินเตอร์เน็ต โดยเปิดวีดิทัศน์ ”เจ๊ดาตลาดแตก”
https://youtu.be/ZtY0aU8JKB0 หรือสื่ออื่นที่นำเสนอปัญหา อันตรายจากการใช้งานอินเตอร์เน็ต ให้นักเรียนดู
และตั้งคำถามเพื่อให้เด็กร่วมกันแสดงความเห็นและบันทึกลงสมุด ตามหัวข้อดังนี้
1) ปัญหา อันตรายจากการใช้งานอินเตอร์เน็ตจากวีดิทัศน์คืออะไร
2) สาเหตุของปัญหา อันตรายจากการใช้งานอินเตอร์เน็ตจากวีดิทัศน์คืออะไร
2. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้

5

ขั้นสอน / ขั้นปฏิบัติ (A-Action)
1. แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็นกลุ่มๆละ 4-5 คน เพื่อให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม การเรียน
การสอนตามความสมัครใจ
2. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันตั้งคำถาม ว่ากลุ่มของตนต้องการศึกษาเรื่องการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
เรื่องไหน
3. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มเขียนคำถามลงในกระดาษบรุ๊ฟแล้วนำเสนอหน้าชั้นเรียน
3.1 หัวข้อ ประเด็นคำถามที่สนใจ เช่น คุณตั้งรหัสผ่านเข้าใช้คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แอปพลิเคชั่นหรือไม่?
คุณเคยใช้บัญชีร่วมกับผู้อื่นหรือไม่? คุณเคยเข้าชมเว๊ปไซต์พนัน,ลามก หรือไม่? โดยครูให้เลือก 3 ปัญหา
ปัญหาที่คิดว่ามีความสำคัญ หรืออันตรายมากที่สุด วิเคราะห์สาเหตุของปัญหานั้น ๆ พร้อมทั้งหาแนวทาง
การป้องกันหรือแก้ไข
3.2 การสรุปองค์ความรู้ เช่น การตั้งรหัสผ่าน การเข้าเว๊ปไซต์อันตราย การติดตั้งซอฟต์แวร์หรือดาวน์โหลด
จากเว๊ปไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ
4. การนำเสนอด้วยวิธีใด/อย่างไร จัดรูปแบบการนำเสนอ
ขั้นสรุป / ขั้นสะท้อนคิด (R-Reflection)
1. ครูและนักเรียนช่วยกันอภิปรายเกี่ยวกับ การตั้งประเด็นคำถาม วิธีการสำรวจ การรวบรวมข้อมูล วิธีการ
สรุป องค์ความรู้โดยใช้ศาสตร์ความรู้วิชาต่างๆ วิธีนำเสนอข้อมูล นัดแนะให้นักเรียนส่งเค้าโครง นำเสนอเค้าโครง
(ในชั่วโมงที่ 2)

ชั่วโมงที่ 2
ขั้นนำ / ขั้นเตรียมการ (P-Preparation)
1. ครูสนทนากับนักเรียนถึงความพร้อมในการนำเสนอ
2. ครูแจ้งเกณฑ์การให้คะแน
ขั้นสอน / ขั้นปฏิบัติ (A-Action)
3. นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งเค้าโครงและนำเสนอหน้าชั้นเรียน
4. ครูสรุปประเด็นที่นักเรียนนำเสนอ ให้คำเสนอแนะ เพื่อการปรับปรุงแก้ไข
ขั้นสรุป / ขั้นสะท้อนคิด (R-Reflection)
1. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปประเด็นของเค้าโครงที่นักเรียนนำเสนอ พร้อมทั้งข้อเสนอแนะ
2. นัดแนะให้นักเรียนส่งรูปเล่มสมบูรณ์ และการนำเสนอ (ในชั่วโมงที่ 3)

ชั่วโมงที่ 3
ขั้นนำ / ขั้นเตรียมการ (P-Preparation)
1. ครูสนทนากับนักเรียนถึงความพร้อมในการนำเสนอ
2. ครูแจ้งเกณฑ์การให้คะแนน
6
ขั้นสอน / ขั้นปฏิบัติ (A-Action)
1. นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งรูปเล่มและนำเสนอหน้าชั้นเรียน
2. ครูสรุปประเด็นที่นักเรียนนำเสนอ ให้คำเสนอแนะ
ขั้นสรุป / ขั้นสะท้อนคิด (R-Reflection)
1. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปประเด็นของเรื่องที่นักเรียนนำเสนอ
8. สื่อเอกสาร / นวัตกรรม /และแหล่งเรียนรู้
1. ตัวอย่างการศึกษาค้นคว้า เรื่องต่างๆ (ในอินเทอร์เน็ต)
2. สภาพแวดล้อม แหล่งเรียนรู้ในชุมชน
3. , https://chatgpt.ai , https://gemini.google.com
9. การวัดผลประเมินผล
1. วิธีวัดและประเมินผล – สังเกตพฤติกรรมรายบุคคลจากการร่วมกิจกรรมการเรียน ตามเกณฑ์การให้คะแนน – ตรวจชิ้นงานผลงานที่นักเรียนตั้งคำถาม การนำเสนอหน้าชั้น – ตรวจชิ้นงานจากผลงานเป็นรูปเล่ม และการนำเสนอ
2. เครื่องมือการประเมิน – แบบประเมินการให้คะแนน – เกณฑ์การให้คะแนน
3. เกณฑ์การประเมิน

Powered by GliaStudio
Back to top button