แผนการสอนวิทย์ป.4
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ รายวิชา วิทยาศาสตร์ รหัสวิชา ว14101 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 เรื่อง ปฐมนิเทศและข้อตกลงในการเรียน เวลา 1 ชั่วโมง ครูผู้สอน นางชรินทร์ทิพย์ เจริญทอง มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด – จุดประสงค์การเรียนรู้ (ความรู้, ทักษะ, เจตคติ) มีความรู้ความเข้าใจแนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ และการวัดและประเมินผลวิชาวิทยาศาสตร์ ชี้แจงเจตคติที่มีต่อวิทยาศาสตร์ได้ สื่อสารและนำความรู้ความเข้าใจเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ สาระสำคัญ การปฐมนิเทศเป็นการสร้างความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างครูกับนักเรียน เป็นการตกลงกันในเบื้องต้นก่อนที่จะเริ่มการเรียนการสอน ครูได้รู้จักนักเรียนดียิ่งขึ้น รับทราบความต้องการ ความรู้สึก และเจตคติต่อวิชาที่เรียน ในขณะเดียวกันนักเรียนได้ทราบความต้องการของครู แนวทางในการจัดการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล สิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวจะนำไปสู่การเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ครูสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม ช่วยให้นักเรียนคลายความวิตกกังวล สามารถเรียนได้อย่างมีความสุข อันจะส่งผลให้นักเรียนประสบความสำเร็จบรรลุตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ สาระการเรียนรู้ การปฐมนิเทศ – แนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ – เจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ – การวัดและประเมินผลวิชาวิทยาศาสตร์ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน ชิ้นงานหรือภาระงาน – กิจกรรมการเรียนรู้ แนวคิด/รูปแบบการสอน/วิธีการสอน/เทคนิค : สืบเสาะหาความรู้ (5Es Instructional Model) โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดำเนินการเรียนการสอนดังต่อไปนี้ – แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ – นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน โดยใช้ข้อทดสอบแบบปรนัย จำนวน 10 ข้อ พร้อมเฉลย ขั้นสร้างความสนใจ (engagement) ครูแนะนำตนเองแล้วให้นักเรียนในห้องเรียนแนะนำตนเองทุกคน ครูอาจให้นักเรียนแนะนำทีละกลุ่มตัวอักษร หรือตามลำดับหมายเลขประจำตัว หรือตามแถวที่นั่ง ตามความเหมาะสม ขั้นสำรวจและค้นหา(exploration) ครูอธิบายข้อตกลงในการเรียนรายวิชาพื้นฐาน รวมถึงคำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน โครงสร้างรายวิชาพื้นฐาน และเนื้อหาที่ต้องเรียนรู้ในรายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ว่ามีอะไรบ้าง ครูถามความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์ของนักวิทยาศาสตร์ว่า สิ่งประดิษฐ์ที่นักเรียนใช้อยู่ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง แล้วให้นักเรียนอภิปรายร่วมกันว่า สิ่งประดิษฐ์ดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างไร ให้นักเรียนอภิปรายร่วมกันว่า การเรียนด้วยวิธีการ ให้นักเรียนค้นคว้าด้วยตนเอง จากการทดลองและปฏิบัติจริงเหมือนนักวิทยาศาสตร์ นักเรียนคิดว่ามีประโยชน์หรือไม่ ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนซักถามปัญหาเพื่อทำความเข้าใจร่วมกัน ครูแนะนำวิธีการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ว่านักเรียนมีวิธีการเรียนรู้หลายแบบ เช่น – ลงมือปฏิบัติกิจกรรมที่บ้านและที่โรงเรียน – ค้นข้อมูลจากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ – อภิปรายกลุ่มย่อย – แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ครูถามความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ว่า การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ให้ประสบความสำเร็จต้องมีลักษณะนิสัยอย่างไร ครูให้นักเรียนร่วมกันตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น (แนวคำตอบ 1. ช่างสังเกต เพราะการสังเกตทำให้ค้นพบสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งนำไปสู่การค้นพบความรู้ใหม่ 2. อยากรู้อยากเห็น เพราะการเป็นคนอยากรู้อยากเห็น ช่างคิดช่างสงสัย มักคิดตั้งคำถามเพื่อค้นหาคำตอบ ลักษณะนิสัยแบบนี้นำไปสู่การค้นพบความรู้ใหม่เสมอ 3. มีเหตุผล เพราะความรู้ทางวิทยาศาสตร์ต้องอธิบายด้วยเหตุและผล เมื่อได้ความรู้ใหม่ต้องอธิบายได้ว่าผลที่ได้เกิดจากสาเหตุใด เมื่อทราบสาเหตุแล้วก็อธิบายได้ว่าผลเป็นอย่างไรโดยเชื่อในหลักฐานที่สนับสนุน 4. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เพราะผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เป็นผู้ที่อยากคิดอยากทำในสิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ ซึ่งนำไปสู่การค้นพบความรู้ใหม่ได้ 5. มีความพยายามและความอดทน เพราะผลของคำตอบไม่ใช่ได้มาโดยการค้นคว้าและทดลองเพียงครั้งเดียว แต่ต้องใช้ความพยายามและความอดทนในการผ่านอุปสรรคต่าง ๆ เพื่อให้ได้คำตอบ) ครูแนะนำวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน ซึ่งมีอัตราส่วนคะแนน ดังนี้ (1) การวัดและประเมินผลด้านความรู้ (K) 60 คะแนน สอบกลางปี (ตามกำหนดการของโรงเรียน) 30 คะแนน สอบปลายปี (ตามกำหนดการของโรงเรียน) 30 คะแนน (2) การวัดและประเมินผลด้านทักษะ/กระบวนการ (P) 30 คะแนน – การประเมินการสังเกต – การประเมินการสำรวจ – การประเมินการสืบค้นข้อมูล – การประเมินโครงงานวิทยาศาสตร์ – การประเมินแฟ้มสะสมผลงาน – การประเมินด้านทักษะ/กระบวนการ – การประเมินด้านสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน (3) การวัดและประเมินผลด้านคุณธรรม จริยธรรมและจิตวิทยาศาสตร์ (A) 10 คะแนน – การประเมินด้านเจตคติทางวิทยาศาสตร์ 10 คะแนน คะแนนรวม 100 คะแนน ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (explanation) 1. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ และการวัดและประเมินผลวิชาวิทยาศาสตร์ 2. ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเนื้อหาของบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อจัดการเรียนรู้ครั้งต่อไป โดยให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าล่วงหน้าในหัวข้อสมบัติของวัสดุ โดยใช้ใบงาน สังเกตก่อนเรียน 1 ที่ครูจัดเตรียมไว้ให้ประกอบการศึกษาค้นคว้า 3. ครูอธิบายขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรมและมอบหมายให้นักเรียนไปปฏิบัติกิจกรรมที่บ้าน พร้อมทั้งให้นักเรียนเตรียมประเด็นคำถามที่สงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คำถาม เพื่อนำมาอภิปรายร่วมกันในห้องเรียนครั้งต่อไป กระบวนการวัดและประเมินผล การประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนทำได้ ดังนี้ ประเมินความรู้เดิมจากการอภิปรายในชั้นเรียน ประเมินการเรียนรู้จากคำตอบของนักเรียนระหว่างการจัดการเรียนรู้และจากแบบบันทึกกิจกรรม ประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จากการทำกิจกรรมของนักเรียน การประเมินจากการทำกิจกรรม ระดับคะแนน 3 คะแนน หมายถึง ดี 2 คะแนน หมายถึง พอใช้ 1 คะแนน หมายถึง ควรปรับปรุง รหัส สิ่งที่ประเมิน ระดับคะแนน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ S1 การสังเกต S8 การลงความเห็นจากข้อมูล S13 การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 C4 การสื่อสาร C5 ความร่วมมือ เกณฑ์การประเมินผลแบบทดสอบ ประเด็นการประเมิน ระดับคุณภาพ ร้อยละ 80 – 100 ร้อยละ 60 – 79 ร้อยละ 40 – 59 ร้อยละ 10 – 39 แบบทดสอบ ทำถูกต้อง 8 – 10 ข้อ ทำถูกต้อง 6 – 7 ข้อ ทำถูกต้อง 4 – 5 ข้อ ทำถูกต้อง 1 – 3 ข้อ เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ ระดับคะแนน 8 – 10 ระดับคุณภาพ ร้อยละ 80 – 100 ระดับคะแนน 6 – 7 ระดับคุณภาพ ร้อยละ 60 – 79 ระดับคะแนน 4 – 5 ระดับคุณภาพ ร้อยละ 40 – 59 ระดับคะแนน 1 – 3 ระดับคุณภาพ ร้อยละ 10 – 39 เกณฑ์การผ่าน ตั้งแต่ระดับคุณภาพร้อยละ 80 ขึ้นไป สรุป ผ่าน ไม่ผ่าน 8. สื่อ / แหล่งเรียนรู้ หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ป. 4 สสวท. แบบบันทึกกิจกรรม อินเตอร์เน็ต ห้องสมุด 11. ข้อเสนอแนะของผู้บริหารสถานศึกษา ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………. ลงชื่อ………………………………………….. ( ) ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน วันที่……..เดือน……………พ.ศ. ……….. บันทึกผลหลังการสอน ผลการจัดการเรียนการสอน ปัญหา/อุปสรรค แนวทางแก้ไข ลงชื่อ…………………………………………..ครูผู้สอน ( นางชรินทร์ทิพย์ เจริญทอง ) ตำแหน่ง ครูผู้สอน วันที่……..เดือน……………พ.ศ. ……….. แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ รายวิชา วิทยาศาสตร์ รหัสวิชา ว14101 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 เรื่อง ปฐมนิเทศและข้อตกลงในการเรียน เวลา 1 ชั่วโมง ครูผู้สอน นางชรินทร์ทิพย์ เจริญทอง มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด – จุดประสงค์การเรียนรู้ (ความรู้, ทักษะ, เจตคติ) มีความรู้ความเข้าใจแนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ และการวัดและประเมินผลวิชาวิทยาศาสตร์ ชี้แจงเจตคติที่มีต่อวิทยาศาสตร์ได้ สื่อสารและนำความรู้ความเข้าใจเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ สาระสำคัญ การปฐมนิเทศเป็นการสร้างความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างครูกับนักเรียน เป็นการตกลงกันในเบื้องต้นก่อนที่จะเริ่มการเรียนการสอน ครูได้รู้จักนักเรียนดียิ่งขึ้น รับทราบความต้องการ ความรู้สึก และเจตคติต่อวิชาที่เรียน ในขณะเดียวกันนักเรียนได้ทราบความต้องการของครู แนวทางในการจัดการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล สิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวจะนำไปสู่การเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ครูสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม ช่วยให้นักเรียนคลายความวิตกกังวล สามารถเรียนได้อย่างมีความสุข อันจะส่งผลให้นักเรียนประสบความสำเร็จบรรลุตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ สาระการเรียนรู้ การปฐมนิเทศ – แนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ – เจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ – การวัดและประเมินผลวิชาวิทยาศาสตร์ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน ชิ้นงานหรือภาระงาน – กิจกรรมการเรียนรู้ แนวคิด/รูปแบบการสอน/วิธีการสอน/เทคนิค : สืบเสาะหาความรู้ (5Es Instructional Model) โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดำเนินการเรียนการสอนดังต่อไปนี้ – แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ – นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน โดยใช้ข้อทดสอบแบบปรนัย จำนวน 10 ข้อ พร้อมเฉลย ขั้นสร้างความสนใจ (engagement) ครูแนะนำตนเองแล้วให้นักเรียนในห้องเรียนแนะนำตนเองทุกคน ครูอาจให้นักเรียนแนะนำทีละกลุ่มตัวอักษร หรือตามลำดับหมายเลขประจำตัว หรือตามแถวที่นั่ง ตามความเหมาะสม ขั้นสำรวจและค้นหา(exploration) ครูอธิบายข้อตกลงในการเรียนรายวิชาพื้นฐาน รวมถึงคำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน โครงสร้างรายวิชาพื้นฐาน และเนื้อหาที่ต้องเรียนรู้ในรายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ว่ามีอะไรบ้าง ครูถามความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์ของนักวิทยาศาสตร์ว่า สิ่งประดิษฐ์ที่นักเรียนใช้อยู่ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง แล้วให้นักเรียนอภิปรายร่วมกันว่า สิ่งประดิษฐ์ดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างไร ให้นักเรียนอภิปรายร่วมกันว่า การเรียนด้วยวิธีการ ให้นักเรียนค้นคว้าด้วยตนเอง จากการทดลองและปฏิบัติจริงเหมือนนักวิทยาศาสตร์ นักเรียนคิดว่ามีประโยชน์หรือไม่ ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนซักถามปัญหาเพื่อทำความเข้าใจร่วมกัน ครูแนะนำวิธีการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ว่านักเรียนมีวิธีการเรียนรู้หลายแบบ เช่น – ลงมือปฏิบัติกิจกรรมที่บ้านและที่โรงเรียน – ค้นข้อมูลจากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ – อภิปรายกลุ่มย่อย – แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ครูถามความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ว่า การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ให้ประสบความสำเร็จต้องมีลักษณะนิสัยอย่างไร ครูให้นักเรียนร่วมกันตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น (แนวคำตอบ 1. ช่างสังเกต เพราะการสังเกตทำให้ค้นพบสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งนำไปสู่การค้นพบความรู้ใหม่ 2. อยากรู้อยากเห็น เพราะการเป็นคนอยากรู้อยากเห็น ช่างคิดช่างสงสัย มักคิดตั้งคำถามเพื่อค้นหาคำตอบ ลักษณะนิสัยแบบนี้นำไปสู่การค้นพบความรู้ใหม่เสมอ 3. มีเหตุผล เพราะความรู้ทางวิทยาศาสตร์ต้องอธิบายด้วยเหตุและผล เมื่อได้ความรู้ใหม่ต้องอธิบายได้ว่าผลที่ได้เกิดจากสาเหตุใด เมื่อทราบสาเหตุแล้วก็อธิบายได้ว่าผลเป็นอย่างไรโดยเชื่อในหลักฐานที่สนับสนุน 4. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เพราะผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เป็นผู้ที่อยากคิดอยากทำในสิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ ซึ่งนำไปสู่การค้นพบความรู้ใหม่ได้ 5. มีความพยายามและความอดทน เพราะผลของคำตอบไม่ใช่ได้มาโดยการค้นคว้าและทดลองเพียงครั้งเดียว แต่ต้องใช้ความพยายามและความอดทนในการผ่านอุปสรรคต่าง ๆ เพื่อให้ได้คำตอบ) ครูแนะนำวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน ซึ่งมีอัตราส่วนคะแนน ดังนี้ (1) การวัดและประเมินผลด้านความรู้ (K) 60 คะแนน สอบกลางปี (ตามกำหนดการของโรงเรียน) 30 คะแนน สอบปลายปี (ตามกำหนดการของโรงเรียน) 30 คะแนน (2) การวัดและประเมินผลด้านทักษะ/กระบวนการ (P) 30 คะแนน – การประเมินการสังเกต – การประเมินการสำรวจ – การประเมินการสืบค้นข้อมูล – การประเมินโครงงานวิทยาศาสตร์ – การประเมินแฟ้มสะสมผลงาน – การประเมินด้านทักษะ/กระบวนการ – การประเมินด้านสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน (3) การวัดและประเมินผลด้านคุณธรรม จริยธรรมและจิตวิทยาศาสตร์ (A) 10 คะแนน – การประเมินด้านเจตคติทางวิทยาศาสตร์ 10 คะแนน คะแนนรวม 100 คะแนน ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (explanation) 1. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ และการวัดและประเมินผลวิชาวิทยาศาสตร์ 2. ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเนื้อหาของบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อจัดการเรียนรู้ครั้งต่อไป โดยให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าล่วงหน้าในหัวข้อสมบัติของวัสดุ โดยใช้ใบงาน สังเกตก่อนเรียน 1 ที่ครูจัดเตรียมไว้ให้ประกอบการศึกษาค้นคว้า 3. ครูอธิบายขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรมและมอบหมายให้นักเรียนไปปฏิบัติกิจกรรมที่บ้าน พร้อมทั้งให้นักเรียนเตรียมประเด็นคำถามที่สงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คำถาม เพื่อนำมาอภิปรายร่วมกันในห้องเรียนครั้งต่อไป กระบวนการวัดและประเมินผล การประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนทำได้ ดังนี้ ประเมินความรู้เดิมจากการอภิปรายในชั้นเรียน ประเมินการเรียนรู้จากคำตอบของนักเรียนระหว่างการจัดการเรียนรู้และจากแบบบันทึกกิจกรรม ประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จากการทำกิจกรรมของนักเรียน การประเมินจากการทำกิจกรรม ระดับคะแนน 3 คะแนน หมายถึง ดี 2 คะแนน หมายถึง พอใช้ 1 คะแนน หมายถึง ควรปรับปรุง รหัส สิ่งที่ประเมิน ระดับคะแนน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ S1 การสังเกต S8 การลงความเห็นจากข้อมูล S13 การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 C4 การสื่อสาร C5 ความร่วมมือ เกณฑ์การประเมินผลแบบทดสอบ ประเด็นการประเมิน ระดับคุณภาพ ร้อยละ 80 – 100 ร้อยละ 60 – 79 ร้อยละ 40 – 59 ร้อยละ 10 – 39 แบบทดสอบ ทำถูกต้อง 8 – 10 ข้อ ทำถูกต้อง 6 – 7 ข้อ ทำถูกต้อง 4 – 5 ข้อ ทำถูกต้อง 1 – 3 ข้อ เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ ระดับคะแนน 8 – 10 ระดับคุณภาพ ร้อยละ 80 – 100 ระดับคะแนน 6 – 7 ระดับคุณภาพ ร้อยละ 60 – 79 ระดับคะแนน 4 – 5 ระดับคุณภาพ ร้อยละ 40 – 59 ระดับคะแนน 1 – 3 ระดับคุณภาพ ร้อยละ 10 – 39 เกณฑ์การผ่าน ตั้งแต่ระดับคุณภาพร้อยละ 80 ขึ้นไป สรุป ผ่าน ไม่ผ่าน 8. สื่อ / แหล่งเรียนรู้ หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ป. 4 สสวท. แบบบันทึกกิจกรรม อินเตอร์เน็ต ห้องสมุด 11. ข้อเสนอแนะของผู้บริหารสถานศึกษา ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………. ลงชื่อ………………………………………….. ( ) ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน วันที่……..เดือน……………พ.ศ. ……….. บันทึกผลหลังการสอน ผลการจัดการเรียนการสอน ปัญหา/อุปสรรค แนวทางแก้ไข ลงชื่อ…………………………………………..ครูผู้สอน ( นางชรินทร์ทิพย์ เจริญทอง ) ตำแหน่ง ครูผู้สอน วันที่……..เดือน……………พ.ศ. ………..