รูปแบบการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาสู่โรงเรียนรางวัลพระราชทานของโรงเรียนวัดช่องเขา
การวิจัยเรื่องรูปแบบการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาสู่โรงเรียนรางวัลพระราชทานของโรงเรียนวัดช่องเขา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาสู่โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ของโรงเรียนวัดช่องเขา 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาสู่โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ของโรงเรียนวัดช่องเขา 3) ทดลองใช้และศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาสู่โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ของโรงเรียนวัดช่องเขา ประกอบด้วย 3.1) คุณภาพของรูปแบบการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาสู่โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ของโรงเรียนวัดช่องเขา หลังการพัฒนา 3.2) คุณภาพสถานศึกษาตามขอบเขตการประเมินโรงเรียนรางวัลพระราชทาน หลังการพัฒนา 3.3) ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาและเครือข่ายชุมชน ที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาสู่โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ของโรงเรียนวัดช่องเขา หลังการพัฒนา 3.4) ผลกระทบเชิงบวก หลังการพัฒนา ที่ปรากฏต่อโรงเรียนวัดช่องเขา ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และนักเรียน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย กลุ่มประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ ประชากรครูและบุคลากร ปีการศึกษา 2561 จำนวน17 คน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 15 คน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 14 คน กลุ่มตัวอย่างนักเรียน ปีการศึกษา 2561 จำนวน 76 คน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 63 คนและ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 64 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2561 ปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 จำนวน 30 คน กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2561 ปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 จำนวน 7 คน และกลุ่มตัวอย่างเครือข่ายชุมชน ปีการศึกษา 2561 จำนวน 30 คน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 36 คน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 48 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาสู่โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ของโรงเรียนวัดช่องเขา จำนวน 1 ฉบับ แบบสอบถามความพึงพอใจของ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและเครือข่ายชุมชน ที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาสู่โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ของโรงเรียนวัดช่องเขา จำนวน 1 ฉบับ แบบประเมินคุณภาพสถานศึกษาตามขอบเขตการประเมินโรงเรียนรางวัลพระราชทานระดับประถมศึกษา จำนวน 1 ฉบับ แบบบันทึกผลกระทบเชิงบวก ที่ปรากฏต่อโรงเรียนวัดช่องเขา ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และนักเรียน จำนวน 1 ฉบับ รวมทั้งสิ้น 4 ฉบับ ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัยพบว่า
- องค์ประกอบการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาสู่โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ของโรงเรียน
วัดช่องเขา มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ การสื่อสารสร้างการรับรู้สู่เป้าหมาย การพัฒนาบุคลากรอย่างหลากหลาย การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ การดำเนินงานผ่านการมีส่วนร่วม การนิเทศ ติดตาม เชิงบวก และการสร้างขวัญกำลังใจในองค์กร ซึ่งทั้ง 6 องค์ประกอบมีความเหมาะสมตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.70, σ=0.50) สอดคล้องตามสมมติฐาน
- รูปแบบการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาสู่โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ของโรงเรียน
วัดช่องเขา ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ส่วนนำ ประกอบด้วย แนวคิดพื้นฐาน หลักการและวัตถุประสงค์ ส่วนที่ 2 องค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาสู่โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ของโรงเรียนวัดช่องเขา ประกอบด้วย องค์ประกอบหลักของรูปแบบการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาสู่โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ของโรงเรียนวัดช่องเขา มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ การสื่อสารสร้างการรับรู้สู่เป้าหมาย การพัฒนาบุคลากรอย่างหลากหลาย การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ การดำเนินงานผ่านการมีส่วนร่วม การนิเทศ ติดตาม เชิงบวก และการสร้างขวัญกำลังใจในองค์กร กระบวนการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาสู่โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ของโรงเรียน
วัดช่องเขา มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ การวางแผน การดำเนินการ การประเมินผล และการปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ส่วนที่ 3 เงื่อนไขความสำเร็จของรูปแบบ ความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาสู่โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ของโรงเรียนวัดช่องเขา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด สอดคล้องตามสมมติฐาน
- ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาสู่โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ของโรงเรียนวัดช่องเขา ประกอบด้วย
3.1 คุณภาพของรูปแบบการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาสู่โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ของโรงเรียนวัดช่องเขา ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและเครือข่ายชุมชน ปีการศึกษา 2561 ปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทั้งห้ากลุ่มที่ประเมินมีคุณภาพระดับมาก สอดคล้องตามสมมติฐาน
3.2 คุณภาพสถานศึกษาตามขอบเขตการประเมินโรงเรียนรางวัลพระราชทาน ตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 ปีการศึกษา 2561 โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก (= 4.09 , σ = 0.57) ปีการศึกษา 2562 โดยรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก (= 4.38 , σ = 0.53) และปีการศึกษา 2563 โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดีเยี่ยม (= 4.61 , σ = 0.52) สอดคล้องตามสมมติฐาน
3.3 ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาและเครือข่ายชุมชน ที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาสู่โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ของโรงเรียนวัดช่องเขา พบว่า ปีการศึกษา 2561 ปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก สอดคล้องตามสมมติฐาน
3.4 ผลกระทบเชิงบวก หลังการพัฒนา ที่ปรากฏต่อโรงเรียนวัดช่องเขา ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และนักเรียน ส่งผลให้โรงเรียน ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และนักเรียน ได้รับเกียรติบัตรรางวัลจากองค์กรและหน่วยงานทางการศึกษา ทั้งระดับชาติ ระดับภาค/จังหวัด และระดับเขตพื้นที่การศึกษา/อำเภอ รวมทั้งสิ้นจำนวน 194 รายการ เมื่อพิจารณาแยกตามระดับ พบว่า ได้รับเกียรติบัตรรางวัล ระดับชาติ จำนวน 71 รายการ ระดับภาค/จังหวัด/ จำนวน 5 รายการ และระดับเขตพื้นที่การศึกษา/อำเภอ จำนวน 118 รายการ อีกทั้งโรงเรียนเป็นแหล่งการเรียนรู้ แหล่งศึกษาดูงานของหน่วยงานทางการศึกษา ผู้ปกครอง และชุมชน สอดคล้องตามสมมติฐาน
คำสำคัญ : การพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาสู่โรงเรียนรางวัลพระราชทาน