ตัวอย่าง การเขียนบรรณานุกรม จากเว็บไซต์
ตัวอย่าง การเขียนบรรณานุกรม จากเว็บไซต์
ผู้แต่ง./(ปีพิมพ์).//ชื่อบทความ./สืบค้น หรือ Retrieved/วัน เดือน ปี,//จาก หรือ from/http://www.xxxxxxxxxx
สรญา แสงเย็นพันธ์. (2561). มาทำความเข้าใจระบบสี CMYK กับ RGB ภายใน 3 นาที. สืบค้น 18 กันยายน
//////// 2562, จาก http://www.nupress.grad.nu.ac.th/cmyk-and-rgb/
สำนักพิมพ์มหาวิทยาบัยนเรศวร. (2564). 16 โรคในเด็ก กับการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ. สืบค้น 4 กันยายน 2564.
//////// จาก https://www.nupress.grad.nu.ac.th/โรคในเด็ก
Evan Brown, (2018), The Good Book Of Colors: The Essential Guide For Business. Retrieved 29 April 2020, //////// from https://www.designmantic.com/blog/infographics/good-book-of-colors/.
อ้างอิงจาก https://www.nupress.grad.nu.ac.th
การเขียนบรรณานุกรม จากเว็บไซต์ วิธีการเขียนบรรณานุกรม รูปแบบ APA 6 ในงานวิชาการ บรรณานุกรม หรือเอกสารอ้างอิง เป็นส่วนสำคัญที่สำคัญของการเขียนงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเอกสารทางวิชาการ หนังสือ ตำรา รายงานการวิจัย หรือที่เราเห็นกันมากก็คือวิทยานิพนธ์ ซึ่งจะปรากฏอยู่ท้ายเล่มของผลงานที่เป็นเป็นแหล่งรวบรวบรายการข้อมูลที่งานเขียนนั้น ๆ ได้อ้างอิงถึง อีกทั้งยังเป็นส่วนที่จะเชื่อมโยงไปยังต้นทางของแหล่งข้อมูลที่ให้ผู้อ่านสามารถค้นหาและสืบค้นเพิ่มเติมได้
โดยส่วนใหญ่แล้วการเขียนบรรณานุกรม จากเว็บไซต์ และการเขียนบรรณานุกรม หรือเอกสารอ้างอิง จะนิยมใช้มาตรฐานการเขียนที่ชื่อว่า APA หรือ (American Psychological Association) พัฒนามาจากนักสังคมศาสตร์และนักพฤติกรรมศาสตร์มากว่า 80 ปี เพื่อเป็นมาตรฐาน ในการเขียนอย่างเป็นระบบสำหรับการทำวิจัย รายงานการวิจัย การทบทวนวรรณกรรม บทความและกรณีศึกษา สำหรับนักเขียนและนักศึกษานำมาใช้ในวิทยานิพนธ์ซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย โดยในปัจจุบัน APA ได้พัฒนามาถึงเวอร์ชันที่ 7 ที่มีมาตราฐานใหม่ที่เป็นแปลงจากเดิมไปพอสมควร แต่ในบทความนี้เราจะยกตัวอย่างการเขียนบรรณานุกรม เวอร์ชันที่ 6 ที่ยังได้รับความนิยมใช้เป็นแหล่งอ้างอิงกันมาก เช่น หนังสือ งานวิจัย วารสาร วิทยานิพนธ์ สื่อออนไลน์