การพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์และเขียนภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
- ชื่อเรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์และเขียนภาษาไทย
ด้วยกิจกรรม การทำหนังสือส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม (นิทาน 3 ตอน)
- ความเป็นมาและความสำคัญ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 จึงได้กำหนดแนวทางในการจัดการศึกษาไว้ใน หมวด 4 มาตรา 23 และ มาตรา 24 ให้สถาบันการศึกษาจัดการศึกษา โดยเน้น “การใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง ฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ปัญหา จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง” สุวัฒน์ วิวัฒนานนท์ 2550 : 2) และมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาได้กำหนดมาตรฐานด้านผู้เรียนมาตรฐานที่ 4 ไว้ว่า “ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์” สรุปได้ว่า แนวทางในการจัดการศึกษาและการประเมินคุณภาพในการจัดการศึกษาของชาติ เน้นการพัฒนาคนทั้งด้านการคิดวิเคราะห์และการอ่าน
ทักษะการอ่าน เป็นทักษะหนึ่งที่มีความสำคัญช่วยให้เกิดความงอกงามทางสติปัญญาโดยเฉพาะในชีวิตคนในปัจจุบัน การอ่านมีความจำเป็นอย่างมาก ถ้าไม่อ่านเราก็ไม่สามารถทันต่อเหตุการณ์และความเป็นไปของโลก การอ่านทำให้เกิดความรอบรู้และเกิดความคิด การอ่าน มีความสำคัญที่จะช่วยพัฒนาความเจริญก้าวหน้าให้แก่บุคคล ใครอ่านมากก็จะมีความรู้ มีประสบการณ์มาก (เปรมจิต ศรีสงคราม. 2527 : 1) การอ่านเป็นเครื่องมือพื้นฐานสำคัญในการศึกษาหาความรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ ซึ่งเป็นการอ่านที่ฝึกให้ผู้อ่านรู้จักใช้ความคิด สติปัญญาและความรอบรู้ต่อสิ่งที่ได้อ่านฝึกคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล สามารถจับประเด็นสำคัญของเรื่องที่อ่าน รู้จักแสดงความคิดเห็น ซึ่งการแสดงความคิดเห็นจะช่วยให้ผู้อ่านรู้จักคิดเป็น มีความรู้กว้างขวางและเป็น การเพิ่มพูนความรู้ความสามารถในการใช้ทักษะทางปัญญา เพื่อแสดงออกมาเป็นความคิดเห็นของตนเองการถ่ายทอดความคิดเห็นของตนเองออกมาได้จำเป็นจะต้องแสวงหาความรู้ต่างๆ นำมาเปรียบเทียบ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ และนำไปพัฒนาความสามารถของตน ทำให้เกิดความรอบรู้จริง สามารถนำความรู้จากสิ่งที่ได้อ่านมาใช้ได้อย่างสร้างสรรค์ ซึ่งจะทำให้ประสบความสำเร็จในการเรียน การทำงานและชีวิตครอบครัว (กรมวิชาการ. 2546 ข : 4 – 10) การอ่านเป็นเครื่องมือที่มีความจำเป็นและสำคัญยิ่งต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ เพราะเป็นกระบวนการในการแสวงหาความรู้และรับรู้ข่าวสารเรื่องราวต่างๆ เพื่อให้เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์และทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน
การคิดวิเคราะห์ (Analytical thanking) เป็นทักษะที่ส่งเสริมการเรียนรู้ซึ่งผู้เรียนจะต้อง ฝึกและพัฒนาจนทำให้เป็นนิสัย เพื่อให้ผู้เรียนขยายความรู้ประสบการณ์และความคิดของตนเอง และลึกซึ้ง การคิดวิเคราะห์ (Analytical thinking) เป็นการคิดโดยใช้สมองซีกซ้ายเป็นหลักเป็น การฝึก ในเชิงลึก คิดอย่างละเอียดจากเหตุไปสู่ผลมีการคิดหาทางเลือกในรูปแบบต่างๆ ไปจนถึงการวิเคราะห์เปรียบเทียบ เพื่อตัดสินใจเลือกกรณีที่จะมีความเหมาะสมและคุ้มค่าสูงสุดถือเป็นการคิด วิเคราะห์ที่มีทั้งความสมบูรณ์ ความสุขุมและตรวจความรอบคอบที่ทุกคนควรกระทำ การคิดวิเคราะห์เป็นความสามารถในการจำแนกแยกแยะองค์ประกอบต่างๆ ของสิ่งหนึ่งซึ่งอาจเป็นวัตถุสิ่งของเรื่องราวหรือเหตุการณ์และการหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล ระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้นเพื่อค้นหาสภาพความเป็นจริงหรือสิ่งที่สำคัญของสิ่งที่กำหนดนั้น (สุวิทย์ มูลคำ. 2547 : 9) ดังนั้นการพัฒนาทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน เป็นจุดเน้นประการหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ( กระทรวงศึกษาธิการ,2551, หน้า 6) ได้กำหนดสมรรถนะ เกณฑ์การผ่านและจบช่วงชั้นที่ต้องเกิดขึ้นกับผู้เรียน และมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ มาตรฐานการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา ได้กำหนดมาตรฐานด้านผู้เรียนที่เกี่ยวกับการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ดังนี้
(1) หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนดสมรรถนะสำคัญของ นักเรียน ซึ่งพัฒนานักเรียนให้บรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดนั้น ในข้อ 2 คือ ความสามารถในการคิดเป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดอย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศ การตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม
(2) เกณฑ์การผ่านช่วงชั้นและการจบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนต้องผ่านการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนให้ได้ตามที่สถานศึกษากำหนด
(3) มาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ และมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาได้กำหนดมาตรฐาน ด้านนักเรียน มาตรฐานที่ 4 ไว้ว่า “ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์ ”
จากความสำคัญของทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ดังกล่าว การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ในวิชาภาษาไทย ควรเน้นกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการคิด คิดได้อย่างมีกระบวนการ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 24 ได้ระบุไว้ว่า ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ฝึกทักษะกระบวนการคิด นำมาจัดในกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยสมอง ด้วยกายและใจ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ผ่านกระบวนการคิดด้วยตนเอง โดยให้มีการเชื่อมโยงกับธรรมชาติ จินตนาการ ความงาม ปัญญาและฐานความจริง ซึ่งรูปแบบและวิธีการที่สามารถพัฒนาผู้เรียนในเรื่องทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ พบว่า กิจกรรมการทำหนังสือนิทาน 3 ตอน เป็นเครื่องมือที่ดีที่จะช่วยกระตุ้นให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน ส่งเสริมสติปัญญาด้านการคิด สร้างเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ เป็นนวัตกรรมที่นำไปสู่ 1. การเรียนรู้เหตุการณ์ปัจจุบัน (Present future oriented) 2. การสร้างจริยธรรม (Environmental ethies)
- การบูรณาการเนื้อหาการเรียน (System approach) 4. การเรียนรู้ในเชิงระบบ (Interdiseiplinary approach) นักเรียนสามารถนำข้อคิดที่ได้จากนิทานไปพัฒนาในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม อีกทั้งยังช่วยในเรื่องทักษะการคิดวิเคราะห์ เนื่องจากการทำหนังสือนิทานขึ้นมาสักเล่มนั้น นักเรียนต้องผ่านกระบวน การอ่าน การคิดวิเคราะห์ก่อนจึงจะสามารถถ่ายโยงความคิดอย่างเป็นระบบ ดังนั้นการจัดกิจกรรมทำหนังสือนิทานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม (นิทาน 3 ตอน) จึงเป็นรูปแบบและวิธีปฏิบัติที่สามารถพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนให้สูงขึ้น นักเรียนเกิดการเรียนรู้ที่คงทน ตลอดจนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
๓. วัตถุประสงค์
- เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์และเขียนภาษาไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
- เพื่อให้นักเรียนนำความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้หน่วยที่ ๒ เพื่อวิเคราะห์ มาประยุกต์ ทำหนังสือนิทานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม (นิทาน 3 ตอน) มาจัดทำเป็นรูปเล่มหนังสือนิทาน ของตนได้อย่างสมบูรณ์
- เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนด้านการอ่าน การคิดวิเคราะห์และเขียนภาษาไทยให้เพิ่มขึ้น
๔. กระบวนการพัฒนาผลงาน
๑. สภาพปัญหาก่อนการพัฒนา
จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านปง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต ๔ ปีการศึกษา 25๖๖ พบว่านักเรียนยังขาดความรู้พื้นฐานและทักษะของเรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์และเขียน การใช้ภาษา การวิเคราะห์หรือการการจับใจความสำคัญ
๒. การออกแบบนวัตกรรมเพื่อพัฒนา
กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
เนื้อหา หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒ การอ่านเพื่อวิเคราะห์ (การอ่านวิเคราะห์ วิจารณ์และประเมินค่า)
ระยะเวลา ภาคเรียนที่ ๑
๓. ขั้นตอนการดำเนินงานพัฒนา
๓.1 ขั้นวางแผน ( ดำเนินการและวางแผนดำเนินการ ) : Plan
– ศึกษาหลักสูตร ตัวชี้วัด และแนวทางการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์และเขียนภาษาไทย
– ศึกษาเนื้อหาขั้นตอนการสอนที่ต้องการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์และเขียน
ภาษาไทย ด้วยกิจกรรมการทำหนังสือนิทานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม (นิทาน 3 ตอน)
– จัดลำดับขั้นตอนสอน จัดเตรียมสื่ออุปกรณ์ / วางแผนการสอน
๓.2 ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ : Do
- ครูจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์และเขียนภาษาไทย โดยศึกษาและเรียนรู้หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒ การอ่านเพื่อวิเคราะห์ (การอ่านวิเคราะห์ วิจารณ์และประเมินค่า) จากหนังสือเรียนหลักภาษาไทย ม.๒ เมื่อเกิดการเรียนรู้และเข้าใจในเนื้อหาดีแล้ว ครูนำเนื้อหามาประยุกต์ใช้ด้วยการฝึกให้นักเรียนอ่านหนังสือนิทานตามความสนใจ กระตุ้นการคิดด้วยการจัดกิจกรรมให้นักเรียนวิเคราะห์คุณค่าและข้อคิดที่ได้จากนิทานด้วยเทคนิคการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น เทคนิคการถามด้วยหมวกความคิดหกใบ การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน การระดมพลังสมอง การใช้แผนที่ความคิด เป็นต้น เพื่อนำไปสู่การพัฒนาทักษะกระบวนการคิด
- ครูให้นักเรียนศึกษารายละเอียด หลักการและองค์ประกอบของการแต่งนิทานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม พร้อมให้นักเรียนศึกษาจากตัวอย่างหนังสือนิทานหลากหลายเล่มหลายชนิด
- นักเรียนแต่ละคน เขียนแผนภาพโครงเรื่องนิทานออกมาเป็นแผนผังความคิด แล้วนำเสนอผลงานหน้าชั้น ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อยของนิทานแต่ละกลุ่มเพื่อนำไปแก้ไขปรับปรุงให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
- ครูตรวจผลงานการแต่งนิทานของนักเรียนแต่ละกลุ่มอีกครั้ง พร้อมเสนอแนะบอกจุดเด่น จุดที่ควรแก้ไขเพื่อให้นักเรียนนำไปปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นก่อนนำไปเขียนและจัดทำเป็นหนังสือนิทานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม (นิทาน 3 ตอน)
- ครูอธิบายวิธีการทำหนังสือนิทานและนำตัวอย่างรูปเล่มหนังสือนิทานที่ทำจากมือมาให้นักเรียนได้ศึกษา พร้อมสาธิตขั้นตอนการทำให้นักเรียนดู
- 6. นักเรียนแต่ละคนลงมือปฏิบัติในการทำหนังสือนิทานซึ่งจะได้สร้างสรรค์ผลงานของตน
๓.3 การตรวจสอบ ประเมินผล : Check
– นักเรียนนำผลงานที่ได้มาเปรียบเทียบกัน และปรับปรุงผลงานของตน
– ครูตรวจผลงานและให้คำแนะนำในการแก้ไขข้อบกพร่องเพื่อให้หนังสือนิทานมีความสมบูรณ์
– จัดแสดงผลงานไว้ในมุมส่งเสริมความรู้ในห้องภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษา
– นักเรียนทำแบบสอบถามความพึงพอใจ ครูวิเคราะห์สรุปผลจากแบบสอบถามความพึง-พอใจ
๓.4 การรายงานผลเพื่อปรับปรุงพัฒนา : Action
– จากการสังเกตและจากแบบสอบถามความพึงพอใจ ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปผลการปฏิบัติงานในการทำหนังสือนิทานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม พร้อมนำข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงไปพัฒนางานในครั้งต่อไปให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
๔. ผลที่เกิดขึ้นจาการดำเนินงาน
ผลการดำเนินการ
- นักเรียนมีทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์และเขียนภาษาไทยที่สูงขึ้น
- นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้หน่วยที่ ๒ การอ่านเพื่อวิเคราะห์ (การอ่านวิเคราะห์ วิจารณ์และประเมินค่า) มาประยุกต์ทำหนังสือนิทานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม (นิทาน 3 ตอน) ได้
๕. สรุปสิ่งที่เรียนรู้และการปรับปรุงให้ดีขึ้น
ผลสัมฤทธิ์
- 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนด้านการอ่าน การคิดวิเคราะห์และเขียนภาษาไทยเพิ่มขึ้น
- 2. นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านปง สามารถจัดทำหนังสือนิทานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม (นิทาน 3 ตอน) ได้ อีกทั้งมีความสนใจ ใฝ่รู้ที่จะพัฒนาการทำหนังสือนิทานของตนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและสามารถขยายผลต่อให้กับผู้เรียนคนอื่นๆ ได้
ประโยชน์ที่ได้รับ
การจัดกิจกรรมการทำหนังสือนิทานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม(นิทาน 3 ตอน) สามารถพัฒนาความสามารถด้านการอ่าน การคิดวิเคราะห์และเขียนภาษาไทยให้สูงขึ้น นักเรียนสามารถทำหนังสือนิทานที่เป็นรูปเล่มของตนได้และมีความภูมิใจในผลงานของตน ซึ่งผลจากความพยายามพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน และการดำเนินการอย่างจริงจังต่อเนื่องทำให้การดำเนินงานประสบผลสำเร็จ ส่งผลดีต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ถือเป็นบทเรียนที่ได้รับ ดังนี้
– นักเรียนมีความรู้ มีความสามารถในการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีความสามารถด้านการอ่าน การคิดวิเคราะห์และเขียนภาษาไทย มีทักษะในการทำหนังสือนิทาน
– ครูมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีความภาคภูมิใจและชื่นชมในผลที่เกิดแก่นักเรียน
– โรงเรียนได้รับรางวัลต่างๆ ทางด้านการแข่งขันทักษะวิชาการในด้านการอ่านและการคิดวิเคราะห์และเขียนภาษาไทย ทั้งในระดับระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับชาติ ทำให้ได้รับ การชื่นชมจากผู้ปกครองและชุมชน
– ผู้ปกครองมีความเชื่อมั่นในการจัดการศึกษาของโรงเรียนและภาคภูมิใจในตัวบุตรหลาน
– ชุมชนมีความภาคภูมิใจที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียน
๖. การขยายผลและเผยแพร่ผลการพัฒนา
เผยแพร่ผลงานในเพจ สื่อง่ายๆ by ครูปิ่น https://www.facebook.com/Krupinpin2525
๕. ข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
การจัดกิจกรรมการทำหนังสือนิทานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม(นิทาน 3 ตอน) สามารถพัฒนาความสามารถด้านการอ่าน การคิดวิเคราะห์และเขียนภาษาไทยให้สูงขึ้น นักเรียนสามารถทำหนังสือนิทานที่เป็นรูปเล่มของตนได้และมีความภูมิใจในผลงานของตน ซึ่งผลจากความพยายามพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน และการดำเนินการอย่างจริงจังต่อเนื่องทำให้การดำเนินงานประสบผลสำเร็จ ส่งผลดีต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ถือเป็นบทเรียนและนวัตกรรมที่ดีและเห็นควรได้รับการพัฒนาต่อไป
๖. จุดเด่นหรือลักษณะพิเศษของผลงานนวัตกรรม
การทำหนังสือนิทานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม (นิทาน 3 ตอน) เป็นสื่อหรือนวัตกรรมที่ช่วยให้นักเรียนได้คิดและฝึกฝนการอ่าน การเขียน พัฒนาการคิดวิเคราะห์แบบรวบยอด นักเรียนสามารถออกแบบผลงานตัวเองตามความคิดของตนได้เป็นอย่างดี โดยต้องออกแบบงานหรือนิทานตอนที่ ๑ – ๒ ให้สามารถสรุปภาพและเนื้อออกมาให้สอดคล้องและสัมพันธ์กับตอนที่ ๓ ซึ่งสื่อหรือนวัตกรรมนี้ ส่งผลให้สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนด้านการอ่าน การคิดวิเคราะห์และเขียนภาษาไทยเพิ่มขึ้น
รางวัลที่ได้รับ
จากการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์และเขียนภาษาไทย ในหลายปีที่ผ่านมาส่งผลให้ได้รับรางวัล ดังนี้
- ชนะเลิศ (เหรียญทอง) การแข่งขันพินิจวรรณคดี ม.1-3 งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ 70 ปีการศึกษา 2565
- ชนะเลิศ (เหรียญทอง) การแข่งขันวรรณกรรมวิจารณ์ ม.1-3 งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ 70 ปีการศึกษา 2565
- ชนะเลิศ (เหรียญทอง) การแข่งขันกวีเยาวชนคนรุ่นใหม่ กาพย์ยานี 11 ม.1-3 งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ 70 ปีการศึกษา 2565
- รองชนะเลิศอันดับ 1 (เหรียญทอง) การแข่งขันพินิจวรรณคดี ม.1-3 งานศิลปหัตถกรรม-นักเรียน ระดับชาติ ครั้งที่ 70 ปีการศึกษา 2565 ภาคเหนือ จังหวัดน่าน
- รองชนะเลิศอันดับ 32 (เหรียญทองแดง) การแข่งขันวรรณกรรมวิจารณ์ ม.1-3 งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับชาติ ครั้งที่ 70 ปีการศึกษา 2565 ภาคเหนือ จังหวัดน่าน
- รองชนะเลิศอันดับ 25 (เหรียญเงิน) การแข่งขันกวีเยาวชนคนรุ่นใหม่ กาพย์ยานี 11 ม.1-3 งานศิลปหัตถกรรม-นักเรียน ระดับชาติ ครั้งที่ 70 ปีการศึกษา 2565 ภาคเหนือ จังหวัดน่าน
๗. บรรณานุกรม
ศึกษาธิการ, กระทรวง. 2546. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
สุวัฒน์ วิวัฒนานนท์. (2552). ทักษะการอ่าน คิดวเคราะห์และเขียน. นนทบุรี: ซี.ซี. นอลลิดจ์ลิงคส์.
เปรมจิต ศรีสงคราม. การอ่านทั่วไป. กรุงเทพฯ : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์วิทยาลัยครู
จันทรเกษม, ๒๕๒๗.
กรมวิชาการ. คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับ
ส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์, ๒๕๒๖.
สุวิทย์ มูลคำ. (2547) กลยุทธ์การสังเคราะห์ (พิมพ์ครั้งที่ ๒) : กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์
กระทรวงศึกษาธิการ..(2553)..หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน.พุทธศักราช 2551.
พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.จำกัด