การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามทฤษฎีการใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิค SQ4R เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

กระดานสนทนา เผยแพร่ผลงานวิชาการหมวดหมู่: เผยแพร่ผลงานวิชาการการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามทฤษฎีการใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิค SQ4R เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
pim asked 4 เดือน ago

ชื่อผลงาน     การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามทฤษฎีการใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิค SQ4R                 เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ผู้วิจัย         นางวิไลภรณ์  กันคำแหง  ตำแหน่ง ครู  วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ                  โรงเรียนเทศบาล 2 (สหกรณ์สมทบ)  เทศบาลเมืองบัวใหญ่  จังหวัดนครราชสีมา ปีการศึกษา      : 2566   บทคัดย่อ               การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามทฤษฎีการใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิค SQ4R เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามทฤษฎีการใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิค SQ4R เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  2)  เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามทฤษฎีการใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิค SQ4R เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  80/80  3)  เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามทฤษฎีการใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิค SQ4R เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  และ 4)  เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามทฤษฎีการใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิค SQ4R เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา  2566  โรงเรียนเทศบาล 2 (สหกรณ์สมทบ)  เทศบาลเมืองบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา  คือ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามทฤษฎีการใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิค SQ4R เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  2) แผนการจัดการเรียนรู้  ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้  3)  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  4)  แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ และ 5)  แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามทฤษฎีการใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิค SQ4R เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3   สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และ การทดสอบค่าที  (t-test)  (Dependent  sample)    ผลการวิจัยพบว่า ข้อมูลสภาพปัจจุบันและความต้องการในการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย  สภาพปัจจุบัน นักเรียนบางคนยังอ่านหนังสือไม่ออก เขียนไม่ได้  ไม่ให้ความสำคัญของการอ่าน ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญและจำเป็นในการใช้ชีวิตประจำวัน  ไม่สามารถคิดวิเคราะห์เนื้อหาในเรื่องจากการเรียนรู้ได้  และนักเรียนใช้เวลาส่วนมากในการใช้โทรศัพท์ ใช้สื่อเทคโนโลยีในในการดูและฟังจากสื่อโซเชียล  ความต้องการในการจัดการเรียนรู้การจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนส่งเสริมการพัฒนาการอ่านของนักเรียน  ส่งเสริมการอ่านออก  เขียนได้  สะกดคำเป็น  ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญและจำเป็น  เน้นส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะการคิด  การใช้เทคโนโลยี  ทักษะการใช้ชีวิต  ใช้ทักษะการฝึกฝน  เพื่อให้เกิดความชำนาญในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารและเกิดการเรียนรู้  จากการพูด  การอ่าน  การเขียน  และการฟัง  รวมถึงทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์  ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้ และสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายและเหมาะสม สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน  รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามทฤษฎีการใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิค SQ4R เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  ประกอบด้วยองค์ประกอบ  4  องค์ประกอบ ได้แก่  หลักการ  วัตถุประสงค์  กระบวนการจัดการเรียนรู้  สิ่งสนับสนุนการจัดการเรียนรู้  โดยมีขั้นตอนการเรียนรู้ 6  ขั้นตอน  ได้แก่  1. ขั้นสํารวจความพร้อม  (Survey Readiness : S)  2. ขั้นถามสร้างความตระหนัก (Questioning step creates awareness : Q)  3. ขั้นศึกษา และร่วมอภิปรายขยายความรู้ (Study and participate in discussions to expand knowledge : S) 4. ขั้นกิจกรรมฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ (Activities to practice reading and analytical thinking skills : A) 5. ขั้นนำเสนอและสรุปความรู้ (Presenting and summarizing knowledge  :P) และ 6. ขั้นทบทวน ประเมินและประยุกต์ใช้ (Review, evaluation and application stages : R) ซึ่งเรียกว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ PQR2S  เมื่อนำไปทดลองใช้กับนักเรียนแบบภาคสนาม จำนวน  27  คน พบว่า มีประสิทธิภาพเท่ากับ  83.86/84.32 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้  80/80 ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามทฤษฎีการใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิค SQ4R เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3   นักเรียนมีความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามทฤษฎีการใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิค SQ4R เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  

Powered by GliaStudio
Back to top button