การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษา สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ของโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครขอนแก่น

กระดานสนทนา เผยแพร่ผลงานวิชาการหมวดหมู่: เผยแพร่ผลงานวิชาการการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษา สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ของโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครขอนแก่น
วาสนา แม้นญาติ asked 3 เดือน ago

การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษา สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร
ของโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครขอนแก่น
 
บทคัดย่อ
              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบ สภาพปัจจุบัน สภาพที่             พึงประสงค์ ความต้องการจำเป็นและแนวทางการบริหารสถานศึกษา สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ของโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครขอนแก่น 2) สร้างและตรวจสอบยืนยันรูปแบบการบริหารสถานศึกษา สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร 3) ทดลองใช้รูปแบบ/คู่มือรูปแบบการบริหารสถานศึกษา สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร 4) ประเมินประสิทธิภาพรูปแบบการบริหารสถานศึกษา สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร การวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบ สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจำเป็นและแนวทางการบริหารสถานศึกษา สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ของโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 7 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง และใช้เทคนิคการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ระยะที่ 2 การสร้างและตรวจสอบยืนยันรูปแบบการบริหารสถานศึกษา สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ของโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เลือกแบบเจาะจง ศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีเป็นเลิศ จำนวน 5 โรงเรียน โดยการเลือกแบบเจาะจง ยกร่างรูปแบบและตรวจสอบยืนยัน ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เลือกแบบเจาะจง โดยใช้เทคนิคการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) ระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบ/คู่มือการบริหารสถานศึกษา สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ของโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง จำนวน 20 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง ระยะที่ 4 การประเมินประสิทธิภาพรูปแบบการบริหารสถานศึกษา สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ของโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมการศึกษา ศึกษานิเทศก์และผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครขอนแก่น จำนวน 15 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามความเหมาะสมองค์ประกอบ แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามความเหมาะสม แบบทดสอบแบบสอบถามพฤติกรรม แบบสอบถามประสิทธิภาพ และแบบสอบถามความพึงพอใจสถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเชื่อมั่นและค่าความต้องการจำเป็น
              ผลการวิจัย พบว่า

  1.           1. ผลการศึกษาองค์ประกอบ สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจำเป็น และแนวทางการบริหารสถานศึกษา สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ของโรงเรียนเทศบาล                บ้านหนองแวง พบว่า 1.1) ได้องค์ประกอบ 3 ด้าน 23 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) ด้านการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ มี 5 ตัวบ่งชี้ 2) ด้านการดำเนินงานสุขภาพของนักเรียนแกนนำ มี 2 ตัวบ่งชี้                  3) ด้านผลสำเร็จของการดำเนินงาน มี 16 ตัวบ่งชี้ มีผลการประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้อยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ =4.75,S.D. =0.44) สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง      (x̅ = 3.33, S.D. = 0.49) สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.67, S.D. = 0.49) และลำดับความต้องการจำเป็น โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (PNImodified = 0.391)
  2.           2. ผลการสร้างและตรวจสอบยืนยันรูปแบบการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษา สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ของโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง พบว่า 2.1) รูปแบบการบริหารสถานศึกษา สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ของโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง ประกอบด้วย 6 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 หลักการ แนวคิดและวัตถุประสงค์ตามลำดับ ส่วนที่ 2 องค์ประกอบของรูปแบบ ส่วนที่ 3 การดำเนินงานพัฒนา ส่วนที่ 4 แนวทางการนำรูปแบบไปใช้ ส่วนที่ 5 การประเมินผล และส่วนที่ 6 เงื่อนไขความสำเร็จ ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบฯ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ =4.67, S.D. =0.47) และผลการประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
  3. 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบ/คู่มือรูปแบบการบริหารสถานศึกษา สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ของโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง พบว่า 3.1) ผลการประเมินความรู้ ความเข้าใจ หลังใช้รูปแบบ กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมพัฒนา มีคะแนนทดสอบความรู้หลังการเข้าร่วมพัฒนา สูงกว่าก่อนการเข้าร่วมพัฒนา 3.2) ผลการประเมินพฤติกรรมตามรูปแบบฯ หลังการพัฒนาสูงกว่าระหว่าง การพัฒนาหลังการพัฒนา อยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ =4.65, S.D. =0.48) 3) ผลการประเมินระดับความพึงพอใจต่อรูปแบบฯ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ =4.65, S.D. =0.48)
  4. ผลการประเมินประสิทธิภาพรูปแบบการบริหารสถานศึกษา สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ของโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง พบว่า ด้านความเหมาะสม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ =4.67, S.D. =0.47) ด้านความเป็นประโยชน์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ =4.72, S.D. =0.45)

 
คำสำคัญ : รูปแบบ, การบริหารสถานศึกษา, โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร
 
 
 
 
 
 
 
 
บทนำ
โลกในปัจจุบันมีการเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมืองการปกครอง การศึกษา รวมถึงเทคโนโลยีต่าง ๆ ก่อให้เกิดการแข่งขันเพื่อพัฒนาและยกระดับประเทศให้ดียิ่งขึ้น ทรัพยากรมนุษย์ เป็นทรัพยากรพื้นฐานที่สำคัญในการขับเคลื่อน สังคมไทยจึงต้องมีการปรับตัวโดยการพัฒนาคุณภาพประชาชน ทั้งด้านคุณภาพและสมรรถนะของบุคคลให้มีพื้นฐานในการคิด เรียนรู้ และทักษะการจัดการและการดำรงชีวิต ที่สามารถเผชิญกับปัญหาสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป นอกจากการพัฒนาด้านการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถของประชาชน ยังรวมถึงการพัฒนาด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต ของประชาชนด้วย แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) อยู่ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 เป็นแผนพัฒนาระยะ 5 ปี และเป็นกลไกเชื่อมต่อเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ที่ได้ยึดหลัก “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” “การพัฒนาที่ยั่งยืน” “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” ให้สามารถนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ดำเนินการโดยมีวิสัยทัศน์ที่เน้นระบบสุขภาพไทยเข้มแข็ง เป็นเอกภาพ เพื่อคนไทยสุขภาพดีสร้างประเทศให้มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน ซึ่งแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ได้กำหนดยุทธศาสตร์ เป็นมาตรการและแนวทางการพัฒนาสุขภาพ ที่เร่งการเสริมสร้างสุขภาพคนไทยเชิงรุก เป็นยุทธศาสตร์ที่ 1 ให้ความสำคัญกับการปฏิรูปด้านสุขภาพเพื่อให้คนไทยทุกช่วงวัยมีสุขภาพแข็งแรง เร่งรัดการพัฒนาระบบการดูแลเด็กให้มีพัฒนาการที่สมวัย เสริมสร้างความร่วมมือในการดูแลให้เด็กเกิดอย่างมีคุณภาพ เจริญเติบโตเต็มศักยภาพ แข็งแรง พร้อมที่จะเรียนรู้ สร้างความตระหนักเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดปัจจัยเสี่ยงและผลกระทบด้านสุขภาพ ส่งเสริมให้บุคคล ชุมชน และประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ให้มีความรู้ และทัศนคติที่ถูกต้องด้านสุขภาพ พัฒนาระบบสุขภาพเชิงรุกโดยการส่งเสริมสุขภาพ พัฒนาและส่งเสริมการใช้แนวปฏิบัติด้านพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน เด็กและเยาวชน ถือเป็นทรัพยากรมนุษย์ ที่มีความสำคัญมากที่สุดต่อการพัฒนาสร้างทุนอื่น ๆ และนำไปสู่การพัฒนาคนและสังคมให้มีสุขภาวะ ตลอดจนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าเท่าทันการเปลี่ยนแปลง ซึ่งก็ยังได้รับความสำคัญน้อย ทำให้การพัฒนาประเทศ ทั้งในบริบทการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี สังคมและโครงสร้างประชากรสิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมการบริโภค มีผลพวงก่อเกิดปัญหาที่ซับซ้อนเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพ และความอยู่ดีมีสุขของคนไทยตามมา (กระทรวงสาธารณสุข กรมอนามัย,2558)
            โรงเรียน เป็นองค์กรยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเด็ก และเยาวชนของประเทศให้มีคุณลักษณะตามที่สังคมคาดหวัง ระยะเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 เป็นต้นมา มีโครงการที่เป็นการสนับสนุนโรงเรียนจากองค์กรภายนอกจำนวนมาก โดยเฉพาะโครงการที่มุ่งสร้างเสริมให้เกิดสุขภาวะด้านต่าง ๆ ในโรงเรียน โดยมีความมุ่งหมายคือ การเสริมสร้างสุขภาวะทั้งด้านการเรียนการสอน ด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต รวมไปถึงการดำเนินชีวิตของครูและผู้เรียนในบริบทโรงเรียน กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่ได้ร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โดยตระหนักถึงการศึกษาและการสาธารณสุข เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ และเป็นปัจจัยหลักในการเสริมสร้างประชาชนไทยให้มีคุณภาพเพื่อนำไปสู่การพัฒนาสังคมไทยยั่งยืน สามารถแข่งขันในเวทีโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี ทั้งยังเป็นกลยุทธ์ที่ช่วยสร้างหลักการประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยเน้นให้โรงเรียนเป็นจุดเริ่มต้น และเป็นศูนย์กลางในการส่งเสริมสุขภาพ การประสานความร่วมมืออย่างใกล้ชิดของทั้งสองกระทรวงซึ่งรับผิดชอบในการพัฒนาเด็กโดยตรง จะนำไปสู่การพัฒนาเด็กให้มีความสมบูรณ์พร้อมทั้งกาย ใจและสติปัญญา ตลอดจนทักษะการดำรงชีวิตที่ถูกต้อง
            โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ เริ่มจากการเปลี่ยนวิธีการดำเนินงานอนามัยของโรงเรียนจากข้อเสนอแนวคิด “โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ” ของคณะผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริมสุขภาพและสุขศึกษาขององค์การอนามัยโลก โดยกำหนดเป้าหมาย ถ่ายทอดแนวคิด และพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพต้นแบบจังหวัดละ 1 โรงเรียน (กระทรวงสาธารณสุข กรมอนามัย, 2558) และได้รับการตอบรับในการเข้าร่วมโครงการอย่างต่อเนื่องจากหลายโรงเรียน ที่ตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาวะที่ดีให้กับนักเรียน สถานศึกษาจำเป็นต้องบริหารจัดการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และสติปัญญา ดังที่องค์การอนามัยโลก ได้กล่าวไว้ว่า “Healthis complete Psysical, Mental, Social and Spiritual Well – Being” หมายความว่า สุขภาพ คือ สุขภาวะที่สมบูรณ์ และเชื่อมโยงกันเป็นเป็นองค์รวมอย่างสมดุลทั้งทางกาย จิตใจ สังคม และทางจิตวิญญาณ การดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ เริ่มดำเนินการเมื่อปีพ.ศ.2541 มีโรงเรียนที่เป็นต้นแบบ ของจังหวัดศูนย์อนามัยและส่วนกลาง รวม 89 โรงเรียน พ.ศ.2543 มีการจัดทำเกณฑ์ประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพด้านกระบวนการ 5 แนวทาง กำหนดเป้าหมายให้มีโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลละ 1 โรงเรียน มีโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพผ่านการประเมิน ร้อยละ 9.6 และมีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 32 พ.ศ. 2545 ได้มีการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานการประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพตาม 10 แนวทางโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ แบ่งการประเมินเป็น 3 ระดับ คือ ทอง เงิน และทองแดง หลังจากนั้นได้มีการพัฒนาการดำเนินงานเรื่อยมา กระทั่ง พ.ศ.2552 มีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพและผ่านการประเมินค่อนข้างสูงร้อยละ 96.8 จึงได้พัฒนาเกณฑ์มาตรฐานในระดับที่สูงขึ้น คือโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ซึ่งเน้นคุณภาพโดยวัดผลลัพธ์ที่เกิดจากกระบวนการดำเนินงานตาม 10 แนวทาง ทั้งด้านสุขภาพ และด้านพฤติกรรมสุขภาพ โดยมีตัวชี้วัดสำหรับการประเมินทั้งสิ้น 3 มาตรฐาน 19 ตัวชี้วัด มีโรงเรียนที่ผ่านการประเมินเป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร จำนวน 37 แห่ง และในปี พ.ศ.2552 มีจำนวนโรงเรียนที่ผ่านการประเมินเป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ทั้งสิ้น 105 แห่ง (กระทรวงสาธารณสุข กรมอนามัย, 2558)
            โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง จัดอยู่ในคลัสเตอร์กลุ่มทักษะชีวิต ซึ่งมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะชีวิต สามารถเรียนรู้แบบนำตนเองในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ ซึ่งโรงเรียนได้ดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ เพื่อช่วยเสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพตามนโยบายของทางเทศบาล โดยจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพของนักเรียน บุคลากร และชุมชน เสริมสร้างสุขนิสัยที่ดีแก่นักเรียนที่เน้นสุขบัญญัติแห่งชาติ ให้บริการอาหารกลางวันที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ ส่งเสริมให้ออกกำลังกาย เล่นกีฬาและนันทนาการในโรงเรียน รวมทั้งการให้คำปรึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพ แต่ในสภาพปัจจุบันโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวงยังพบปัญหาด้านสุขภาพและพฤติกรรมที่เสี่ยงของนักเรียนในโรงเรียนที่ต้องเร่งแก้ไขอีกมากมาย เช่น นักเรียน บุคลากรในโรงเรียนไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการเสริมสร้างสุขภาพอนามัยของตนเอง จากการสำรวจ พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีปัญหาโรคในช่องปาก เหงือกอักเสบ ฟันผุ เลือกซื้ออาหารที่ไม่มีประโยชน์ พฤติกรรมเสี่ยงทั้งในเรื่องการสูบบุหรี่ การดื่มสุรา รวมทั้งปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่ยังไม่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ บริเวณโรงเรียนยังมีหลุมบ่อ ใบไม้ร่วงหล่นหมักหมม ไม่มีสวนหย่อม สนามเด็กเล่น ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับพักผ่อนสำหรับนักเรียน บุคลากรในโรงเรียน ด้านการสุขาภิบาลอาหาร โรงเรียนไม่มีสถานที่ประกอบอาหาร ที่นั่งรับประทานอาหารของนักเรียนไม่เพียงพอ ไม่สะอาด ไม่มีระบบการจำกัดขยะมูลฝอยและการบำบัดน้ำเสีย หรือไม่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล ระบบการบริการน้ำดื่มที่สะอาดไม่เพียงพอประกอบกับสภาพแวดล้อมในเขตบริการของโรงเรียน ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้ประกอบอาชีพ เล่นการพนัน ดื่มสุรา จึงไม่มีเวลาดูแลเอาใจใส่ด้านสุขภาพอนามัยของนักเรียนและตนเองเท่าที่ควร
จากความสำคัญและสภาพปัญหาดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยในฐานะผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งมีบทบาทและเกี่ยวข้องโดยตรง กับการส่งเสริมสุขภาพและสุขภาวะที่ดีของนักเรียนและบุคลากรทุกคนในโรงเรียนทั้งด้านกาย ใจ สังคมและปัญญา เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะที่จำเป็นต่อการรับการเปลี่ยนแปลงสู่โลกยุคเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อยกระดับโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง ให้เป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษา สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ของโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สำนักการศึกษาเทศบาลนครขอนแก่น โดยผู้วิจัยเชื่อว่าถ้าโรงเรียนมีรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ชัดเจนและเหมาะสม ย่อมส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาด้านสุขภาวะและมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง อีกทั้งผลการวิจัยในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้บริหารและครูโดยทั่วไป ที่จะนำไปใช้เป็นแนวทางในการกำหนดทิศทาง นโยบาย การวางแผนและการพัฒนาสถานศึกษาของตนเอง สู่การเป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร และยกระดับคุณภาพของสถานศึกษาให้ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพที่ยั่งยืนต่อไป
วัตถุประสงค์การวิจัย

  1. เพื่อศึกษาองค์ประกอบ สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจำเป็นและแนวทางการบริหารสถานศึกษา สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ของโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครขอนแก่น
  2. เพื่อสร้างและตรวจสอบยืนยันรูปแบบการบริหารสถานศึกษา สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ของโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครขอนแก่น
  3. เพื่อทดลองใช้รูปแบบ/คู่มือรูปแบบการบริหารสถานศึกษา สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ของโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครขอนแก่น
  4. เพื่อประเมินประสิทธิภาพรูปแบบการบริหารสถานศึกษา สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ของโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครขอนแก่น

รูปแบบการบริหารสถานศึกษา สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร
ของโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น

แนวคิดการบริหารตามวงจรคุณภาพเดมมิ่ง
1. P คือ Plan หมายถึง การวางแผน
2. D คือ Do หมายถึง การนำแผนไปสู่การปฏิบัติ
3. C คือ Check หมายถึง การตรวจสอบหรือการเปรียบเทียบ
4. A คือ Act หมายถึง ปรับปรุงการดำเนินการให้เหมาะสม

บริบทโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง

แนวคิดการบริหารสถานศึกษา
สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร
***********
    ด้านที่ 1 ด้านการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ  
    ด้านที่ 2 ด้านการดำเนินงานสุขภาพของนักเรียนแกนนำ
   ด้านที่ 3 ด้านผลสำเร็จของการดำเนินงาน

แนวคิดทฤษฎีเชิงระบบ
1. ปัจจัยนำเข้า
2. กระบวนการ
3. ผลผลิต
4. ข้อมูลป้อนกลับ
5. สภาพแวดล้อม

แนวคิดการพัฒนารูปแบบ
 1. องค์ประกอบของรูปแบบ ประกอบด้วย
     ส่วนที่ 1 หลักการแนวคิดและวัตถุประสงค์
     ส่วนที่ 2 องค์ประกอบของรูปแบบ
     ส่วนที่ 3 วิธีการดำเนินงาน
     ส่วนที่ 4 การนำรูปแบบไปใช้
     ส่วนที่ 5 การประเมินผล
     ส่วนที่ 6 เงื่อนไขความสำเร็จ
2. การพัฒนารูปแบบ 3 ขั้นตอน ได้แก่
     1) การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน
     2) การสร้างและพัฒนารูปแบบ
     3) การนำรูปแบบไปใช้

กรอบแนวคิด
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ระเบียบวิธีวิจัย
          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ดำเนินการ 4 ระยะ ดังนี้
          ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบ สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจำเป็นและแนวทางการบริหารสถานศึกษา สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ของโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครขอนแก่น
                   เป้าหมายการวิจัย เพื่อให้ได้องค์ประกอบ สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจำเป็นและแนวทางการบริหารสถานศึกษา สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร โดยใช้เทคนิคการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) และการประเมินความเหมาะสมเพื่อยืนยันองค์ประกอบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ
                        แหล่งข้อมูล ได้แก่ เอกสาร ตำราและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจากนักวิชาการ นักการศึกษา
                   กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ (จำนวน 7 คน) โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
                   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสังเคราะห์เอกสาร 2) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) 3) แบบประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้ 4) แบบประเมินองค์ประกอบของรูปแบบ 5) แบบสอบถาม
                   วิเคราะห์ข้อมูล โดยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x̅) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และหาคุณภาพของเครื่องมือ ได้แก่ ค่าความเที่ยงตรงและค่าดัชนีความสอดคล้อง และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม
          ระยะที่ 2 การสร้างและตรวจสอบยืนยันรูปแบบการบริหารสถานศึกษา สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ของโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครขอนแก่น
                   เป้าหมายการวิจัย เพื่อยกร่างและตรวจสอบยืนยันความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารสถานศึกษา สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ของโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น โดยใช้เทคนิคการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship)
                   กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ ชุดเดิมในระยะที่ 1 (จำนวน 7 คน) โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
                   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบบันทึกการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ 2) แบบประเมินความเหมาะสมของร่างรูปแบบฯ 3) แบบประเมินความเหมาะสมของร่างคู่มือรูปแบบฯ
                   วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statically) สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x̅) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D)
          ระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบ/คู่มือรูปแบบการบริหารสถานศึกษา สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ของโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น
              เป้าหมายการวิจัย เพื่อทดลองใช้รูปแบบ/คู่มือรูปแบบการบริหารสถานศึกษา สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร
              กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ คณะผู้บริหารสถานศึกษาและคณะครู โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครขอนแก่น (จำนวน 20 คน) โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ผู้วิจัยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาอยู่ในปัจจุบัน
              เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) คู่มือรูปแบบฯ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อน-หลังการใช้รูปแบบฯ 3) แบบประเมินระดับพฤติกรรมการพัฒนาตามรูปแบบฯ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อรูปแบบฯ
              วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x̅) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และหาคุณภาพของเครื่องมือ ได้แก่ ค่าความเที่ยงตรงและค่าดัชนีความสอดคล้อง ค่าอำนาจจำแนกรายข้อของแบบสอบถาม และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม
          ระยะที่ 4 การประเมินประสิทธิภาพรูปแบบการบริหารสถานศึกษา สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ของโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครขอนแก่น
              กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมการศึกษา ศึกษานิเทศก์และผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครขอนแก่น (จำนวน 15 คน) โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
              เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามประสิทธิภาพการพัฒนาตามรูปแบบฯ
              วิเคราะห์ข้อมูล จากผลการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบ โดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่      ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย (x̅)
อภิปรายผล

  1. ผลการศึกษาองค์ประกอบ สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารสถานศึกษา สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ของโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครขอนแก่น อภิปรายผลดังนี้

1.1 องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของการบริหารสถานศึกษา สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ของโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น จากการสังเคราะห์แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สรุปได้องค์ประกอบ 3 ด้าน 23 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) ด้านการดำเนินงานโรงเรียนสงเสริมสุขภาพ มี 5 ตัวบ่งชี้ 2) ด้านการดำเนินงานสุขภาพของนักเรียนแกนนำ มี 2 ตัวบ่งชี้ 3) ด้านผลสำเร็จของการดำเนินงาน มี 16 ตัวบ่งชี้ ผลการประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้ อยู่ในระดับมากที่สุด และผลการประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบของรูปแบบ อยู่ในระดับมากที่สุด ทั้งนี้เป็นเพราะ ได้ทำการศึกษาเอกสาร ตำรา ของนักวิชาการ นักการศึกษาอย่างหลากหลาย แล้วทำการสังเคราะห์ด้วยแบบสังเคราะห์ เพื่อให้ได้องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ที่เป็นรูปธรรม นำเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบยืนยันและประเมินความเหมาะสม สำหรับนำไปสร้างข้อคำถามในการดำเนินการวิจัยอย่างมีคุณภาพต่อไป สอดคล้องกับงานวิจัยของอัลดา กุลาสา (2563) ได้วิจัยเรื่องการพัฒนาแนวทางการดำเนินงานสู่การเป็นโรงเรียนสงเสริมสุขภาพระดับเพชร ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ เขต 2 พบว่า แนวทางการดำเนินงานสู่การเป็นโรงเรียนสงเสริมสุขภาพระดับเพชรของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ เขต 2 ประกอบด้วย 3 องคประกอบ 19 ตัวชี้วัด 68 แนวทางดังนี้ ควรมีการวางแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานที่ผู้บริหาร ครู นักเรียน ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวของมีส่วนร่วมในการจัดทำโครงการ กิจกรรมที่แกปญหาหรือสงเสริมการมีสุขภาวะที่ดี และการบริการอนามัยพื้นฐานเกี่ยวกับสุขภาพของนักเรียน รวมถึง มีการจัดระบบนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการทำงานอย่างเป็นระบบ เพื่อนำผลมาปรับปรุงการทำงานใหมีประสิทธิภาพมากขึ้น
 
 
1.2 สภาพปัจจุบันของการบริหารสถานศึกษา สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ของโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น โดยรวมอยู่ในระดับ           ปานกลาง ทั้งนี้เป็นเพราะ ผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น มีความพยายามในการบริหารสถานศึกษา สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร สอดคล้องกับงานวิจัยของอัลดา กุลาสา (2563) ได้วิจัยเรื่อง การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานสู่การเป็นโรงเรียนสงเสริมสุขภาพระดับเพชร ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ เขต 2 ผลการวิจัยพบวา สภาพปัจจุบันของการดำเนินงานตามมาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ มีระดับการปฏิบัติงานในแต่ละมาตรฐานโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง
1.3 สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารสถานศึกษา สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ของโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ทั้งนี้เป็นเพราะ ผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น มีความต้องพัฒนาการบริหารสถานศึกษา สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร จึงมีสภาพที่พึงประสงค์ในระดับมากที่สุด แสดงให้เห็นถึงความต้องการในการพัฒนาอย่างยิ่ง สอดคล้องกับงานวิจัยของวารุณี ขันซ้าย และสังคม ภูมิพันธุ (2561) ได้วิจัยเรื่อง การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานสู่มาตรฐานโรงเรียนสงเสริมสุขภาพระดับเพชรของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 พบวา สภาพที่พึงประสงคการดำเนินงานสู่มาตรฐานโรงเรียนสงเสริมสุขภาพระดับเพชรโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ทุกขอมีสภาพที่พึงประสงคการดำเนินงานอยูในระดับมากที่สุด
1.4 ลำดับความต้องการจำเป็นของการบริหารสถานศึกษา สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ของโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับความต้องการจำเป็นลำดับที่ 1 คือ ด้านการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ  มีความต้องการสูงสุด ทั้งนี้เป็นเพราะ ในการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ จะเป็นพื้นฐานของการดำเนินงานเพื่อพัฒนาต่อยอดสู่การเป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชรต่อไปตามลดับ หากสถานศึกษาใดที่สามารถบริหารจัดการและส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียนได้ประสบความสำเร็จแล้ว อาจส่งผลให้ได้รับรางวัลโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชรได้ สอดคล้องกับงานวิจัยของปานพกรณ์ หูตาชัย (2554) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การพัฒนาการดำเนินงานมาตรฐานโรงเรียนมัธยมศึกษาสู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร โรงเรียนศรีฐานกระจายศึกษา อำเภอป่าติ๋ว จังหวัดยโสธร พบว่า การดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพมีความสำคัญเป็นลำดับแรก

  1. ผลการสร้างและตรวจสอบยืนยันรูปแบบการบริหารสถานศึกษา สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ของโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น

2.1 รูปแบบการบริหารสถานศึกษา สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ของโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น ประกอบด้วย 6 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 หลักการ แนวคิดและวัตถุประสงค์ตามลำดับ ส่วนที่ 2 องค์ประกอบของรูปแบบ ส่วนที่ 3 การดำเนินงานพัฒนา ส่วนที่ 4 แนวทางการนำรูปแบบไปใช้ ส่วนที่ 5 การประเมินผล และส่วนที่ 6 เงื่อนไขความสำเร็จ ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบฯ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ทั้งนี้เป็นเพราะ ได้ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นำไปศึกษาเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามายกร่างสร้างรูปแบบตามหลักการทฤษฎีของนักวิชาการทำให้ได้รูปแบบ สอดคล้องกับงานวิจัยของจำนงค์ พิบูลย์ (2559) ได้ทำการศึกษาเรื่องการพัฒนาแนวทางการดำเนินงานสู่มาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 พบว่า ผลการประเมินแนวทางการดำเนินงาน สู่มาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร โดยรวมมีความเหมาะสมของรูปแบบอยู่ระดับมากที่สุดทุกข้อ และผลการประเมินแนวทางการดำเนินงานสู่มาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องพบว่า ทุกข้อมีความเหมาะสมอยู่ระดับมากที่สุด
2.2 ผลการประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารสถานศึกษา สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ของโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ทั้งนี้เป็นเพราะ ได้สร้างรูปแบบโดยใช้ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพนำเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบยืนยัน เพื่อให้ได้รูปแบบที่สมบูรณ์ตามหลักวิชาการและมีความสอดคล้องของสภาพบริบทของการพัฒนาการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 สอดคล้องกับงานวิจัยของจำนงค์ พิบูลย์ (2559) ได้ทำการศึกษาเรื่องการพัฒนาแนวทางการดำเนินงานสู่มาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 พบว่า ผลการประเมินแนวทางการดำเนินงาน สู่มาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร โดยรวมมีความเป็นไปได้อยู่ระดับมากที่สุดทุกข้อ และผลการประเมินแนวทางการดำเนินงานสู่มาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องพบว่า ทุกข้อมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ระดับมากที่สุด

  1. ผลการทดลองใช้รูปแบบ/คู่มือรูปแบบการบริหารสถานศึกษา สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ของโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น

3.1 ผลการประเมินความรู้ ความเข้าใจ กลุ่มเป้าหมายมีคะแนนประเมินความรู้หลังการเข้าร่วมพัฒนา สูงกว่าคะแนนประเมินความรู้ก่อนการเข้าร่วมพัฒนา ทั้งนี้เป็นเพราะ ได้นำรูปแบบการพัฒนา ที่ผ่านการวิพากษ์โดยใช้กระบวนการสนทนากลุ่มได้รับข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ มาปรับปรุงแก้ไขและนำไปมาสร้างคู่มือการใช้รูปแบบ อีกทั้งมีการเชิญวิทยากรมาให้ความรู้ เพื่อให้ผู้เข้ารับการพัฒนาได้เกิดความรู้ความเข้าใจ สอดคล้องกับงานวิจัยของภัคจีรา ไชยตะมาตย์ (2557) ได้วิจัยเรื่องการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาสู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชรแบบยั่งยืน : โรงเรียนคงชนเหล่าแมดบำรุงวิทย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 พบว่า ผลการประเมินความรู้ ความเข้าใจจากการประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยรวมและรายข้ออยู่ในระดับมากที่สุด
 
3.2 ผลการประเมินพฤติกรรมการพัฒนาตามรูปแบบการบริหารสถานศึกษา สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ของโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น พบว่า หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาทุกด้าน ทั้งนี้เป็นเพราะ ได้สร้างรูปแบบการพัฒนาฯ จากข้อมูลที่ได้จากการศึกษาทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ผ่านการเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ นำมาสร้างคู่มือและนำไปใช้โดยเริ่มจากการอบรมพัฒนาด้วยการประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถ จึงทำให้ผู้ใช้รูปแบบฯ มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ตามรูปแบบการพัฒนา สอดคล้องกับงานวิจัยของปานพกรณ์ หูตาชัย (2554) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การพัฒนาการดำเนินงานมาตรฐานโรงเรียนมัธยมศึกษาสู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร โรงเรียนศรีฐานกระจายศึกษา อำเภอป่าติ๋ว จังหวัดยโสธร พบว่า หลังการพัฒนาการดำเนินงานมาตรฐานโรงเรียนมัธยมศึกษาสู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร บุคลากรทางการศึกษามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การดำเนินงานการรักษาผลประโยชน์และการประเมินผลเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.3 ผลการประเมินระดับความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารสถานศึกษา สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ของโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ทั้งนี้เป็นเพราะ ได้ศึกษาการสร้างรูปแบบและรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพทำให้ได้รูปแบบที่สมบูรณ์ นำมาใช้กับกลุ่มเป้าหมายในสถานณ์จริง ตามบริบททำให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจและมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์จากการใช้รูปแบบ สอดคล้องกับงานวิจัยของอัลดา กุลาสา (2563) ได้วิจัยเรื่อง การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานสู่การเป็นโรงเรียนสงเสริมสุขภาพระดับเพชร ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ เขต 2 พบว่า ผลการประเมินระดับความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

  1. ผลการประเมินประสิทธิภาพรูปแบบการบริหารสถานศึกษา สู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ของโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น พบว่า ด้านความเหมาะสมและด้านความเป็นประโยชน์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ทั้งนี้เป็นเพราะ ได้ศึกษาการสร้างรูปแบบและมีการเก็บรวบรวมข้อมลอย่างรอบด้าน นำมาวิเคราะห์สร้างรูปแบบและผ่านการวิพากษ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ ในการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ แล้วนำมาใช้จริง ผู้เข้ารับการพัฒนามีความรู้ความเข้าใจ และมีคุณลักษณะตามที่รูปแบบกำหนด สอดคล้องกับงานวิจัยของปานพกรณ์ หูตาชัย (2554) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การพัฒนาการดำเนินงานมาตรฐานโรงเรียนมัธยมศึกษาสู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร โรงเรียนศรีฐานกระจายศึกษา อำเภอป่าติ๋ว จังหวัดยโสธร พบว่า ผลการประเมินประสิทธิภาพรูปแบบโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

 
 
 
 
 
ข้อเสนอแนะ

  1. ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติ

1.1 ผู้บริหารสถานศึกษา ควรนำองค์ความรู้และทักษะที่ได้จากการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาตามรูปแบบฯ ไปบูรณาการและปรับประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานในสถานศึกษา เพื่อยกระดับให้สถานศึกษาเป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ซึ่งจะส่งผลที่ดีด้านสุขภาพ สุขภาวะของบุคลากรและคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนต่อไป

  1. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป

2.1 ควรนำกรอบแนวคิดและรูปแบบการวิจัยในครั้งนี้ ไปปรับประยุกต์ในการทำการวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษา สู่ความเป็นเลิศด้านต่าง ๆ เช่น วิชาการ กีฬา เป็นต้น
2.2 ควรวิจัยและพัฒนาเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษา สู่โรงเรียนพระราชทาน ของโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
 
บรรณานุกรม
กระทรวงสาธารณสุข กรมอนามัย. (2558). คู่มือการดำเนินการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ (ฉบับปรับปรุง
พ.ศ.2558). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม.
กรีน ผุยบุโรย. (2557). การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนโนนสีดาวิทยาอำเภอ
ศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด. (วิทยานิพนธ์ ค.ม.), มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม,มหาสารคาม.
ชมภู มุ่งหมาย. (2560). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ สถานศึกษาสังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3. (วิทยานิพนธ์ กศ.ม.),
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
ปานพกรณ์ หูตาชัย. (2554). การมีส่วนร่วมของบุคลากรทางการศึกษาในการพัฒนาการดำเนินงาน
โรงเรียนมัธยมศึกษาสู่มาตรฐาน โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร อำเภอป่าติ้ว
จังหวัดยโสธร. (วิทยานิพนธ์ กศ.ม.), มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
ภัคจีรา ไชยตะมาตย์. (2557). การพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชรแบบยั่งยืน : โรงเรียนดงชน
เหล่าแมดบำรุงวิทย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1.
(วิทยานิพนธ์ ค.ม.), มหาวิทยาลนราชภัฎสกลนคร, สกลนคร.
อมรรัตน์ พึ่งน่วม. (2556). การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 39. (วิทยานิพนธ์ ค.ม.), มหาวิทยาลัยราชภัฎ
พิบูลสงคราม, พิษณุโลก.
Burstrom B., & et. al. (1995). Health Promotion in schools : Policies and Practices in
Stockholm Country, . The Journal of Social Medicine.
 
 
Conrad, C.F. & Wilson, R.F. (1985). Academic Programs Review. Washington D.C. :
             Kogan Page.
Deming, W. E. (1995). Out of The Crisis. USA : The Massachusetts Institute of
Technology Center for Advanced Engineering Study.
Owens Robert G. (1998). Organizational Behavior In Education Instructional
Leadership. And School Reform. 7 rd . The United States of America.
Allyn and Bacon.
Pender N.J., Murdaugh C.L., & & Parsons M.A. (2002). Health Promotion in Nursing
Practice. New Jersey : Pearson Education, Inc.
Phuphaibul R., & et al. (2005). The Impact of the ‘Immune of Life’ for Teens
Module Application on the Coping Behaviors and Mental Health of Early
Adolescents. Journal of Pediatric Nursing.

Powered by GliaStudio
Back to top button