การพัฒนารูปแบบการโค้ชเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สําหรับครูโรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ทฤษฎี แนวคิดเกี่ยวกับการโค้ชและสภาพการโค้ชเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูโรงเรียน ราชโบริกานุเคราะห์ 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการโค้ชเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูโรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์ และ 3) เพื่อทดลองใช้และศึกษาผลของ การใช้รูปแบบการโค้ชเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูโรงเรียน ราชโบริกานุเคราะห์ ดังนี้ 3.1 เปรียบเทียบทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูผู้รับ การโค้ช ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการโค้ชเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 3.2 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบการโค้ชเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่าง ครูผู้สอนโรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี วิธีการวิจัยได้ดำเนินการโดยแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและสภาพการโค้ชเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูโรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์ ระยะที่ 2 สร้างและพัฒนารูปแบบการโค้ชเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูโรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์ ระยะที่ 3 ทดลองใช้และศึกษาผลของการใช้รูปแบบการโค้ชเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูโรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์ เครื่องมือที่ใช้ใน การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ที่ไม่มีโครงสร้าง และแบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนตามลำดับความสำคัญของการนำเข้าตัวแปร และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและสภาพการโค้ชเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูโรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์ ได้แก่ เอกสาร ทฤษฎี แนวคิดเกี่ยวกับการโค้ชและ องค์ประกอบของรูปแบบและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการโค้ช หลักการ แนวคิดการโค้ช (Coaching) เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
2. การสร้างและพัฒนารูปแบบการโค้ชเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูโรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์ พบว่า การสร้างและพัฒนารูปแบบการโค้ชเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นการเตรียมการก่อนการโค้ช ขั้นการโค้ช
ข
ขั้นการทบทวน และขั้นการสะท้อนผลนั้น สามารถส่งเสริมให้ครูมีทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
3.เพื่อทดลองใช้และศึกษาผลของการใช้รูปแบบการโค้ชเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูโรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์ ดังนี้
3.1 เปรียบเทียบทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูผู้รับการโค้ช ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการโค้ชเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 พบว่า หลังการใช้รูปแบบการโค้ชเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูโรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์ ครูผู้รับการโค้ชมีทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการโค้ชเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ทุกคน
3.2 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบการโค้ชเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 นักเรียนของครูผู้รับการโค้ช ทั้ง 6 คน พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ทุกคนโดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผลการเปรียบเทียบทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 นักเรียนของครูผู้รับการโค้ช พบว่า หลัง การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ทุกคน