การจัดกิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนปลอดยาเสพติดและอบายมุข โดยใช้กลยุทธ์ SMARTGUARD Model
การจัดกิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียน ปลอดยาเสพติดและอบายมุขโดยใช้กลยุทธ์ SMARTGUARD Model ตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข มีวัตถุประสงค์ ๑. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนทุกคนปลอดยาเสพติดและอบายมุขโดยใช้ กลยุทธ์ SMARTGUARD Model ๒. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในการส่งเสริมให้นักเรียนทุกคนปลอดยาเสพติดและอบายมุข ๓. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องในการส่งเสริม ให้นักเรียน ทุกคนปลอดยาเสพติดและอบายมุข มีกระบวนการดำเนินงานดังนี้ การเฝ้าระวังอย่างเป็นระบบ S : Systematic Surveillance ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เช่น ระบบฐานข้อมูล เพื่อติดตามพฤติกรรมเสี่ยงของนักเรียน และเฝ้าระวังปัญหาในสถานศึกษาโดย ความร่วมมือหลายฝ่าย M : Multilateral Collaboration ส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างครู ผู้ปกครอง ชุมชน และองค์กรภายนอก เพื่อสร้างเครือข่ายป้องกันยาเสพติดที่มีประสิทธิภาพ การเพิ่มความตระหนักรู้ A : Awareness Enhancement จัดกิจกรรมการเรียนรู้ เช่น การอบรมออนไลน์ วิดีโอมัลติมีเดีย และอินโฟกราฟิก เพื่อให้นักเรียนและบุคลากรเข้าใจถึงผลกระทบและอันตรายของยาเสพติด ฝึกอบรมเพื่อการตอบสนอง R : Responsive Training การพัฒนาทักษะของนักเรียน เช่น การคิดเชิงวิพากษ์ การแก้ปัญหา และการสื่อสาร เพื่อให้สามารถรับมือกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดได้ การบูรณาการเทคโนโลยี T : Technology Integration นำเทคโนโลยี เช่น การใช้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย Facebook, Line เพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้แบบโต้ตอบและทันสมัย การดำเนินงานแบบมุ่งเน้นเป้าหมาย G : Goal-Oriented Approach มีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน ทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ เช่น ลดจำนวนพฤติกรรมเสี่ยง หรือเพิ่มความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด การมีส่วนร่วมของผู้ใช้งาน U : User Engagement โดยจัดกิจกรรมที่นักเรียนและผู้ปกครองสามารถมีส่วนร่วม เช่น การแข่งขันสร้างสื่อดิจิทัล และกิจกรรมออนไลน์เพื่อกระตุ้นความสนใจ มาตรการที่ปรับเปลี่ยนได้ A : Adaptive Measures การปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินงานตามสถานการณ์ เช่น การปรับเนื้อหาการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายหรือบริบทท้องถิ่น การจัดการความเสี่ยง R – Risk Management วางแผนและดำเนินการเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดปัญหายาเสพติดในโรงเรียน เช่น การจัดทำมาตรการเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด การตัดสินใจบนพื้นฐานข้อมูล D : Data-Driven Decisions ใช้ข้อมูลจากการติดตามและประเมินผล เช่น แบบสำรวจ หรือรายงานพฤติกรรมเสี่ยง เพื่อปรับปรุงการดำเนินโครงการให้มีประสิทธิภาพเป็นกระบวนการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนปลอดยาเสพติดและอบายมุข เพื่อให้นักเรียนมีความสมบูรณ์ ทั้งร่างกายและจิตใจรวมทั้งมิติสุขภาพ มีการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ นักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข และได้รับการส่งเสริมพัฒนาเต็มตามศักยภาพ อย่างรอบด้าน สามารถดำเนินชีวิตเป็นไปในทางสร้างสรรค์อย่างรอบคอบ มีภูมิคุ้มกัน มีทักษะชีวิต และดำรงชีวิต สัมพันธภาพระหว่างครู นักเรียนเป็นไปด้วยดี และอบอุ่น ดำเนินการโดยใช้ยุทธศาสตร์ ๕ ด้าน คือ ด้านการป้องกัน ด้านการค้นหา ด้านรักษา ด้านการเฝ้าระวังและด้านการบริหารจัดการ โดยดำเนินการดังนี้ จัดหาอุปกรณ์/เครื่องมือ เทคโนโลยีเพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนปลอดยาเสพติดและอบายมุข เช่น คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต โทรศัพท์มือถือ จัดกิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนใช้เทคโนโลยีในการนำเสนอผลงาน เช่น E-book โทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียม อินเทอร์เน็ต จัดทำเครื่องมือประเมินผลตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ สรุปผลการดำเนินการตามโครงการ รายงานผลการดำเนินกิจกรรม โดยใช้เทคโนโลยีและเผยแพร่ผลงานผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ผลสำเร็จของการดำเนินงาน โรงเรียนบ้านควนปริง ได้ดำเนินการพัฒนา นวัตกรรมส่งเสริมให้นักเรียน ปลอดยาเสพติดและอบายมุขโดยใช้กลยุทธ์ SMARTGUARD Model จนก่อเกิดความสำเร็จดังนี้นักเรียนโรงเรียน บ้านควนปริงทุกคนปลอดยาเสพติดและอบายมุขการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในการส่งเสริมให้นักเรียนปลอดยาเสพติดและอบายมุข อยู่ในระดับมากที่สุด ผู้เกี่ยวข้องในการส่งเสริมให้นักเรียน ปลอดยาเสพติดและอบายมุขมีความพึงพอใจใน ระดับมากที่สุด ประโยชน์ที่ได้รับนักเรียนได้รับการส่งเสริมให้ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ครู นักเรียน ผู้ปกครอง มีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโรงเรียน ผู้บริหาร ครู ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ เสมา ป.ป.ส.