การบริหารจัดการโดยใช้ LANTONG Model เพื่อส่งเสริมการใช้นวัตกรรมของครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) บูรณาการภายใต้ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาโรงเรียนวัดล้านตอง

กระดานสนทนา เผยแพร่ผลงานวิชาการหมวดหมู่: เผยแพร่ผลงานวิชาการการบริหารจัดการโดยใช้ LANTONG Model เพื่อส่งเสริมการใช้นวัตกรรมของครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) บูรณาการภายใต้ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาโรงเรียนวัดล้านตอง
นายปรัชญา กานิล asked 5 เดือน ago

 
ชื่อผู้เสนอผลงาน   นายปรัชญา  กานิล
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดล้านตอง
โรงเรียน/หน่วยงาน            โรงเรียนวัดล้านตอง  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1
โทรศัพท์มือถือ      089-5569530       E-mail : [email protected]
ความเป็นมาและความสำคัญของการพัฒนานวัตกรรม
            แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 ได้กำหนดแนวทางเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำไปใช้เป็นกรอบการพัฒนาการศึกษาเพื่อให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้คือ “คนไทยทุกคนได้รับ การศึกษา และเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิต อย่างเป็นสุข สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21”และมาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561 (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2560) ประกอบกับนโยบายและจุดเน้นของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพืั้นฐานปีงบประมาณ 2567-2568 ข้อ 1 ปลูกฝังความรักในสถาบันหลักของชาติและน้อมนำ พระบรมราโชบายด้านการศึกษาสู่การปฏิบัติ ข้อ 1.1 ขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อ 1.2 ขับเคลื่อนพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่การปฎิบัติ และข้อ 3 ปรับกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้ทันสมัยและหลากหลาย ข้อ 3.1 ส่งเสริมให้มีการต่อยอดแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาให้ผู้เรียน เรียนรู้อย่างมีความสุข (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2566)
    โรงเรียนวัดล้านตองได้เห็นถึงความสำคัญจึงได้นำนโยบายดังกล่าวมาสู่การปฏิบัติโดยจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี และมีโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ซึ่งตัวแปรสำคัญในการจัดการเรียนรู้คือ ครูผู้สอน ที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ ดังนั้นครูผู้สอนควรมีทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยใช้รูปแบบการสอนที่หลากหลายตามธรรมชาติวิชาเพื่อให้นักเรียนบรรลุเป้าหมาย
                ในฐานะผู้อำนวยการสถานศึกษา ได้ให้ความสำคัญของการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อนำมาพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับนโยบายและบริบทของโรงเรียน โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมให้ครูพัฒนานวัตกรรมการสอนที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุขและมีประสิทธิภาพ โดยใช้รูปแบบการบริหาร LANTONG Model เพื่อให้ครูสามารถออกแบบ พัฒนาและใช้นวัตกรรมการสอนที่ตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาผู้เรียนอย่างยั่งยืนและเป็นไปตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ 10 อันจะนำไปสู่การยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนวัดล้านตองอย่างเป็นรูปธรรม
วัตถุประสงค์การพัฒนานวัตกรรม
วัตถุประสงค์ 

  1. 1. เพื่อศึกษาการใช้รูปแบบการบริหารงาน LANTONG Model ในการส่งเสริมการใช้นวัตกรรมของครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) บูรณาการภายใต้ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาศึกษา
  2. 2. เพื่อส่งเสริมการใช้นวัตกรรมของครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) บูรณาการภายใต้ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาศึกษา

ขอบเขตของการวิจัย
            ประชากรในการวิจัย เป็นคณะครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนวัดล้านตอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 จำนวน 14 คน
กรอบแนวคิดในการพัฒนานวัตกรรม
.

Powered by GliaStudio
Back to top button