การพัฒนาบทเรียนบนออนไลน์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ และคิดด้วยตนเอง (Hands–On Minds–On Activities) ร่วมกับเทคนิคคู่ตรวจสอบ (Pairs Check) โดยเทคโนโลยีคลาวด์ (Cloud Technology) เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนโปรแกรม เรื่อง การเขียนโปรแกรมภาษา Scratch สำหรับนักเรียนชั้นประศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลสุวรรณคูหา
ชื่อเรื่อง การพัฒนาบทเรียนบนออนไลน์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติและคิดด้วยตนเอง (Hands–On Minds–On Activities) ร่วมกับเทคนิคคู่ตรวจสอบ (Pairs Check) โดยเทคโนโลยีคลาวด์ (Cloud Technology) เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนโปรแกรม เรื่อง การเขียนโปรแกรมภาษา Scratch สำหรับนักเรียนชั้นประศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลสุวรรณคูหา
ผู้วิจัย นางสาวสุวรรณา จำปาศักดิ์ ศรีนาง .
ปีการศึกษา 2567
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนออนไลน์โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบให้ลงมือปฏิบัติและคิดด้วยตนเอง ร่วมกับเทคนิคคู่ตรวจสอบ 2) ส่งเสริมทักษะการเขียนโปรแกรมภาษา Scratch 3) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน 4) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 จำนวน 26 คน การเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) รูปแบบการวิจัยที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยก่อนการทดลอง แบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อน และหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวัดทักษะการเขียนโปรแกรม 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1) บทเรียนออนไลน์ ประกอบด้วย (1) จุดประสงค์การเรียนรู้ (2) บทเรียน (3) ภารกิจการเรียนรู้ (4) ที่ปรึกษา (5) ระดมสมอง (6) การเขียนโปรแกรมโดยเทคโนโลยีคลาวด์ และผลการประเมินประสิทธิภาพ พบว่ามีประสิทธิภาพเท่ากับ 94.41/91.95 ผ่านตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 85/85
2) ผลการศึกษาทักษะการเขียนโปรแกรม พบว่า ผู้เรียนมีคะแนนทักษะการเขียนโปรแกรมค่าเฉลี่ยเท่ากับ 15.97 คะแนน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน และผู้เรียนร้อยละ 92.30 ได้คะแนนสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ร้อยละ 80
3) ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อน และหลังเรียน ของผู้เรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้เรียนร้อยละ 91.95 ได้คะแนนสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ร้อยละ 80
4) ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียน พบว่าผู้เรียนมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.64