การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาชีววิทยา1 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนท่าวังผาพิทยาคม โดยการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning บูรณาการบนพื้นฐานวัฒนธรรมวิถีน่าน รายวิชาชีววิทยา1 หน่วยการเรียนรู้เคมี ที่เป็นพื้นฐานสิ่งมีชีวิต เรื่องสารประกอบคาร์บอนในสิ่งมีชีวิต โดยใช้กระบวนการ สืบเสาะหาความรู้ 5E สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนท่าวังผาพิทยาคม
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาชีววิทยา 1 ว31241 โดยการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning บูรณาการบนพื้นฐานวัฒนธรรมวิถีน่าน รายวิชาชีววิทยา1 หน่วยการเรียนรู้เคมีที่เป็นพื้นฐานสิ่งมีชีวิต เรื่องสารประกอบคาร์บอนในสิ่งมีชีวิต โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5E สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนท่าวังผาพิทยาคม ประชากรนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2567 และกลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้น 4/1 จำนวน 36 คน การกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างตามสะดวก (บุญชม ศรีสะอาด. 2545) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบหลังเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน และแบบประเมินสมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีมวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย () และหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน () สรุปผลการวิจัย ดังนี้ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 48.28 คิดเป็นร้อยละ 80.46 สูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน ค่าเฉลี่ยสูงกว่าเท่ากับ 24.31 คิดเป็นร้อยละ 40.51 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ดังกล่าว สามารถส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนสูงขึ้น
ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ที่มีต่อโดยการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning บูรณาการบนพื้นฐานวัฒนธรรมวิถีน่าน รายวิชาชีววิทยา1 หน่วยการเรียนรู้เคมีที่เป็นพื้นฐานสิ่งมีชีวิต เรื่องสารประกอบคาร์บอนในสิ่งมีชีวิต โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5E สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนท่าวังผาพิทยาคม ซึ่งผู้ศึกษาได้กำหนดกรอบแนวคิดในการประเมินความพึงพอใจไว้ 3 ด้าน คือ ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียนรู้ ในภาพรวม ทั้ง 3 ด้าน มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.55 และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.56 โดยในรายด้านเป็นดังนี้
ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ชีววิทยา มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การจัดเนื้อหาเหมาะสม ใบความรู้มีเนื้อหาครบถ้วนมีภาพประกอบที่ชัดเจน มีขนาดตัวอักษรที่เหมาะสม โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.83 และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.41 เมื่อพิจารณาโดยภาพรวม พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56 และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.48
ด้านกระบวนการ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ชีววิทยา มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ กิจกรรมการเรียนรู้มีการตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.88 และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.67 โดยภาพรวมพบว่า มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.646 และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.63
ด้านผลผลิต พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ชีววิทยา มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ นักเรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่มอย่างเต็มความสามารถ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.87 และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.51 เมื่อพิจารณาโดยภาพรวมพบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.51
คำสำคัญ : ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning, ความพึงพอใจ