รายงานผลการประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของนักเรียนโดยใช้กระบวนการขับเคลื่อนการทำงาน SWANGAROM K-M

กระดานสนทนา เผยแพร่ผลงานวิชาการรายงานผลการประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของนักเรียนโดยใช้กระบวนการขับเคลื่อนการทำงาน SWANGAROM K-M

ชื่อผลงาน    : รายงานผลการประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของนักเรียนโดยใช้กระบวนการขับเคลื่อนการทำงาน SWANGAROM K-M
NEXT MODEL เคียงคู่ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ผู้รายงาน   :  นายนิรุทธิ์  พิกุลเทพ
ปีการศึกษา :  2566
 
บทสรุปสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา
 รายงานผลการประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุขของนักเรียนโดยใช้กระบวนการขับเคลื่อนการทำงาน SWANGAROM K-M NEXT MODEL เคียงคู่ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน  มีวัตถุประสงค์เพื่อการประเมินโครงการ ใน 4 ด้าน ประกอบด้วย                 การประเมิน ด้านสภาพแวดล้อม การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า การประเมินด้านกระบวนการ และ              การประเมินด้านผลผลิต โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้                      ในการประเมินโครงการ ปีการศึกษา 2566 ได้แก่ รองผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 29 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน นักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 จำนวน 188 คน และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 จำนวน 166 คน  ปีการศึกษา 2566 รวมทั้งสิ้นจำนวน 354 คน และผู้ปกครองนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 จำนวน 188 คน และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 จำนวน 166 คน ปีการศึกษา 2566 รวมทั้งสิ้นจำนวน 354 คน รวมทั้งหมด จำนวน 751 คน โรงเรียนวัดสว่างอารมณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะ เป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ รวมทั้งสิ้น 5 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่นฉบับที่ 1 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 ฉบับที่ 2 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 ฉบับที่ 3 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 ฉบับที่ 4 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 และฉบับที่ 5 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติการคำนวณหา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
 
ผลการประเมินโครงการ พบว่า
ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติด และอบายมุขของนักเรียนโดยใช้กระบวนการขับเคลื่อนการทำงาน SWANGAROM K – M NEXT MODEL เคียงคู่ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ตามความเหมาะสมของรองผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม มีระดับความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก ( x = 3.92 , S.D. = 0.61) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีระดับความเหมาะสม      ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ความเป็นไปได้ของโครงการ ( x= 3.96 , S.D. = 0.39) รองลงมา คือ ความต้องการจำเป็น (x = 3.95 , S.D. = 0.40) ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ (x = 3.91 , S.D. = 0.80) ส่วนด้านที่มีระดับความเหมาะสมต่ำสุด คือ ความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงาน ( x= 3.85 , S.D. = 0.83) เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ ผ่านเกณฑ์การประเมิน

  1. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติด และอบายมุขของนักเรียนโดยใช้กระบวนการขับเคลื่อนการทำงาน SWANGAROM K – M NEXT MODEL เคียงคู่ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ตามระดับความพร้อมของรองผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยภาพรวมมีความพร้อมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x = 4.89 , S.D. = 0.23) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน  พบว่า ระดับความพร้อม ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ คือ ความเหมาะสม ของการบริหารจัดการ ( x = 4.95 , S.D. = 0.16) รองลงมา คือ ความพร้อมของครูและบุคลากรทางการศึกษา ( x= 4.93 , S.D. = 0.25) ความเพียงพอของงบประมาณและหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ (  = 4.86 ,  S.D. = 0.24)  ส่วนด้านที่มีระดับความพร้อมต่ำสุด คือความเพียงพอของวัสดุ อุปกรณ์ ( x = 4.83 , S.D. = 0.31) เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ ผ่านเกณฑ์การประเมิน
  2. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุขของนักเรียนโดยใช้กระบวนการขับเคลื่อนการทำงาน SWANGAROM K-M NEXT MODEL เคียงคู่ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ตามระดับการปฏิบัติของรองผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับ มากที่สุด (x = 4.84 , S.D. = 0.33) เมื่อพิจารณาเป็นขั้นตอน พบว่า ระดับการปฏิบัติในระดับมากที่สุดทุกขั้นตอน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ขั้นตอนที่ 2 M : Moral การอบรมคุณธรรม สอดแทรกคุณธรรมเข้าไปในระบบการจัดการเรียนการสอน (x = 4.94 , S.D. = 0.17) รองลงมา คือ ขั้นตอนที่ 6 T : Technology เทคโนโลยีมีส่วนร่วม ( x= 4.89 , S.D. = 0.29) ขั้นตอนที่ 4 E : Environment การสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย (x = 4.85 , S.D. = 0.35)  ขั้นตอนที่ 3 N : Network การสร้างเครือข่ายเพื่อประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ( x= 4.81 , S.D. = 0.36) และขั้นตอนที่ 1 Knowledge สร้างความรู้ : เป็นส่วนประกอบของวงจรที่มีความสำคัญ ในการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักรู้เรื่องยาเสพติด ( x= 4.79 , S.D. = 0.37)  ส่วนด้านที่มีระดับการปฏิบัติต่ำสุด คือ ขั้นตอนที่ 5 X : X – Ray  การตรวจสอบอย่างละเอียด ( x= 4.78 , S.D. = 0.29) เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ ผ่านเกณฑ์การประเมิน
  3. สรุปผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุขของนักเรียนโดยใช้กระบวนการขับเคลื่อนการทำงาน SWANGAROM K – M NEXT MODEL เคียงคู่ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน ในภาพรวม มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( x= 4.75 , S.D. = 0.46) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินตามประเด็นตัวชี้วัด ที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาเป็นประเด็นการประเมิน พบว่า มีระดับความคิดเห็นในระดับมากที่สุด 2 ด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ความพึงพอใจ ( x = 4.76 , S.D. = 0.44) รองลงมา คือ พฤติกรรมป้องกันยาเสพติดและอบายมุข ( x = 4.74 , S.D. = 0.47)  0.47) เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ ผ่านเกณฑ์การประเมิน มีรายละเอียด ดังนี้

                   4.1  ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับพฤติกรรมป้องกันยาเสพติดและอบายมุขของนักเรียนโรงเรียนวัดสว่างอารมณ์ ตามความคิดเห็นของรองผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( x = 4.74, S.D.  = 0.47) เมื่อพิจารณาเป็นด้าน พบว่า ระดับความคิดเห็นในระดับมากที่สุดทุกรายการ  โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่  นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกายที่โรงเรียนจัดขึ้น เช่น    วันกีฬาโรงเรียน ( x = 4.87, S.D. = 0.38)  รองลงมา คือ นักเรียนจะตักเตือนเพื่อน เมื่อคิด จะสูบบุหรี่ หรือดื่มสุรา ( x = 4.83, S.D. = 0.37) และนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม สาธารณประโยชน์ที่โรงเรียนจัดขึ้น เช่น การเก็บขยะ การเดินรณรงค์ต้านยาเสพติด ( x = 4.81, S.D. = 0.41) ส่วนรายการที่มีระดับความคิดเห็นต่ำสุด คือ นักเรียนเลือกคบคนที่ไม่ติดสารเสพติดหรือเกี่ยวข้องอบายมุข (x  = 4.65, S.D. = 0.53) เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ ผ่านเกณฑ์การประเมิน
                  4.2  ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจของรองผู้บริหารสถานศึกษาครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน  ที่มีต่อโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุขของนักเรียนโดยใช้กระบวนการขับเคลื่อนการทำงาน SWANGAROM K-M NEXT MODEL เคียงคู่ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ตามระดับความพึงพอใจ โดยภาพรวม  มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด  (x = 4.76, S.D.  = 0.44) เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า ระดับความพึงพอใจในระดับมากที่สุดทุกรายการ โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก  ได้แก่ หลังเข้าร่วมโครงการ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถนำความรู้ ไปป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากยาเสพติด ( x= 4.97 , S.D.  = 0.18) รองลงมา  คือ ระยะเวลาการจัดกิจกรรมต่างๆ ในโครงการมีความเหมาะสม (x = 4.86 , S.D. = 0.36) และโครงการมีประโยชน์ กับหน่วยงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (x  = 4.78, S.D. = 0.44) ส่วนรายการ ที่มีระดับความพึงพอใจ ระดับต่ำสุด คือ วัสดุอุปกรณ์ในโครงการมีความเหมาะสม ( x = 4.68 , S.D. = 0.52)  เมื่อเปรียบเทียบ กับเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ ผ่านเกณฑ์การประเมิน
 
 

Powered by GliaStudio
Back to top button