แบบฝึกเสริมทักษะตัวสะกดไม่ตรงมาตรา แม่ กก
ชื่อผลงาน แบบฝึกเสริมทักษะตัวสะกดไม่ตรงมาตรา แม่ กก
ชื่อผู้เสนอผลงาน นางสาวกรรณิการ์ รอดกูล
โรงเรียน/หน่วยงาน โรงเรียนวัดเขาวิเศษ
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
1. ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรมที่นำเสนอ
ในโลกของเรานี้มีภาษาพูดที่ใช้พูดกันอยู่หลายภาษา แต่สำหรับคนไทยนั้นมีภาษาที่สำคัญ
ที่สุดก็คือ ภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ
และสร้างเสริมบุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร เพื่อสร้างความ
เข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทำให้ประกอบกิจธุรการงานและการดำรงชีพร่วมกันในสังคมประชาธิปไตย
ได้อย่างสันติสุข และเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ประสบการณ์จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศต่างๆ
ตามที่กระทรวงศึกษาธิการโดย พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศนโยบายให้ “ปี ๒๕๕๘ เป็นปีปลอดนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้” โดย
ประกาศไว้ ณ วันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๘ นั้น เพื่อเป็นการขานรับนโยบายกระทรวงศึกษาธิการที่เห็น
ความสำคัญในการเร่งรัดพัฒนาคุณภาพการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้ โดยให้ทุกภาคส่วนร่วมกันขับเคลื่อนไปสู่
เป้าหมายการพัฒนาขีดความสามารถของผู้เรียน ให้เป็นประชากรที่มีคณภาพในประชาคมอาเซียน
และประชาคมโลก เพื่อพัฒนาความรู้ ความคิด วิเคราะห์ วิจารณ์และสร้างสรรค์ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
ทางสังคม และความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนนำไปใช้พัฒนาอาชีพให้มีความมั่งคง
ทางสังคมและเศรษฐกิจ นอกจากนี้ภาษาไทยยังเป็นสื่อที่แสดงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษด้านวัฒนธรรม
ประเพณีชีวทัศน์ โลกทัศน์ และสุนทรียภาพ โดยบันทึกไว้เป็นวรรณคดีและวรรณกรรมสำคัญ ภาษาไทยจึง
เป็นสมบัติของชาติที่ควรค่าการเรียนรู้ เพื่ออนุรักษ์และสืบสานให้คงอยู่คู่ชาติตลอดไป (กระทรวงศึกษาธิการ,
2545, หน้า 3)
การศึกษาที่ผ่านมา มีการพัฒนาผู้เรียนได้คุณภาพที่ค่อนข้างต่ำ ส่วนใหญ่จะเป็นการเน้นที่ความรู้
ความจำ หรือความเข้าใจเท่านั้น มีส่วนน้อยที่พัฒนาไปถึงการคิด วิเคราะห์ คิดแก้ปัญหา คิดสร้างสรรค์
หรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ (ทองสุข รวยสูงเนินและคณะ, 2543, หน้า 3) ครูผู้สอนมักจะประสบปัญหาใน
ด้านต่างๆ ปัญหาเหล่านั้นอาจจะเป็นปัญหาที่เกิดจากตัวครูเอง ปัญหาเกี่ยวกับหลักสูตร หนังสือเรียน
วิธีการสอน การใช้สื่อการสอน วิธีการประเมินผล ครูผู้สอนภาษาไทยควรที่จะได้ตระหนักถึงความสำคัญและ
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาเหล่านี้ เพื่อที่จะได้เข้าใจปัญหาชัดเจนยิ่งขึ้นและพยามยามหาวิธีการที่แก้ปัญหา
เหล่านี้ เพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
จากที่ผู้นำเสนอได้สอนวิชาภาษาไทยประถมศึกษาปีที่ 1 และได้วิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลแล้ว
ปรากฏว่า ปัญหาที่พบในชั้นเรียน คือ ปัญหาเกี่ยวกับ เรื่อง ทักษะการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการ
เรียนรู้ภาษาไทย โดยเฉพาะคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา ในมาตราแม่กก แม่กด แม่กบ และแม่กน ซึ ่ง
นักเรียนส่วนใหญ่ร้อยละ ๒๐ ของนักเรียนทั้งหมดจำนวน ๒๙ ยังขาดทักษะการอ่านและการเขียน ไม่เข้าใจ
โครงสร้างของคำ ทำให้ประสมคำอ่านไม่ได้ โดยเฉพาะคำใหม่ที่ไม่คุ้นเคยยิ่งมีปัญหามาก บางคำมีโครงสร้าง
เหมือนกับคำที่เคยเรียนผ่านมาแล้ว ก็ยังอ่านและสะกดคำไม่ถูกต้อง เช่น อ่านคำ ก้อนเมฆ ว่า “ก้อนเมด”
คำ อัคคี ว่า “อัด-คี” คำ ประโยค ว่า “ประ-โหยด” และเขียนคำ โชคดี ว่า “โชกดี” คำ เชื้อโรค ว่า เชื้อ
โรก” เป็นต้น เมื่อนักเรียนอ่านและสะกดคำตามโครงสร้างไม่ได้ก็ทำให้เขียนไม่ได้ตามมา จึงเป็นปัญหาที่
สำคัญอย่างยิ่งที่ครูผู้สอนต้องตระหนักและหาแนวทางแก้ไข เพราะจะส่งผลกระทบต่อการเรียนการสอนใน
2
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาอื่นๆตามไปด้วย ด้วยประสบปัญหาและเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น ผู้นำเสนอเคย
แก้ปัญหาเรื่องการอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราซึ่งเป็นการแก้ปัญหาแบบเดิม ๆ เช่น สอนซ่อม
เสริมนอกเวลาเรียน ขอความร่วมมือจากผู้ปกครองให้ช่วยสอนบ้าง ให้ เพื่อนช่วยเพื่อนบ้าง แต่ก็ยังไม่ได้
ดำเนินการอย่างจริงจัง ผู้นำเสนอจึงได้คิดวิธีสอนเพื่อพัฒนานักเรียนในเรื่องตัวสะกดไม่ตรงมาตรา จึงจัดทำ
นวัตกรรมแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราแม่ กก ของกลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทย เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาดังกล่าวให้กับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ผู้นำเสนอ
เห็นว่าการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ก็คือ แบบฝึกเสริมทักษะ
เสริมทักษะ
2. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
2.1 นักเรียนบอกพยัญชนะที่เป็นตัวสะกดไม่ตรงมาตราแม่ กก ได้ถูกต้อง
2.2 นักเรียนอ่านคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราแม่ กก ได้ถูกต้อง
2.3 นักเรียนเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราแม่ กก ได้ถูกต้อง
2.4 เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง ตัวสะกดไม่
ตรงตามมาตรา แม่กก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดเขาวิเศษ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
2.5 นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน
3. กระบวนการผลิตผลงานหรือขั้นตอนการดำเนินงาน
3.1 ศึกษาโครงสร้างหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เกี่ยวกับ สาระ
มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด จุดประสงค์การเรียนรู้ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ กระบวนการเรียนรู้ สื่อและ
แหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (กรมวิชาการ. 2551 หน้า 1- 34)
3.2 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาสาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด (กรม
วิชาการ. 2551 หน้า 7-10) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
๓.๓ ศึกษาทฤษฎีการสอนอ่านออกเสียงและการเขียนภาษาไทย
3.๔ สร้างแบบฝึกเสริมทักษะและแบบทดสอบทางการเรียน เรื่อง ตัวสะกดไม่ตรงมาตรา แม่ กก
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
3.๕ นำแบบฝึกไปใช้สอน โดยให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ตามลำดับขั้นตอนดังนี้
๑. วิธีฝึกอ่าน(สอน)การสะกดคำ
หลักการ
การแจกลูกเป็นกระบวนการฝึกภาษา เป็นพื้นฐานของการใช้ภาษาที่ดี มีประสิทธิภาพชั้นสูง
ต่อไป หากครูไม่สอนการแจกลูกสะกดคำในระยะเริ่มแรก นักเรียนจะขาดหลักเกณฑ์การประสมคำ ทำให้เมื่อ
อ่านหนังสือมากขึ้นจะสับสน จนอ่านหนังสือไม่ออก เขียนหนังสือผิดตลอดไป การแจกลูก มี ๒ ชนิด คือ
การแจกลูกตามมาตราตัวสะกดต่างๆ และการเทียบเสียง
๑.๑ วิธีการ/ขั้นตอนการฝึกอ่าน(สอน) แจกลูกสะกดคำตามมาตราตัวสะกด
๑. เริ่มต้นจากการจำและออกเสียงพยัญชนะ สระให้ได้
๒. ต่อจากนั้น ฝึกเริ่มแจกลูกในมาตราแม่ ก กา (ไม่มีเสียงสะกด) จะใช้สะกดคำไปทีละคำไล่ไป
ตามลำดับของสระ(อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ) เช่น – กะ สะกดว่า กอ – อะ – กะ
– กา สะกดว่า กอ – อา – กา
๓. แล้วจึงอ่านโดยไม่สะกดคำ เช่น กะ กา กิ กี กุ กู เก โก เป็นต้น
3
๔. เมื่ออ่านได้จึงอ่านตามตัวสะกดมาตราอื่นๆต่อไป
๑.๒ วิธีการ/ขั้นตอนการฝึกอ่าน(สอน) แจกลูกสะกดคำ แบบเทียบเสียง
๑. เมื่อนักเรียนอ่านคำ จำคำได้แล้ว ให้ครูนำรูปคำมาแจกลูกโดยการเปลี่ยนพยัญชนะต้น หรือ
พยัญชนะท้าย เช่น เมื่อจำคำว่า บ้านได้แล้ว ก็ให้ลองหาพยัญชนะอื่นมาเปลี่ยน “บ” บ้าง เช่น ก้าน ป้าน ร้าน
ล้าน ค้าน เป็นต้น
๒. การแจกลูกสะกดคำแบบนี้ ครูต้องฝึก ดังนี้
๒.๑ อ่านสระเสียงยาวก่อนสระเสียงสั้น
๒.๒ นำคำที่มีความหมายมาฝึกเท่านั้น
๒.๓ เปลี่ยนเฉพาะพยัญชนะต้นหรือท้ายเท่านั้น
๒.๔ นำคำที่อ่านแล้วมาจัดทำเป็นแผนภูมิการอ่าน ให้เด็ก เห็นชัดเจนด้วย
เทคนิคการฝึก(สอน)อ่านสะกดคำ
๑. ควรฝึกอ่านแจกลูกให้คล่องปาก ทั้งแบบจากหนังสือเรียน หรือที่ครูเขียนบนกระดาน หรือ
แบบเห็นคำจากบัตรคำ หรือแบบปากเปล่า (ไม่เห็นคำ)
๒. การแจกลูกสะกดคำ ต้องเป็นการออกเสียง มิใช่ฝึกการแยกตัวพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ลงใน
ตาราง หรือช่องว่าง เพราะนั่นเป็นเพียงการจำแนกตัวอักษรที่เป็นส่วนประกอบของคำ
เคล็ดลับการฝึก(สอน) สะกดคำ
๑. การสอนอ่านสะกดคำ จะต้องให้นักเรียนสังเกตรูปคำพร้อมๆกับการอ่าน
๒. ครูจะต้องให้อ่านสะกดคำ แล้วเขียนคำพร้อมๆกัน
๓. นำคำที่มีความหมายมาฝึกเท่านั้น
๔. เมื่อสะกดคำจนจำคำได้แล้ว ไม่ควรใช้วิธีการสะกดคำคำนั้นๆอีก
๕. การสอนสะกดคำเป็นแค่เครื่องมือในการสอนอ่านคำใหม่ ถ้ายังสอนแบบสะกดคำอีก จะทำให้
นักเรียนอ่านจับใจความไม่ได้ และอ่านได้ช้า
๖. วิธีการสอนการสะกดคำที่ถูกต้อง ถ้าสอนสะกดคำเพื่ออ่าน ต้องฝึกสะกดคำตามเสียง, ถ้าสอน
สะกดคำเพื่อเขียน ต้องฝึกสะกดคำตามรูป (ครูส่วนมากมักสอนให้สะกดคำตามรูปไม่ว่าทั้งอ่านและเขียน จึง
ทำให้นักเรียนอ่านหนังสือไม่ถูกเป็นจำนวนมาก)
๗. การสะกดคำจะทำได้เฉพาะคำที่เป็นคำไทยแท้ และมีตัวสะกดตรงตามรูปคำเท่านั้น
๑.๓ วิธีฝึก(สอน)สะกดคำตามรูปคำ และเสียง
– วิธีฝึกสะกดคำตาม “รูปคำ”
– กา สะกดว่า กอ – อา – กา
– คาง สะกดว่า คอ – อา – งอ – คาง
– วิธีฝึกสะกดคำ “ตามเสียง” โดยสะกดแม่ ก กา ก่อน แล้วจึงสะกดตามมาตราอื่นๆ
– คาง สะกดว่า คอ – อา – คา – คา – งอ – คาง
– ค้าง สะกดว่า คอ – อา – คา – คา – งอ – คาง – คาง – โท – ค้าง
(แต่จะเห็นชัดเจน ตอนฝึกสะกดคำตามเสียงอักษรนำ หรืออักษรควบ)
ขั้นตอนวิธีฝึกสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด
๑. ฝึกให้เห็นรูปคำ แล้วให้อ่านออกเสียงตามให้ถูกต้อง
4
๒. ฝึกจำรูปคำ และรู้ความหมายของคำ เพราะส่วนมากเป็นคำที่มาจากภาษาต่างประเทศตัวสะกด
บางคำบางครั้งไม่ตรงตามมาตราที่ออกเสียง
๓. รู้หลักการสะกดคำ เช่น แต่ละเสียง สามารถใช้ตัวอะไรสะกดตามแม่มาตรานั้นๆได้บ้าง
๔. คำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา จะไม่สอนฝึกสะกดคำ แต่ใช้หลักการสังเกตรูปคำ จำคำให้
ได้ โดยอ่านและเขียนบ่อยๆ
4. ผลการดำเนินงาน/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ
4.1 นักเรียนบอกพยัญชนะที่เป็นตัวสะกดไม่ตรงมาตราแม่ กก ได้ถูกต้อง
4.2 นักเรียนอ่านคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราแม่ กก ได้ถูกต้อง
4.3 นักเรียนเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราแม่ กก ได้ถูกต้อง
4.4 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดเขาวิเศษ จังหวัดตรัง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
วิชาภาษาไทย เรื่อง ตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราแม่กก สูงขึ้น
4.5 นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน
4.6 เป็นการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนเรื่อง ตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา
๕. บทเรียนที่ได้รับ
เมื่อนักเรียนได้ลองทำแบบฝึกเสริมทักษะ นักเรียนจะเกิดทักษะ ความเข้าใจในบทเรียนมากขึ้น มี
ความกระตือรือร้นมากขึ้นเช่นกัน และครูผู้สอนควรต่อยอดโดยการทำแบบฝึกเสริมทักษะ ตัวสะกดไม่ตรง
มาตราในมาตราอื่นอีกเพิ่มเติม
๖.ปัจจัยความสำเร็จ
นักเรียนสามารถอ่านออก และเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราแม่ กก ได้ถูกต้อง และมีผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง ตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราแม่ กก สูงขึ้น
๗. บทเรียนที่ได้รับ
เมื่อนักเรียนได้ลองทำแบบฝึกเสริมทักษะ นักเรียนจะเกิดทักษะ ความเข้าใจในบทเรียนมากขึ้น มี
ความกระตือรือร้นมากขึ้นเช่นกัน และครูผู้สอนควรต่อยอดโดยการทำแบบฝึกเสริมทักษะ ตัวสะกดไม่ตรง
มาตราในมาตราอื่นอีกเพิ่มเติม
๘. การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ
๘.1 เว็ปไซด์โรงเรียนวัดเขาวิเศษ http://www.watkha0wiset.co.th
๘.๒ คณะครูในโรงเรียนวัดเขาวิเศษ
จุดประสงค์การเรียนรู้
5
๑. นักเรียนบอกพยัญชนะที่เป็นตัวสะกดไม่ตรงมาตรา
แม่ กก ได้ถูกต้อง
๒. นักเรียนอ่านคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราแม่ กก
ได้ถูกต้อง
๓. นักเรียนเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราแม่ กก
ได้ถูกต้อง
๔. นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน
๕. นักเรียนมีมารยาทในการอ่าน
สาระการเรียนรู้
๑.
การอ่านคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราแม่ กก
๒.
การเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราแม่ กก
6
สาระสำคัญ
การเรียนรู้เรื่องคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราแม่ กก จะทำให้ผู้เรียนได้
พัฒนาทักษะการอ่านและเขียนภาษาไทย สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ
คำในมาตราแม่ กก
คำที่มี ข ค ฆ กร คร สะกด อ่านออกเสียง เหมือน ก สะกด เป็นคำมาตราแม่ กก
ไม่ตรงมาตรา เช่น
ความสุข อ่านว่า ความ – สุก
ตัวเลข อ่านว่า ตัว – เลก
อัคคี อ่านว่า อัก – คี
โชคดี อ่านว่า โชก – ดี
พญานาค อ่านว่า พะ – ยา – นาก
พยัคฆ์ อ่านว่า พะ – ยัก
เมฆ อ่านว่า เมก
สุนัข อ่านว่า สุ – นัก
บริจาค อ่านว่า บอ – ริ – จาก
มีคำบางคำที่มี กร คร สะกด เช่น
จักร อ่านว่า จัก
สมัคร อ่านว่า สะ – หมัก
7
แบบฝึกทักษะที่ ๑
พยัญชนะใดในใจฉัน
ให้นักเรียนระบายสี พยัญชนะที่เป็นตัวสะกด มาตราแม่ กก ไม่ตรงมาตรา
คร ฬ ท ป
ฆ ญ ข ต
ส ฑ กร ค
ล จ พ ร
8
เติมพยัญชนะ ข ค ฆ กร คร เติมในช่องว่างให้ถูกต้อง
วิห.ค..
๑. พญานา……. ๖. เครื่องจั………
๒. สุนั………… ๗. ภา…..ใต้
๓. เม………… ๘. ประโย…….
๔. สมั……….. ๙. บริจา…….
๕. เชื้อโร……. ๑๐. ตัวเล……..
ชื่อผลงาน แบบฝึกเสริมทักษะตัวสะกดไม่ตรงมาตรา แม่ กก
ชื่อผู้เสนอผลงาน นางสาวกรรณิการ์ รอดกูล
โรงเรียน/หน่วยงาน โรงเรียนวัดเขาวิเศษ
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
1. ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรมที่นำเสนอ
ในโลกของเรานี้มีภาษาพูดที่ใช้พูดกันอยู่หลายภาษา แต่สำหรับคนไทยนั้นมีภาษาที่สำคัญ
ที่สุดก็คือ ภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ
และสร้างเสริมบุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร เพื่อสร้างความ
เข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทำให้ประกอบกิจธุรการงานและการดำรงชีพร่วมกันในสังคมประชาธิปไตย
ได้อย่างสันติสุข และเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ประสบการณ์จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศต่างๆ
ตามที่กระทรวงศึกษาธิการโดย พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศนโยบายให้ “ปี ๒๕๕๘ เป็นปีปลอดนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้” โดย
ประกาศไว้ ณ วันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๘ นั้น เพื่อเป็นการขานรับนโยบายกระทรวงศึกษาธิการที่เห็น
ความสำคัญในการเร่งรัดพัฒนาคุณภาพการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้ โดยให้ทุกภาคส่วนร่วมกันขับเคลื่อนไปสู่
เป้าหมายการพัฒนาขีดความสามารถของผู้เรียน ให้เป็นประชากรที่มีคณภาพในประชาคมอาเซียน
และประชาคมโลก เพื่อพัฒนาความรู้ ความคิด วิเคราะห์ วิจารณ์และสร้างสรรค์ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
ทางสังคม และความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนนำไปใช้พัฒนาอาชีพให้มีความมั่งคง
ทางสังคมและเศรษฐกิจ นอกจากนี้ภาษาไทยยังเป็นสื่อที่แสดงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษด้านวัฒนธรรม
ประเพณีชีวทัศน์ โลกทัศน์ และสุนทรียภาพ โดยบันทึกไว้เป็นวรรณคดีและวรรณกรรมสำคัญ ภาษาไทยจึง
เป็นสมบัติของชาติที่ควรค่าการเรียนรู้ เพื่ออนุรักษ์และสืบสานให้คงอยู่คู่ชาติตลอดไป (กระทรวงศึกษาธิการ,
2545, หน้า 3)
การศึกษาที่ผ่านมา มีการพัฒนาผู้เรียนได้คุณภาพที่ค่อนข้างต่ำ ส่วนใหญ่จะเป็นการเน้นที่ความรู้
ความจำ หรือความเข้าใจเท่านั้น มีส่วนน้อยที่พัฒนาไปถึงการคิด วิเคราะห์ คิดแก้ปัญหา คิดสร้างสรรค์
หรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ (ทองสุข รวยสูงเนินและคณะ, 2543, หน้า 3) ครูผู้สอนมักจะประสบปัญหาใน
ด้านต่างๆ ปัญหาเหล่านั้นอาจจะเป็นปัญหาที่เกิดจากตัวครูเอง ปัญหาเกี่ยวกับหลักสูตร หนังสือเรียน
วิธีการสอน การใช้สื่อการสอน วิธีการประเมินผล ครูผู้สอนภาษาไทยควรที่จะได้ตระหนักถึงความสำคัญและ
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาเหล่านี้ เพื่อที่จะได้เข้าใจปัญหาชัดเจนยิ่งขึ้นและพยามยามหาวิธีการที่แก้ปัญหา
เหล่านี้ เพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
จากที่ผู้นำเสนอได้สอนวิชาภาษาไทยประถมศึกษาปีที่ 1 และได้วิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลแล้ว
ปรากฏว่า ปัญหาที่พบในชั้นเรียน คือ ปัญหาเกี่ยวกับ เรื่อง ทักษะการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการ
เรียนรู้ภาษาไทย โดยเฉพาะคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา ในมาตราแม่กก แม่กด แม่กบ และแม่กน ซึ ่ง
นักเรียนส่วนใหญ่ร้อยละ ๒๐ ของนักเรียนทั้งหมดจำนวน ๒๙ ยังขาดทักษะการอ่านและการเขียน ไม่เข้าใจ
โครงสร้างของคำ ทำให้ประสมคำอ่านไม่ได้ โดยเฉพาะคำใหม่ที่ไม่คุ้นเคยยิ่งมีปัญหามาก บางคำมีโครงสร้าง
เหมือนกับคำที่เคยเรียนผ่านมาแล้ว ก็ยังอ่านและสะกดคำไม่ถูกต้อง เช่น อ่านคำ ก้อนเมฆ ว่า “ก้อนเมด”
คำ อัคคี ว่า “อัด-คี” คำ ประโยค ว่า “ประ-โหยด” และเขียนคำ โชคดี ว่า “โชกดี” คำ เชื้อโรค ว่า เชื้อ
โรก” เป็นต้น เมื่อนักเรียนอ่านและสะกดคำตามโครงสร้างไม่ได้ก็ทำให้เขียนไม่ได้ตามมา จึงเป็นปัญหาที่
สำคัญอย่างยิ่งที่ครูผู้สอนต้องตระหนักและหาแนวทางแก้ไข เพราะจะส่งผลกระทบต่อการเรียนการสอนใน
2
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาอื่นๆตามไปด้วย ด้วยประสบปัญหาและเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น ผู้นำเสนอเคย
แก้ปัญหาเรื่องการอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราซึ่งเป็นการแก้ปัญหาแบบเดิม ๆ เช่น สอนซ่อม
เสริมนอกเวลาเรียน ขอความร่วมมือจากผู้ปกครองให้ช่วยสอนบ้าง ให้ เพื่อนช่วยเพื่อนบ้าง แต่ก็ยังไม่ได้
ดำเนินการอย่างจริงจัง ผู้นำเสนอจึงได้คิดวิธีสอนเพื่อพัฒนานักเรียนในเรื่องตัวสะกดไม่ตรงมาตรา จึงจัดทำ
นวัตกรรมแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราแม่ กก ของกลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทย เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาดังกล่าวให้กับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ผู้นำเสนอ
เห็นว่าการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ก็คือ แบบฝึกเสริมทักษะ
เสริมทักษะ
2. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
2.1 นักเรียนบอกพยัญชนะที่เป็นตัวสะกดไม่ตรงมาตราแม่ กก ได้ถูกต้อง
2.2 นักเรียนอ่านคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราแม่ กก ได้ถูกต้อง
2.3 นักเรียนเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราแม่ กก ได้ถูกต้อง
2.4 เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง ตัวสะกดไม่
ตรงตามมาตรา แม่กก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดเขาวิเศษ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
2.5 นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน
3. กระบวนการผลิตผลงานหรือขั้นตอนการดำเนินงาน
3.1 ศึกษาโครงสร้างหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เกี่ยวกับ สาระ
มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด จุดประสงค์การเรียนรู้ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ กระบวนการเรียนรู้ สื่อและ
แหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (กรมวิชาการ. 2551 หน้า 1- 34)
3.2 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาสาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด (กรม
วิชาการ. 2551 หน้า 7-10) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
๓.๓ ศึกษาทฤษฎีการสอนอ่านออกเสียงและการเขียนภาษาไทย
3.๔ สร้างแบบฝึกเสริมทักษะและแบบทดสอบทางการเรียน เรื่อง ตัวสะกดไม่ตรงมาตรา แม่ กก
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
3.๕ นำแบบฝึกไปใช้สอน โดยให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ตามลำดับขั้นตอนดังนี้
๑. วิธีฝึกอ่าน(สอน)การสะกดคำ
หลักการ
การแจกลูกเป็นกระบวนการฝึกภาษา เป็นพื้นฐานของการใช้ภาษาที่ดี มีประสิทธิภาพชั้นสูง
ต่อไป หากครูไม่สอนการแจกลูกสะกดคำในระยะเริ่มแรก นักเรียนจะขาดหลักเกณฑ์การประสมคำ ทำให้เมื่อ
อ่านหนังสือมากขึ้นจะสับสน จนอ่านหนังสือไม่ออก เขียนหนังสือผิดตลอดไป การแจกลูก มี ๒ ชนิด คือ
การแจกลูกตามมาตราตัวสะกดต่างๆ และการเทียบเสียง
๑.๑ วิธีการ/ขั้นตอนการฝึกอ่าน(สอน) แจกลูกสะกดคำตามมาตราตัวสะกด
๑. เริ่มต้นจากการจำและออกเสียงพยัญชนะ สระให้ได้
๒. ต่อจากนั้น ฝึกเริ่มแจกลูกในมาตราแม่ ก กา (ไม่มีเสียงสะกด) จะใช้สะกดคำไปทีละคำไล่ไป
ตามลำดับของสระ(อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ) เช่น – กะ สะกดว่า กอ – อะ – กะ
– กา สะกดว่า กอ – อา – กา
๓. แล้วจึงอ่านโดยไม่สะกดคำ เช่น กะ กา กิ กี กุ กู เก โก เป็นต้น
3
๔. เมื่ออ่านได้จึงอ่านตามตัวสะกดมาตราอื่นๆต่อไป
๑.๒ วิธีการ/ขั้นตอนการฝึกอ่าน(สอน) แจกลูกสะกดคำ แบบเทียบเสียง
๑. เมื่อนักเรียนอ่านคำ จำคำได้แล้ว ให้ครูนำรูปคำมาแจกลูกโดยการเปลี่ยนพยัญชนะต้น หรือ
พยัญชนะท้าย เช่น เมื่อจำคำว่า บ้านได้แล้ว ก็ให้ลองหาพยัญชนะอื่นมาเปลี่ยน “บ” บ้าง เช่น ก้าน ป้าน ร้าน
ล้าน ค้าน เป็นต้น
๒. การแจกลูกสะกดคำแบบนี้ ครูต้องฝึก ดังนี้
๒.๑ อ่านสระเสียงยาวก่อนสระเสียงสั้น
๒.๒ นำคำที่มีความหมายมาฝึกเท่านั้น
๒.๓ เปลี่ยนเฉพาะพยัญชนะต้นหรือท้ายเท่านั้น
๒.๔ นำคำที่อ่านแล้วมาจัดทำเป็นแผนภูมิการอ่าน ให้เด็ก เห็นชัดเจนด้วย
เทคนิคการฝึก(สอน)อ่านสะกดคำ
๑. ควรฝึกอ่านแจกลูกให้คล่องปาก ทั้งแบบจากหนังสือเรียน หรือที่ครูเขียนบนกระดาน หรือ
แบบเห็นคำจากบัตรคำ หรือแบบปากเปล่า (ไม่เห็นคำ)
๒. การแจกลูกสะกดคำ ต้องเป็นการออกเสียง มิใช่ฝึกการแยกตัวพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ลงใน
ตาราง หรือช่องว่าง เพราะนั่นเป็นเพียงการจำแนกตัวอักษรที่เป็นส่วนประกอบของคำ
เคล็ดลับการฝึก(สอน) สะกดคำ
๑. การสอนอ่านสะกดคำ จะต้องให้นักเรียนสังเกตรูปคำพร้อมๆกับการอ่าน
๒. ครูจะต้องให้อ่านสะกดคำ แล้วเขียนคำพร้อมๆกัน
๓. นำคำที่มีความหมายมาฝึกเท่านั้น
๔. เมื่อสะกดคำจนจำคำได้แล้ว ไม่ควรใช้วิธีการสะกดคำคำนั้นๆอีก
๕. การสอนสะกดคำเป็นแค่เครื่องมือในการสอนอ่านคำใหม่ ถ้ายังสอนแบบสะกดคำอีก จะทำให้
นักเรียนอ่านจับใจความไม่ได้ และอ่านได้ช้า
๖. วิธีการสอนการสะกดคำที่ถูกต้อง ถ้าสอนสะกดคำเพื่ออ่าน ต้องฝึกสะกดคำตามเสียง, ถ้าสอน
สะกดคำเพื่อเขียน ต้องฝึกสะกดคำตามรูป (ครูส่วนมากมักสอนให้สะกดคำตามรูปไม่ว่าทั้งอ่านและเขียน จึง
ทำให้นักเรียนอ่านหนังสือไม่ถูกเป็นจำนวนมาก)
๗. การสะกดคำจะทำได้เฉพาะคำที่เป็นคำไทยแท้ และมีตัวสะกดตรงตามรูปคำเท่านั้น
๑.๓ วิธีฝึก(สอน)สะกดคำตามรูปคำ และเสียง
– วิธีฝึกสะกดคำตาม “รูปคำ”
– กา สะกดว่า กอ – อา – กา
– คาง สะกดว่า คอ – อา – งอ – คาง
– วิธีฝึกสะกดคำ “ตามเสียง” โดยสะกดแม่ ก กา ก่อน แล้วจึงสะกดตามมาตราอื่นๆ
– คาง สะกดว่า คอ – อา – คา – คา – งอ – คาง
– ค้าง สะกดว่า คอ – อา – คา – คา – งอ – คาง – คาง – โท – ค้าง
(แต่จะเห็นชัดเจน ตอนฝึกสะกดคำตามเสียงอักษรนำ หรืออักษรควบ)
ขั้นตอนวิธีฝึกสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด
๑. ฝึกให้เห็นรูปคำ แล้วให้อ่านออกเสียงตามให้ถูกต้อง
4
๒. ฝึกจำรูปคำ และรู้ความหมายของคำ เพราะส่วนมากเป็นคำที่มาจากภาษาต่างประเทศตัวสะกด
บางคำบางครั้งไม่ตรงตามมาตราที่ออกเสียง
๓. รู้หลักการสะกดคำ เช่น แต่ละเสียง สามารถใช้ตัวอะไรสะกดตามแม่มาตรานั้นๆได้บ้าง
๔. คำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา จะไม่สอนฝึกสะกดคำ แต่ใช้หลักการสังเกตรูปคำ จำคำให้
ได้ โดยอ่านและเขียนบ่อยๆ
4. ผลการดำเนินงาน/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ
4.1 นักเรียนบอกพยัญชนะที่เป็นตัวสะกดไม่ตรงมาตราแม่ กก ได้ถูกต้อง
4.2 นักเรียนอ่านคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราแม่ กก ได้ถูกต้อง
4.3 นักเรียนเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราแม่ กก ได้ถูกต้อง
4.4 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดเขาวิเศษ จังหวัดตรัง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
วิชาภาษาไทย เรื่อง ตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราแม่กก สูงขึ้น
4.5 นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน
4.6 เป็นการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนเรื่อง ตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา
๕. บทเรียนที่ได้รับ
เมื่อนักเรียนได้ลองทำแบบฝึกเสริมทักษะ นักเรียนจะเกิดทักษะ ความเข้าใจในบทเรียนมากขึ้น มี
ความกระตือรือร้นมากขึ้นเช่นกัน และครูผู้สอนควรต่อยอดโดยการทำแบบฝึกเสริมทักษะ ตัวสะกดไม่ตรง
มาตราในมาตราอื่นอีกเพิ่มเติม
๖.ปัจจัยความสำเร็จ
นักเรียนสามารถอ่านออก และเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราแม่ กก ได้ถูกต้อง และมีผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง ตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราแม่ กก สูงขึ้น
๗. บทเรียนที่ได้รับ
เมื่อนักเรียนได้ลองทำแบบฝึกเสริมทักษะ นักเรียนจะเกิดทักษะ ความเข้าใจในบทเรียนมากขึ้น มี
ความกระตือรือร้นมากขึ้นเช่นกัน และครูผู้สอนควรต่อยอดโดยการทำแบบฝึกเสริมทักษะ ตัวสะกดไม่ตรง
มาตราในมาตราอื่นอีกเพิ่มเติม