แผนการจัดการเรียนรู้ แบบ PBL หน่วยความปลอดภัยในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดไชยมงคล
แผนการจัดการเรียนรู้
รายวิชา เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ)
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
ชื่อหน่วย ความปลอดภัยในการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 การใช้งานสารสนเทศ
การเรียนการสอนแบบ PBL (Project Based Learning)
หัวข้อ ความปลอดภัยในการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
นางสาวชุลีพร ป้อมมงกุฎ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
เวลา 2 ชั่วโมง
เวลา 3 ชั่วโมง
โรงเรียนวัดไชยมงคล
1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
สาระที่ 4 เทคโนโลยี
มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอนและ
เป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ การทำงาน และการแก้ปัญหา
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทันและมีจริยธรรม
ตัวชี้วัด ป.6/4 สำรวจการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย เข้าใจสิทธิและหน้าที่ของตนเคารพ
ในสิทธิของผู้อื่น แจ้งผู้เกี่ยวข้องเมื่อพบข้อมูลหรือบุคคลที่ไม่เหมาะสม
2. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. ตั้งประเด็นคำถามที่น่าสนใจ (K)
2. สืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้และสารสนเทศได้ (P, A)
3. สรุปองค์ความรู้ได้ (K, P)
4. สื่อสารและนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพได้ (P)
3. สาระสำคัญ / ความคิดรวบยอด
การสำรวจการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต ในรูปแบบต่าง ๆ และแนวทางในการ
ป้องกันอันตรายจากการใช้งานอินเตอร์เน็ต ซึ ่งรวมถึงการกำหนดรหัสผ่าน และการกำหนดสิทธิ ์ในการใช้งาน
รวมทั้งอันตรายจากการติดตั้งซอฟแวร์ และแนวทางในการตรวจสอบและป้องกันมัลแวร์ นั้นจะสามารถสำรวจได้ก็
ต่อเมื ่อ ตั ้งประเด็นคำถาม สืบค้นรวบรวมข้อมูล ตีความประเมินหลักฐาน วิเคราะห์ สังเคราะห์จัดหมวดหมู่ข้อมูล
และการนำเสนอ
4. สาระการเรียนรู้
1. การทำโครงงาน ความรู้เรื่องการทำงาน
2. การเลือกเรื่องที่ศึกษา
3. การตั้งชื่อเรื่องของโครงงานการทำโครงงาน
4. การนำเสนอโครงงาน
5. ทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ในศตวรรษที่21 ( 3R 8C )
Reading (อ่านออก)
(W) Riting (เขียนได้)
(A) Rithemetics (คิดเลขเป็น)
ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ไขปัญหา
(Critical Thinking and Problem Solving)
ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม (Creativity and Innovation)
ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (Cross-cultural Understanding)
ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ
(Collaboration, Teamwork and Leadership)
ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ
(Communications, Information, and Media Literacy )
ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing and ICT Literacy)
ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้ (Career and Learning)
ทักษะการเปลี่ยนแปลง (Change)
6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ซื่อสัตย์ สุจริต
มีวินัย ใฝ่เรียนรู้
อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน
รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมง 1
ขั้นนำ / ขั้นเตรียมการ (P-Preparation)
1. ครูนำนักเรียนสนทนา ความรู้เรื่อง อันตรายจากการใช้งานอินเตอร์เน็ต โดยเปิดวีดิทัศน์ ”เจ๊ดาตลาดแตก”
หรือสื่ออื่นที่นำเสนอปัญหา อันตรายจากการใช้งานอินเตอร์เน็ต ให้นักเรียนดู
และตั้งคำถามเพื่อให้เด็กร่วมกันแสดงความเห็นและบันทึกลงสมุด ตามหัวข้อดังนี้
1) ปัญหา อันตรายจากการใช้งานอินเตอร์เน็ตจากวีดิทัศน์คืออะไร
2) สาเหตุของปัญหา อันตรายจากการใช้งานอินเตอร์เน็ตจากวีดิทัศน์คืออะไร
2. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้
ขั้นสอน / ขั้นปฏิบัติ (A-Action)
1. แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็นกลุ่มๆละ 4-5 คน เพื่อให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม การเรียน
การสอนตามความสมัครใจ
2. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันตั้งคำถาม ว่ากลุ่มของตนต้องการศึกษาเรื่องการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
เรื่องไหน
3. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มเขียนคำถามลงในกระดาษบรุ๊ฟแล้วนำเสนอหน้าชั้นเรียน
3.1 หัวข้อ ประเด็นคำถามที่สนใจ เช่น คุณตั้งรหัสผ่านเข้าใช้คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แอปพลิเคชั่นหรือไม่?
คุณเคยใช้บัญชีร่วมกับผู้อื่นหรือไม่? คุณเคยเข้าชมเว๊ปไซต์พนัน,ลามก หรือไม่? โดยครูให้เลือก 3 ปัญหา
ปัญหาที่คิดว่ามีความสำคัญ หรืออันตรายมากที่สุด วิเคราะห์สาเหตุของปัญหานั้น ๆ พร้อมทั้งหาแนวทาง
การป้องกันหรือแก้ไข
3.2 การสรุปองค์ความรู้ เช่น การตั้งรหัสผ่าน การเข้าเว๊ปไซต์อันตราย การติดตั้งซอฟต์แวร์หรือดาวน์โหลด
จากเว๊ปไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ
4. การนำเสนอด้วยวิธีใด/อย่างไร จัดรูปแบบการนำเสนอ
ขั้นสรุป / ขั้นสะท้อนคิด (R-Reflection)
1. ครูและนักเรียนช่วยกันอภิปรายเกี่ยวกับ การตั้งประเด็นคำถาม วิธีการสำรวจ การรวบรวมข้อมูล วิธีการ
สรุป องค์ความรู้โดยใช้ศาสตร์ความรู้วิชาต่างๆ วิธีนำเสนอข้อมูล นัดแนะให้นักเรียนส่งเค้าโครง นำเสนอเค้าโครง
(ในชั่วโมงที่ 2)
ชั่วโมงที่ 2
ขั้นนำ / ขั้นเตรียมการ (P-Preparation)
1. ครูสนทนากับนักเรียนถึงความพร้อมในการนำเสนอ
2. ครูแจ้งเกณฑ์การให้คะแน
ขั้นสอน / ขั้นปฏิบัติ (A-Action)
3. นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งเค้าโครงและนำเสนอหน้าชั้นเรียน
4. ครูสรุปประเด็นที่นักเรียนนำเสนอ ให้คำเสนอแนะ เพื่อการปรับปรุงแก้ไข
ขั้นสรุป / ขั้นสะท้อนคิด (R-Reflection)
1. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปประเด็นของเค้าโครงที่นักเรียนนำเสนอ พร้อมทั้งข้อเสนอแนะ
2. นัดแนะให้นักเรียนส่งรูปเล่มสมบูรณ์ และการนำเสนอ (ในชั่วโมงที่ 3)
ชั่วโมงที่ 3
ขั้นนำ / ขั้นเตรียมการ (P-Preparation)
1. ครูสนทนากับนักเรียนถึงความพร้อมในการนำเสนอ
2. ครูแจ้งเกณฑ์การให้คะแนน
6
ขั้นสอน / ขั้นปฏิบัติ (A-Action)
1. นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งรูปเล่มและนำเสนอหน้าชั้นเรียน
2. ครูสรุปประเด็นที่นักเรียนนำเสนอ ให้คำเสนอแนะ
ขั้นสรุป / ขั้นสะท้อนคิด (R-Reflection)
1. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปประเด็นของเรื่องที่นักเรียนนำเสนอ
8. สื่อเอกสาร / นวัตกรรม /และแหล่งเรียนรู้
1. ตัวอย่างการศึกษาค้นคว้า เรื่องต่างๆ (ในอินเทอร์เน็ต)
2. สภาพแวดล้อม แหล่งเรียนรู้ในชุมชน
9. การวัดผลประเมินผล
1. วิธีวัดและประเมินผล – สังเกตพฤติกรรมรายบุคคลจากการร่วมกิจกรรมการเรียน ตามเกณฑ์การให้คะแนน – ตรวจชิ้นงานผลงานที่นักเรียนตั้งคำถาม การนำเสนอหน้าชั้น – ตรวจชิ้นงานจากผลงานเป็นรูปเล่ม และการนำเสนอ
2. เครื่องมือการประเมิน – แบบประเมินการให้คะแนน – เกณฑ์การให้คะแนน
3. เกณฑ์การประเมิน