แนวทางการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning
บทความจาก สาวิตรี จุ้ยทอง
“แนวทางการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)” ซึ่งในการประเมินคลิปตามวิทยฐานะระบบใหม่ ว PA ไฟล์วีดิทัศน์บันทึกการสอนนั้นจะต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังตามมาตรฐานวิทยฐานะที่ขอรับการประเมิน และสอดคล้องตามไฟล์แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีบทบาทในกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีชีวิตชีวา ตื่นตัว และมีความหมาย เน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาวิชา ซึ่งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกนั้น จะมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เกิดการคิดวิเคราะห์ ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมจริงผ่านสื่อหรือกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และผู้เรียนสามารถสื่อสารสะท้อนคิดในสิ่งที่ได้เรียนรู้ โดยในการออกแบบกิจกรรมนั้น คุณครูสามารถเลือกเทคนิคการจัดการเรียนรู้ Active Learning ที่เชื่อมโยงกับเนื้อหาสาระการเรียนรู้สะท้อนมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดสอคดล้องกับธรรมชาติวิชาและผู้เรียน มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับการเรียนการสอน
บทบาทของคุณครู คุณครูเป็น Coach & Mentor คุณครูเป็นผู้สร้างแรงบันดาลใจ (Motivation) ให้ผู้เรียนเกิดความอยากเรียนรู้ สนใจใคร่รู้ สร้างแรงจูงใจในการเรียน ฝึกให้นักเรียนมีทักษะในการพัฒนาสมรรถนะของตนเอง ซึ่งมีคุณครูที่เป็นผู้แนะนำ กระตุ้น อำนวยความสะดวก สร้างบรรยากาศการมีส่วนร่วม และส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือ เพื่อส่งเสริมผู้เรียนให้เกิดการพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพ โดยออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีกระบวนการคิด ลงมือปฏิบัติ เชื่อมโยงความรู้ และค้นพบองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง
การจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning
การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) นั้นมีหลักการและฐานแนวคิดมาจากพื้นฐานทฤษฎีการเรียนรู้การสร้างสรรค์ทางปัญญา (Constructivism) โดยมีรูปแบบหรือเทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แบบ Active Learning ได้ดี อาทิ
Concept Mapping
Think-pair-share
Collaborative learning group
STEM EDUCATION
GPAS 5 Steps
Problem based learning
Project based learning
Team based learning
Game based learning
Inquiry based learning
Brain based learning
Analysis to video
Research based learning
Student-led review sessions
Student debates
Analyze case studies
Write and produce a newsletter
Keeping journals or logs เป็นต้น
คุณครูเลือกรูปแบบหรือเทคนิคที่เหมาะสมไปใช้นะคะ แล้วศึกษาว่าเทคนิคนั้นมีขั้นตอนหรือกระบวนจัดกิจกรรมอย่างไรบ้าง… เพื่อสามารถนำไปเป็นกรอบขั้นตอนการเขียนกิจกรรมการเรียนรู้ในแผนการจัดการเรียนรู้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้นค่ะ
ทั้งนี้ หากคุณครูสามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกดังกล่าว…จะสามารถสะท้อนการจัดการเรียนรู้ที่มีความสอดคล้องเชื่อมโยงกับ 8 ตัวชี้วัด ของการประเมินคลิปในการขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะตามวิทยฐานะระบบใหม่ ว PA ซึ่งประกอบด้วย
(1) ผู้เรียนสามารถเข้าถึงสิ่งที่เรียนและเข้าใจบทเรียน
(2) ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้หรือประสบการณ์เดิมกับการเรียนรู้ใหม่
(3) ผู้เรียนได้สร้างความรู้เองหรือได้สร้างประสบการณ์ใหม่จากการเรียนรู้
(4) ผู้เรียนได้รับการกระตุ้นและเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้
(5) ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญจากการเรียนรู้
(6) ผู้เรียนได้รับข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้
(7) ผู้เรียนได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ในบรรยากาศชั้นเรียนที่เหมาะสม และ
ผู้เรียนสามารถกำกับการเรียนรู้และมีการเรียนรู้แบบนำตนเองเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งสำคัญของการประเมินดังกล่าวที่สะท้อนความเป็นครู SMART ที่คุณครูทุกคนสามารถทำได้ “SMART TEACHING” นับเป็นหลักการสร้างนักเรียนในการเรียนรู้ในอนาคตใหม่แห่งศตวรรษที่ 21
สาวิตรี จุ้ยทอง
https://www.facebook.com/CareKrubyDrJeab