GAT การทดสอบวิชาความถนัดทั่วไป General Aptitude Test

408
0
ที่มา https://kruyupa.com/knowledge/5744

GAT/PAT

     GAT เป็นการทดสอบวิชาความถนัดทั่วไป (General Aptitude Test) คือ การวัดศักยภาพในการเรียนในมหาวิทยาลัยให้ประสบความสำเร็จ มี 2 ส่วน คือ

     ส่วนที่ 1 คือ ความสามารถในการอ่าน/การเขียน/การคิดเชิงวิเคราะห์/และการแก้โจทย์ปัญหา
     ส่วนที่ 2 คือ ความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ประกอบด้วย
          Speaking and Conversation
          Vocabulary
          Structure and Writing
          Reading Comprehension
GAT เป็นการสอบที่ดูว่านักเรียนคนหนึ่งมีความพร้อมในการจะเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยมากน้อยแค่ไหน

PAT เป็นการทดสอบวิชาความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ (Professional and Academic Aptitude Test) คือ การวัดความรู้ที่เป็นพื้นฐาน กับศักยภาพที่จะเรียนในวิชาชีพนั้น ๆ ให้ประสบความสำเร็จมี 7 วิชา คือ
          PAT 1 คือ ความถนัดทางคณิตศาสตร์
          PAT 2 คือ ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
          PAT 3 คือ ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์
          PAT 4 คือ ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
          PAT 5 คือ ความถนัดทางวิชาชีพครู
          PAT 6 คือ ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์
          PAT 7 คือ ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ ประกอบด้วย          PAT 7.1 ความถนัดทางภาษาฝรั่งเศส
          PAT 7.2 ความถนัดทางภาษาเยอรมัน
          PAT 7.3 ความถนัดทางภาษาญี่ปุ่น
          PAT 7.4 ความถนัดทางภาษาจีน
          PAT 7.5 ความถนัดทางภาษาอาหรับ
          PAT 7.6 ความถนัดทางภาษาบาลี
          PAT 7.7 ความถนัดทางภาษาเกาหลี

PAT เป็นการสอบที่จะดูว่านักเรียนคนหนึ่งมีแววจะเข้าสู่เส้นทางอาชีพในคณะที่เลือกไหม

วิชาสามัญ 9 วิชา

     ในปีการศึกษา 2555 ทปอ. ได้มีมติเห็นชอบให้มีการจัดการระบบรับตรงผ่านเคลียริ่งเฮาส์ (Clearing – house) โดยยึดหลักการและวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ
          1) มหาวิทยาลัย/สถาบันอุดมศึกษา ดำรงไว้ซึ่งเอกสิทธิ์ในการที่จะรับนักเรียนเข้าศึกษาตามแผนพัฒนาการศึกษาของมหาวิทยาลัย
          2) นักเรียนมีสิทธิ์ที่จะเลือกเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาที่ตนสนใจ หรือมีความถนัด

     ดังนั้น เพื่อเป็นการรองรับระบบการรับตรงผ่านเคลียริ่งเฮาส์ดังกล่าว ทปอ. จึงได้มอบหมายให้ สทศ. จัดการทดสอบวิชาสามัญ ใน 7 วิชา คือ วิชาภาษาไทย วิชาสังคมศึกษา วิชาภาษาอังกฤษ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาฟิสิกส์ วิชาเคมี และวิชาชีววิทยา เพื่อนำผลคะแนนไปใช้ในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาระบบรับตรง รวมทั้งการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย

     ต่อมา ทปอ. เห็นว่า ข้อสอบกลาง ที่จัดสอบโดย สทศ. คือ วิชาสามัญ 7 วิชา และ GAT/PAT มีการพัฒนาและใช้ร่วมกันในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระบบรับตรงแต่รายวิชาดังกล่าว ยังไม่ครอบคลุมเนื้อหาการทดสอบของนักเรียนสายศิลป์ จึงเห็นควรเพิ่มวิชาคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนสายศิลป์ และวิทยาศาสตร์ทั่วไป สรุปตั้งแต่ปีการศึกษา 2559 เป็นต้นไป สทศ. จะจัดการทดสอบในรายวิชา ดังนี้

          1. วิชาภาษาไทย
          2. วิชาคณิตศาสตร์ 1
          3. วิชาคณิตศาสตร์ 2
          4. วิชาสังคมศึกษา
          5. วิชาฟิสิกส์
          6. วิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
          7. วิชาภาษาอังกฤษ
          8. วิชาเคมี
           9. วิชาชีววิทยา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ สทศ
https://www.niets.or.th/th/catalog/view/234

คลิกให้คะแนนโพสต์นี้!
[รวม: 1 เฉลี่ย: % เฉลี่ย%]

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่