การบริหารจัดการโดยใช้ LANTONG Model เพื่อส่งเสริมการใช้นวัตกรรมของครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) บูรณาการภายใต้ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาโรงเรียนวัดล้าน
ชื่อผู้เสนอผลงาน นายปรัชญา กานิล ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดล้านตอง โรงเรียน/หน่วยงาน โรงเรียนวัดล้านตอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 โทรศัพท์มือถือ 089-5569530 E-mail : [email protected] ความเป็นมาและความสำคัญของการพัฒนานวัตกรรม แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 ได้กำหนดแนวทางเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำไปใช้เป็นกรอบการพัฒนาการศึกษาเพื่อให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้คือ “คนไทยทุกคนได้รับ การศึกษา และเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิต อย่างเป็นสุข สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21”และมาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561 (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2560) ประกอบกับนโยบายและจุดเน้นของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพืั้นฐานปีงบประมาณ 2567-2568 ข้อ 1 ปลูกฝังความรักในสถาบันหลักของชาติและน้อมนำ พระบรมราโชบายด้านการศึกษาสู่การปฏิบัติ ข้อ 1.1 ขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อ 1.2 ขับเคลื่อนพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่การปฎิบัติ และข้อ 3 ปรับกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้ทันสมัยและหลากหลาย ข้อ 3.1 ส่งเสริมให้มีการต่อยอดแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาให้ผู้เรียน เรียนรู้อย่างมีความสุข (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2566) โรงเรียนวัดล้านตองได้เห็นถึงความสำคัญจึงได้นำนโยบายดังกล่าวมาสู่การปฏิบัติโดยจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี และมีโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ซึ่งตัวแปรสำคัญในการจัดการเรียนรู้คือ ครูผู้สอน ที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ ดังนั้นครูผู้สอนควรมีทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยใช้รูปแบบการสอนที่หลากหลายตามธรรมชาติวิชาเพื่อให้นักเรียนบรรลุเป้าหมาย ในฐานะผู้อำนวยการสถานศึกษา ได้ให้ความสำคัญของการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อนำมาพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับนโยบายและบริบทของโรงเรียน โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมให้ครูพัฒนานวัตกรรมการสอนที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุขและมีประสิทธิภาพ โดยใช้รูปแบบการบริหาร LANTONG Model เพื่อให้ครูสามารถออกแบบ พัฒนาและใช้นวัตกรรมการสอนที่ตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาผู้เรียนอย่างยั่งยืนและเป็นไปตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ 10 อันจะนำไปสู่การยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนวัดล้านตองอย่างเป็นรูปธรรม วัตถุประสงค์การพัฒนานวัตกรรม วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการใช้รูปแบบการบริหารงาน LANTONG Model ในการส่งเสริมการใช้นวัตกรรมของครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) บูรณาการภายใต้ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาศึกษา 2. เพื่อส่งเสริมการใช้นวัตกรรมของครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) บูรณาการภายใต้ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาศึกษา ขอบเขตของการวิจัย ประชากรในการวิจัย เป็นคณะครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนวัดล้านตอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 จำนวน 14 คน M1: Man คือ ผู้อำนวยการ ครู ผู้ที่เกี่ยวข้อง M2: Money คือ งบประมาณ M3: Materail คือ วัสดุ M4: Managment คือ กระบวนการบริหารจัดการ M5: Morale คือ ขวัญกำลังใจ การเสริมแรง P1: Policy 1 Active Learning คือ การจัดการเรียนรู้เชิงรุก P2: Policy 2 Sufficiency Economy คือ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง Process L : Lead : นำ ผู้บริหารกำหนดวิสัยทัศน์จากนโยบายเพื่อเป็นแนวทางส่งเสริมการปฏิบัติ A : Apply : ประยุกต์ ผู้บริหารปรับใช้วิสัยทัศน์ ให้เข้ากับบริบทของโรงเรียน ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา N : Network : บูรณาการ สร้างเครือข่าย ผู้บริหารส่งเสริมให้ครูสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา T : Take Action : ลงมือปฏิบัติ ผู้บริหารส่งเสริมให้ครูนำแนวทางที่ได้จากชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)ไปประยุกต์ใช้และบูรณาการในการสอนวิชาต่างๆ O : Organize : จัดระบบ รวบรวมและจัดระเบียบผลการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ N : Notice : สังเกต จุดเด่น จุดด้อย และนำมาวิเคราะห์ เพื่อนำไปปรับปรุง G : Group : จัดกลุ่ม นำผลที่ได้จากการปรับปรุง มาจัดระบบเป็นข้อมูลสารสนเทศเพื่อพัฒนาและเผยแพร่ Output 1.แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning)บูรณาการภายใต้ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐพอเพียงด้านการศึกษา นวัตกรรมการสอนที่ครูพัฒนาขึ้นจากกระบวนการ PLC ฐานข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษา เครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาปัจจัย Outcome ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นักเรียนมีทักษะการเรียนรู้เชิงรุกและเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สถานศึกษามีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ ( PLC ) และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผู้บริหารมีภาวะผู้นำทางวิชาการ ที่เข้มแข็ง Impact 1 . ยกระดับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาโดยรวม สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องในสถานศึกษา นักเรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และการประยุกต์ใช้ ความรู้ในชีวิตจริง สถานศึกษาเป็นแบบอย่างในการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการแนวคิด ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อย่างมีประสิทธิภาพ ชุมชนและสังคมได้รับประโยชน์จากการพัฒนาผู้เรียนที่มีคุณภาพและมีความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง Feedback มีการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนา ปัจจัยความสำเร็จ สถานศึกษามีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจในการมุ่งพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ผ่านศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชฐาของเศรษฐกิจพอเพียง มีการบริหารจัดการให้สอดคล้องกับสภาพบริบทของสถานศึกษา การมีส่วนร่วมของหน่วยงานต่างๆ การจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่เอื้อต่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครู https://drive.google.com/file/d/1qNAkWFRF1bEmIn0-HFZ3a4-ssP-fncfd/view?usp=sharing นิยามศัพท์เฉพาะ การบริหารจัดการโดยใช้ LANTONG Model หมายถึง รูปแบบการบริหารที่มีกระบวนการ 7 ขั้นตอน คือ L : Lead : นำ ผู้บริหารกำหนดวิสัยทัศน์จากนโยบายเพื่อเป็นแนวทางส่งเสริมการปฏิบัติ A : Apply : ประยุกต์ ผู้บริหารปรับใช้วิสัยทัศน์ ให้เข้ากับบริบทของโรงเรียน ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา N : Network : บูรณาการ สร้างเครือข่าย ผู้บริหารส่งเสริมให้ครูสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา T : Take Action : ลงมือปฏิบัติ ผู้บริหารส่งเสริมให้ครูนำแนวทางที่ได้จากชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)ไปประยุกต์ใช้และบูรณาการในการสอนวิชาต่างๆ O : Organize : จัดระบบ รวบรวมและจัดระเบียบผลการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ N : Notice : สังเกต จุดเด่น จุดด้อย และนำมาวิเคราะห์ เพื่อนำไปปรับปรุง G : Group : จัดกลุ่ม นำผลที่ได้จากการปรับปรุง มาจัดระบบเป็นข้อมูลสารสนเทศเพื่อพัฒนาและเผยแพร่ การส่งเสริมการใช้นวัตกรรม หมายถึง กระบวนการสนับสนุน กระตุ้น และเอื้ออำนวยให้ครูนำแนวคิด วิธีการ หรือสื่อการสอนใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ผ่านการบริหารจัดการตามรูปแบบ LANTONG Model เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนและยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ทั้งนี้รวมถึงการสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการคิดสร้างสรรค์ การจัดหาทรัพยากรที่จำเป็น และการให้คำแนะนำหรือการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะในการพัฒนาและใช้นวัตกรรมการสอนของครู การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) หมายถึง วิธีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่หลากหลาย โดยผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิดขั้นสูง ได้แก่ การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่า เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจด้วยตนเอง ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง แหล่งเรียนรู้ที่เป็นฐานการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนวัดล้านตอง มีจำนวน 4 ฐานการเรียนรู้ ได้แก่ ฐานการเรียนรู้ปลูกผักปลอดสารพิษเพื่ออาหารกลางวัน ฐานการเรียนรู้สานฝันงานอาชีพ (ชาเชียงดา) ฐานการเรียนรู้สืบฮีตดนตรีล้านนา(สะล้อ,ซึง) และฐานการเรียนรู้หรรษาลายเมือง ขั้นตอนหรือวิธีการสร้าง/พัฒนานวัตกรรม การบริหารจัดการโดยใช้ LANTONG Model เพื่อส่งเสริมการใช้นวัตกรรมของครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) บูรณาการภายใต้ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาโรงเรียนวัดล้านตองได้ศึกษาหลักการ ทฤษฎี แนวคิดการพัฒนาเพื่อเป็นพื้นฐานและแนวทางในการดำเนินงาน โดยมีเนื้อหาสาระ ดังนี้ https://drive.google.com/file/d/1g10S3UbaPDjDVh5K2SGy4ZYFjoyUiiW2/view?usp=sharing