Jannah Theme License is not validated, Go to the theme options page to validate the license, You need a single license for each domain name.

%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9a%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%aa%e0%b8%96%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%a8%e0%b8%b6%e0%b8%81%e0%b8%a9%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b8%9b%e0%b9%81

กระดานสนทนา เผยแพร่ผลงานวิชาการหมวดหมู่: เผยแพร่ผลงานวิชาการ%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9a%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%aa%e0%b8%96%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%a8%e0%b8%b6%e0%b8%81%e0%b8%a9%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b8%9b%e0%b9%81
WUTINAN asked 5 เดือน ago

การบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านเกะรอ
โดยใช้รูปแบบ RAPPERS Model ร่วมกับวงจรคุณภาพ P-D-C-A
 
 
 
 
 
 
รูปแบบการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านเกะรอ มีความสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนและมีความเหมาะสมตามสถานการณ์นั้น ๆ เพื่อทำให้การบริหารสถานศึกษาภายในโรงเรียนบรรลุตามเป้าหมาย ด้วยการมีส่วนร่วมของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน ประกอบด้วย วิเคราะห์สภาพปัจจุบัน (SWOT Analysis) การวางแผน (Plan) การดำเนินงานตามแผน (Do) การตรวจสอบ (Check) และการพัฒนาปรับปรุง (Act) มีการดำเนินการ 5 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 สำรวจและวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษาโรงเรียนของโรงเรียนบ้านเกะรอ โดยใช้เทคนิค SWOT Analysis จากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายทำให้ทราบถึงบริบทของโรงเรียนบ้านเกะรอว่าขณะนี้อยู่ ณ จุดใด เพื่อจัดลำดับความสำคัญและกำหนดกรอบในการพัฒนากระบวนการบริหารสถานศึกษา
ขั้นตอนที่ 2 ขั้นการวางแผน (Plan) เป็นการออกแบบนวัตกรรมรูปแบบการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านเกะรอโดยใช้รูปแบบ RAPPERS Model ที่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนบ้านเกะรอ จากผลสรุปของการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคการพัฒนาโรงเรียนในขั้นตอนที่ 1 ซึ่งการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านเกะรอจะต้องมีการกำหนดเป้าหมายและแนวทางการดำเนินงานในอนาคตที่ชัดเจน จึงต้องมีการกำหนดวิสัยทัศน์ ให้มองเห็นภาพแห่งความสำเร็จที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งใหม่ ๆ ที่มีความท้าทายต่อโรงเรียนด้วยปัจจัยที่มีอิทธิพลทั้งภายในและภายนอก เพื่อการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านเกะรอว่าเราจะไปสู่จุดหมายที่ต้องการได้ ผู้รายงานจึงได้วางแผนการดำเนินการ คือ
2.1 ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และขั้นตอนต่าง ๆ ของการบริหารสถานศึกษาภายในโรงเรียน เพื่อให้เกิดความชัดเจน และมีความเข้าใจตรงกันในหลักการ และทิศทางของการดำเนินงาน
2.2 ประชุมชี้แจงรายละเอียดของการดำเนินการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านเกะรอโดยใช้รูปแบบ RAPPERS Model
2.3 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนและชุมชน จากเอกสารข้อมูล
พื้นฐานของโรงเรียนบ้านเกะรอ และจากการสัมภาษณ์คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา
2.4 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านเกะรอ โดยใช้รูปแบบ RAPPERS Model ของโรงเรียนบ้านเกะรอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
2.5 จัดทำแผนการดำเนินงานการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านเกะรอโดยใช้
รูปแบบ RAPPERS Model
2.6 จัดทำแนวทางในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนโดยใช้รูปแบบ RAPPERS Model ร่วมกับวงจรคุณภาพ PDCA
ขั้นตอนที่ 3 ขั้นปฏิบัติตามแผน (Do) เป็นการสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจกับบุคลากรทุกฝ่าย เพื่อนำนวัตกรรมรูปแบบการบริหารสถานศึกษาภายในโรงเรียนโดยใช้รูปแบบ RAPPERS Model โรงเรียนบ้านเกะรอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ไปใช้ดำเนินการบริหารสถานศึกษาภายในโรงเรียนที่ต้องมีการกำหนดขั้นตอนการดำเนินการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในอนาคต เน้นการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้สามารถพัฒนากระบวนการบริหารสถานศึกษาที่เน้นการทำงานเป็นทีม เพื่อสร้างคุณค่าให้กับโรงเรียนผ่านกระบวนการการดำเนินงานการบริหารสถานศึกษาภายในโรงเรียนอย่างเป็นระบบ ในประเด็นจะต้องทำหรือเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างเพื่อไปถึงเป้าหมายของโรงเรียน โดยใช้โมเดล RAPPERS Model ของโรงเรียนบ้านเกะรอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา นำมาใช้ในโรงเรียนนั้นเป็นการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีที่มีโครงการ/กิจกรรม ระบุขั้นตอนการดำเนินงานแบบ P-D-C-A อย่างต่อเนื่อง ดังนี้
กระบวนการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านเกะรอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา โดยใช้รูปแบบ RAPPERS Model 7 ขั้น ดังนี้
ขั้นที่ 1 R : Require การกำหนด/วัตถุประสงค์ คือ ความต้องการและความมุ่งหมาย
ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา บริบทและความต้องการของ นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองและชุมชนของโรงเรียนบ้านเกะรอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา นำข้อมูลที่ได้จากการสอบถาม สังเกต มาพิจารณาเปรียบเทียบกับประเด็นปัญหาแล้วนำมากำหนดเพื่อประกอบการตัดสินใจหรือวินิจฉัยโดยดำเนินการจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน และแบบสำรวจศึกษาสภาพปัจจุบัน
ขั้นที่ 2 A : Analysis การวิเคราะห์
ศึกษาและวิเคราะห์ผลการการดำเนินในปีที่ผ่านมา ผลเป็นอย่างไร หากพบว่ามีปัญหาหรืออุปสรรค อย่างหนึ่งอย่างใดที่ทำให้การดำเนินงานไม่บรรลุเป้าหมาย ก็สมควรจะต้องทำการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งการปรับปรุงแก้ไขอาจจะทำได้โดยการให้ความรู้ในสิ่งที่ทำใหม่อีกครั้งหนึ่ง สำหรับกรณีที่ผลงานออกมา ยังไม่ถึงขั้นบรรลุเป้าหมาย จะต้องดำเนินการปรับปรุงการดำเนินงานทั้งหมด หากการวิเคราะห์ พบว่าประสบผลสำเร็จตามที่ได้ตั้งไว้หากจะได้ดำเนินการไปก็สามารถทำไปได้เลย โดยไม่ต้องให้ความรู้ในเรื่องนั้นอีกการดำเนินการตามวัฏจักรนี้จะเป็นไปอย่างต่อเนื่องไม่หยุดนิ่งจนกว่าจะบรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้ หรือพัฒนาให้เป็นไปตามต้องการหากบรรลุสำเร็จตามจุดมุ่งหมายแล้วต้องการจะหยุด กระบวนการทำงานก็ถือว่าได้สิ้นสุดลง หากต้องการเริ่มในสิ่งใหม่ ก็จะต้องดำเนินการตั้งแต่เริ่มแรกอีก
กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
1. กำหนดประเด็นที่ต้องการวิเคราะห์ คือ เป็นการวิเคราะห์กระบวนการพัฒนา จุดที่ควรพัฒนา การกำหนดปัจจัยหรือเหตุการณ์ต่างๆ ขึ้นมา เพื่อเป็นต้นเรื่องที่ใช้วิเคราะห์ เรื่องราวเหตุการณ์หรือสถานการณ์จากข่าวของจริง หรือสื่อเทคโนโลยีต่างๆ
2. การกำหนดปัญหาหรือวัตถุประสงค์ คือ เป็นการกำหนดข้อสงสัย จากปัญหาของสิ่งที่ต้องการวิเคราะห์ ซึ่งอาจกำหนดเป็นคำถาม หรือเป็นการกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์ เพื่อค้นหาความจริง สาเหตุหรือความสำคัญ
3. กำหนดหลักการหรือกฎเกณฑ์ คือ เป็นการกำหนด ข้อกำหนด หรือกฎเกณฑ์ สำหรับใช้แยกส่วนประกอบของสิ่งที่กำหนดให้ เช่น เกณฑ์ในการจำแนกสิ่งที่มีความเหมือนกันหรือแตกต่างกัน
4. พิจารณาแยกแยะ คือ เป็นการพินิจพิเคราะห์ทำการแยกแยะ กระจายสิ่งที่กำหนดให้ออกเป็น
5. สรุปคำตอบ คือ เป็นการรวบรวมประเด็นที่สำคัญเพื่อหาข้อสรุปเป็นคำตอบ หรือตอบปัญหาของสิ่งที่กำหนดให้
ขั้นที่ 3 P : Preparation การเตรียมการ
เตรียมดำเนินการโดยมีเทคนิคการจัดกิจกรรม ดังนี้
1. สร้างความตระหนัก คือ การดำเนินการสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ
การดำเนินงานให้แก่บุคลากรในองค์กร เห็นความสำคัญ ผลลัพธ์ที่จะเกิดจากการปฏิบัติงาน มีความเต็มใจให้ความร่วมมือในการดำเนินงาน
2. การประชุมสรุปรายงานผลการดำเนินงานในปีการศึกษาที่ผ่านมา
3. แต่งตั้งคณะกรรมการที่รับผิดชอบงานภายในโรงเรียน
4. การวิเคราะห์มีการวิเคราะห์บริบท ในปีการศึกษาที่ผ่านมาเพื่อนำข้อมูลมาเป็นแนวทางการดำเนินงานในปีปัจจุบัน
5. การวางแผน มีการศึกษาข้อมูลสารสนเทศ สภาพปัญหาและความต้องการ ในการพัฒนาสถานศึกษา
6. การกำหนดกระบวนการ มีการนำข้อมูลที่ได้ดำเนินการในข้อที่ 1-5 มาเป็นข้อมูลในการกำหนดกะบวนการบริหารสถานศึกษาภายในอย่างเป็นระบบ เพื่อส่งผลต่อการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ขั้นที่ 4 P : Practice การดำเนินการ
สร้างระบบการบริหารสถานศึกษา โดยที่ผู้บริหารคำนึงถึงการบริหารการศึกษาตามทฤษฎีระบบ ที่มีส่วนประกอบสำคัญที่ 4 ประการ ได้แก่ 1) ปัจจัยนำเข้า (Input) หมายถึง ทรัพยากรทางการบริหารทุกๆ ด้าน ได้แก่ บุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ การบริหารจัดการ และแรงจูงใจที่เป็นส่วนเริ่มต้นและเป็นตัวจักรสำคัญในการปฏิบัติงานขององค์กร 2) ปัจจัยกระบวนการ (Process) คือ การนำปัจจัยหรือทรัพยากรทางการบริหารทุกประเภท มาใช้ในการดำเนินงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ เนื่องจากในกระบวนการจะมีระบบย่อย ๆ รวมกันอยู่หลายระบบครบวงจร ตั้งแต่การบริหาร การจัดการ การนิเทศ การวัดและการประเมินผล การติดตามตรวจสอบ เป็นต้น เพื่อให้ปัจจัยทั้งหลายเข้าสู่กระบวนการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3) ผลลัพธ์ (Product or Output) เป็นผลที่เกิดจากกระบวนการของการนำปัจจัยมาปฏิบัติ เพื่อให้เกิดประสิทธิผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ 4) ผลกระทบ (Outcome or Impact) เป็นผลที่เกิดขึ้นภายหลังจากผลลัพธ์ที่ได้ ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่คาดไว้ หรือไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะเกิดขึ้นก็ได้ ทฤษฎีระบบให้ความสำคัญกับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น การปฏิบัติกิจกรรมภายในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์ ใช้วงจรคุณภาพเป็นตัวขับเคลื่อนโดยจัดกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ทั้งที่เป็นกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการของโรงเรียนและกิจกรรมตามนโยบาย กิจกรรมต่างๆ จะสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ เป้าประสงค์ กลยุทธ์และแผนงานของโรงเรียน โดยสามารถเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมจากวิธีการต่างๆ ที่วางแผนไว้เพื่อให้บรรลุผลตามที่กำหนดไว้ มีลักษณะดังนี้
1. มีลักษณะเป็นกระบวนการ ที่ประกอบด้วยวิธีการหรือเทคนิคต่างๆ ที่วางแผนไว้อย่างดีดำเนินการตามขั้นตอนจนกระทั่งบรรลุเป้าหมาย
2. มีเป้าหมายที่ต้องการไปให้ถึง 3 ประการ คือ
2.1 การแก้ปัญหาในการทำงาน
2.2 พัฒนาความรู้ ทักษะหรือความสามารถในการทำงาน
2.3 การประยุกต์ใช้ทักษะหรือความรู้ในการทำงาน
3. มีลักษณะปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ชี้แนะกับผู้รับการชี้แนะ คือ เป็นรายบุคคลหรือกลุ่มย่อย
และใช้เวลาในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
4. มีหลักการพื้นฐานในการทำงาน ได้แก่
4.1 การเรียนรู้ร่วมกัน คือ ไม่มีใครรู้มากกว่าใครจึงต้อง เรียนไปพร้อมกัน
4.2 การให้ค้นพบวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง
4.3 การเสริมพลังอำนาจ เป็นการช่วยค้นหาพลังในตัวบุคคล เมื่อค้นเจอก็คืนพลังนั้นให้เขาไป
5. เป็นกระบวนการที่เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาวิชาชีพ
ในการชี้แนะและสอนงานเชิงปฏิบัติการ (Coaching and Mentoring) นอกจากมีการดำเนินงานตามลักษณะที่กล่าวมาแล้วข้างต้น การดำเนินการยังยึดหลักของการชี้แนะ ดังนี้
5.1 การสร้างความสัมพันธ์และความไว้วางใจ การชี้แนะเป็น เรื่องของปฏิสัมพันธ์
ระหว่างผู้ชี้แนะกับครูรายบุคคลหรือรายกลุ่ม ความเชื่อถือและความไว้วางใจของครูที่มีต่อผู้ชี้แนะมีส่วนสำคัญที่ทำให้การดำเนินการชี้แนะเป็นไปอย่างราบรื่น และมีประสิทธิภาพ
5.2 การเสริมพลังอำนาจ การชี้แนะเป็นกระบวนการที่ช่วยให้ครูได้ค้นพบพลัง หรือวิธีการทำงานของตนเอง เป็นวิธีการที่ทำให้เกิดความยั่งยืนและครูสามารถพึ่งพา ความสามารถของตนเองได้เป้าหมายปลายทางของการชี้แนะ จนกระทั่งครูได้พบว่าตนเองสามารถทำได้ด้วยตนเอง เป็นช่วยค้นหาพลังที่ซ่อนอยู่ในตัวครูออกมา
5.3 การทำงานอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนของกระบวนการที่ชัดเจน ช่วยให้ครูได้จัดระบบการคิด การทำงาน สามารถเรียนรู้และพัฒนางานได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากการชี้แนะเป็นกระบวนการพัฒนาวิชาชีพที่ต่อเนื่อง ทำให้ผู้ชี้แนะจำเป็นต้องออกแบบกระบวนการอย่างเป็นระบบ ที่ช่วยให้ครูได้เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
5.4 การพัฒนาที่ต่อเนื่อง การชี้แนะเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และพัฒนาการเรียนการสอนได้ ใช้เวลานานในการทำความเข้าใจและฝึกปฏิบัติให้เกิดผลตามเป้าหมาย การดำเนินการชี้แนะจึงเป็นการพัฒนาที่มีความต่อเนื่องยาวนาน ตราบเท่าที่มีความรู้ใหม่ทางการสอน เกิดขึ้นมากมาย และมีประเด็นทางการสอนที่ต้องทำความเข้าใจและนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน การดำเนินชี้แนะก็ยังคงดำเนินการคู่ขนานไปกับการจัดการเรียนการสอน จึงเป็นงานที่ต้องค่อยเป็นค่อยไป
5.5 การชี้แนะแบบมีเป้าหมายหรือจุดเน้นร่วมกัน ในโลกของการพัฒนาครู บุคลากร ให้สามารถจัดการเรียนการสอนได้ มีการปรับปรุง พัฒนา กำหนดเป้าหมาย ข้อตกลง วางแผน ร่วมกัน
5.6 การชี้แนะตามบริบทโรงเรียน มีการปฏิบัติชี้แนะโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ครูสามารถนำความรู้ ทักษะการสอนที่มีอยู่ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน การประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะที่ดีในการทำงานตามบริบทของโรงเรียน
5.7 การชี้แนะที่นำไปใช้ได้จริง ในลักษณะเนื้อหาสาระที่เป็นรูปธรรม ปฏิบัติได้จริง ช่วยให้ครูสามารถปรับปรุงหรือพัฒนาการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.8 การทบทวนและสะท้อนผลการดำเนินงาน การสะท้อนผลการทำงานเป็นวิธีการที่ช่วยให้ครูได้คิดทบทวนการทำงานที่ผ่านมา
ขั้นที่ 5 E : Evaluation การประเมินผล
การประเมินผลการดำเนินการบริหารสถานศึกษาในปีที่ผ่านมา เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ว่าได้ผลตามที่กำหนดไว้เพียงใด มีบทบาทความสำคัญในการให้ข้อมูลด้านความคืบหน้า ชี้ปัญหาและข้อขัดข้องด้านประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และผลกระทบที่เกิดจากการดำเนินงานการบริหารสถานศึกษาในปีที่ผ่านมา เพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในด้านการจัดการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการหรือการบริหารโครงการ บทบาทที่กล่าวนี้จะให้ประโยชน์แก่ฝ่ายบริหารได้ดีหากได้รับการสนับสนุนให้มีระบบการติดตามและประเมินผลขึ้นในองค์กรเพราะการประเมินผลเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการด้านการจัดการ
ขั้นที่ 6 R : Report การรายงาน/เอกสาร
จัดทำรายงาน เอกสาร หรือข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ จากผลของการดำเนินงานการบริหารสถานศึกษาภายในโรงเรียนในรอบปีการศึกษาที่ผ่านมา เป็นเทคนิคการจัดกิจกรรมประเมิน สรุป รายงาน เพื่อแนวทางปฏิบัติสู่ความเป็นเลิศ (ฺBest Practices) โดยการได้มาซึ่งแนวทางการจัดดทำแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) เป็นวิธีปฏิบัติ หรือขั้นตอนการปฏิบัติที่ทำให้ประสบความสำเร็จหรือนำไปสู่ความเป็นเลิศตามเป้าหมาย เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการหรือวิชาชีพนั้นๆ และมีหลักฐานของความสำเร็จปรากฏชัดเจน โดยมีการสรุปวิธีปฏิบัติ หรือขั้นตอนการปฏิบัติ ตลอดจนความรู้และประสบการณ์ ที่ได้บันทึกเป็นเอกสาร และเผยแพร่ให้หน่วยงานภายในหรือภายนอกสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ดังนี้
6.1 Best Practice ที่เกิดจากตัวบุคคล เนื่องมาจากในการทำงาน ทุกคนจะเกิดการเรียนรู้ไปสู่เป้าหมายของหน่วยงาน ซึ่งผู้ปฏิบัติจะเรียนรู้ Good Practice หรือ Best Practice ความริเริ่มสร้างสรรค์ที่ดี การแก้ปัญหาที่ดีหรือเกิดจากการได้รับรู้ข้อเสนอแนะผู้บริหาร เพื่อนร่วมงาน หรือจะเป็นหน่วยงานอื่นๆ ซึ่งก่อให้เกิดการสร้างสรรค์วิธีกรใหม่ๆ ขึ้น หรือวิธีการที่ดีกว่าเดิม
6.2 Best Practice เกิดจากอุปสรรค การทำงานต่างๆย่อมมีอุปสรรคต่างๆ ที่เป็นตัวขัดขวางไม่ให้งาน
เป็นไปตามเป้าหมายที่มุ่งหวังเอาไว้ เกิดความกดดัน ที่มาจากผู้บริหารหรือการแข่งขันจากคู่แข่ง สิ่งต่างๆเหล่านี้จะเป็นตัวกระตุ้นให้เราเกิดการแสวงหาแนวทาง กระบวนการในการแก้ปัญหา และผ่านอุปสรรคไปให้ได้ ก่อให้เกิด Best Practice
6.3 Best Practice ที่เกิดจากแรงบันดาลใจที่อยากจะพัฒนา หรือค้นหาวิธีการใหม่ๆ เพื่อความพึงพอใจของหน่วยงานหรือของตนเอง เพื่อสร้างประสิทธิภาพที่ดีกว่าเดิม การจัดการความรู้ให้บรรลุเป้าหมายนั้นจะต้องทำให้ Best Practice ที่เป็นความรู้ในตัวบุคคล กลายเป็นความรู้ที่ปรากฏแจ้งให้ได้ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานหากบุคลากรมีการโยกย้าย เกษียร หรือลาออกจากงาน แล้วจะไม่เกิดปัญหาตามหลังมา ตัวอย่างเช่น เอกสารรายงาน คู่มือการปฏิบัติงานต่างๆ เพื่อให้คนอื่นๆ ในหน่วยงานสามารถที่จะเข้าถึง และความรู้ไปใช้แก้ปัญหาหรือต่อยอดได้ เพื่อที่ว่าคนใหม่ๆ ที่เข้ามาจะไม่ต้องเริ่มจากศูนย์ เปลี่ยนมาเป็นการเริ่มต้นจากการจัดการความรู้ที่องค์กรได้จัดไว้ให้แล้ว ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บริหารระดับสูงในองค์กรต่างๆ ได้ให้ความสำคัญกับ Best Practice ในด้านของการจัดการสอนงานหรือวิธีในการทำงานให้ดีกว่าเดิมยิ่งๆ ขึ้นไป กลายเป็นวงจรในการพัฒนาองค์กรให้ก้าวหน้าอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
ขั้นที่ 7 S : Synthesis การสังเคราะห์
ดำเนินการสังเคราะห์จากรายงาน เอกสาร หรือข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ ผลของการบริหารสถานศึกษาภายในโรงเรียนในปีการศึกษาที่ผ่านมาสู่กระบวนการบูรณาการปัจจัยต่าง ๆ และสะท้อนผลการดำเนินงานตามสภาพจริง (Reflection) เพื่อวิเคราะห์ว่ามีปัญหา อุปสรรค ที่ควรแก้ไขและพัฒนาหรือไม่ ถ้าหาก “ใช่”ก็จะนำปัญหา อุปสรรคที่พบมาเป็นสิ่งที่จะต้องแสวงหาวิธีการแก้ไข ปรับปรุงในขั้นตอนของการกำหนด/ประสงค์ (ขั้นที่ 1) เพื่อนำไปสู่การวางแผน การปฏิบัติอีกครั้ง ถ้าหาก “ไม่ใช่” แสดงว่ารูปแบบการนิเทศภายในโรงเรียนโดยใช้ RAPPERS Model บรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
ซึ่งสอดคล้องกับรูปแบบของการนิเทศภายในโรงเรียนที่กำหนดไว้ โดยมีกลยุทธ์ในการดำเนินงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ (นายสุรศักดิ์ วังสว่าง, 2559) ดังนี้
– การบริหารแบบมีส่วนร่วม (Participation Management : Pa) คือ เป็นการบริหารจัดการที่เปิดโอกาสให้บุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในดำเนินการบริหารสถานศึกษาภายในโรงเรียนของโรงเรียนบ้านเกะรอ
– การบริหารข้อมูลสารสนเทศ (Information Management : I) คือ เป็นการใช้ข้อมูลสารสนเทศที่ถูกต้อง ทันสมัยเพื่อวางแผนในการพัฒนาคุณภาพของงาน
– การบริหารงานทั้งหน่วยงาน (Unit Management : U) คือ เป็นการบริหารงาน
โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School Base Management) เพื่อให้เกิดการพัฒนาในทุกๆ ด้าน
– การทำงานเป็นทีม (Team Work : T) คือ เป็นการทำงานโดยผู้บริหารโรงเรียนกระจายอำนาจให้ครู บุคลากรทางการศึกษาได้มีโอกาสเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงาน มีบรรยากาศในการทำงานที่เป็นแบบเปิด สร้างทีมงานที่มีความเข้มแข็งทางวิชาการ มีคุณภาพและสมรรถนะสูง ส่งเสริมการเรียนรู้ของทีมงานเพื่อขับเคลื่อนสู่โรงเรียนคุณภาพเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
ขั้นตอนที่ 4 ขั้นตรวจสอบ (Check) เป็นการประเมินผลและตรวจสอบการบริหารสถานศึกษาภายในโรงเรียน จากการใช้นวัตกรรมกระบวนการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านเกะรอ โดยใช้ RAPPERS Model โดยยึดวัตถุประสงค์ที่กำหนดผลสำเร็จอย่างสมดุลรอบด้าน ซึ่งได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ การแสดงความคิดเห็น เพื่อสรุปผลและจัดทำรายงาน
ขั้นตอนที่ 5 ขั้นปรับปรุงแก้ไข (Action) เป็นการสะท้อนผลการดำเนินงานตามสภาพจริง (Reflection) การดำเนินการบริหารสถานศึกษาภายในโรงเรียนและคุณภาพของผู้เรียน ธำรงรักษาให้เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง ด้วยการนำผลการประเมินการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านเกะรอ โดยใช้ RAPPERS Model มาวิเคราะห์และสะท้อนผลการดำเนินงานตามสภาพจริง (Reflection) เพื่อวิเคราะห์ว่ามีปัญหา อุปสรรคที่ควรแก้ไขและพัฒนาหรือไม่ ถ้าหาก “ใช่”ก็จะนำปัญหา อุปสรรคที่พบมาเป็นสิ่งที่จะต้องแสวงหาวิธีการแก้ไข ปรับปรุงในขั้นตอนของการสำรวจและวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน เพื่อนำไปสู่การวางแผน การปฏิบัติอีกครั้ง ถ้าหาก “ไม่ใช่” แสดงว่ารูปแบบการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านเกะรอ โดยใช้ RAPPERS Model บรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ สามารถประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่และขยายผลการดำเนินงานสู่โรงเรียนและหน่วยงานอื่นๆ เพื่อพัฒนาสู่ความมีคุณภาพที่ยั่งยืนต่อไป
สรุปได้ว่า จากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ในการบริหารสถานศึกษา จึงได้ทำการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และบูรณาการปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการบริหารสถานศึกษา อีกทั้งเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการบริหารสถานศึกษาภายในโรงเรียนทั้งในระดับสถานศึกษา และศูนย์เครือข่ายน้ำสายบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1 เป็นรูปแบบการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนโรงเรียนบ้านเกะรอ โดยใช้ RAPPERS Model ร่วมกับกระบวนการวงจรคุณภาพ P-D-C-A ในการดำเนินงาน ดังนี้
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สัญลักษณ์แต่ละตัว แทนความหมาย ดังนี้
RAPPERS P-D-C-A Pa-T-I-U
R : Require P : Plan Pa : Participation Management
A : Analysis D : Do T : Team Work
P : Preparation C : Check I : Information Management
P : Practice A : Action U : Unit Management
E : Evaluation
R : Report
S : Synthesis

 
 
กระบวนการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านเกะรอ
โดยใช้รูปแบบ RAPPERS Model ร่วมกับวงจรคุณภาพ P-D-C-A
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

Powered by GliaStudio
ชุดข้าราชการ ชุดข้าราชการหญิง ชุดกากี ชุดข้าราชการ shopee
Back to top button