Jannah Theme License is not validated, Go to the theme options page to validate the license, You need a single license for each domain name.

%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9e%e0%b8%b1%e0%b8%92%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b8%9b%e0%b9%81%e0%b8%9a%e0%b8%9a%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9a%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b8%ab%e0%b8%b2

กระดานสนทนา เผยแพร่ผลงานวิชาการหมวดหมู่: เผยแพร่ผลงานวิชาการ%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9e%e0%b8%b1%e0%b8%92%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b8%9b%e0%b9%81%e0%b8%9a%e0%b8%9a%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9a%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b8%ab%e0%b8%b2

ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA ร่วมกับกระบวนการนิเทศภายในแบบผสมผสาน เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนวังน้อย (พนมยงค์วิทยา)ผู้วิจัย : นางพรทิพย์ ไชยประณิธานสถานศึกษา : โรงเรียนวังน้อย (พนมยงค์วิทยา)ปีที่ประเมิน : ปีการศึกษา 2566บทคัดย่อการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA ร่วมกับกระบวนการนิเทศภายในแบบผสมผสาน เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู โรงเรียนวังน้อย (พนมยงค์วิทยา) วิธีดำเนินการวิจัยมี 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารโดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA ร่วมกับกระบวนการนิเทศภายในแบบผสมผสาน เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู มีกลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 การศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารโดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA ร่วมกับกระบวนการนิเทศภายในแบบผสมผสาน เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู โดยศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการประเมินองค์ประกอบของรูปแบบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินองค์ประกอบของรูปแบบ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 3 การสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA ร่วมกับกระบวนการนิเทศภายในแบบผสมผสาน เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู มีแหล่งข้อมูล คือ ข้อมูลจากระยะที่ 1 ระยะที่ 2 และการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 12 คน ประเมินรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ และความถูกต้องของรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระยะที่ 4 การทดลองใช้และประเมินผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารโดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA ร่วมกับกระบวนการนิเทศภายในแบบผสมผสาน เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู ซึ่งประเมินทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู โดยผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน และครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียนมีแหล่งข้อมูล คือ แบบรายงานผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ปีการศึกษา 2565 – 2566ประเมินความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษา และครู วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประเมินความพึงพอใจของนักเรียน จำนวน 249 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ประเมินความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 249 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของกระบวนการนิเทศภายในแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู ในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA ร่วมกับกระบวนการนิเทศภายในแบบผสมผสาน เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู โรงเรียนวังน้อย (พนมยงค์วิทยา) ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด และดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น โดยรวม เท่ากับ 0.47 โดยเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ขั้นการดำเนินการสอนแนะ ขั้นการวางแผนการนิเทศภายใน ขั้นการปฏิบัติตามแผนการนิเทศ ขั้นการตรวจสอบและประเมินผล ขั้นการปรับปรุงและพัฒนา ขั้นการเตรียมการนิเทศภายใน และขั้นการสะท้อนผลการนิเทศภายใน ตามลำดับ เมื่อพิจารณาตามเกณฑ์ค่าดัชนี PNImodified ที่มีค่า 0.30 ขึ้นไป ทุกด้านถือเป็นความต้องการจำเป็นเร่งด่วนต้องได้รับการพัฒนาหรือแก้ไข 2) องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารโดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA ร่วมกับกระบวนการนิเทศภายในแบบผสมผสาน เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู โรงเรียนวังน้อย (พนมยงค์วิทยา) ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก 7 องค์ประกอบย่อย ดังนี้ การวางแผน (Planning) ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ การเตรียมการนิเทศภายใน (Preparation) การวางแผนการนิเทศภายใน (Planning) การปฏิบัติตามแผน (Doing) ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ การดำเนินการสอนแนะ (Coaching) การปฏิบัติตามแผนการนิเทศภายใน (Doing) การสะท้อนผลการนิเทศภายใน (Reflection) การตรวจสอบและประเมินผล (Checking) ประกอบด้วย 1 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ การตรวจสอบและประเมินผลการนิเทศภายใน และการปรับปรุง และพัฒนา (Action) ประกอบด้วย 1 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ การตรวจสอบและประเมินผลการนิเทศภายใน 3) รูปแบบการบริหารโดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA ร่วมกับกระบวนการนิเทศภายในแบบผสมผสาน เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู โรงเรียนวังน้อย (พนมยงค์วิทยา) ประกอบด้วย หลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ การบริหารโดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA ร่วมกับกระบวนการนิเทศภายในแบบผสมผสาน ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก 7 องค์ประกอบย่อย ทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู 4 ด้าน คือ การออกแบบและจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก การใช้สื่อเทคโนโลยี แหล่งเรียนรู้ และการประเมินผลการเรียนรู้ ประเมินผลการใช้รูปแบบ และเงื่อนไขความสำเร็จของการนำรูปแบบไปใช้ โดยรูปแบบการบริหารโดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA ร่วมกับกระบวนการนิเทศภายในแบบผสมผสาน เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู โรงเรียนวังน้อย (พนมยงค์วิทยา) ที่สร้างขึ้นนี้ มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ และความถูกต้อง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 4) ผลการประเมินการทดลองใช้รูปแบบการบริหารโดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA ร่วมกับกระบวนการนิเทศภายในแบบผสมผสาน เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู โรงเรียนวังน้อย (พนมยงค์วิทยา) พบว่า ทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู อยู่ในระดับมากที่สุด สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ยมากกว่า 3.50 ทุกด้าน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังการดำเนินงานตามรูปแบบสูงกว่าก่อนเรียน และผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียน และผู้ปกครอง มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารโดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA ร่วมกับกระบวนการนิเทศภายในแบบผสมผสาน เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู โรงเรียนวังน้อย (พนมยงค์วิทยา) ในระดับมากที่สุด และสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ยมากกว่า 3.50

Powered by GliaStudio
ชุดข้าราชการ ชุดข้าราชการหญิง ชุดกากี ชุดข้าราชการ shopee
Back to top button